การเรียนด้วยเสียงของคนมองไม่เห็น


แม้ว่าการฟัง จะเหมือนเป็นวิธีการง่ายๆ แต่ถ้าไม่สามารถฟังทางตรงได้ ต้องใช้สื่อเสียงค่ะ ซึ่งแตกต่างกันไปหลายเทคโนโลยี

หลายๆท่านคิดว่า คนที่มองไม่เห็นเรียนหนังสือด้วยการฟังเสียง

               แต่จริงๆแล้วนั่นถูกเพียงแค่บางส่วนค่ะ  คนตาบอดเรียนหนังสือจากการสัมผัสด้วยค่ะ  และเป็นการใช้สัมผัสที่เหลืออยู่ให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด 

                ส่วนข้อดีของการเรียนด้วยการฟังคือราคาถูก หรือถ้ามีการใช้เทคโนโลยีก็ไม่ซับซ้อนนักค่ะ แต่ถ้าไม่มีการเรียนด้วยการสัมผัสอักษรเบรลล์ด้วย  คนที่มองไม่เห็นจะสะกดคำใหม่ๆไม่ถูก  เพราะคำพ้องเสียงมีเยอะมาก  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">วิธีการเรียนขั้นพื้นฐานที่สุดเลยก็เริ่มจากการฟังทางตรง   คือฟังเสียงพูดของบุคคล นอกจากนั่งฟังในชั้นเรียนปกติแล้ว หรือเพื่อนๆอาสาสมัครอ่านให้ฟังตรงๆแล้ว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คนที่มองไม่เห็นก็มีสื่อเสียงอีกหลายอย่างนะคะ  ที่ DSS@MSU ใช้อยู่ก็มี  </p><ol style="margin-top: 0cm"> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> แถบเทปเสียง ( analog ) อันนี้โบราณมากค่ะ  DSS@MSU แปลงมาเป็น digital คือ mp3 หมดแล้วเพราะเด็กๆจะนิยมกว่าค่ะ  เนื่องจากแถบเทปเสียงไม่สามารถใช้อัดซ้ำได้หลายครั้งและราคาแพงกว่า CD ความสะดวกในการพกพา  ทุกวันนี้เด็กๆจะมีเครื่องเล่น mp3 หรือ mp4 กันทุกคนค่ะ แต่ไม่ค่อยมีใครใช้ เครื่องเล่นแถบเสียงแล้วค่ะ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ไฟล์ mp3 ที่อ่านจากเอกสารประกอบการเรียนต่างๆ  หรือจากการแปลงมาจากแถบเสียง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ไฟล์ pdf ภาษาอังกฤษที่สามารถใช้โปรแกรม openbook  อ่านได้เป็นเสียงสังเคราะห์ (ของป้าเจนกับลุงจอวส์ อิอิ ) </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ใช้การฟังจาก screen reader ในการอ่านไฟล์ word office ทั่วไป </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> การค้นศัพท์ใน talking dictionary หรือ dictionary online LEXiTRON </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> หนังสือเสียง VCD ธรรมดา ที่เก็บไฟล์เป็นหน้าๆ  หน้าละไฟล์และรวบรวมเป็น folder </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">หนังสือเสียงเดซี่  DAISY: Digital Accessible Information SYstem (DAISY) Consortium ถือเป็นมาตรฐานสากลของหนังสือเสียง  แต่ยุ่งยากในการผลิตมากค่ะ  </li> </ol><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt" class="MsoNormal">ซึ่งอันนี้ผู้เขียนเคยได้รับทุนของ JICA ให้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตหนังสือเดซี่ เมื่อปี 2006 ค่ะ ในครอสนั้น    ทำให้เราได้รู้จักและสนิทกันกับพี่เก๋  DSS@STOU ค่ะ  เราเป็นบัดดี้กัน  เพราะเราคือคนไทย เพียง 2 คนในครอสนั้นและมาจากการจัดการศึกษาผู้พิการในระดับอุดมศึกษาเหมือนกัน</p>ที่หนังสือเดซี่ อันเป็นมาตรฐานสากล   ไม่ค่อยแพร่หลาย  ในแวดวงการศึกษาระดับอุดมศึกษานักอาจจะเพราะ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 54.0pt" class="MsoNormal">·        ขั้นตอนมาก โดยเฉพาะชนิดแบบ full text  ต้องใช้ความเป็นมืออาชีพที่มีพื้นฐานทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์   หน่วยงานที่สามารถผลิตหนังสือเดซี่ชนิด full text นั้นมีอยู่ไม่กี่แห่งในประเทศไทย  และมักจะมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลการผลิตหนังสือเฉพาะ  เช่น  ห้องสมุดเสียงของสมาคมคนตาบอดไทย   มูลนิธิราชสุดา หรืออื่นๆ อีกแต่ไม่ได้ทำแบบ full text  และหนังสือก็มักจะผลิตหนังสือทั่วไป ที่ผู้คนสามารถอ่านได้ยังไม่ค่อยมีหนังสือเรียน หรือวิชาการมากๆแบบตำราของระดับอุดมศึกษา  ที่ DSS@MSU เองผู้เขียนก็ผลิต full text อยู่ 1 เล่มค่ะ  นอกนั้นจะเป็น ncc  เพื่อรองรับการใช้งานของเด็กๆที่นี่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 54.0pt" class="MsoNormal">·        Software ในการผลิต ยังไม่แพร่หลาย  มีลิขสิทธิ์ในการใช้งาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 54.0pt" class="MsoNormal">·        Hardware ในการเล่นหรือฟัง ราคาแพง  เด็กๆจึงมักจะขอให้ save file ให้เป็น mp3 เพื่อเอาไปฟังใน mp3 player ( เอ…แล้ว DSS@MSU มัวทำหนังสือมาตรฐานสากล  ทำไมเนี่ย…มาทำมาตรฐานนิยมของเด็กๆเราดีกว่า  อิอิ )</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 54pt; text-indent: -18pt; tab-stops: list 54.0pt" class="MsoNormal" align="center"> Ptr2-dusit</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">แต่ไม่ว่าการผลิตหนังสือเสียงเดซี่ในระดับอุดมศึกษาจะ ติดขัดแค่ไหน  พวกเราชาว DSS ต่างๆก็ไม่ทิ้งนะคะ   พยายาม  หาวิธีการและแนวทาง  กันอยู่เสมอ  ล่าสุด  17-18 มค 51  ที่ผ่านมา  เรา( DSS จากหลายมหาวิทยาลัย )ก็ได้ไปร่วมอบรม การผลิตหนังสือเดซี่โดยใช้เครื่อง PTR II ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต  กทม. ค่ะ </p>                อยากให้สังเกต กันนิดนึงนะคะ  ว่า วิทยากรของเราเป็น คนมองไม่เห็นค่ะ  อาจารย์รักศักดิ์  ชัยรัญจวนสกุล  จากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ  ซึ่งวิทยากรท่านนี้  เป็นคนไทยที่เป็นวิทยากรทำงานร่วมกับ JICA และ APCD เดินทางเป็นวิทยากรการผลิตหนังสือเดซี่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มาหลายปีแล้วค่ะ อาจารย์ทำงานระดับสากลแต่ก็ยังสอนเด็กเล็กๆที่มองไม่เห็นที่โรงเรียนสอนคนตาบอดอยู่ให้รู้จักใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสม  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ผู้เขียนชื่นชมและประทับใจอาจารย์รักศักดิ์มาก   ได้พบเจอคนมองไม่เห็นที่มีความสามารถและศักยภาพแบบนี้  ทำให้มีแรงใจ  แรงฮึด  อยากให้ลูกๆของ DSS@MSU ไปให้ถึงฝันของเขาค่ะ  </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อ้อ…ลืมไป  ถ้าสังเกตเห็นว่ามีกล้องใหญ่ๆ  ไม่ต้องงงนะคะ   พอดีว่า DSS@STOU มาขอถ่ายทำรายการเพื่อการศึกษาของมสธ ด้วยค่ะ  อิอิ  น้องนุช แห่ง DSS@MSU เลยได้ร่วมแสดงประกอบรายการสื่อการศึกษาของคนมองไม่เห็นของมสธ. ด้วยเลยค่ะ    ดังแล้วน้องเรา… </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ส่วนรูปสุดท้าย  ชายหนุ่มเสื้อขาวที่ยืนขนาบ ผู้เขียนนั้น  หนึ่งท่านคือคนมองไม่เห็น เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยมหาสารคามค่ะ ( สมัยเป็นมศว.มหาสารคาม ) อาจารย์ชิต สุขหนู เป็น อาจารย์ โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ศึกษา  พัทยาค่ะ</p> 

คำสำคัญ (Tags): #daisy#ptr ii#dss@msu#msu-km
หมายเลขบันทึก: 161607เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2008 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ น้องหนิง

  • การสอนคนที่มองไม่เห็น...ให้รู้ให้เห็นนี่ยากและใช้ความพยายามอย่างมากจริงๆนะคะ...
  • ขอให้กำลังใจในการทำงานค่ะ
  • ....น้องหนิงสบายดีนะคะ....

คนมองไม่เห็น พยายามเรียน

คนมองเห็น หนีห้องเรียน

ขอบพระคุณค่ะพี่ติ๋ว

ไม่ยากเท่าไหร่หรอกค่ะพี่  แต่เป็นเทคโนโลยีของฝรั่งเขา  เลยมีภาษาอังกฤษเยอะหน่อย  พอเราเข้าใจหลักการแล้ว  ก็คงคล้ายๆกับการใช้งานโปรแกรมอื่นๆค่ะ เพราะส่วนมากแล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยค่ะพี่ติ๋ว

แหะๆ เรื่องสุขภาพ อายจัง เพิ่งจะไปสารภาพที่ blog ยัยกาแฟมาเหมือนกันค่ะว่า  ลืมดูแลตัวเองไปนิ๊ดดดดดดดดด... แต่อาการเก่าอ่ะค่ะ  คุ้นเคยและสนิทกันดี  ตอนนี้ก็ควบคุมไม่ให้ออกฤทธิ์เดช ได้แล้วค่ะพี่

จริงๆด้วยค่ะพ่อครูขา  เด็กๆเขาใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากนะคะ

ปีการศึกษาหน้า  หนิงมีลูกตาบอด  เพิ่มอีก 3 คนแล้วนะคะ  ที่สอบได้มารายงานตัวไว้แล้ว   นี่ยังไม่รู้ว่า  จากแอดมิชชั่นกลางเดือนพค.51จะมีมาอีกกี่คน

ดีใจค่ะ  ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามของเราเป็นสถาบันที่ผู้ปกครองและเด็กที่มีความบกพร่องทางการศึกษา  ไว้ใจและเลือกที่จะมาศึกษาที่นี่  เลือกจะมาอยู่กับเรา  ใน DSS@MSU แห่งนี้

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อสังคมครับ...

และเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ เอาชนะขีดจำกัดของตัวเองให้ได้นะครับ...

เป็นกำลังใจให้ครับ...

สวัสดีค่ะ

เป็นกำลังใจ คุณหนิงด้วยคนค่ะ  อนุโมทนาด้วยนะคะ ที่ได้ทำงานที่รัก นอกจากตนเองจะมีความสุข แล้วยังทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเช่นนี้ ดีจังเลยค่ะ

วันนี้มีอาหารญี่ปุ่น คำเล็ก คำน้อย น่ารัก น่าทาน มาฝากค่ะ ไม่อ้วนค่ะไม่อ้วนจริงๆค่ะ

 อ๋อค่ะ

Hishi01_1519-web

สวัสดีค่ะ น้องหนิง

แวะมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ทำงานหนักจริงๆ นะคะ แต่ก็ช่วยคนได้เยอะ จริงๆ เราก็ช่วยกันพัฒนาสื่อการสอนทางเสียงไว้หลายวิธีเลยนะคะ  พี่ได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ จากการอ่านบันทึกนี้ 


  • ขอบพระคุณค่ะ น้องดิเรก

พี่ตั้งใจค่ะ  หวังอยู่แค่ให้เด็กๆได้ไปถึงฝันของเขา  ได้ทำตามศักยภาพของเขา  จบไปมีงานการทำเพราะเขาไม่อยากเป็นภาระพึ่งพิงของผู้อื่นเลยค่ะ

  • ขอบคุณค่ะหมออ๋อ

น่ากินจังเลย  น่ารักมากค่ะ  พี่หนิงก็ชอบกินซูชินะคะ  (จะว่าไป  พี่นี่ชอบกินไปเกือบหมดแหละ )   แล้วเมื่อไหร่จะผอมเนี่ย...

ขอบพระคุณค่ะพี่ส้ม

หนิงดีใจที่ blog นี้ได้เกิดประโยชน์และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างนะคะ   ที่จริงคนทำงานการจัดการศึกษาของผู้พิการมีไม่น้อยหรอกค่ะ  หลายๆท่านทำเยอะกว่าและหนักกว่าหนิงมากค่ะ  หนิงแค่หางอึ่ง (หรือหมูหว่า...)  แต่ศาสตร์และศิลป์ด้านการจัดการศึกษาผู้พิการนี้  ไม่ค่อยมีใครมาเขียน blog ที่นี่กันค่ะ 

เลยบางทีทำให้  คนในวงกว้างไม่ค่อยรู้ว่าคนพิการเรียนหนังสือกันอย่างไร  ต้องการความช่วยเหลืออย่างไร แค่ไหน   จะรู้กันแค่วงในบางกลุ่มเท่านั้น

หนิงเองถ้าเรื่องการศึกษาพิเศษ ก็คงไม่ค่อยสันทัดนัก  เรื่องการพัฒนาทักษะอื่นๆ ก็คงไม่เป็นเรื่องเป็นราว   แต่ถ้าเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาของคนมองไม่เห็นนี่  มั่นใจค่ะ  อิอิ

สวัสดีค่ะ พี่หนิง

เห็นด้วยกับพ่อครูค่ะ

คนมองไม่เห็น พยายามเรียน

คนมองเห็น หนีห้องเรียน

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

สวัสดีคะ พี่หนิง

มาเป็นกำลังใจอีกหนึ่งแรงนะคะ เอาใจช่วยคะ

ขอถามเรื่องที่เคยคุยกันว่าจะไปอ่านหนังสือที่ มสธ. สำหรับคนตาบอด ไม่ทราบว่าพิมพ์จะค้นรายละเอียดได้ที่ไหนบ้างคะ ปีใหม่แล้วฤกธิ์ได้ยามทำตามความตั้งใจสักที

สู้ สู้ นะคะพี่หนิง

---^.^---

ขอบพระคุณค่ะน้องพิมพ์  หายากนะเนี่ย...งามทั้งจิตใจเลยน้องเรา

น้องพิมพ์ติดต่อพี่เก๋ DSS@STOU เลยนะคะ

พี่เก๋ จะดูแลเวบบอร์ดของ งานแนะแนวการศึกษา มสธ อ่ะค่ะ

หรือไง เมล์หาพี่นะคะ  ning12ning12 แอดฮอทเมล์ดอทคอม  จะให้เบอร์จ้ะ

รับทราบ และดำเนินการเรียบร้อยตามคำแนะนำคะ 

ขอบคุณมากคะพี่หนิง

---^.^---

 

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ little cat

เด็กๆที่นี่ตั้งใจเรียนมากค่ะ  จนบางทีพี่ต้องย้อนกลับมาดูตัวเองนะว่า 

  • เราตั้งใจทำงานช่วยเขาแค่ไหน?
  • พวกเราที่มองเห็นนี่  ใช้ความพยายามกันแค่ไหน ในการทำอะไรๆก็ตาม..

สวัสดีครับพี่หนิง

     ชื่นชมทั้งผู้เรียน ที่มีความพยามอย่างมาก

      ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ผู้สอนทุกท่านครับ...นับถือในความตั้งใจครับผม

ขอบพระคุณค่ะน้องชาย

สู้ๆ เนอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท