ผลงานศึกษานิเทศก์


ผลงานศน.
ศึกษานิเทศก์เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนมากศึกษานิเทศก์ จะทำงานโดยต้องมีโครงการรองรับ แต่ละปีเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณ ก็จะต้องเสนอโครงการเพื่อให้ได้รับอนุมัติจาก ผอ.เขตพื้นที่ แล้วจึงดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งอาจเป็นโครงการตามนโยบาย หรือโครงการที่คิดขึ้น ตามสภาพปัญหาของงานที่ตนเองรับผิดชอบ ดังนั้นผลงานวิชาการของศึกษานิเทศก์ น่าจะทำการประเมินโครงการที่ตนเองรับผิดชอบ ส่วนมากใช้รูปแบบ CIPP คือ ประเมินบริบท ปัจจัย กระบวนการ และ ผลผลิต โดยนำขอบข่ายการประเมินทั้ง ๔ ด้าน มากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการประเมิน ด้านบริบทก็จะประเมินว่า วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับนโยบายหรือไม่ ด้านปัจจัย ก็ประเมินว่าทรัพยากรที่ระบุในโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอหรือไม่ ด้านกระบวนการ ก็ประเมินกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการว่าดำเนินการได้ระดับใด เหมาะสมหรือไม่ และด้านผลผลิตก็ประเมินว่าเป้าหมายท่กำหนดไว้ในโครงการสำเร็จหรือไม่ ได้ผลระดับใด เป็นกรอบความคิดย่อ ๆ เพื่อนให้เพื่อนศึกษานิเทศก์ได้นำไปศึกษาเพิ่มเติมถ้าจะทำผลงานวิชาการเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
คำสำคัญ (Tags): #ผลงานศน.
หมายเลขบันทึก: 168583เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2008 04:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะท่าน ศน.

 

  • จริงๆหรือคะ  ที่ท่านทำงานตามโครงการที่ตั้งไว้
  • แล้ว  ตามปกติท่านต้องไปให้ความช่วยเหลือ แนะนำ  ให้ความรู้แก่ครูในเขตพื้นที่ที่ท่านดูแล ด้วยใช่ไหมคะ
  • หาก ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโครงการที่ท่านตั้งไว้  ส่วนนั้นที่พูดถึง ก็ไม่พัฒนา  รอรอรอรอ ท่านไปช่วย  ไม่ไหว ก็ต้องช่วยตัวเอง  ไปแบบเดิมๆ ใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะ

        เสียดายค่ะทีไม่ได้อยู่ในทีมมาเยี่ยม หนองบัวลำภูค่ะ เพราะต้องอยู่ที่อุดรเขต 3

        ได้ข่าวว่ากิจกรรมโครงการก้วหน้าดี ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

 

สวัสดีค่ะท่าน ศน.

ครูอ้อย ขอขอบคุณ GotoKnow ที่ได้ลิ้งค์ ข้อมูลไว้ จึงได้ตามมาถูก จะได้ชี้แจงให้เข้าใจกันนะคะ

จากบันทึก เรื่อง...ครูอ้อยเรียนปริญญาเอก » เชื่อไหม..ครูประถมไม่จำเป็นต้องเรียนปริญญาเอกหรอก

ในส่วนที่ ครูอ้อย เคย ให้แสดงความคิดเห็นไว้กับท่าน ...ศน. ละดา ดอนหงษา

ครูอ้อย ได้แสดงความคิดเห็นว่า....

1. ครูอ้อย แซ่เฮ เมื่อ อา. 02 มี.ค. 2551 @ 05:08 562422 [ลบ]

สวัสดีค่ะท่าน ศน.

  • จริงๆหรือคะ ที่ท่านทำงานตามโครงการที่ตั้งไว้ แล้ว ตามปกติท่านต้องไปให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ให้ความรู้แก่ครูในเขตพื้นที่ที่ท่านดูแล ด้วยใช่ไหมคะ
  • หาก ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโครงการที่ท่านตั้งไว้ ส่วนนั้นที่พูดถึง ก็ไม่พัฒนา รอรอรอรอ ท่านไปช่วย ไม่ไหว ก็ต้องช่วยตัวเอง ไปแบบเดิมๆ ใช่ไหมคะ

แต่ ท่าน ศน.ใจน้อย ได้เข้าไปอ่านบันทึก และแสดงความคิดเห็นให้ครูอ้อย แบบ..สงสัย...

ดังนี้

15. ศน.ใจน้อย

เมื่อ อ. 18 มี.ค. 2551 @ 23:04 579021 [ลบ]

  • ขอคิดด้วยคนนะครับ ครูประถมไม่จำเป็นต้องเรียนปริญญาเอกหรอกครับ
  • ถ้าเขาจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี(ความจริงไม่ใช่ครูประถมเท่านั้นนะครับ ครูระดับไหนก็เหมือนกัน)และถ้าครูประถมคนนั้นสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม น่าจะเป็นหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยจะต้องมอบดุษฎีบัณฑิตให้เขา เพื่อให้ครูประถมสามารถไปสอน ป.เอกอย่างครูอ้อยได้ไงครับ (ตามกติกาถ้าไม่มีดุษฎีบัณฑิตจะสอนระดับ ป.เอกไม่ได้ใช่ไหมครับครูอ้อย)
  • จริงๆแล้วไม่ได้ตั้งใจจะล้อนิสิต นักศึกษาป.เอก เล่นหรอกนะครับ
  • ถ้าเคืองผมก็ต้องขอโทษ ด้วยความเคารพครับ
  • เพียงแต่จะแซวครูอ้อยเล่นๆ
  • เพราะครูอ้อยก็แซวศึกษานิเทศก์เล่นๆใช่ไหมครับครูอ้อย

 

  • "จริงๆหรือคะ ที่ท่านทำงานตามโครงการที่ตั้งไว้ แล้ว ตามปกติท่านต้องไปให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ให้ความรู้แก่ครูในเขตพื้นที่ที่ท่านดูแล ด้วยใช่ไหมคะ หาก ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโครงการที่ท่านตั้งไว้ ส่วนนั้นที่พูดถึง ก็ไม่พัฒนา รอรอรอรอ ท่านไปช่วย ไม่ไหว ก็ต้องช่วยตัวเอง ไปแบบเดิมๆ ใช่ไหมคะ" ไม่เข้าใจจริงๆครับ ว่าครูอ้อยแนะนำ หรือแดกดัน!

 

ส่วนวันนี้..ครูอ้อย  ขอเรียนถามว่า

1.  ครูอ้อย  เข้ามาทักทาย และแสดงความคิดเห็นกับท่าน ศน. ละดา  แล้ว  ทำไม  ศน.เปลี่ยนแปลง เป็น ศน.ใจน้อย  เพศ เป็นผู้ชาย....ตอบ  ครับ ครับ...ครูอ้อยไม่ติดใจล่ะค่ะ   ด้วยความเคารพเช่นกัน  เรามาอ่านกันต่อไปนะคะ

2.  ครูอ้อย  อาจจะเขียนความกลับไปมา น่าเวียนหัว ชวนให้ท่าน เกิดอาการไม่พอใจ   แต่เรามาพูดกันให้กระจ่างกันเลยนะคะ  ว่า...ศน.ทำงานตามโครงการ และทำผลงานตามที่ทำในโครงการ  ท่าน แนะนำ เพื่อน ศน.ได้ดีมากค่ะ  ครูอ้อย ก็เห็นด้วยนะคะว่า  ควรทำในส่วนที่เราได้ทำ  เพราะจะเห็นการพัฒนาเด่นชัด...

3. แต่  ส่วนที่ครูอ้อยกล่าวถึงนั้น  เพียงแต่เรียนถามนะคะ...ไม่ได้..แดกดัน  อย่างที่ท่าน ศน.ใจน้อยท่าน  คิด หรือรู้สึก

   เช่น  งานที่ครูอ้อย  ได้รับมอบหมาย  จาก เขตพื้นที่  โดยมี ศน.เป็นผู้ประสาน 3 ปีแล้ว  ที่เรา ครูประถม 7 โรงเรียน  ช่วยกันคิด ทำ และมีผลสำเร็จมาถึงนักเรียน  เราทำถูกใช่ไหมคะ เรา ดั้นด้น ทำตามกระบวนการของ..โครงการ  ซึ่งมันจะยาก นาน หรือมีอุปสรรคใดใด  เราก็เสร็จเรียบร้อย.....โดยไม่มี เขตพื้นที่ หรือ ท่าน ศน.ที่มีหน้าที่..มาดูแล ช่วยเหลือ ถามไถ่  แต่..ยังดี  ชื่นชม  เมื่องานสำเร็จ  และขอรายงานผลไป..จบ ด้วยดี  ไม่มีอะไร  ในกลุ่มโรงเรียนประถม...

ด้วยเหตุนี้ล่ะค่ะ  ครูอ้อย  จึงได้เรียนถาม ท่าน ศน.ละดา ไปสั้นๆ  ว่า....โครงการที่ครูอ้อยทำ  ที่กล่าวถึงข้างบนนี้น่ะค่ะ  ต้องพูดยาวหน่อย  เดี๋ยวท่านจะสับสน   ต่อนะคะ...  ความจริงแล้ว ไม่ได้เข้าไปอยู่ในโครงการ  ที่ ท่าน ศน.ละดา พูดถึง  ก็เลย  ไม่มี ศน.เข้ามาดูแล  ใช่ไหมคะ

ท่าน ศน.จะดูแล เฉพาะ...โครงการ  โรงเรียนที่เข้าไปในโครงการ

หน้าที่ ของ ศน.  ก็คือ  การดูแล ช่วยเหลือ  ครู โรงเรียน ในพื้นที่ ใช่หรือเปล่า

ครูอ้อย สงสัย และเรียนถาม เท่านี้ค่ะ

 

อ้อ.....ท่าน ศน.ละดา...อาจจะไม่รู้เรื่อง ที่ถูก  ท่าน ศน.ใจน้อย..โคด  คำของครูอ้อยไปก็ได้ค่ะ

หากเป็นดังที่กล่าวมา...ครูอ้อย ก็ขออภัย

ด้วยใจจริง..ไม่ได้..มีเจตนา  แดกดันเลย

เรามาศึกษากัน  เข้าใจกัน  ต่อๆไปนะคะ..ว่า...ครูอ้อย คือ ครูอ้อย

เรื่อง การเรียนปริญญาเอก ในบันทึกนั้น  ก็ขอบคุณ ที่ท่าน ศน.ใจน้อย  ไปแสดงความคิดเห็น...ขอบคุณจริงๆ...

และ หากท่าน ศน.ละดา...ไม่เข้าใจว่า..อะไรเกิดขึ้น  ครูอ้อย ก็จะเรียนให้ทราบว่า....ท่าน ศน.ใจน้อย ได้ โคด คำพูดของครูอ้อยไป  แล้วครูอ้อยตามมาพบค่ะ  ทั้งหมดนี้  ท่าน ศน.ละดา  อาจจะลบก็ได้เป็นสิทธิของท่านนะคะ

ขออภัยที่ ครูอ้อย ใช้เนื้อที่ รกรุงรัง...แต่หวังว่า..คงสบายใจกันทุกท่าน

ครูอ้อย  สบายใจแล้ว..เฮ้อ..

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

  1. ภารกิจหลักของศึกษานิเทศก์ ตรงตามตำแหน่ง คือนิเทศ ติดตาม แนะนำช่วยเหลือครู
  2. ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานด้านวิชาการและการบริหาร
  3. จัดประชุม อบรม สัมมนา
  4. ศึกษาค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
  5. พัฒนาหลักสูตร สื่อ การเรียนรู้ เอกสาร
  6. ผลิตสื่อ คู่มือ เอกสารทางวิชาการ
  7. สนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษานิเทศภายใน และจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ
  8. คุรุสภาได้กำหนดหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตาม"มาตรฐานศึกษานิเทศก์  คุรุสภา 12 ข้อ พ.ศ.2541  ของกระทรวงศึกษาธิการ 

        ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ศึกษานิเทศก์จะเป็นกำลังใจสำคัญในการเร่งรัด พัฒนาคน พัฒนางาน สร้างขวัญ กำลังใจ ให้เกิดขึ้น ถ้าครูคือหัวใจของการปฏรูปการศึกษา ศึกษานิเทศก์ก็ร้อมเป็นยาบำรุงหัวใจ ศึกษานิเทศก์ไม่ใช่ดาว แต่เป็นกลุ่มคนเดินดิน ที่มา....นสพ.คมชัดลึก วันที่ 15 ก.ย. 2546

  • ตำแหน่งศึกษานิเทศก์  เป็นบุคลากรทางการศึกษาอื่น
  • ตำแหน่งนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน ในกระทรวงศธ.มีหน้าที่พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการประชุม  อบรม  สัมมนา ศึกษาต่อ  ศึกษาดูงาน   ไม่มีหน้าที่ไปนิเทศ ประเมินข้าราชการครูและบุคลากร ฯ
  • ไม่ทราบว่าจะเกาถูกที่หรือเปล่า
  • คงต้องคุยกันหลังไมค์ ละมั้ง
  • ขอบคุณค่ะ
  • สำหรับการเรียน ป.เอก ขอยืนยันความเห็นเดิม ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะสอนชั้นไหนก็ตาม
  • สาระสำคัญอยู่ที่การนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพของเราต่างหาก
  • ทำไมพี่ถึงต้องเรียน ป.ตรีใบที่สอง สาขานิติศาสตร์ ก็เหตุผลเดียวกันค่ะ ทั้งๆที่จบ ป.โทบริหารการศึกษา
  • เมื่อเราตัดสินใจทำอะไร?และเราคิดว่าถูกต้อง ไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน  เสียหาย ก็ทำไปเถอะค่ะ เพื่อเยาวชนไทย
  • ร้อยคน ก็ร้อยความคิด  ท่ามกลางความหลากหลายย่อมมีความแตกต่าง
  • นอนหลับฝันดีค่ะครูอ้อย
  • ที่

 

  • ครูอ้อยคะ พิมพ์ พ.ศ.เกณฑ์มาตรฐานศึกษานิเทศก์ผิดค่ะ ขอแก้ไขเป็น มาตรฐานศึกษานิเทศก์ 12 ข้อ  พ.ศ. 2540 คุรุสภา บรรทัดสุดท้าย ลบออกให้ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ศน.ละดา และคุณพี่ ..... เอื้องแซะ

 

  • ขอบพระคุณ คุณพี่เอื้องแซะ  ที่ได้ อธิบายและทำความกระจ่างให้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะ  ไม่มีการตอบรับจาก ศน.ใจน้อยก็ตาม  อย่างน้อย ก็ได้  แก้ไข ไขข้อข้องใจ  ทางอักษร
  • ขออภัย ศน.ละดาที่ทำให้เนื้อที่แลกเปลียนตรงนี้ เกะกะไปเล็กน้อยค่ะ
  • โอกาสหน้า คงได้พบกันอีกนะคะ

สวัสดิคะครูอ้อย

ห่างเหินการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไปนาน อาจจะยุ่ง ๆ ตั้งใจปี 2552จะเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้มากขึ้น ขอทำความเข้าใจกับครูอ้อย ที่ลงข้อเสนอไปนั้นเป็นการชี้แนะ ศน.ที่ต้องการพัฒนาวิทยฐานะให้สูงขึ้น โดดสามารถนำโครงการที่รับผิดชอบมารายงาน หรือประเมินโครงการก็ได้ เป็นแนวทางหนึ่งเท่านั้นคะ โดยขอบข่ายงานของศึกษานิเทศก์นั้นก็ตามที่ คุณเอื้องแซะได้เสนอไว้นั่นแหละคะ ศึกษานิเทศก์เป็นเพื่อนคู่คิดของครู ได้ร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน มีหลายเรื่องที่ศึกษานิเทศก์ต้องเรียนรู้จากคุณครู และก็หลายเรื่องที่ครูเรียนรู้จากศึกษานิเทศก์ แต่บทบาทการเรียนรู้แตกต่างกัน ศึกษานิเทศก์มีบทบาทจัดการให้ครูเก่ง ๆ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็เป็นการนิเทศวิธีหนึ่ง เป้าหมายการนิเทศคือ การนิเทศเพื่อให้ครูเข้มแข็ง ที่ครูอ้อยและเพื่อนในโรงเรียนคิดงานและพัฒนาจนประสบผลสำเร็จนั้น นับว่าเป็นผลสำเร็จที่ดีมาก ครูอ้อยน่าจะภูมิใจและน่าจะได้เผยแพร่เทคนิคการทำงานที่ประสบผลสำเร็จให้คนอื่นได้เรียนรู้ด้วย เรื่องการเรียน คิดว่า ทุกคนสามารถเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นครู ศน.หรือ ผู้บริหาร เป็นการพัฒนานเอง ขอชื่นชมกับครูอ้อยนะคะที่ไม่หยุดนิ่งพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท