Nan & Ball Chongbunwatana
นายและนาง คมกฤชและประณยา จองบุญวัฒนา

4. ประวัติพระพุทธศาสนาในบังกลาเทศ


บังกลาเทศเคยเป็นอู่แห่งพระพุทธศาสนา มีหลักฐานว่า พระพุทธองค์เสด็จมาประกาศพระพุทธศาสนา และเทศน์โปรดพระสาวกในดินแดนนี้ด้วยพระองค์เอง พุทธศตวรรษที่ 15-18 พบจารึก ตำนาน และบทกวี ที่ เมืองซาลิมพูร (อ่านว่า ซา-ลิม-พู-ระ) และ บาเราทัน ในจิตตะกอง กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนบังกลาเทศโบราณ และ เผยแผ่ไปยังทิเบตด้วย

แณณได้ทราบจากคนไทยเมื่อคราวไปช่วยสามีปฏิบัติราชการที่เมืองจิตตะกองว่า มีวัดพุทธ อยู่ในเมืองๆ หนึ่ง ที่อยู่ไม่ไกลนัก พระสงฆ์ ขาดแคลน ชุดผ้าไตร จีวร สำหรับใช้นุ่งห่ม จึงเกิดความคิดอยากจะนำชุดผ้าไตร จีวร มาถวาย คาดว่าคงจะมีผู้สนใจอยากร่วมทำบุญด้วยจำนวนหนึ่ง  

เป็นไปตามคาดการณ์ ท่านที่เคารพกันซึ่งอยู่ในชุมชนแห่งความรู้นี้ 2 ท่าน แสดงความประสงค์อยากร่วมเจตนาบุญในครั้งนี้ด้วย

แณณจึงพยายามหารายละเอียดเพิ่มเติม จากเพื่อนชาวบังกลาเทศที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งสัญญาว่าเจอกันครั้งหน้าจะนำรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้

แณณใจร้อน เลยพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ได้พบประวัติพระพุทธศาสนาในบังกลาเทศ จึงขอนำมาฝากทุกท่านเพื่อปูพื้นไว้ก่อนค่ะ 

Map

    บังกลาเทศ เดิมเรียกว่า “เบงกอล” เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสองสายคือ คงคา และ พรหมบุตร (รูปที่1) ทางตอนเหนือของอินเดีย บังกลาเทศเคยเป็นอู่แห่งพระพุทธศาสนา มีหลักฐานว่า พระพุทธองค์เสด็จมาประกาศพระพุทธศาสนา และเทศน์โปรดพระสาวกในดินแดนนี้ด้วยพระองค์เอง และยังพบหลักฐานเกี่ยวกับวัด,พระพุทธรูป,พระบรมสารีริกธาตุ จารึกบนศิลา และแผ่นทองแดง ตามพื้นที่ต่างๆในดินแดนนี้ด้วย
    ราวพุทธศตวรรษที่2 ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในดินแดนแถบนี้ และมีบันทึกจากหลวงจีนอีก 3ยุค คือ (หลวงจีนฟาเหียน พุทธศตวรรษที่10 พระถังซำจั๋ง กลางพุทธศตวรรษที่12 และหลวงจีนอี้จิง ปลายพุทธศตวรรษที่12ที่กล่าวไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเทศน์โปรดพระสาวกที่ เมืองปุนดรา บาร์ดัน (Pundra-Bardhan) เมืองสมทัตตะ  (Samatatta) และอีกหลายแห่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตบังกลาเทศ
นอกจากนั้นหลวงจีนฟาเหียนได้บันทึกด้วยว่า ที่เมืองหลวง มีพระภิกษุ 2,000 รูปมีวัด 30 วัด และที่ เมืองทัมราลิพตะ มีวัด 22 วัด ส่วนบันทึกของพระถังซำจั๋งกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่ บาซู วิหาร ซึ่งอยู่ชานเมือง ปุนดรา บาร์ดัน  

ซัลบานา วิหาร

    ปลายพุทธศตวรรษที่12 มีหลวงจีนได้เดินทางมาที่ เมืองสมทัตตะ และบันทึกว่า มีพระสงฆ์ 4,000 รูป จำพรรษาในเมืองนี้ มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า ราชาราชภัตตะ บูชาพระรัตนตรัยและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีวัดสำคัญเป็นสถานที่ศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น ซัลบานา บานาคา สตูปา วิหาร (รูปที่2) และ บัณฑิตวิหาร ที่ เมืองจิตตะกอง โดยบัณฑิตวิหารนั้น นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นวัดที่มีพระและพระภิกษุต่างชาติพำนักอยู่จำนวนมาก โดยหลังจากมหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลายลงแล้ว สถาบันแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ 300 ปี  ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่า ยังคงถูกฝังอยู่ใต้เทือกเขาที่เมืองจิตตะกอง บางแหล่งก็สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง ภูเขารังมหล กับ มัสยิด จุมมา นอกจากบันทึกของนักบวชแล้ว ก็ยังมีบันทึกชาวจีนโบราณ ที่เดินทางมาในดินแดนแถบนี้ บอกว่าพบเห็นวัดวาอารามนับ 100 แห่ง

3

    พุทธศตวรรษที่11 และ 15 มีการค้นพบจารึกบนทองแดง และแผ่นหิน ที่มีอายุในช่วงนั้น อยู่ในหลายๆเมืองเช่น เมืองพาฮาพูร (อ่านว่า พา-ฮา-พู-ระ) และ มาฮัสตันกอล(รูปที่3) โดยกล่าวถึงเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ และ คุปตะ    
    พุทธศตวรรษที่ 15-18 พบจารึก ตำนาน และบทกวี ที่ เมืองซาลิมพูร (อ่านว่า ซา-ลิม-พู-ระ) และ บาเราทัน ในจิตตะกอง กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในดินแดนบังกลาเทศโบราณ และ เผยแผ่ไปยังทิเบตด้วย
4
    พุทธสถานที่เป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนานับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่12 จนถึงพุทธศตวรรษที่17 คือ สมพูร (อ่านว่า สะ-มะ-พู-ระ) มหาวิหาร (รูปที่4) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ มีเนื้อที่ทั้งหมด 27 เอเคอร์ เป็นพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2528    
5
  ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 มีข่าวการค้นพบวัดพุทธมีอายุย้อนหลังไปถึง 1,700 ปี ที่ วิหาร แดพ (รูปที่5) ทางตอนเหนือของบังคลาเทศ หากวัดระยะของสถานที่ที่ขุดพบจากตะวันออกไปตะวันตก จะได้ 250 เมตร วัดระยะจากเหนือลงใต้ จะได้ 220 เมตร มีความสูง 2 เมตร 
6
บทความนี้คัดลอกมาจาก
http://www.dmc.tv/pages/world_meditation/Bangladesh_Buddhism_Part_1.html
เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2551 02:30
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2551 http://www.dmc.tv
หมายเลขบันทึก: 164370เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2008 03:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แนนเขียนเรียบเรียงได้ดีมากน่าสนใจและน่าไปเที่ยวมาก  ช่วยเสาะหาเรื่องความขัดแย้ง  ให้บ้างเผื่อพานักศึกษาไปดูงาน

สวัสดีค่ะน้องแณณ

  • ครูอ้อยมาอ่านแล้วนะคะ   เขียนได้ดีมากเลยค่ะ 
  • ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้นะคะ  มีอะไรที่ครูอ้อยจะช่วยได้  ก็อย่าได้เกรงใจ  บอกมาเลยนะคะ

คิดถึง และเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณแณณ

    ขอบคุณสิ่งที่นำมาฝากให้ได้รู้เรื่องพระพุทธศาสนา ในบังคลาเทศ ได้ละเอียดขึ้น อ่านเป็นบันทึกแรกของเช้าวันนี้เลยค่ะ

  สรุปแล้ว คือผ้าไตรจีวรนี้ พระท่านขาดแคลนแน่นอนนะคะ พี่จะเริ่มบอกบุญไว้ก่อน ช่วงนี้ จะมีทัวร์จากชลบุรี ไปหลายคณะเหมือนกัน ถ้าทันอย่างไร จะได้ฝากไปไว้ที่วัดไทยกุสินาราก่อนดีไหม แล้วถ้าได้ไปอินเดีย ค่อยติดต่อกัน ว่าจะส่งไปบังคลาเทศอย่างไร อาจได้ของมากหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม วั นไปอินเดียมีจีรไปแน่ค่ะ คุณแณณ ลองคิดวิธีการ ประสานบุญเราให้สำเร็จนะคะ ขออนุโมทนาบุญ ในจิตอันเป็นกุศลในครั้งนี้ และยินดีที่จะได้ร่วมบุญค่ะ

โยคีน้อย

แณณ

ดีใจมาก

เห็นไหมว่าพลังของฝ่ายในน่ะ ไม่ธรรมดา

ขอชื่นชมนะจ๊ะ

เรื่องน่าสนใจมาก ทำดีๆ จะมีชาวพุทธไปเที่ยวบังคลาเทศอีกที่หนึ่ง

สาธุกับโยคีน้อยที่เตรียมบอกบุญแล้ว

ปล. ในปัจจุบันมีวัดไทยที่บังคลาเทศไหม และมีพระไทยไปจำพรรษาหรือปฏิบัติงานที่นั่นบ้างไหม

P    ลุงเอกคะ หนูและบอลยินดีต้อนรับอย่างยิ่งเลยนะคะ หากอยากแวะมาเที่ยวที่นี่ ขอเรียนเชิญอย่างด่วนเลยค่ะ :) 

  • ที่บังกลาเทศ มีเรื่องความขัดแย้งที่เป็นประเด็นใหญ่ ถึงกับต้องมีการจัดตั้ง กระทรวงชื่อ Ministry of Chittagong Hill Tracts ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะเลยค่ะ 
  • บริเวณ เมืองจิตตะกอง จะมีภูเขา ทิวเขามากมาย และชนพื้นเมืองท้องถิ่น จะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่
  • ความแตกต่างจนเป็นที่มาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งนั้น มีเรื่องราวมานานตั้งแต่สมัยอังกฤษ แบ่งแยกดินแดนค่ะ 
  • การต่อต้าน การใช้กำลัง มีต่อเนื่องมานานหลายสิบปี จนปี  2540 ได้มีการเจรจากันจนบรรลุข้อตกลงสันติภาพ แต่ก็ยังคงต้องมีการขยายผลในทางปฏิบัติอยู่จึงมีการตั้งกระทรวงนี้ขึ้นมาค่ะ
  • โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้และเพื่อให้ได้รับความร่วมมือและความเชื่อถือจากคนพื้นเมือง UNDP  ใช้วิธีการ ชักชวนให้ผู้นำท้องถิ่นให้เข้ามาทำงาน ร่วมกัน 
  • ปัจจุบัน ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวไม่ได้รุนแรงแล้ว แต่สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนคือการพัฒนา พื้นที่ คุณภาพชีวิตของคน ให้ดีขึ้น เนื่องจากพื้นที่แถบนี้ suffer มานานจากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จนไม่มีการพัฒนา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ย่ำแย่ อีกทั้งยังประสบกับภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำไหลแรง และพัดเอาบ้านเรือนชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณ แนวเขา พังทลาย และมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก เมื่อครั้งที่มีข่าว น้ำท่วมใหญ่ในบังกลาเทศค่ะ

P    พี่อ้อยคะ

  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มีให้ค่ะ หนูหายหน้าไป สองสามวัน ไปซ่อมอินเตอร์เน็ตค่ะ ตอนนี้กลับมาแล้วค่ะ เลยมาโม้ต่อได้แล้ว  :)

P   คุณโยคีน้อยคะ

  • ในบันทึกของแณณอีกฉบับหนึ่ง ได้เรียนพี่ไปว่า วิธีการที่ดีที่สุดตอนนี้คือ คงต้องส่งเป็นพัสดุจากอินเดียมาที่นี่ค่ะ เพราะค่าส่งจะไม่แพง เพราะใกล้ๆ กัน
  • แณณอยากขอร่วมทำบุญด้วย ขออนุญาต ออกค่าส่งนะคะ เพราะแค่รบกวนคุณโยคีน้อยช่วยบอกบุญและนำมาจากเมืองไทยก็เกรงใจมากแล้วค่ะ  ต้องรบกวนคุณโยคีน้อย อีเมล์หมายเลขบัญชีให้แณณด้วยนะคะ

P  พี่พลเดช คะ

  • ปัจจุบันไม่มีวัดไทยในบังกลาเทศ และในภูฏาน ค่ะ
  • มีแต่วัดพุทธ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เมืองธากาและเมืองจิตตะกอง (ตามที่    ปรากฎในข้อมูลของ สอท.)
  • วัดพุทธ ชื่อ Dhamarajika เป็นวัดพุทธ ในกรุงธากา ที่พระบาทสมเด็จ     พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฎราชกุมาร เคยเสด็จฯ เยือนในอดีต ค่ะ
  • พระไทยและแม่ชีชาวไทย ไม่มีที่นี่  แต่จะเดินทางมาเป็นครั้งคราว เพื่อมอบสิ่งของ บริจาค ให้กับวัดพุทธ ที่นี่ค่ะ
แนนอยากให้เขียนเรื่องความขัดแย้งในบังคลาเทศ  จะเอามาพิมพ์เป็นกรณีศึกษา

P  ลุงเอกคะ สวัสดีนะคะ

  • เรื่องความขัดแย้ง นี่หมายถึงทางการเมืองของที่นี่เหรอคะ ?
  • หากเป็นเรื่องการเมืองของที่นี่ แณณขอเรียนตามตรงว่า ไม่รู้จริงเท่าไหร่นักค่ะ รู้เพียงผิวเผิน และสถานการณ์ในปัจจุบันค่ะ
  • ความรู้เรื่องการต่างประเทศที่มีอยู่ที่ได้จากการทำงานนั้น จะเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ค่ะ ตั้งแต่ทำงานมาจะเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะ สำหรับประเทศแถบนี้เป็นส่วนใหญ่ค่ะ
  • แณณไม่เคยรับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับประเทศบังกลาเทศเลยค่ะ เลยมีความรู้เท่าหางอึ่งเองค่ะ เขียนไปตีพิมพ์เลยคงยังไม่มีความรู้พอหน่ะค่ะ
  • แต่หากลุงเอกต้องการจริงๆ  แณณคงต้องไปทำ Research กันเลยหล่ะค่ะ เพราะการจะมีความรู้มาเขียนเป็นเรื่องราวตีพิมพ์ได้นั้น คงต้องมีพื้นฐานมากและ ศึกษามากพอสมควร จึงจะสามารถเข้าใจและ วิเคราะห์อะไรได้นะคะ ข้อมูลที่นำเสนอจึงจะไม่ผิดพลาด

 

ขอบคุณที่ค้นคว้ามาให้อ่านนะคะ ไม่เคยอ่านหรือมีความรู้เรื่องพุทธศาสนาในบังคลาเทศมาก่อนเลยค่ะ

อ่านแล้วทำให้รู้สึกว่าบังคลาเทศนั้นก็น่าไปเยือน มีสิ่งต่างๆให้ชม ให้เรียนรู้ และแถมหากไปช่วงที่คุณแณณและสามียังอยู่ที่นั่น ก็จะมีผู้ให้คำแนะนำที่ดีมากและได้เที่ยวอย่างอุ่นใจนะคะ

 

P   พี่คุณนายด็อกเตอร์คะ

 

  • บังกลาเทศ เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายากจนมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง แต่ ทุกที่ก็ย่อมมีอะไรดีดี ซ่อนอยู่นะคะ เราลองมาหาสิ่งดีดีของที่นี่ด้วยกันดีไหมคะ แณณพบบ้างแล้วค่ะ
  • ยินดีต้อนรับนะคะ หากพี่คุณนายด็อกเตอร์ จะแวะมาเที่ยวที่นี่ แณณกับสามียังอยู่อีก 2 ปีค่ะ :)
  • ลุงเอกคะ แณณมารายงานตัวค่ะว่า ยังไม่ลืมการบ้านที่ลุงเอกให้ไว้นะคะ เรื่องความขัดแย้งน่ะค่ะ
  • เมื่อวานไปหาหนังสือมาอ่านเพื่อศึกษาข้อมูล ก่อนจะสังเคราะห์เนื้อหา มาเรียนลุงเอก ก็ได้มา 2 เล่มค่ะ ท่าทางจะเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งจริงๆ เพราะเล่มหนึ่งชื่อว่า Bangladesh:A Legacy of Blood ค่ะ
penpisut โรงเรียนบ้านเขาบ่อ

รู้สึกว่ามันจะไม่ค่อยครบนะค่ะ โปรดหาข้อมูลให้มากกว่านี้หน่อยค่ะ

  • ขอบคุณที่แนะนำค่ะ
  • หากมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเชิญนำมาเพิ่มได้เลยนะคะ

ขอเชิญร่วมบุญ กับพระอาจารย์บุญส่ง วัดทรงเมตตาวนาราม จ. ชลบุรี

ได้ข่าวว่า ท่านไปสร้างพระให้กับชาวพุทธที่ประเทศบังคลาเทศ โดย ไปวางศิลาฤกษ์แล้วเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนท่ผ่านมา

ท่านใดจะร่วมบุญ ติดต่อสอบถามที่ พี่ขนมปัง (ประภาวดี) 084-6596609

พวกเราไปสร้างถวายท่อินเดีย หลายองค์แล้วคราวนี้จะไปที่บังคลาเทศตามคำเรียกร้องของชาวพุทธที่นั่น

อ. จินตนา เพชรมณี

สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท