คนทำงานกับคนพิการ : ไปกทม.อีกแล้วหรอ ?


ลูกศิษย์สำนักนี้ทำงานกับคนพิการค่ะ work with disability

ไปกทม.อีกแล้วหรอ?  ไป กทม. ทำไมบ่อยๆ ?

นั่นสิคะ  ประโยคนี้ ผู้เขียนโดนถามบ่อยจริงๆแหละค่ะ

มาล่าสุดนี้ 28-29 กพ. 2551  APCD เป็นเจ้าภาพค่ะ   ( หมายถึงทุกอย่างออกให้ ขอให้เจ้าตัวตอบตกลง )

APCD : Asia-Pacific Development Center on Disability  คือ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก  ตามชื่อเลยค่ะ  แต่ศูนย์ฯนี้ไม่ได้ฝึกและอบรมเฉพาะคนพิการนะคะ  คนที่ทำงานกับคนพิการด้วยค่ะ  ผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์เก่าของ APCD อยู่ 1 หลักสูตร  แต่ได้มาหลายวิชาค่ะ  อิอิ  ครูพักลักจำ  เช่น  ไปอบรม ICT for All: Training of Digital Accessible Information System (DAISY) for Persons with Print Disability  มาตั้งแต่ 16 January – 2 February 2006 ค่ะ  นอกจากวิชาเกี่ยวกับ การผลิตหนังสือเสียงเดซีแล้ว  ผู้เขียนยังได้วิชา เดาคำ  อิอิ  ก็เป็นหลักสูตรนานาชาติไงคะ  เพื่อนๆผู้เข้าร่วมอบรมนั้น  ก็มาจากหลากหลาย  ทั้งภูฐาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  แถมวิทยากรก็เป็นคนญี่ปุ่นซะงั้น  เป็นช่วงที่สนุกจริงๆ  อิอิ เพราะปกติเวลาพูดภาษาอังกฤษเราจะเมื่อยมือ  ใช่ไหมคะ   แต่ครั้งนี้เพื่อนร่วมรุ่นเป็น ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นมากกว่าครึ่งรุ่นไม่รู้จะใช้ภาษามืออย่างไร   สัปดาห์แรกผู้เขียนจับไข้ค่ะ    จับไข้จริงๆนะคะ  ไข้สูงมากจนไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ต้องทานยาลดไข้และพักอยู่ครึ่งวัน เดือดร้อนผู้ดูแลและไม่ดีเลยเพราะต้องมาตามเพื่อนๆอีก  งงกว่าเก่า  555  แหม..เสียดายตอนนั้นยังไม่รู้จักน้องชาย คนเก่งอังกฤษ ไม่งั้นชวนไปเป็นล่ามส่วนตัวแล้ว  อิอิ  สนุกมากค่ะ  ทางAPCD จะให้ทุนและดูแลทุกอย่างตลอดหลักสูตร  ดีเนอะ  ความรู้ก็ได้  แถมฟรีทุกอย่าง

แต่...ผู้ที่ผ่านการอบรมทุกหลักสูตรของ APCD มีการติดตามผลเป็นประจำค่ะ   ครั้งแรก  ทางDSS@MSU เราก็ได้ต้อนรับ Mr.Chiba hisao ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ( JICA Expert ) และคุณโอ๋  กัลยา  กมลวาทิน มาเยี่ยมให้กำลังใจ ในโครงการผลิตหนังสือเดซี่  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เดือนมีนาคม 2549

และในแต่ละปี  ทางAPCD จะคัดเลือกผู้ที่ผ่านการอบรมแต่ละหลักสูตรที่มีการขยายผลและดำเนินการต่อเนื่อง  มาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  สร้างเครือข่าย  ผู้เขียนจึงมีโอกาสไปอีกในการสัมมนา Seminar on Networking for Empowerment of Persons with Disabilities (NPWD) เมื่อ 30 April - 2 May 2007 

และปีนี้  ล่าสุดThai Ex-Participants Evaulation Domestic Course  เมื่อ 28-29 February  2008  ที่ทาง APCD แจ้งมาในหนังสือเชิญว่า  เลือกเชิญเฉพาะ ผู้ผ่านการอบรมที่เป็น best practice  ในแต่ละหลักสูตร  เฉพาะคนไทยค่ะ  ส่วนของต่างชาติ  จะมีทีมติดตามไปในแต่ละประเทศ เป็นครั้งคราว  ทำเอาผู้เขียนลอยนะคะเนี่ย...( แต่น้ำหนักเกิน เลยลอยไม่ไหว ) รีบตอบตกลงและขมีขมัน ทำ power point ประมาณ 10 นาทีไปนำเสนอค่ะ

Blog นี้โม้ยาวไปแล้ว

กั๊กไว้เล่าใหม่ให้ติดตามดีกว่า  ว่า...

ไปครั้งนี้  best  practice ศิษย์สำนักนี้เขาทำอะไรกันบ้าง  นะคะ  เรามีกัน 18 ชีวิตเชียวค่ะ เป็น

-          ผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย  6  คน

-          ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 1 คน

-          ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา 1 คน

-          และสุดท้ายผู้ที่มีความบกพร่องทางความรู้ใหม่  อิอิ ต้องการขวนขวายอีก 10 คนค่ะ 

555 ล้อเล่นนะคะ  พี่ๆน้องๆ ร่วมรุ่นขา  กลุ่มสุดท้ายคือ  พวกเราที่ทำงานกับคนพิการค่ะ work with disability

ปล.  จะโดนแซวว่า  มีแต่ภาษาอังกฤษไหมหนอ... 

น่านะ  ผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยคุ้นกับภาษาอังกฤษเหมือนกันค่ะ  แต่พยายามไว้  อิอิ

 

คำสำคัญ (Tags): #apcd#dss@msu#msu-km#คนพิการ
หมายเลขบันทึก: 169239เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีค่ะ น้องหนิง

  • แย่งสาวลาดพ้าวเค้าทำมายยยยย....ปาย กทม. เนี่ยยยยย
  • อิอิอิ

อ่านแล้วน่าภูมิใจนะคะ  เครือข่ายนี้

สวัสดีครับอาจารย์หนุงหนิง

               น่าภูมิใจครับ...ผลประโยชน์ตกแก่น้อง ๆ คนไทยเยอะมาก...เห็นภาพแล้วรู้สึกอิ่มทุกภาพ...อิอิ

                                                     โชคดีสี่ขั้นครับ

  • สวัสดีครับ
  • มาเป็นกำลังใจให้คนเดินทางเช่นกันครับ
  • วันเสาร์นี้ผมก็เข้า
  • เป็นทีของหมุ่มลาดพร้าวมั่ง
  • ไร้กังวลครับ

สวัสดีค่ะ สาวลาดพ้าว pa_daeng
และหนุ่มลาดพ้าวเกษตร(อยู่)จังหวัด

สังเกตว่า  มาจากหนองคายทั้งคู่น้อ...ไปกันทำไมบ่อยๆกรุงเทพเนี่ย..  ลาดพร้าวนี่อยู่กทม.หรอคะ    อิอิ  ไปบ่อยแบบนี้ต้องเอามาเล่าสู่กันฟัง(อ่านนะคะ)

ขอบพระคุณค่ะ พี่sasinanda และพี่นายช่างใหญ่

ที่เป็นกำลังใจเสมอมา  ติดตามตอนต่อไปนะคะ  หนิงกำลังจะบันทึกเรื่องราว ในกทม. เอ๊ย..ไม่ใช่ค่ะ  เรื่องเล่าของกลุ่มคนทำงานกับคนพิการค่ะ

สิ่งต่าง ๆ  ซึ่งหมายรวมถึงระยะทางแห่งการเดินทางอันถี่ครั้งนี้  น่าจะเป็นตัวชี้วัดพัฒนาการของระบบงานได้บ้างกระมังครับ ...และการเดินทางเหล่านั้น  ไม่มีเพียงไปบอกกับสังคมว่าที่ตรงนี้มีอะไร  แต่ก็น่าจะหมายถึงการไปเพื่อเก็บเกี่ยวบางอย่างกลับมายังที่ "ตรงนี้.."

ระวังไปบ่อย จนบ้านร้างคนดูแลนะครับ ..(ยิ้ม ๆ ...)

  • ใช่ๆๆ เห็นพี่หนิงเดินทางบ่อยมากเลย
  • แต่ก็พอเข้าใจค่ะ - -อย่างไรรักษาสุขภาพนะคะ : )
  • เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีโอกาสเจอกันเลยนะคะ

555  คุณพนัส  ก็หนุ่มลาดพ้าว เหมือนกันนี่นา  เข้ากทม. ไม่น้อยกว่าพี่หรอกนิ

ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ 

บ้านพี่ไม่ร้างหรอกค่ะ  ลูกๆ DSS มาพร้อมหน้าเสียงดังทุกวัน  จนช่วงก่อนพี่จะสอบfinal (ของนิสิตโข่ง) พี่ยังต้องตัดสินใจลาพักผ่อน เพื่ออ่านหนังสืออยู่ที่คอนโดฯอ่ะค่ะ  ขืนมาทำงานไม่ได้อ่านหนังสือสอบแน่ๆ  สมาธิยิ่งน้อยลงตามวัย  อิอิ

ขอบพระคุณค่ะคุณน้อง

พี่หนิงพยายามเดินสายเฉพาะเรื่องเอดส์และนิสิตพิการ แล้วนะคะเนี่ย... ไม่อยากเดินทางมากหรอกค่ะ (เปลือง  อิอิ เหนื่อยค่ะ )  เพราะพี่เรียนหนังสือ เสาร์/อาทิตย์ แค่ทำงานกับเรียน  7 วันในสัปดาห์นี่ก็รู้สึกว่า บริหารเวลาไม่ถูกแล้วค่ะ 

สวัสดีค่ะ  พี่หนิง

ครูเอเคยทำงานกับคนพิการนะค่ะ  ได้เป็นระดับรากหญ้าค่ะ

 ไม่เคยได้รับการอบรมแบบนี้เลย  ส่วนมากคนพิการที่เคยทำงานด้วย จะได้รับการฝึกอาชีพจากศูยน์ฝึกอาชีพเพื่อคนพิการมาก่อน  ถ้าที่เชียงใหม่รู้สึกว่าจะชื่อ ศูนย์หยาดฝน ถ้าจำไม่ผิดนะค่ะ 

แล้วเครือข่ายนี้เขาทำอะไรบ้างค่ะ  เผื่อได้ความรู้เป็นประโยชน์ให้แก่พี่ๆน้องๆคนพิการที่รู้จักค่ะ

  • ขอบพระคุณหลาย ๆ มี่แวะไปทักทายนักศึกาฝึกประสบการณ์ของสวนป่าครับ
  • ขอบคุณอีหลี

ขอบพระคุณค่ะครูเอ

พี่หนิงก็คนทำงานกับคนพิการ  ระดับปฏิบัติการค่ะ  เราไม่ใช่รากหญ้านะคะ เราเป็นรากแก้ว  เพราะเราลงทำด้วยกันกับคนพิการจริงๆ สัมผัสจริง  เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

แล้ว best practice รุ่นนี้  พี่หนิงเจอ  ตัวแทนผู้พิการทางการเคลื่อนไหวระดับรุนแรงด้วยนะคะ  พี่เขาทำงาน กลุ่ม IL (Independent Living ) ของจ.นครปฐม ที่เคยมีผู้เสนอชื่อเข้ารับการVote ให้เป็นคนดีของสังคม  จากรายการของดีแทค อ่ะค่ะ 

ในส่วนอปท.ก็มีด้วยนะคะ  ปลัดจากอบต.โจดหนองแกค่ะ

ผู้พิการทางการได้ยินก็มี  น้องๆตัวแทนจากหลายองค์กรค่ะ 

ครูการศึกษาพิเศษก็หลายท่านค่ะ  ที่จำได้ก็จาก โสตฯอุดร 

รอติดตามในบันทึกต่อไปนะคะ  พี่หนิงจะเล่าสู่ฟัง ว่ารุ่นนี้ทำอะไรกันบ้าง  เป็นสองวันที่สนุกมาก  ไม่เสียดายเวลาที่ไปเลย  ได้รู้ว่าในแต่ละมิติของการทำงานกับคนพิการที่เข้มแข็งทำกันอย่างไร

  • แวะมาสวัสดีค่ะ
  • ดีใจที่ได้รู้จักทีมดูแลผู้พิการอีกคน
  • มาพร้อมกับรายงานข่าว
  • วันก่อนที่ครูหนิงแวะไปเยี่ยม
  • หมอหน้าแตกดังเพล้งเลยค่ะ
  • ก็เรื่อง เลขา3ต.ทีมเบาหวานอุดรนะค่ะ
  • อ่านแล้วเข้าใจไปเป็นเรื่องอื่นซะนี่
  • ตอนนี้รู้จัก 1ต.แล้วค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

แหะๆ  อายจัง  ยังไม่ได้เขียนต่อเลยว่า

แต่ละกลุ่มไปทำอะไรกันมาค่ะ  คร่าวๆไว้ก่อนนะคะ

  • ICT
  • CBR& IL & DET
  • สื่อสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
  • Universal design

 

สวัสดีคะพี่หนิง

กำลังอ่านเพลินเลยคะ ยินดีด้วยนะคะ แล้วคนพิการด้านอื่นเค้ามีล่ามแปลให้ต่างหากเหรอคะพี่หนิง ปู เห็นตอนทีม ศวพถ จัดกันที่หาดใหญ่ล่ามภาษามือน่างสงสารมากคะ เพราะมีกันน้อย มาก

จะคอยฟังเรื่องเล่าเมื่อกลับมาคะ

สวัสดีค่ะ...พี่หนิง

  • แวะมาภูมิใจแทนกับเครือข่ายนี้ด้วยคนค่ะพี่หนิง

 

555  อายจัง  ยังไม่ได้มาเล่าต่อเลย

กวนๆ ขำๆ

 

มาเยี่ยมนะคะ และมาเป็นสมาชิกตามคำชวนแล้วด้วยค่ะ ลองแวะไปที่ napa_dss นะคะ วันที่ 19 พ.ค. เจอกันค่ะ

รูปถ่ายประจำ blog ดูดีมากค่ะน้องหนิง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท