Outline Health4Stateless-B


 เห็นจ็อบทำ outline แล้วก็นึกอยากทำบ้าง เลยยกร่างดูคร่าวๆพอได้แนวทางดังนี้ (แอบดูมาจากจ็อบน่ะ)

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * *

ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐในประเทศไทย

สถานการณ์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายและนโยบายว่าด้วยสิทธิในหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

* * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * *

 ส่วน 1 -- สรุปผลงานวิจัย และข้อค้นพบด้านสถานการณ์ทั้งหมด (เทียบเคียงได้กับบทคัดย่อในวิทยานิพนธ์)

 

ส่วน 2-- บทนำ

1   เป้าหมายในการศึกษา

2   วิธีการศึกษา

3   อุปสรรคและข้อจำกัดในการศึกษา

ส่วน 3-- เนื้อหา

บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน

บทที่ 2  ทบทวนองค์ความรู้ี่ +  ทบทวนวรรณกรรม

บทที่ 3  นำเสนอข้อค้นพบ

3.1 แท้จริงแล้วสิทธิในหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของ "มนุษย์ทุกคน" หรือเฉพาะ

"คนสัญชาติไทย" ?

3.2 ปัญหาการตีความ "บุคคล" ตามมาตรา 5 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.2545

3.3 วิวัฒนาการของกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยว่าด้วยการรับรองสิทธิในหลักประกันสุขภาพของ"คนไร้รัฐไร้สัญชาติ"

3.4 กระบวนการเข้าสู่สิทธิในหลักประกันสุขภาพ

บทที่ 4  ประมวลข้อเสนอแนะ

 

บทที่ 5  บทสรุป

ส่วน 4  บรรณานุกรม

 

ส่วน 5  ภาคผนวก

ภาคผนวก ก     รวม link ผลงานที่เผยแพร่ผ่าน gotoknow.org

ภาคผนวก ข     ถอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ (4-5 ท่าน)

 

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *  * * * *

                                                                                                              ยกร่างเมื่อ อังคารที่ 31 ม.ค. 2551

 

หมายเลขบันทึก: 162465เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2008 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

"สิทธิพลเมือง" สำหรับไหมคืออะไรคะ ?

ระวังไหมจะผูกคอตายนะคะ เวลาใช้คำนี้ ต้องระวัง มีคนตายเพราะคำนี้ มาเยอะแล้ว ลองตอบคำถาม อาจารย์หน่อย

๑. สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิของใครคะ ? ในกฎหมายไทย พลเมืองแปลว่าอะไรคะ ? ในบ้านเรา เถียงกันจนจะตายไปข้างหนึ่ง บ้างก็ว่า หมายถึง "คนสัญชาติไทย" บ้างก็ว่า หมายถึง "ราษฎรไทย" คำนี้นะ ถ้าว่าตามรากศัพท์ ก็คือ คนที่อยู่ในเมือง ซึ่งก็ตรงกับภาษาอังกฤษ กล่าวคือ citizen แต่ถ้าดันเอาคำนี้ไปเท่ากับคนสัญชาติไทย คราวนี้ เหตุวิปริตก็จะเกิดขึ้น เพราะคนสัญชาติไทยอาจไม่อยู่ในเมืองไทย ยกตัวอย่าง ไทเกอร์วู๊ด ไม่เคยมี social contribution ต่อประเทศไทย แทบจะไม่เคยจ่ายทั้งภาษีทางตรงหรือทางอ้อมต่อประเทศไทย

๒. ถ้าดูตาม ICCPR สิทธิพลเมือง ก็คือ Civil Right คราวนี้ ถ้าไหมจะสงสัยว่า สิทธิตัวนี้ ไม่ใช่สิทธิมนุษยชน ไหมก็จะตายอีกครั้ง ไหมจะปฏิเสธหรือคะว่า สิทธินี้ไม่ใช่สิทธิมนุษยชน ก็เราทราบดีว่า ICCPR ก็คอ การตีความ UDHR

เห็นด้วยที่ไหมจะพูดถึง "ธรรมชาติของสิทธิในหลักประกันสุขภาพ"

เห็นด้วยที่ไหมจะถกเถียงว่า สิทธินี้เป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ?

เห็นด้วยที่ไหมจะศึกษาว่า สิทธินี้ผูกพันประเทศไทยในสถานะกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ? เตือนบอกเราแล้วว่า สิทธินี้ปรากฏทั้งใน ICCPR และ ICESCR

เห็นด้วยที่ไหมจะฟันธงว่า สิทธินี้ปรากฏในกฎหมายไทยใดบ้าง ?

แต่เตือนไหมให้ใช้ความระวังในการใช้คำให้มาก

เราคงเห็นความจำเป็นในการกำหนด "ศัพท์ที่จะใช้เขียนงานวิจัย"

3.2 "คนไร้รัฐไร้สัญชาติ" ได้รับการรับรองสิทธิในหลักประกันสุขภาพตามกฎหมายไทย 

       หรือไม่ ? เพียงใด

 

อันนี้ ไม่ทำวิจัย ก็ตอบได้ว่า สปสช.ปฏิเสธที่จะรับรองสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนต่างด้าว อันหมายรวมถึงคนไร้สัญชาติคนไร้รัฐ

 

บทนี้จะมีน้ำหนัก ก็คือ การกล่าวถึงวิวัฒนาการของกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยที่จะพยายามรับรองสิทธินี้

 

ตลอดจนความพยายามของบุคคลากรทางสาธารณสุขของรัฐไทยที่พยายามจะสร้าง "หลักประกันสุขภาพ" แก่คนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ

อาทิ คุณหมอมงคล

http://gotoknow.org/blog/archanwell-notes-on-health4stateless/162426

 

นอกจากนั้น ไหมน่าจะใช้ข้อนี้พูดถึงผลลัพธ์จากการที่ สปสช.ปฏิเสธสิทธินี้ ที่ชัดเจนและใกล้มาก ก็คือ การรายงานผลการปฏิเสธงานของรัฐไทยในเรื่องสาธารณสุขตาม ICCPR ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ นี้ เราก็จะต้องรายงานผลว่า สปสช.ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนทางสาธารณสุข

ขอไหมอ่านบันทึกของเตือนอันนี้

http://gotoknow.org/blog/bongkot-health4stateless/161271

ข้อแก้ตัวของ สปสช. ก็คือ การตีความคำว่า "citizen" อีกแล้ว

แต่ถึงรอกจาก ICCPR ก็จะไม่รอดจาก ICESCR ซึ่งใช้คำว่า everyone

 

จึงบอกไหมเมื่อวานว่า ไหมกับเตือนต้องจับมือกัน

3.3 กระบวนการเข้าสู่สิทธิในหลักประกันสุขภาพ

อันนี้ ก็ OK

 

เราชักจะเห็นชัดนะว่า ถ้า สปสช.จะยังคงตีความ "บุคคล" ใน พ.ร.บ.ในลักษณะแคบ ให้หมายถึงคนสัญชาติไทย สปสช.ก็คงต้องไปหากฎหมายใหม่ หรือกฎหมายเก่าอื่น เพื่อรับรองสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนต่างด้าว การจะไปเถียงว่า สิทธิมิใช่สิทธิมนุษยชน ก็คงยากอยู่ การจะไปผลักดันให้ประเทศไทยลาออกจาก ICCPR หรือ ICESCR ก็คงเป็นข้อเสนอที่ตลกมาก

 

แต่หากเปลี่ยนการตีความ และสร้าง "หลักประกันสุขภาพทางเลือก" ขึ้นมาได้ ทางออกสำหรับ สปสช. ก็จะดูสวยงามมากกว่า ทั้งในแง่ความรับผิดชอบทางการคลังที่ประเทศไทยต้องแบก หรือความรับผิดชอยทางมนุษยธรรมที่ประเทศไทยต้องผูกพัน

 

เหมือนเราทำทาง ถ้าทางไม่ได้ ก็ทำใหม่ ถ้าทางมีแล้ว แต่ประตูปิด ก็หากุญแจมาเปิดประตู

เห็นไหมว่า บันทึกสั้นๆ ก็จะนำไปสู่ "การสนทนาทางวิชาการ" ระหว่างไหม อ.แหวว ทีมวิจัยของเรา และสังคมโดยรวม ที่ฟังเราคุยกันทางตัวอักษร

ในข้อ 3.1 เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งก็รู้สึก งงๆค่ะ และเห็นจะจริงตามที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตมา

 เพราะ ว่าสิทธิพลเมืองย่อมเป็นของคนทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมือง(รัฐ) และเราเรียกพลเมืองเหล่านี้ว่าเป็น "ราษฎร" 

 

ดังนั้น จึงขอปรับแก้ถ้อยคำเพื่อไม่ให้สับสน ดังนี้

 

3.1 แท้จริงแล้วสิทธิในหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิของ "มนุษย์ทุกคน" หรือเฉพาะ

      "คนสัญชาติไทย" ?

 สงกาสัยว่าต้องเขียนเรื่อง civil, พลเมือง, ราษฎร, บุคคลผู้มีสัญชาติไทย, ปวงชนชาวไทย, ฯลฯ ด้วยนะคะเนี่ยยยยย--จะช่วยเขียนค่ะ

ไหมสู้ๆๆ

ขอบคุณอย่างยิ่งค่า

ไหม

หมายถึงช่วยเขียนนิดๆ หน่อยๆ นะจ๊ะ, ไหมเขียนเป็นตัวหลักอ่ะจ๊ะ

เก่าไปแล้วนะจ๊ะ อิอิ...

ตอนนี้อัพใหม่แล้วตามมาดูได้ที่นี่จ้า

http://gotoknow.org/blog/health4stateless-kitiwaraya/165320

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท