น.ส. อรนุช กรุตนารถเขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2549 15:28 น. ()
แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2555 18:27 น. ()
เป็นธรรมดาที่คนเราต้องมีวันที่อารมณ์เสีย
หรือหงุดหงิดกันบ้าง…แต่ทราบไหมคะว่าเราสามารถแก้ไขอารมณ์บูด ๆ
ของเราด้วยอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวันได้ด้วย
เดี๋ยวนี้คนหันมานิยมการรับประทานอาหารแบบโลว์คาร์โบไฮเดรต
(การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแต่น้อย)
กันมากเป็นเหตุให้มีผลทางด้านอารมณ์
เพราะคาร์โบไฮเดรตจะมีผลต่อการสร้างเซโรโทนิน
เมื่อเราขาดแคลนคาร์โบไฮเดรตอารมณ์ของคนเราก็เปลี่ยนไปด้วย…และถ้าคุณอยากเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนอารมณ์ดีจะต้องทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต….
ความเห็น
คาร์โบไฮเดรตตัวร้ายหรือนางเอก?
บ้างก็บอกว่า
อย่าทานคาร์โบฯโดยเฉพาะแป้งและน้ำตาลมากในอาหารมื้อเย็น
ดังนั้นขอทราบกลุ่มคาร์โบฯ
ตัวดีที่เราควรทานเพื่ออารมณ์เบิกบานสำราญใจค่ะ
คาร์โบไฮเดรตจะเป็นผู้ร้ายหรือนางเอก
คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทาน
ให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย เพราะกินเกินพอดี
ก็จะอ้วนพลอยทำให้อารมณ์ไม่ดีขาดความมั่นใจ
การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญครับ
คุณอรนุชช่วยใส่รูปให้ด้วยนะครับ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- เรื่องคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล)
มีข้อคิดในเรื่องสุขภาพอย่างนี้ครับ...
-
(1).
ควรกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง
ขนมปังโฮลวีต ฯลฯ) ให้ได้อย่างน้อยวันละ 3.5 ทัพพี (ส่วนบริโภค หรือ
servings)
- ธัญพืชเชิงซ้อน โดยเฉพาะข้าวกล้อง มีเส้นใย
(fiber) สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) วิตะมินสูง
โดยเฉพาะวิตะมินบีรวมที่บำรุงสมอง ป้องกันเส้นเลือดเสื่อม มีแร่ธาตุ
น้ำมันรำข้าวเล็กน้อย(น้ำมันรำข้าวปริมาณน้อยมากนี้ช่วยลดโคเลสเตอรอล)
และสารเพิ่มสมรรถภาพสมอง (lecithin)
- ธัญพืชเชิงซ้อนทำหน้าที่คล้ายฟองน้ำ หรือกันชน (buffer)
ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นช้าและขึ้นนาน ทำให้ไม่เพลียง่าย ไม่หิวเร็ว
ป้องกันโรคอ้วน ป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่
ฯลฯ
-
(2).
ควรกินแป้ง(ธัญพืชขัดขาว เช่น ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ)
และน้ำตาลให้น้อยลง
- การกินแป้งขัดขาวและน้ำตาลมาก
ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นเร็ว ลงเร็ว ทำให้เพลียง่าย หิวบ่อย
หงุดหงิดง่าย(โมโหหิว)
- ขอขอบคุณอาจารย์อรนุช ท่านผู้เขียน
และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
กินข้าวเหนียว อารมณ์ดี จริงๆนะคะ
หิวไม่ได้กินข้าว รู้สึกหงุดหงิด เราคงเคยได้ยินโยคนี้อยู่บ่อยๆ นั้นแหละครับ ภาวะร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต