คัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" (5) ข. ลักษณะอุทธรณ์ 12 "คัดสำนวนไพร่ผิด บิดเบือนข้ออ้าง"


ในคัมภีร์ "โพสะราดและสังคะปะกอน" (4) ลักษณะอุทธรณ์ 9 "เป็นใจคดคิดแปงสำนวนความ เสือกใสซ้อนสอดข้อความหนึ่ง" ผมลืมเรียนว่าลักษณะอุทธรณ์นี้จะมีทั้งหมด 5 ตอนดังนี้ครับ

ก. ลักษณะอุทธรณ์  9  ประการ

ข. ลักษณะสุทอุทธรณ์  12  ประการ

ค. ลักษณะอุตริอุทธรณ์  21  ประการ

ง. ลักษณะนานาอุทธรณ์  22  ประการ

จ. ลักษณะอุทธรณ์  5  ประการ

ผมจึงขอถือโอกาสนี้กลับไปเพิ่มหัวข้อ ก. ในชื่อของตอนที่แล้ว  แล้วจะขอนำแนวทางที่ท่านอาจารย์wwibul กรุณาให้ไว้ว่าควรใช้รูปแบบในการนำเสนอคือ
  1. ภาพต้นฉบับ (เบิ่งคำ)
  2. แกะแบบอ่านเสียง (แกะคำ)
  3. แกะแบบเทียบคำไทย (เทียบคำ)
  4. แกะความเป็นภาษาไทย (แกะความ)

นั้นคือผมจะเสนอตามลำดับดังนี้  และทุกคำแปลความผมขอวงเล็บว่า (หรือไม่อย่างไร) ไว้ดังนี้ครับ

         

ข. ลักขะนะสุดทะอุทอน  12  ปะการ : ลักษณะสุทอุทธรณ์ 12  ประการ

อันว่าลักขะนะสุดทะอุทอน  12  ปะการนั้นคื :

1)  ให้สะโทดขาดเหลือหลาย  กำหนดมิให้หมดลงทุกข้อหนึ่ง : ให้ษาโทษขาดเหลือหลาย กำหนดมิให้หมดลงทุกข้อหนึ่ง : กำหนดโทษขาดเหลือ(ต่ำไป)  มิได้ลงโทษคนผิดหมดทุกความผิด

2)  อำย่อนย่อสำนวนความระบุไปหนึ่ง : อำหย่อนย่อสำนวนความระบุไปหนึ่ง : อำพราง  ย่อหย่อน/ย่นย่อสำนวนความที่ควรระบุไป

 3)  คัดสำนวนไพ่ผิด  บิดเบือนข้ออ้างเป็นข้อหนึ่ง : คัดสำนวนไพร่ผิด  บิดเบือนข้ออ้างเป็นข้อหนึ่ง : คัดสำนวนไพร่/ผู้ต้องหาผิด  การบิดเบือนข้ออ้าง/ข้อกฎหมาย (ช่วยคนผิด/เจตนาทำให้การตัดสินคดีผิด)

4)  อ่านมิให้เข้าฟังโจดขํบังบ่สันความหนึ่ง : อ่านมิให้เข้าฟังโจทก์ขอบังบ่สันความหนึ่ง :  อ่านสำนวน(ตัดสิน)มิให้เข้าฟัง  โจทก์ขอให้บังคับโดยไม่แจ้งสำนวน(ให้จำเลยทราบ) ?

5)  กะข้อถามลงกะเบียนแปงข้อเขียนให้เกินไปหนึ่ง : กะข้อถามลงทะเบียนแปลงข้อเขียนให้เกินไปหนึ่ง : เลือก (กะ : เกณฑ์ : เลือก) ข้อถามแล้วเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียน (บันทึก) ให้เกินความเป็นจริง

6)  ลงทงใซหลักเพ็ด  ถามความเด็ดขาดกะเสียนหนึ่ง : ลงธงชัยหลัก(เพด)  ถามความเด็ดขาดเกษียนหนึ่ง :  (ค่อนข้างตีความยากมาก) ลงธงชัยหลักเพ..?(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. เพชร น. : แก้วแข็งทำเครื่องประดับ, เพ็ดทูล ก. : พูดกับเจ้านาย, เพล็ด/เพ็จ ก. : เผล็ด  ผลิ  งอกออก,  เพ็จ ว. : เล็ก, ย่อม, น้อย,  เพท น.: เวท  ความรู้, เพศ น.: รูปที่แสดงว่าหญิงหรือชาย, เพส ว.: ยี่สิบ) สอบความ(ถาม) เด็ด? ขาดการเกษียน (เกษียน น.: ข้อความที่เขียนแทรกไว้ในใบลาน  ข้อความที่เขียนไว้ในหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ) (ข้อนี้ยากมาก  ขอเชิญตีความช่วยกันครับ/ครูชา)??

      

7)  มิได้เขียนคำตัดสำนวนไว้หนึ่ง : - : ไม่ได้เขียนคำ (ให้การ?) ตัดสำนวนไว้

8)  เขียนลงแล้วกับฮับหนึ่ง : เขียนลงแล้วกลับรับหนึ่ง : บันทึกคำให้การ(รับ)ไว้แล้วกลับคำรับนั้น

9)  ปะติเสดกบเกื่อนถามกับข้อเป็นพากหนึ่ง : ปฏิเสธกลบเกลื่อนถามกลับข้อเป็นภาคหนึ่ง : (ให้คนผิด) ปฏิเสธกลบเกลื่อนความผิด พลิกแพลง(กลับข้อ)คำถามเป็นส่วน ๆ

10)  ข้ออ้างมากมิได้เขียนแดงแปงเปี่ยนเอาเป็นต่อหนึ่ง : ข้ออ้างมากมิได้เขียนแดง(แต่ง?)แปลงเปลี่ยนเอาเป็นต่อหนึ่ง : (เจ้าพนักงาน)มีข้ออ้างมาก(ว่าคดีมีความยุ่งยากจึง) เขียนแปลงเปลี่ยนสำนวนความ (ขอเชิญตีความช่วยกันครับ/ครูชา)

11)  มิแจ้งข้อทำอำยอนไว้  ชี้สำนวนมิให้สิ้นหนึ่ง : - : มิยอมแจ้งข้อกล่าวหา/หน่วงเหนี่ยวเรื่องไว้  ชี้สำนวนว่ายังไม่สิ้น (ไม่ยอมตัดสิน)

12)  ตัดสำนวนเว้นแวะในความโจดจำเลยมิให้หลูดองอาดสู้แปงให้สัดบ่ออกอัดอ่านละวางหนึ่ง : ตัดสำนวนเว้นแวะในความโจทก์จำเลยมิให้หลุดองอาจสู้แปลงให้สัตย์บ่ออกอรรถอ่านละวางหนึ่ง : ตัดสำนวนไม่นำคำให้การโจทก์-จำเลยเพื่อมิให้หลุด/พ้นผิดเมื่อโจทก์หรือจำเลยสู้คดี(องอาจสู้) เปลี่ยนแปลงคำให้สัตย์ของคู่คดี(?)ไม่ว่าคดีไปตามกระบวนการ

      

12  ข้อก่าวไว้ ชื่ว่า สุทะอุทอนให้พิเคาะโทดเทิน : 12  ข้อกล่าวไว้ชื่อว่าสุทอุทธรณ์ให้พิเคราะห์โทษเทอญ.

การศึกษาคัมภีร์"โพสะราดและสังคะปะกอน" ตอนนี้อ่านเข้าใจค่อนข้างยาก  พราะอายุกฎหมายก็น่าจะหลายร้อยปีทีเดียว  คิดดูง่าย ๆ เมื่อสิ้นสุดยุคพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ก็ปี พ.ศ. 2369 หรือ 181 ปีมาแล้ว  และต่อมาในสมัยเจ้ามหาชีวิตแห่งหลวงพระบางในยุคประเทศราชสยามก็คงใช้มาเรื่อย ๆ จนถึงยุคฝรั่งเศส  ดังนั้นกฎหมายนี้ย่อมมีอายุ 200 ปีขึ้นไป  สนุกดีครับ.

หมายเลขบันทึก: 163097เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สัสดีค่ะ คุณครูชา

เข้าใจยากจริงๆด้วยค่ะ

  • สวัสดีครับป้าแดง P . pa_daeng ครับ
  •  ยากอีหลีครับแม้แต่ท่านสำลิด  บัวสีสะหวัด ผู้เรียบเรียง(ฮิบโฮม) ยังกล่าวถึงคำพูดคนอ่านชาวลาวว่ายังมีหางเสียงบางส่วนต่อว่าต่อขานว่าอ่านบ่ฮู้เลื่อง  บ่เข้าใจ  บ่ฮู้จักเอาเลื่องอันใดมาเว้า  และเว้าพาสาลาวแบบใด  
  • เราใช้แต่อักษรไทยมา  จึงนับว่ายากหลายครับ  และเป็นสำนวนเมื่อเป็นร้อย ๆ ปีด้วย 
  • แต่ให้ถึงหมวดเนื้อหากฎหมายจริง ๆ แล้วจะสนุกมากครับ  เช่น  แบ่งมรดก  ข้าหนีเจ้าบ่าวหนีนาย  เป็นต้น
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณครู
  • มีประเด็นเทียบเคียงกับภาษาใต้ครับ

 

ให้สะโทดขาดเหลือหลาย  กำหนดมิให้หมดลงทุกข้อหนึ่ง

ให้ษาโทษขาดเหลือหลาย กำหนดมิให้หมดลงทุกข้อหนึ่ง:

กำหนดโทษขาดเหลือ(ต่ำไป)  มิได้ลงโทษคนผิดหมดทุกความผิด

กำลังสงสัยว่า คำว่า สะ มาจาก สา

สา = (รู้สึก รู้)สา

ภาษาใต้พื้นบ้าน คนกินแกงเผ็ดที่ไม่เผ็ด ก็อุทานว่า "ไม่สาอะไร" คือ กินแล้วไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลย

ให้สะโทดขาดเหลือหลาย  = ให้(รู้สึกรู้)สาโทษขาด(หายไปมาก)เหลือหลาย

 

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์wwibul ครับ
  • สิ่งที่ผมคิดอยู่คือ ผมนึกถึงคำว่า โทษ, โทษา, โทษานุโทษ.. ทีนี้ฝ่ายอาลักษณ์นำใช้พูด/เขียนกลับเสียงว่า ษาโทษ :  สาโทด ซึ่งความหมายก็คือการพูดคำว่า โทษ โทษา กลับทางแต่ความหมายเดิมนี่เอง (?)
  • การนำใช้กลับเสียง  หรือเลียนเสียงเอาแค่ใกล้ ๆ เคียง นี้พบมากในภาษาลาวที่มาจากราก บาลี-สันสกฤติ  เช่น บอละบวน (บริบูรณ์) มะทีวังน้ำ (นทีวังน้ำ) กูละนา (กรุณา) บัวละพา (บูรพา) ในภาษากวีหมอลำก็พบบ่อยครับ เช่น ในกลอนลำกล่าวถึงหมอลำ(ชื่อ) ทองคำ ก็ว่า "ทองคำลำนี่ฮักจริงใจ" ก็เข้าใจได้ว่าหมายถึง "หมอลำทองคำฮักจริงใจ"
  • ผมอาจยกตัวอย่างไม่ตรงประเด็น  แต่อยากกราบเรียนว่าอาจเป็นข้อที่ทำให้เรางงได้ (หรือไม่อย่างไร)
  • ขอขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับ ท่านครูชา เปิงบ้าน
  • ษาโทษ อาจมาจาก (พิพาก)ษาโทษ ก็เป็นความเป็นไปได้เหมือนกันครับ
  • คงต้องดูลำดับเหตุการณ์ประกอบกระมังครับ ?
  • ถ้าเป็นขั้นหลังการพิพากษา ใช้ ษาโทษ ก็น่าจะตรง
  • ถ้าเป็นขั้นก่อนการพิพากษา คำว่า สาโทษ ก็น่าจะลงตัวกว่า
  • ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์wwibul
  • น่าคิดเหมือนกันครับ  แตคงฟันธงลำบากนะครับ
  • ที่ผมสงสัยอยู่อีกก็คือ "สุทะอุทอน" ในอักษรลาวครับ  ว่าจะเป็น  สุทอุทธรณ์  สูทอุทธรณ์  หรือ สุทธิอุทธรณ์  และน่าจะแปลว่าอะไรในภาษาไทยเรา  เรียนขอความเห็นท่านอาจารย์ครับ 
  • ขอบคุณมากครับ 
  • สวัสดีครับ ท่านครูชา เปิงบ้าน
  • ความรู้เรื่องกฏหมายโบราณผมน้อยกว่าน้อย ไม่กล้าแปล/ตีความครับ
  • ในส่วนประเด็นปลีกย่อย ที่แทรกความเห็นมา เพราะเป็นเรื่องวิวัฒนาการของภาษา ที่ผมมองว่า เหมือนอ่านวรรณคดีเสียมากกว่า

กลับมาดูเนื้อหาข้อ 5 ดีกว่าครับ 

ลงทงใซหลักเพ็ด  ถามความเด็ดขาดกะเสียนหนึ่ง :

ลงธงชัยหลัก(เพด)  ถามความเด็ดขาดเกษียนหนึ่ง :   

(ค่อนข้างตีความยากมาก) ลงธงชัยหลักเพ..?(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. เพชร น. : แก้วแข็งทำเครื่องประดับ, เพ็ดทูล ก. : พูดกับเจ้านาย, เพล็ด/เพ็จ ก. : เผล็ด  ผลิ  งอกออก,  เพ็จ ว. : เล็ก, ย่อม, น้อย,  เพท น.: เวท  ความรู้, เพศ น.: รูปที่แสดงว่าหญิงหรือชาย, เพส ว.: ยี่สิบ) สอบความ(ถาม) เด็ด? ขาดการเกษียน (เกษียน น.: ข้อความที่เขียนแทรกไว้ในใบลาน  ข้อความที่เขียนไว้ในหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ) (ข้อนี้ยากมาก  ขอเชิญตีความช่วยกันครับ/ครูชา)??

  • ผมตีความว่า
  • ลงธงชัย คือการลงความเห็นเด็ดขาด
  • เพ็ด ใน "หลักเพ็ด" ไม่แน่ใจว่า เป็นเพ็ดเดียวกับ เพ็ดทูล หรือไม่ ถ้าใช่ เพ็ด ก็คือ บอกเล่า
  • เมื่อใช้รวม ๆ ก็จะเป็นการ "ลงความเห็นเป็นเด็ดขาด"
  • ส่วน ถามความเด็ดขาดเกษียนหนึ่ง ผมตีความว่า เป็นการ เกษียณ คือ เขียน ในสิ่งที่ ถาม(เนื้อความ)เป็นเด็ดขาด คือ ด่วนสรุป
  • โดยรวม น่าจะแปลทำนองที่ว่า เป็นการที่ด่วนเขียนสรุปตามที่ตนเองฟันธงไว้ก่อน
  • ไม่รู้ว่า ตีความอย่างนี้ พอจะเป็นไปได้หรือเปล่าครับ ?

 

  • ขอโทษครับ แก้เป็น "เนื้อหาข้อ 6" ครับ
  • ใจลอยไปนิดหนึ่ง ขออภัย...
  • สวัสดีครับท่านอาจารย์wwibul ครับ
  • "เป็นเรื่องวิวัฒนาการของภาษา ที่ผมมองว่า เหมือนอ่านวรรณคดีเสียมากกว่า" ใช่ครับผมก็คิดดังนี้  ได้อรรถรสแบบวรรณคดีอย่างนี้
  • ข้อ  6 ผมเห็นค่อนข้างมาทาง  เพ็ดทูล เหมือนกันครับ
  • ผมยิ่งอ่าน  ตีความทวนย้อนดู  ยิ่งเห็นถึงความเที่ยงธรรมที่มีให้แก่ทั้ง โจทก์และจำเลย  เป็นเรื่องดี ๆ ของโบราณ ทั้ง ๆ ที่ถ้าผิดจริง  ลงโทษน่ากลัวมาก ๆ
  • ขอขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท