GotoKnow

บล็อกกับระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2548 08:27 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2555 10:27 น. ()

บล็อกกับระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาความยากจน


          เมื่อวันที่ 25 ก.ค.48   ผมไปร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การผนึกพลังภาครัฐ   ภาควิชาการ   ภาคประชาชน   ในการแก้ไขปัญหาความยากจน (ศตจ.มท.,  สกว.,  ศตจ.ปชช.)   กรณีตัวอย่างโครงการนำร่องการบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 12 จังหวัด”   ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์


          ผมติดใจข้อเสนอของ รศ. ดร. เผดิมศักดิ์  จารยะพันธุ์  ผอ. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ  จุฬาฯ  เกี่ยวกับระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน   เท่ากับว่าภาควิชาการเข้าไปทำหน้าที่สนับสนุนความรู้เพื่อการตัดสินใจร่วมกัน   โดยรูปธรรมคือระบบ GIS ผนวกกับแบบจำลอง   ให้ผลออกมาเป็นข้อเสนอทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ


          ผมถามการใช้งานระบบดังกล่าว   ดร. เผดิมศักดิ์บอกว่าการใช้งานจะได้ผลดีต้องมีการ update ข้อมูลใน GIS อย่างสม่ำเสมอโดยผู้ใช้ระบบเอง   ซึ่งหมายความว่าเมื่อใช้งานระบบนี้แล้วได้ผลอย่างไร   ก็จะเป็นข้อมูลเพื่อ update ใน GIS ด้วย   คือมีการ update ตลอดเวลา


          ผมได้เรียน ดร. เผดิมศักดิ์ว่า   ข้อมูลใน GIS ค่อนไปทาง quantitative หรือ measurable data   ข้อมูลจากประสบการณ์   ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิง descriptive ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสั่งสมได้โดยส่งเสริมให้มีการเขียนบล็อกเล่าประสบการณ์เรื่องการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนให้มาก ๆ    ก็จะเป็น data ของ “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) สำหรับแก้ปัญหาความยากจน   แล้วหลังจากนั้นก็สามารถทำ data mining หาความหมายจากข้อมูลมหึมานั้นได้   ดร. เผดิมศักดิ์แสดงความสนใจมาก   วันหลัง อ.กรกฎน่าจะติดต่อขายไอเดียต่อ อ.อำนาจ  คอวนิช   ผู้ดูแลระบบ DSS (ช่วยการตัดสินใจ) นี้   และ ดร. เผดิมศักดิ์   ผู้ดูแลระบบย่อยคือระบบ DSS ด้านการจัดการทรัพยากรทางน้ำแบบครบวงจร

                               

ภาพการอภิปรายกลุ่ม รศ. ดร. เผดิมศักดิ์  จารยะพันธุ์ (คนที่ 2 จากซ้าย)
<p></p><p>
                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   25 ก.ค.48
</p>

คำสำคัญ (Tags): #it #บล็อก 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย