มาเรียงหินชายฝั่ง มานั่งดูคลื่นสึนามิ


 

 

สวัสดีครับทุกท่าน

        สบายดีกันไหมครับ  วันก่อนนำเสนอเรื่องระบบการเช็คสภาพคลื่นทะเลจากทุ่น DART กันไปแล้วนะครับ หรือที่เรียกว่า Tsunameter ครับ

http://www.schuai.net/TsunamiSim/fault.jpg

    ภาพนี้ชวนทุกท่านวิดน้ำออกจากทะเล จนน้ำแห้ง เราก็จะได้ภาพดังนี้นะครับ (ว่าแต่ว่าจะวิดน้ำไปเก็บไว้ที่ไหนครับ อิๆๆ)

        ปกติแล้วเรามีทุ่นเอาไว้เตือนภัย เพื่อให้เราวิ่งหนีกันแค่นั้น ไม่ได้มีทางออกว่าจะป้องกันคลื่นโจมตีชายฝั่งได้อย่างไร ทำได้แค่หนีเอาชีวิตรอดเท่านั้น แต่ทางออกในการลดความแรงของคลื่นสึนามินั้นมีหลายๆ ทาง เช่น ปลูกต้นไม้บริเวณชายฝั่งเช่น ชายเลยปลูกโกงกาง หรือบริเวณทั่วไปที่มีต้นเตย ก็อาจจะช่วยได้ระดับหนึ่ง ทางญี่ปุ่นก็มีการสร้างสิ่งประดิษฐ์เช่นกำแพงกันคลื่น พร้อมวางแท่งปูนรูปแบบต่างๆเพื่อลดแรงต้านและให้คลื่นแตกกระจายเมื่อชนฝั่ง

        วันนี้ผมมาลองมั่วๆ ดูนะครับ คือใช้หลักการเอาหินที่อยู่ในทะเลอยู่แล้ว ขอยืมพระธรรมชาติมาจัดเรียงใหม่ เพื่อจัดเรียงรอรับคลื่น นับว่าใช้ ธรรมชาติ(หิน) รอรับต้อนรับธรรมชาติ(สึนามิ) เพื่อป้องกันธรรมชาติ (ชายฝั่ง)

        ลองคลิกเข้าไปดูได้จากที่นี่ครับผม สำหรับการจัดเรียงหินตัวอย่าง พร้อมการเคลื่อนที่ของคลื่นและชนก้อนหินในแบบต่างๆ และมีการจำลองสึนามิในส่วนท้ายของคลิปวีดีโอด้วยครับ เป็นเวลาประมาณ สิบนาที 16.6 Mb ครับ

        http://www.schuai.net/TsunamiSim/index.html

และเวอร์ชั่นถัดมาจำลองมีก้อนหินที่อยู่ใต้น้ำ และโผล่พ้นน้ำ และชายหาดให้ด้วยครับ ผมลองเอาไปใส่ไว้ใน youtube ดังนี้ครับ 

http://www.youtube.com/watch?v=ny9HFqG7ebA 
 
มาดูอีกชุดครับ เป็นการทดลองดูว่า ชายหาดเปล่าๆ เป็นอย่างไร  สร้างเขื่อนกันคลื่นจะส่งผลอย่างไร และการจัดเรียงหินดีขึ้นหรือไม่  ลองดูกันตามเหตุและผลครับ ถือว่าเป็นกรณีศึกษานะครับ 
http://www.youtube.com/watch?v=zpMutgPrXAU 

หากท่านได้แนวคิดในการเรียงหิน ลองวาดแล้วส่งมาได้ครับ

        แนวคิดการเรียงหินนี่ มีคนเคยนำเสนอและโจมตีมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ผมก็อยากทำจำลองดู อยากน้อยเห็นรูปแบบการกระทบของคลื่นและการสะท้อนพร้อมการเลี้ยวเบนในรูปแบบต่างๆ จะทำให้เข้าใจคลื่นมากขึ้น อย่างน้อยทำให้เราเข้าใจก่อนจะสร้างอะไร นี่คือข้อดีของการทำ จำลอง Simulation

จากการทดลองนี้ หากจะนำไปใช้จริง ต้องศึกษาให้ดีก่อนครับ และมีข้อสังเกตดังนี้

  1. หินเหล่านั้น หากจะนำไปวาง ควรจะเป็นหินในทะเลที่มีอยู่แล้ว โดยการย้ายตำแหน่งหินจะต้องศึกษาผลกระทบก่อนเสมอ
  2. หินถือว่าเป็นธรรมชาติ นำมาใช้เพื่อรับคลื่นซึ่งเป็นธรรมชาติ และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งก็เพื่อธรรมชาติ
  3. มองให้หินมีชีิวิต มองให้คลื่นมีชีวิต จัดเรียงให้น้ำไหลไปได้ ให้หินอยู่ได้ ให้ชายฝั่งอยู่ได้ ให้สรรพสิ่งอยู่ได้
  4. อื่นๆ ต้องศึกษาให้ละเอียด  การจำลองนี้เพียงแค่ศึกษาในขั้นพื้นฐานเท่านั้น การนำไปใช้ในทางที่ผิดถือว่าเป็นการไ่ม่ให้เกียรติธรรมชาตครับ
  5. อื่นๆ เพิ่มเติมเสริมไว้ได้นะครับ
  6. สำหรับการจัดเรียงหิน อาจจะมีคนค้านว่าบดบังทัศนียภาพ หินเหล่านั้น ไม่ได้สูงเหนือน้ำมากครับ บางครั้งหากน้ำขึ้นก็อาจจะจมน้ำไปครับ เพียงแต่ต้องศึกษาและรับรู้กันว่านั่นคือแนวหิน ทั้งนี้และทั้งนั้นควรมีการจำลอง หรือทดลองซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ตลอดจนการจำลองในการทดลองจากชายหาดจริงก่อนจะนำไปใช้จริงด้วยครับ

 


 

       ต่อไปเป็นตัวอย่างการสร้างเขื่อนกันคลื่น ที่ บริเวณ นาทับ จ.สงขลานะครับ ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างไร ชาวบ้านในพื้นที่คงได้รับกันแน่นอนครับ ไม่มากก็น้อย ผมทำหน้าที่จำลองดูแนวทางของการโจมตีของคลื่นในวงของการจำลองเท่านั้นครับ ซึ่งคลื่นจริงอาจจะไม่รุนแรงอย่างนีครับ เพียงแต่มีการกัดกร่อนที่ชายฝั่งแน่นอนครับ มาดูภาพกันนะครับ

       สำหรับกรณีต่อไป ผมได้ลองจำลองในบริเวณแหลมตาชีและบริเวณชายฝั่งปัตตานีในอ่าวปัตตานี และบริเวณพื้นที่งอกของ มอ.ปัตตานี เพราะเกิดการพัดพาจากตะกอนที่แหลมตาชีมากองในฝั่งของบริเวณ มอ.ปัตตานี และประกอบกับตะกอนที่ไหลมาจากแม่น้ำปัตตานี มาลงในอ่าวครับ มาดูบริเวณที่ว่ากันนะครับ

       ท่านมีความเห็นในด้านใดๆ ก็ฝากและเสนอแนะไว้ได้นะครับผม 

 

กราบขอบคุณมากครับผม

เม้งครับ 

หมายเลขบันทึก: 165593เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2008 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เม้ง สมพร 

ช่วงเช้าๆผมโหลดตามที่เพื่อนส่งมาให้ใน MSN ปรากฏว่า มันโหลดได้ช้าครับ แต่โหลดแล้วก็เป็นภาพที่สวยดี สำหรับผมอาจมองไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่จินตนาการไปถึงคลื่นจริงๆในทะเล ที่ไม่ต่างกัน หากเราวสามารถคำนวณได้แม่นยำในการพุ่งเข้าหาฝั่งของคลื่น ผมคิดว่าเกิดประโยชน์มากกับประเทศของเรา

มาถึงเรื่อง "ไฟป่า" พี่ชาย (เสธฯปิยวุฒิ) ท่านได้โทรมาพูดคุยเหมือนกันครับ ผมเองไม่ทราบว่าต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้างเพื่อวางแผนทำโปรแกรมดูไฟป่าเล็กๆ ตามที่ท่านตั้งใจ

ทราบว่า Thesis ใช้ทุนของ ADB.ด้วยครับ หากเราได้โปรแกรมที่คิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์กับ กระบวนการป้องกันไฟป่า ในเนื้อหาส่วนหนึ่งเป็นเชิงสังคม ที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในการป้องกันไฟป่า

ผมให้ความเห็นไปว่า ทุกๆผลลัพธ์จากไฟป่านั้นเกิดจาก "คน" ทั้งหมดทั้งสิ้น ปัจจัยอื่นก็น้อยมากๆ ดังนั้นหากจะแก้ไขปัญหานี้ก็คงต้องมองที่ "คน" ก่อนอันดับแรก

เล่าสู่กันฟังครับ เพื่อนครับ

พักผ่อนบ้างนะ- - -สู้ๆ

ดีมากครับ

ผมว่าอาจต้องเรียงหินแนวยาวแนวนอนสลับกันให้มากกว่านี้เพื่อให้น้ำทะเลกระทบกันเองครับ

คลิกไปแล้ว โหลดช้าหน่อยค่ะ

สวัสดีครับทุกท่าน

        ลองโหลดกันดูก่อนนะครับ แล้วมาลองวิจารณ์และแนะนำกันดูนะครับ ไม่แน่อาจจะได้แนวทางที่ดีร่วมกันครับ เป้าหมายที่เดียวกันครับ

ขอบพระคุณมากครับ 

หวัดดีครับน้องบ่าว

  • พี่เองอยู่ใต้ด้วยแล้ว....ก็ไม่อยากให้มันเกิดซึนามิรอบต่อไปหรอกครับน้อง....
  • แล้วบ้านเราจะทำได้เหมือนญี่ปุ่นอีกมั๊ย....
  • เนี่ยล่ะครับปัญหา....ที่ไม่ทราบว่าผู้ใหญ่เค้าจะคิดเห็นเป็นไฉนเนาะ....
  • แค่ผ่อนหนักให้เป็นเบาสักหน่อยก็คงดีกับพี่น้องเรานะครับ
  • ขอบคุณค่ะ....กับความพยายามในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อสังคมนะคะน้อง

คำแนะนำเพิ่มเติม หรือข้อสงสัย? 

มีข้อขัดแย้งนะคะในกรณีของจะเอาหินมาวางได้ยังไง จะรับแรงกระแทกได้แค่ไหน จะกลายเป็นการซ้ำเติมด้วยหินหรือเปล่าในกรณีที่หินปลิวตามแรงคลื่นนะคะฯลฯ เพราะการวิจัยใดๆต้องมีข้อคำถามและแย้งเสมอ แต่ก็น่าสนใจ ถ้าสามารถตอบคำถามพื้นๆเหล่านี้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท