เครือข่ายการเรียนรู้วิจัยชุมชนน่าน (ตอนที่ 2)


เพื่อนำกระบวนการวิจัยชุมชน มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการทำงานส่งเสริมการเกษตรสู่ความยั่งยืน

        27 กุมภาพันธ์ 2549  วันแรกของการร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายการเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  มีนักส่งเสริมการเกษตรจากจังหวัดเครือข่าย เช่น พะเยา พิษณุโลก  แพร่  กำแพงเพชร  และจากจังหวัดน่าน และนักวิจัยชุมชนของจังหวัดน่าน กระบวนการสัมมนาในวันนี้ได้กำหนดไว้ และได้ดำเนินการ ดังนี้ครับ

                                          พิธีเปิด

  • เริ่มต้นภาคเช้า ด้วยพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “น่านกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยพระครูพิทักษ์นันทคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญวาส  ที่ปรึกษามูลนิธิฮักเมืองน่าน  เป็นพิธีเปิดที่เรียบง่ายและได้สาระมาก
  • หลังจากนั้น ก็เป็นการนำเสนอเรื่อง “10 ปี กับการพัฒนาคนเพื่อการพึ่งพาตนเอง”  (ลิงค์อ่านกระบวนการทำงาน) โดยคุณสำรวย  ผัดผล  ประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน 
  • ภาคบ่าย เป็นการนำเสนอ “สิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากการสร้างนักวิจัยชุมชนและการเรียนรู้” โดยทีมนักส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดน่าน มีคุณเสวียน บุญศรี จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองคุณโสภา  จากสำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอภูเพียง และคุณพยอม วุฒิสวัสดิ์ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน

                                          คุณเสวียน บุญศรี นักส่งเสรืม อ.เมืองน่าน

  • ต่อมาได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพกับการทำการเกษตร โดย ดร.นิพนธ์  จากโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ SWOT ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและความเข้มแข็งของชุมชน จากนั้นมีการนำเสนอในรูปแบบของตลาดวิชา และการประเมินโดยทุกคนอย่างง่ายๆ   โดยการนำเมล็ดข้าวโพดที่ทุกคนมีอยู่คนละ 10 เม็ดนำไปหยอดให้คะแนนในแต่ละกลุ่มที่คิดว่านำเสนอผลการวิเคราะห์ได้ดี
  • ช่วงสุดท้ายประมาณ 17.30 น. เป็นการทำ AAR  เสร็จประมาณทุ่มเศษ

                                          AAR

          วันนี้ผมขอเล่ากระบวนการหลักๆ ในภาพกว้างๆ  ของกระบวนการในวันแรกนี้ก่อน  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเล่า จากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติ แต่ทีมงานจากจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อนร่วมเครือข่ายต่างก็ได้เรียนรู้ในกระบวนการสร้างนักวิจัย และกระบวนการวิจัยโดยชาวบ้าน ซึ่งจังหวัดน่านเป็นตัวอย่าง  ให้กับจังหวัดอื่นได้มา ลปรร. เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการทำงานส่งเสริมการเกษตรเพื่อความยั่งยืนได้ดีมาก

          รายละเอียดจะบันทึกเป็นเรื่องๆ หรือส่วนๆ เพราะมีประเด็นที่เป็นองค์ความรู้  แง่คิด  หลักการทำงานที่มีหลักคิดที่ดีมาก   และคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ ในการทำงานในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี   แล้วจะบันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ในตอนต่อๆไปนะครับ


วีรยุทธ  สมป่าสัก  27 / 02 / 49

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 17185เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2006 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท