ศธ.ทิ้งทวนการจัดการความรู้สู่...สถานศึกษา


ช่วงรัฐบาลรักษาการ กระทรวงศึกษาธิการน่าจะถือโอกาสสรุปและนำเสนอผลงานของกระทรวงผ่านระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการความรู้

นับตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการได้มีรัฐมนตรีเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ต้องยอมรับว่าการดำเนินงานมีทั้งความสำเร็จก้าวหน้าและไม่ประสบผลสำเร็จก็มีบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปฏิรูปการศึกษาที่ได้เริ่มต้นปฏิบัติกันมา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒

ในระยะเวลาช่วงรัฐบาลรักษาการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้  แน่นอนที่รัฐมนตรีย่อมไม่มีการประกาศนโยบายใหม่ๆออกมา  แต่อย่าลืมว่าการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้บรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย สอดคล้องกับนโยบายที่วางไว้  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรายงานให้ประชาชนทราบ

แนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาลที่น่าจะลองนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ในที่นี้ขอนำเสนอ ทางเลือกที่เป็นไปได้โดยใช้แนวทางการจัดการความรู้  3  แนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ ๑ สนับสนุนให้ครูและนักเรียนในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนนำเสนอผลงานการปฏิรูปการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม/ เวทีสาธารณะระดับสถานศึกษาหรือระดับเขตพื้นที่การศึกษา

แนวทางที่ ๒ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "แนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ" โดยนำเอาสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น Website, Web blog เป็นต้น

แนวทางที่ ๓ ประสานกับหน่วยงาน องค์การต่างๆที่มีความรู้ ความเข้าใจ สนใจการศึกษาให้มาสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการความรู้ของสถานศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ส.ค.ส.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (ส.ก.ศ.) ควรเป็นแม่งานให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิทยากร หรือการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการความรู้อย่างถูกต้อง

หมายเลขบันทึก: 17189เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท