เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ ดีเดย์เริ่มขับเคลื่อน


วันนี้เข้าร่วมประชุม เพื่อการขับเคลื่อนพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ ความชัดเจนในการขับเคลื่อนงาน "เครือข่าย" เริ่มจะชัดเจนมากขึ้นแล้ว มีกันพูดถึงโครงสร้างภารกิจระดับเครือข่ายภาคเหนือ หลังจากที่มีการทำกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจเรียบร้อยแล้ว

นับว่าเป็นการก้าวเคลื่อนที่น่าดีใจในฐานะผู้ประสานงานและนักวิจัย ถึงแม้งานในภาระของผมได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่เรายังมาร่วมกันผลักดันกันต่อไป

นี่อาจหมายถึง การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยอีกรูปแบบหนึ่ง ...

ได้พูดคุยกับ คุณบันเทิง เครือวงศ์ นายก อบต.ตับเต่า (ภูชี้ฟ้า) เชียงราย ท่านได้นำเอกสารแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์มาให้ดู เป็นแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับการนำกิจกรรมบางอย่างไปวางแผนการจัดการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น

ผมขอยกร่างแนวคิดทั้งหมดมาให้อ่านกันด้วยครับ

แนวคิด การจัดการท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์

 

แนวคิด การจัดการท่องเที่ยวเชิงกลยุทธุ์

 

การพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

  1. การสำรวจและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในแหล่งท่องเที่ยว
    1. การจัดสร้าง ปรับปรุงศูนย์บริการท่องเที่ยว
    2. การจัดทำและติดตั้งป้ายบอกระยะทางและลักษณะเส้นทางในพื้นที่และป้ายแนะนำ แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆใกล้เคียง
    3. การเพิ่มพูนศักยภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
    4. การสร้างภาพลักษณ์เชิงการท่องเที่ยวของพื้นที่
    5. การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ประกอบการและองค์กรท้องถิ่น
    6. การส่งเสริมมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่
    7. การส่งเสริมความปลอดภัยต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินให้กับนักท่องเที่ยว
    8. การปกป้องและดูแลแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเปราะบางง่ายต่อการถูกทำลาย
    9. การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เสนอต่อผู้ประกอบการ
    10. การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
    11. ร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว,โปรแกรมการท่องเที่ยวตามความเหมาะสมและเป็นไปได้
    12. ประสานงานกับผู้ประกอบการท้องถิ่น,ส่วนกลาง
    13. แจ้ง/ปฐมนิเทศ ก่อนเข้าชม,มีป้ายประกาศที่เตือนที่ชัดเจน
    14. จัดเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลในจุดเปราะบางหรือควบคุมนักท่องเที่ยว
    15. ปรับปรุง บูรณะ ซ่อมแซม ส่วนที่ถูกทำลาย
    16. เพิ่มความเข้าใจให้นักท่องเที่ยว เรื่องความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยว
    17. เตรียมสิ่งป้องกัน เช่น ราว-รั้วทางเดิน และป้ายเตือนในจุดอันตราย
    18. เตรียมการสำหรับความปลอดภัย เช่นสัญญาณเตือนภัย,เครื่องมือปฐมพยาบาลและเรือนพยาบาล
    19. การประสานงานกับหน่วยงานช่วยเหลือด้านความปลอดภัยล่วงหน้า
    20. จัดมีรถบรรเทาสาธารณภัย ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
    21. เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวร่วมกันในพื้นที่
    22. ตระหนักร่วมกันในการดูแลรักษา แหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
    23. ปลุกจิตสำนึกในการดูแลรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมและสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติอย่างดีเยี่ยม
    24. ภายในพื้นที่เดียวกัน
    25. เชื่อมโยง
    26. เผยแพร่ภาพลักษณ์ฝลักษณะเด่นของการท่องเที่ยวให้พื้นที่ให้รู้จักแพร่หลาย
    27. สร้างจุดขายให้นักท่องเที่ยวเลือกตัดสินใจเลือกตามความสนใจและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่(การเดินทาง)
    28. การพัฒนาทักษะการจัดการท่องเที่ยวของคณะกรรมการของพื้นที่
    29. เพิ่มทักษะให้มีความเข้าใจเรื่องความยั่งยืน การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวและคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบการ
    30. การพัฒนาไกด์ท้องถิ่น /การเดินป่า
    31. สำรวจ จัดทำ กำหนดจุดติดตั้งตัวป้ายบอกระยะทาง
    32. จัดทำให้เพียงพอและเหมาะสม
    33. เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร
    34. อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
  2.  

    ที่มา

    : ดร.สมพล ชื่นธีรวงศ์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
  3. สำรวจความเพียงพอ,เหมาะสม,ของสิ่งอำนวยความสะดวก
  4. สำรวจความเสื่อมโทรม
  5. ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการนักท่องเที่ยว

 

หมายเลขบันทึก: 166907เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท