จิตเจริญ


ตัวชี้วัดของสุขภาวะทางจิตวิญญาณมีได้หรือไม่ ในเงื่อนไขใด หากมีได้ ตัวชี้วัดนั้น ๆ มีความจำเพาะ ความไว ความเที่ยง และความน่าเชื่อถือได้ในระดับใด

จิตเจริญ

จิตตปัญญา / จิตเจริญ / การยกระดับทางจิตวิญญาณ / จิตใจสูง    การวัดระดับของสภาพเชิงนามธรรมข้างต้น ทำอย่างไร    นี่คือโจทย์หรือการบ้านจากทีมของ มสส.

คุณสมหญิง ส่งการบ้านเอกสารมาให้อ่าน คือ  กรอบการทำความเข้าใจเรื่องจิตวิญญาณ:

แนวคิดและปรัชญาเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

 สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) เป็น pdf file หนา ๓๘ หน้า

               แค่อ่านหน้าที่ ๒ ผมก็พบประเด็นที่ทีม มสส. ถามผม ตัวชี้วัดของสุขภาวะทางจิตวิญญาณมีได้หรือไม่ ในเงื่อนไขใด หากมีได้ ตัวชี้วัดนั้น มี

ความจำเพาะ ความไว ความเที่ยง และความน่าเชื่อถือได้ในระดับใด  ผมจึงอ่านเอกสารนี้แบบมีเป้าหมายได้แล้ว

 

               นอกจากนั้น ผมยังติดใจ ข้อความ สภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลให้โครงสร้างพื้นฐานทางจิตวิญญาณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

ความพอเพียงของเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อการยังชีพ

การอยู่ร่วมกันของผู้คนหลากหลายวัยวุฒิ

ความสมดุลของกฎเกณฑ์ระหว่างเพศหญิงชาย

ความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน โดยปราศจากอำนาจครอบงำและความรุนแรง

จังหวะต่าง ของชีวิตที่ไม่เร่งรัด เร่งรีบจนเกินไป

การมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน  

                ผมสรุปกับตัวเองว่า    สภาพสังคมมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางจิตตปัญญา หรือสร้างสภาพ จิตเจริญ แบบมั่นคงถาวร   แต่ในมิติสุดโต่ง แม้สังคมจะวิบัติปานใด คนที่ฝึกมาดืยิ่งก็จะยังดำรงสภาพ จิตเจริญ อยู่ได้    ผมมองว่าเราน่าจะเน้น จิตเจริญ สำหรับคนส่วนใหญ่    ไม่ใช่สำหรับคนส่วนน้อยที่อาจเป็นบุคคลพิเศษ  

                องค์ประกอบของ จิตเจริญ ๙ องค์ประกอบ  ที่โกมาตรอ้าง Elkins   

1)    มิติที่เลยตัวตน  ที่เรียกว่า transcendental

2)    มิติด้านความมุ่งหมายในชีวิต  คุณค่าของชีวิต

3)    มิติด้านพันธกิจ หรือปณิธาน ของชีวิต

4)    มิติด้านความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต

5)    มิติด้านคุณค่าของวัตถุ  ให้คุณค่า แต่ไม่ยึดติด

6)    มิติด้านความเสียสละ

7)    มิติด้านอุดมการณ์

8)    ตระหนักว่าชีวิตเป็นทุกข์

9)    ได้รับปฏิเวธจาก จิตเจริญ ของตน

 

               ผมเริ่มตั้งสมมติฐานว่า    เนื่องจากหมอโกมาตรก็สนใจเรื่องเดียวกันนี้    การหาคำตอบแบบวิชาการนั้น สรุปได้เลยว่าหมอโกมาตรทำได้เก่งกว่าทีม มสส. มากมาย    ดังนั้นทีม มสส. ต้องหาจุดแข็งของตนในการทำงานนี้   และโอกาสที่ผมเห็นคือ หาคำตอบแบบไม่ตอบเอง    แต่จัดกระบวนการให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันหาคำตอบ    ทีม มสส. น่าจะต้องสร้างจุดแข็งของตนในการทำงานแบบนี้    นี่คือทักษะในการใช้ KM พื่อหาคำตอบในเรื่องยากและซับซ้อน    ผมสรุปเบื้องต้นว่ายุทธศาสตร์การทำงานของ มสส. น่าจะได้แก่

o      จัดกระบวนการให้ผู้มีประสบการณ์ช่วยกันหาคำตอบ

o      เน้นการหานิยามและตัววัดจากประสบการณ์ตรง  มากกว่าจากทฤษฎี    คือเน้นทำงานจากฐานปฏิบัติ เสริมด้วยทฤษฎีบ้าง     แต่ไม่เอาทฤษฎีเป็นตัวตั้ง     และไม่อิงหรือยึดถือทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเพียงทฤษฎีเดียว     คือมีทีท่าต่อวิธีคิดหรือทฤษฎีแบบ inclusive ไม่ใช่ exclusive    ซึ่งถ้าอิงบทความของหมอโกมาตร มสส. จะทำงานแบบก้าวข้ามข้อจำกัดของภาษา     ไปทำงานกับความรู้สึกหรือสัมผัสตรงของผู้คน    เราจะเน้นสื่อสารความรู้สึกจากประสบการณ์ มากกว่าสื่อสารภาษา

o      เน้นนิยาม และตัววัด เชิงพฤติกรรม ไม่ใช่เชิงหลักการหรือเชิงคำพูด  

o      ตัววัดอาจมีได้หลายชุด  หรือหลายระดับ แตกต่างไปตามบริบทของตัวบุคคล   ชื่อของตัววัดชุดนี้อาจเรียกว่า ตัวชี้วัด หรือดัชนีบอกระดับของ สภาพจิตเจริญ (Spiritual Intelligence Quotient - SIQ)  

o      ตัวชี้วัดที่ผมค่อยๆ นึกออก และสรุปรวบรวม สภาพ จิตเจริญ หรือ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ หรือ จิตใจสูง  ของคนใดคนหนึ่ง คือ

1)      จิตเจริญในตน  จิต/อารมณ์ ไม่กระเพื่อมง่าย    และเมื่อกระเพื่อมก็รู้เท่าทันและควบคุมได้    ไม่ตกอยู่ใต้กิเลสเผาผลาญ

2)      จิตเจริญระหว่างตนกับคนอื่น (relationship)  มีความเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา (พรหมวิหาร ๔)    รับฟังเป็น  ไม่ด่วนตัดสิน   

3)      จิตเจริญแบบนับญาติกับธรรมชาติ   ในลักษณะที่เข้าใจธรรมชาติเชิงวิทยาศาสตร์    ไม่ใช่แค่ธรรมชาติเชิงปรากฏการณ์

4)      จิตเจริญในมิติรวมหมู่ (collective)    สภาพที่กลุ่มคน หรือการรวมหมู่ และมีวัตรปฏิบัติของหมู่คณะที่ช่วยยกระดับจิตใจคน    วัฒนธรรมจิตเจริญ    

 

         ผมเชื่อตามข้อเสนอ ๗ ข้อของหมอโกมาตรที่กล่าวว่า

           ในการขับเคลื่อนเพื่อการปรับกระบวนทัศน์ทางสังคมจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกันอย่างน้อย 7 องค์ประกอบ คือ

1) ประมวลองค์ความรู้และพัฒนาให้เป็นแนวคิดที่ชัดเจนและใช้ขับเคลื่อนการเรียนรู้ได้

แนวคิดสำคัญที่เรียนรู้ได้หรือ Learnable Key Concept นี้จะทำให้การคิดค้นสร้าง

กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเป็นไปได้

2) ทบทวนและสะสมกรณีตัวอย่างต่าง ที่เป็นรูปธรรมของแนวคิด การทบทวนและสะสม

กรณีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมทั้งที่เป็นประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือนวัตกรรมใหม่

ทั้งในระดับสากลและในระดับท้องถิ่นจะทำให้เห็นรูปธรรมที่จะเชื่อมแนวคิดไปสู่การ

ปฏิบัติ การสะสมกรณีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจะช่วยให้การประยุกต์ตัวอย่างเพื่อปรับใช้ใน

บริบทใหม่ได้

3) นำเอาแนวคิดทางสังคมไปสู่ปฏิบัติการ การนำแนวคิดใหม่ไปทดลองปฏิบัติจริงเป็น

กระบวนการสำคัญที่จะตรวจสอบฐานวิธีคิดใหม่ว่าสามารถใช้การได้หรือไม่ อย่างไร และ

ยังเป็นขั้นตอนสำคัญในของการสร้างแม่แบบความคิด (exemplar) ที่เป็นตัวอย่าง

รูปธรรมของวิธีคิดที่สามารถประยุกต์ ผลิตซ้ำ และขยายผลไปในปริมณฑลของปัญหาอื่น

ได้ เช่น แนวคิดเรื่องการตายอย่างสันติ อาจสามารถนำไปสู่การวิจัยเชิงปฏิบัติการได้ทั้ง

ในระบบบริการสุขภาพ ในระบบชุมชน หรือในระบบการเรียนการสอน เป็นต้น ซึ่งใน

กระบวนการนี้จะต้องเน้นให้มีวิธีวิทยา (methodology) ที่ถูกต้องแม่นยำ

หมายเลขบันทึก: 169299เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

หนูมีเรื่องขอรบกวนขอความรู้จากอาจารย์เพื่อนำมาปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ค่ะคือ หนูทำงานเกี่ยวกับงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน ในมหาวิทยาลัยเอกชน อยากทราบว่าจะมีวิธีการอะไรบ้างที่จะนำ KM มาใช้กับงานแนะแนวฯได้บ้าง หากจะกรุณาอาจารย์ตอบหนูในเมลจะได้มั๊ยคะ หนูขอกราบขอบคุณอาจารย์มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท