การรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


เริ่มรับฟังความคิดเห็นแล้ว

การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อวันที่ ๒๖-๒๗ มกราคม ที่ผ่านมา ผ่านไปด้วยดี แต่โดยส่วนตัวแล้วก็มีเรื่องที่ต้องคิดอีกมาก

ท่านที่สนใจขอให้เข้าไปที่ WWW.CURRICULUM44.COM มีข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของหลักสูตรตั้งแต่หลักสูตรปี ๒๕๐๓ มาถึงหลักสูตรปี ๒๕๒๑ ที่เป็นที่มาหนังสือแบบเรียนเรื่อง "มานี มานะ ชูใจ"  ไล่เรื่องมาจนถึงฉบับปี ๒๕๔๔

นอกจากนั้นยังมีเอกสารร่างหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในฐานะที่เราจะช่วยกันให้เป็นหลักสูตรที่จะมีผลต่อลูกหลานของเรา ว่าจะช่วยให้เขาเติบโตมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้อย่างไร

 

อาจารย์ ดร.ไมตรี จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เล่าให้ฟังหลายเรื่องเป็นเรื่องที่น่าคิดและสืบค้นต่อทั้งสิ้น ดังนี้

 

๑.เอกสารหลักสูตร ก็เป็นแต่เพียงเอกสารที่แสดงวิสัยทัศน์(visionary document)ที่แทบไม่มีความหมายอันใดต่อโรงเรียนมากนัก  การใช้หลักสูตรในโรงเรียนต่างหากที่สำคัญ การเปลี่ยนคำในหลักสูตรจาก "บอก" มาเป็น "อธิบาย..ชี้แจง..แสดง..." ก็ไม่ได้หมายความว่าครูจะเปลี่ยนวิธีสอนอันใด

 

๒.ผลการศึกษา ผลการประเมิน PISA ในระดับนานาชาติพบว่า ประเทศที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่สูงเป็นอันดับต้นๆนั้น เรียนพวกเนื้อหาน้อยมาก

 

๓.ประเทศชั้นนำในโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเอกสารที่อยู่ใกล้ชิดกับชีวิตการทำงานของครูคือ แบบเรียน การออกแบบบทเรียนที่ดี ก็ย่อมทำให้การสอนของครูมีคุณภาพมากขึ้น เขาทุ่มเทกับการไปศึกษาชั้นเรียน และออกแบบให้เหมาะกับนักเรียน

 

๔.เรื่องคำสำคัญในหลักสูตรของเราดูจะมีปัญหา ทั้งคำว่า ..มาตรฐาน... สาระการเรียนรู้.. กลุ่มสาระการเรียนรู้... สาระ...ดูจะไม่นิ่ง และเข้าใจได้ยาก

  

 

หมายเลขบันทึก: 162158เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2008 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท