การจัดการความรู้ กลุ่มแผนงาน กศน.


การจัดการความรู้ กลุ่มแผนงาน กศน. ตัวชี้วัด การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ของบุคคลากร การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ของบุคลากร การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์

          เดี่ยวนี้ใครๆก็เห็นความสำคัญของการนำ KM มาใช้ แม้กระทั่ง กระทรวงศึกษาธิการยังสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดนำมาใช้อย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังให้สอดรับกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 3 มาตรา11 ระบุว่า "ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องรับรู้ข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน"   สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนก็ขานรับนโยบายของท่านปลัดกระทรวงฯ คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา โดยจัดตั้งทีม KM. ทั้งในระดับสำนัก และใน ระดับหน่วยงานย่อยๆลงไป 

           กลุ่มแผนงาน กศน. ได้ติดตามและให้ความสนใจในเรื่องนี้มาตลอด จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการจัดการความรู้ และวางแผนดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นโดยกำหนดความหมาย และ KPIs ไว้ดังนี้

การจัดการความรู้ของบุคลากรกลุ่มแผนงาน

ความหมาย : เป็นกระบวนการที่บุคคลและองค์กรดำเนินการเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage and Retrieval) และการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (Knowledge Transfer and Utilization) ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทั้งระดับส่วนบุคคล (Individual Perspective) และระดับองค์การ (Organizational Perspective)
KPIs การจัดการความรู้ของบุคลากร
       1.  การแสวงหาความรู้ของบุคลากร :
                 Ø  การแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ
งานเพื่อก่อให้เกิดความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) ซึ่งนำไปสู่การเป็นผู้สร้างความรู้ (Knowledge Creator)
                 Ø  การศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit/Codified Knowledge) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
        2.  การสร้างความรู้ของบุคลากร
                 Ø  การทำงานในหลากหลายหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความรู้โดยนัย  (Tacit Knowledge) และเป็นผู้สร้างความรู้ (Knowledge Creator) ในที่สุด
                 Ø  การรวบรวมและสังเคราะห์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานหรือสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
                 Ø  การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
        3.  การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ของบุคลากร :
                 Ø  การบันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/ความรู้เป็นฐานข้อมูล (Database) หรือการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
                 Ø  การเข้าถึงองค์ความรู้ที่จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
        4.  การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ของบุคลากร
                 Ø  การสื่อสารหรือแพร่กระจายข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน (การบันทึก การรายงาน จดหมาย ข่าวประกาศ เป็นต้น)
/การสอนงาน.
                 Ø  การสอนงาน (Coaching) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ทั้งที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการให้กับเพื่อนร่วมงาน
                 Ø  การนิเทศ ติดตามผล ประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานในระดับบุคคล/กลุ่มบุคคล/องค์กร
                 Ø  การนำข้อมูล ข่าวสารและความรู้ที่จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ ขององค์กรมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน (Knowledge Application)

คำสำคัญ (Tags): #ตัวชี้วัด
หมายเลขบันทึก: 16130เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียน อ.wat 

       ถ้า อาจารย์เปิดชุมชน BLOG ...พวกเราจะได้  link เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  ขอบคุณค่ะ

          http://chumphon-Km-station.gotoknow.org

         Korsornor chumphon (Blog)

          http://southnfe.gotoknow.org

          สาวทางไกล(Blog)

          http://southnfe01.gotoknow.org

          คลองต้นน้ำ(Blog)

         

 

 

เรียน อ.wat 

       ถ้า อาจารย์เปิดชุมชน BLOG ...พวกเราจะได้  link เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  ขอบคุณค่ะ

          http://chumphon-Km-station.gotoknow.org

         Korsornor chumphon (Blog)

          http://southnfe.gotoknow.org

          สาวทางไกล(Blog)/อ.มยุรี/กศน.ภาคใต้

          http://southnfe01.gotoknow.org

          คลองต้นน้ำ(Blog)/อ.สาลี่ กศน.ภาคใต้

          http://korsornor-songkhla1.gotoknow.org

          กศน.สงขลา/อ.สมจิต/กศน.สงขลา

         

 

 

การจัดการความรู้ของ กศน. ตามแนวคิดหมอวิจารณ์  พานิช
หลักการ
          หัวใจก็คือ   กศน. ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก Training เปลี่ยนไปเป็น Learning
          แทนที่ กศน. จะเน้นที่การจัดการฝึกอบรมให้แก่ชาวบ้าน   กศน. ควรเปลี่ยนไปเน้นที่การจุดประกาย ส่งเสริม หนุน   และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของชาวบ้าน   โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม   ในเรื่องการงานอาชีพหรือกิจกรรมที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยตรง   กิจกรรมนั้น ๆ ควรเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 – 3 ปีหรือทำตลอดไป   ในลักษณะที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอยู่ตลอดเวลา   โดยชาวบ้านที่มารวมกลุ่มนั้นเองร่วมกันตัดสินใจ   เจ้าหน้าที่หรือครู กศน. ทำหน้าที่ คุณอำนวย” (Knowledge Facilitator)   คือช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้   ไม่ใช่ คุณอำนาจ ที่เป็นผู้กำหนดเป้าหมายหรือกติกาตายตัว
          ถ้าความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของ กศน. ตรงกัน   ก็ปรึกษาหารือเพื่อเตรียมการ Workshop ครั้งที่ 1 ได้   ถ้าไม่ตรงกันก็ต้องคุยกันใหม่หรือยกเลิก
 
        
Workshop ครั้งที่ 1
          มีประเด็นสำคัญและแนวทางดำเนินการดังนี้
1.      กระทรวงศึกษาธิการ (กศน.?) เป็นผู้รับผิดชอบการจัด workshop   รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งหมด   และรับผิดชอบการดำเนินการต่อเนื่องหลัง workshop    สคส. ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการด้าน KM   และแนะนำวิทยากรที่จะมาเล่าเรื่องราวของการจัดการเรียนรู้ให้ชาวบ้านผ่านกระบวนการ KM    โดยที่วิทยากรจำนวนหนึ่งจะเป็นตัวชาวบ้านที่ได้ผ่านกระบวนการมาแล้ว
2.      วัตถุประสงค์ของ workshop คือ   ให้ผู้บริหารและครู กศน. ใน 3 (4) จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทำความเข้าใจวิธีทำงานแบบใหม่ตามหลักการข้างต้น   โดยการรับฟังกรณีตัวอย่างการรวมตัวกันเรียนรู้ของชาวบ้านที่เป็นเรื่องที่ดำเนินการอยู่แล้ว   และได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการแบบใหม่
3.      กรณีตัวอย่างที่ผมแนะนำมี 3 กรณี   ได้แก่
·       การประชุมกลุ่มสัจจะวันละบาท   ของมูลนิธิ ดร. ครูชบ ปราณี  ยอดแก้ว   ที่ อ.เมือง จ.สงขลา   ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน   ควรเชิญวิทยากร 3 คนคือ (1) ครูชบ  ยอดแก้ว   (2) ชาวบ้าน   (3) นักวิชาการที่มาร่วมโครงการ   โดยให้ครูชบเป็นผู้กำหนดตัว  
ติดต่อได้ที่มูลนิธิฯ   โทรศัพท์ 074-326-818   หรือมือถือ 01-128-2933
·       โรงเรียนชาวนา   มูลนิธิข้าวขวัญ  สุพรรณบุรี   ควรเชิญวิทยากร 6 คนคือ (1) คุณเดชา ศิริภัทร  ประธานมูลนิธิฯ   (2) “คุณอำนวย ของ มขข. 2 คน   (3) นักเรียนโรงเรียนชาวนา 2 คน   (4) รศ. ดร. เนาวรัตน์  พลายน้อย   คณะสังคมศาสตร์  ม.มหิดล ศาลายา
หมายเลข 2&3   รวม 4 คนให้คุณเดชาเป็นผู้กำหนดตัว  
ติดต่อที่ มขข.   โทรศัพท์ 035-597-193  หรือมือถือ 04-646-5903 (คุณจันทนา  ผู้จัดการมูลนิธิ)
·       โครงการแผนที่คนดี   ที่ อ.เกาะลันตา  จ.กระบี่   ควรเชิญวิทยากร 4 คน   ได้แก่ (1) รศ. ประภาภัทร  นิยม  ผอ. รร. รุ่งอรุณ  และเป็นผู้อำนวยการโครงการ   (1) คุณมิรา  ชัยมหาวงศ์  ผู้ช่วยนักวิจัย   (3) ผู้ร่วมงานชาวบ้านที่เกาะลันตา 2 คน  ให้ อ. ประภาภัทรเป็นผู้เลือก
ติดต่อได้ที่ 02-728-5123 ต่อ 139 (รร. รุ่งอรุณ)
4.      การประชุมใช้เวลา 2 วัน  ที่จังหวัดปัตตานี   โดยมี session กลางคืนด้วย   ดังนี้
วันแรก
          ช่วงเช้า          กรณีศึกษาที่ 1
          ช่วงบ่าย         กรณีศึกษาที่ 2
          ช่วงกลางคืน     กรณีศึกษาที่ 3
วันที่ 2
          ระดมความคิด (ประชุมกลุ่มย่อย) แนวทางดำเนินการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย   สรุปแนวทางดำเนินการต่อไป
5.      ผู้จัดการประชุมซื้อหนังสือ การจัดการความรู้  ฉบับมือใหม่หัดขับ”   แต่งโดย ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด   และซื้อ CD Narrated Ppt. เรื่องการจัดการความรู้   โดย ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด (ซื้อได้จาก สคส.)  แล้วนำไป Copy แจกผู้เข้าร่วมประชุม   โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประชุมต้องอ่านหนังสือและ Narrated Ppt. ก่อนมาประชุมทุกคน   ต้องกำชับว่าใครยังไม่ได้อ่าน   อย่ามาประชุม
6.      คาดว่าหลัง workshop แล้ว   จะมีการดำเนินการเพื่อฝึกทักษะด้านการจัดการความรู้ให้แก่ คุณอำนวย ของ กศน. ใน 3 (4) จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป   สคส. ยินดีจัดวิทยากร   หรือแนะนำวิทยากรให้   โดยทาง กศน. เป็นผู้รับผิดชอบจัดการประชุมเอง
7.      ถ้าเห็นด้วยกับร่างความคิดนี้   ทางกระทรวงศึกษาธิการ (กศน.?) จะต้องกำหนดตัวผู้รับผิดชอบงาน   แล้วติดต่อไป สคส. เพื่อหารือรายละเอียดต่อไป   ผู้ประสานงานของ สคส. คือคุณอุรพิณ  ชูเกาะทวด   02-098-0664 – 8 ต่อ 199

วิจารณ์  พานิช

รูปแบบการดำเนินงานโดยใช้ KM ของหน่วยงานของข้าพเจ้าก็นำหลักการนี้ไปใช้ในการบริหารงานวิชาการงานบุคลากร งานบริหารทั่วไปฯ เช่นกันเพราะจะทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นการประกันคุณภาพของโรงเรียนให้มีมาตรฐานตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดๆก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะใช้ KM ในการบริหารองค์กรแน่นอน รูปแบบที่ท่าน WAT ได้นำเสนอมีความชัดเจนสะดวกในการนำไปใช้งาน

กศน.ปากพลีมีแผนการทำ KM ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 ณ ลานสวนขนุนใน ศนจ.นครนายก เวลา 13.00 น เป็นต้นไป 2 เรื่องคือ ปราสาทผึ้งชาวไทยพวนอำเภอปากพลีและพระพุทธรูปโบราณวัดดงข่า ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านหากท่านมาไม่ได้ เมื่อเราทำ KM เสร็จเราจะนำองค์ความรู้ขึ้น weblog ของอำเภอปากพลี เชิญท่านเข้าชมที่ pakpleenfe.blogspot.com นะครับ
การทำKM เป็นกระบวนการทำงานที่ดีมากเพราะKMก็ย่อมาจาก "การจัดการความรู้ซึ่งหมายถึงความรู้จากภา่ยนอกและภายใน"แต่การทำKMนั้นต้องดูบุคลากรที่สำนักงานหรือหน่วยงานของแต่ละที่ บางครั้งบุคลากรที่มีอายุมากๆก็จะมีปัญหาหรือว่าบุคลากรที่ไม่รู้จักความสำคัญของการทำKMก็จะเป็นตัวถ่วงในการทำงาน ผอ.บางคนก็ไม่รู้จักKM จะมาอธิบายการทำKMก็ไม่รู้เรื่องดังนั้นควรมีการอบรมผู้บริหารก่อนแล้วจึงขยายผลมายังลูกน้องเพราะมีจริงๆที่ไม่รู้จักคำนี้เลย เท่านี้ก่อนคับ

ข้อคิดเห็นเเก่ยวกับ km  เห็นด้วยกับกระบวนการ

กศน.ควรเน้นการประสานงานและสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามแนวคิดของผู้เขียน ควรกำหนดกรอบแนวคิดดังน้

1. การกระตุ้นความคิด/การเสวนาสร้างความเข้าใจภาคีเครือข่าย  นำเสนอผลงานที่เป็นภารกิจให้เครือข่ายได้เห็นความสำคัญ  ที่เป็นจุดแข็ง  ข้อจำกัดเพื่อหาโอกาสในการจัดการศึกษาร่วมกัน  ร่วมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจกรรมอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

2. การวิเคราะห์องค์ความรู้ร่วมกัน  เพื่อให้มองเห็นถึงทรัพยากร แนวทางวิธีการทำงาน และดำเนินการทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

3. การจัดทำแผนงานโครงการ และดำเนินการร่วมกัน

ในลักษณะร่วมใจ  ร่วมอาสาทำงานร่วมกัน

4. การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน  การร่วมคิด  ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา  ปรับปรุง พัฒนา และร่วมรับประโยชน์ผลงาน 

5. ร่วมติดตาม  ตรวจสอบ และประเมินผล

6. เผยแพร่ ยกย่อง และการประกาศเกียรติคุณเครือข่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท