พยัญชนะเดิมในศิลาจารึกหลัก ๑


               พยัญชนะในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑  ของพ่อขุนรามคำแหงมีจำนวน ๓๙ ตัว  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพยัญชนะดั้งเดินของไทย (Pro-Tai) ที่ฟัง กวย ลี  สืบสร้างไว้  พบว่ามีพยัญชนะจำนวนหนึ่งในศิลาจารึกที่ไม่ปรากฏในเสียงพยัญชนะไทดั้งเดิม  จำนวน ๙ ตัว คือ ฆ  ฎ  ฏ  ฐ  ณ  ธ  ภ  ศ  ษ  ดังนั้นแสดงว่าพยัญชนะดังกล่าวจึงน่าจะไม่ใช่พยัญชนะดั้งเดิมของไทยแน่

                ตำราไวยากรณ์ไทยแนวประเพณี ของพระยาอุปกิตศิลปสาร  แบ่งรูปพยัญชนะไทยออกตามวิธีใช้ เป็น ๓ พวก  คือ  พยัญชนะกลาง  พยัญชนะเดิม  และพยัญชนะเติม  โดยให้คำจำกัดความพยัญชนะเดิมว่า  “เป็นพยัญชนะที่ติดมาจากเดิม”  มีที่ใช้แต่คำที่มาจากภาษาเดิม คือ ภาษาบาลี  สันสกฤต  มีจำนวนทั้งหมด ๑๓  ตัว คือ  ฆ  ฌ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฬ   ธ  ภ  ศ  ษ  ฬ    ถ้าเรายึดตามเกณฑ์ของพระยาอุปกิตศิลปสารนี้  ตัว  ญ  น่าจะไม่ใช่พยัญชนะเดิม  เพราะใช้แทนเสียงไทยที่มีอยู่แล้วในคำไทย  ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑  ในคำว่า  ญงง   ญีน  อีกประการหนึ่งก็คือเสียง  /n/  เสียง  “เสียง ญ”  นี้ก็ปรากฏในภาษาไทยดังเดิม (Proto-Tai)  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ตัว  ญ  น่าจะจัดให้เป็นพยัญชนะกลางมากว่า  เพราะเป็นเสียงที่มีใช้ตรงกันทั้งภาษาไทย  บาลี  และสันสกฤต  เมื่อพระยาอุปกิตศิลปสารท่านกล่าวไว้ในไวยากรณ์ไทยว่า  พยัญชนะเดิมใช้เขียนเฉพาะคำจากภาษาบาลี สันสกฤตเท่านั้นทำให้สงสัยว่ากฎเกณฑ์นี้ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่  จึงได้ทำการศึกษาคำในศิลาจารึกที่ประกอบด้วยพยัญชนะเดิมเหล่านั้น  สำหรับพยัญชนะ   ฌ ฑ ฒ ฬ  ซึ่งไม่ปรากฏในศิลาจารึก  ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้ง  ผลของการศึกษาทำให้สามารถแยกพยัญชนะเดิมออกได้เป็นหมวดหมู่คือ  พยัญชนะเดิมออกได้เป็นหมวดหมู่คือ  พยัญชนะเดิมที่ใช้เขียนคำที่ไม่ใช่บาลีสันสกฤต

๑.  พยัญชนะเดิมที่ใช้เขียนคำบาลี สันสกฤต
           “ฆ”  ในคำว่า  สงงฆราช  (ด้านที่  ๒  บรรทัดที่  ๒๙)

           “ฐ”  ในคำว่า  พระอฏฐารศ  (ด้านที่ ๒  บรรทัดที่  ๒๔,๓๒)  คำทั้ง  ๒ คำดังกล่าวปัจจุบันยังคงใช้อยู่และมีความหมายเหมือนกัน  แต่เปลี่ยนอักขรวิธีเป็น  สังฆราช  พระอัฏฐารศสันนิษฐานว่าเป็นภาษาบาลีเพราะ  ตัวสะกดและตัวตามเป็นพยัญชนะในวรรคเดียวกัน

           “ธ”  ในคำว่า  ธรมม  (ด้านที่  ๓  บรรทัดที่  ๑๕, ๑๖)  คำนี้ปัจจุบันก็ยังคงใช้เช่นกันโดยเปลี่ยนอักขรวิธีเป็น  ธรรม  เป็นคำสันสกฤต เพราะมีการใช้  ร  หัน

           “ศ”  ในคำว่า  ศริสชชนาไล  (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่  ๑๑,๑๗)  คำนี้เป็นคำนามหมายถึงชื่อเมือง  ปัจจุบันเขียนเป็น  ศรีสัชนาลัย  ที่น่าสังเกต  คำนี้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เขียนได้ ๒  แบบ  คือใช้  ค  หรือ  ษ  เป็นพยัญชนะต้น  เช่น  ษรีสชชนาลัย  (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่  ๖)  นอกจากนี้ลักษณะดังกล่าวยังพบในคำ  ษรีอีนทราทีตย  (ด้านที่  ๔ บรรทัดที่  ๗  ซึ่งบางครั้งใช้  ส เป็นพยัญชนะต้น  เช่น  สรีอีนทราทีตย  (ด้านที่  ๑ บรรทัดที่ ๑ )  สาเหตุเพราะพ่อขุนรามคำแหทรงยืมมาจากบาลีสันสกฤตเพื่อให้มีอักษรครบไว้เขียนภาษาบาลีสันสกฤต  เดิมที่อักษร  ศ  ษ  และ  ส  เป็นคนละหน่วยเสียงกัน  ในกรณีที่ไทยเรายืมมาเราไม่มีเสียงเหล่านี้ในภาษาไทย  เรามีแต่เสียง  ส /S/  ในการยืมภาษาอื่นมาเราจึงได้ดัดแปลงให้เข้ากับเสียงของเรา  ต่อมาจึงได้รวมอักษร  ศ  ษ  และ ส  เข้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน  คือ  /S/  อีกประการหนึ่ง  เสียงพยัญชนะทั้ง ๓ ตัวนั้น  ออกเสียงคล้ายคลึงกันมากในภาษาสันสกฤต เช่นหน่วยเสียง /ศ/ มีฐานที่เพดานแข็ง  ส่วน /ษ/  มีฐานที่ปุ่มเหงือก  อย่างไรก็ตามหน่วยเสียงทั้งสามก็เป็นเสียงเสียดแทรกเหมือนกัน  ทำให้เราออกเสียงสับสนไปบ้าง  โดยไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป  ดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกอะไรที่ในสมัยสุโขทัยซึ่งคำบางคำจะปรากฏใช้ทั้ง  ศ  หรือ  ษ  เพราะเราออกเสียงเหมือนกัน  และไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป  คำนี้สันนิษฐานว่าเป็นคำภาษาสันสกฤต  เพราะเป็นคำควบกล้ำ (ศรี)

           “ษ”    ษุกโขทัย (ด้านที่ ๑  บรรทัดที่ ๑๘)  คำนี้บางแห่งก็ใช้พยัญชนะ  ส  เป็นพยัญชนะต้น  คือ    สุกโขทัย (ด้านที่ ๒  บรรทัดที่ ๒,  ๖, ๑๐)  เป็นลักษณะเช่นเดียวกับคำว่า  ศรีสชชนาไล
           “ษ”    พรนษา (ด้านที่ ๒  บรรทัดที่ ๑๓)  ใช้เป็นคำนาม  แปลว่า  ฤดูฝน  ปัจจุบันเขียน พรรษา  ใช้  รร  เป็นตัวสะกดแทน  น  แต่ยังคงออกเสียงเหมือนเดิม  สันนิษฐานว่าเป็นคำภาษาบาลี  สันสกฤต  เพราะสังเกตจากลักษณะการเขียน ใช้ภาษาเขียนโดยมีรากศัพท์เป็นภาษาสันสกฤต  จากคำว่า  วรษ  เมื่อไทยเราเอามาใช้จึงแผลง  ว  เป็น  พ  และออกเสียงให้เป็นสระ       
          
“ษ”   ษิลาบาตรร (ด้านที่ ๓  บรรทัดที่ ๗)  เป็นคำนาม  มีความหมายว่า  ภาชนะที่ทำด้วยหิน  ปัจจุบันเขียนใหม่โดยเปลี่ยนพยัญชนะ  ษ  เป็น  ศ  แล้วแผลงสระเสียงยาว   อี   เป็นสระเสียงสั้น  อิ  จ่าจะเป็นคำภาษาสันสกฤต  เพราะ  “ษิสา”  หน่วยเสียง  /s/  มีใช้ในภาษาสันสกฤต  และ  “บาตร”  มีพยัญชนะสะกด หรือตัวตามเป็นพยัญชนะควบ

๒.  พยัญชนะเดิมที่ใช้เขียนคำที่ไม่ใช่บาลีสันสกฤต

           “ณ”    ณึ่ง (ด้านที่ ๒   บรรทัดที่  ๑๕, ๓๑, ๓๒)   เช่นประโยค  “เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนณึ่งจึ่งแล้ว”   คำนี้ไม่น่าจะเป็นคำไทยเพราะทั้ง ๆ ที่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑  มีพยัญชนะ  “น”  ใช้อยู่แล้ว  แต่กลับไปใช้  “ณ”  จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า   ณึ่ง  คงออกเสียงไม่เหมือนกับ  “นึ่ง”  แน่นอน  และในภาษาไทยไม่ปรากฏว่ามีคำใดที่มีการกลายเสียงที่เป็นระบบจาก   ณ  เห็น  หน (Sound   Correspondence)  อาจเป็นไปได้ว่า  คำว่า  ณึ่ง   เป็นคำที่เรายืมมาจากภาษาถิ่นอื่น  ซึ่งมีเสียงที่เปลี่ยนหรือแตกต่างไปจากเรา  กล่าวได้ว่ามีความหมายเหมือนกัน  แต่เสียงต่างกัน  หรือเป็นคำยืมมาจากภาษาที่ไม่สีมพันธ์กับภาษาไทยของเราเพราะก่อนที่เราจะยืมมา   คำนี้ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงเสียงไปในระบบของเรา
           “ฏ”    ฏ๋งง (ด้านที่ ๓   บรรทัดที่ ๑๒)   ในประโยค  “ขดารหินฏ๋งงหว่างกลางไม้ตาล”  คำนี้ในศิลาจารึกใช้ตัวอักษรสับสนมาก  เพราะพบคำว่า  ต๋งง  ในด้านที่  ๔  บรรทัดที่  ๗  แสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษร  ฎ  ขึ้นมาทั้งที่ไม่มีเสียงในภาษาไทย  เพราะถ้ามีเสียงในภาษาไทยก็คงไม่ใช้สับสนอย่างนี้   คำนี้คงไม่ใช่คำไทยแน่นอนเพราะเป็นคำไทยก็น่าจะใช้พยัญชนะ  ต  เป็นพยัญชนะต้นเพียงตัวเดียว  จึงไม่ทราบที่มาว่ามาจากภาษาอะไร

           “ฏ”   แฏ่ง  (ด้านที่ ๓  บรรทัดที่ ๑๒)   เช่น  “วันเดือนดับเดือนเต็มท่านแฏ่งช้างเผือกกระพัดลยาง”  คำนี้ก็ไม่ใช่คำใหนแน่ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าเป็นคำไทยต้องใช้  ต  เป็นพยัญชนะต้นปัจจุบันคำนี้ใช้พยัญชนะต้น  ต เทน  เป็นแต่ง  ใช้เป็นคำกิริยา  แปลว่า  การตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้นสาเหตุที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้  ต  เพราะว่าเรายืม  ฏ  จากภาษาอื่นซึ่งเราไม่มีเสียงใช้  เรายืมแต่รูปเอามา  พอนานเข้าตัวอักษรก็ไม่ได้ใช้จึงมีการเปลี่ยนรูปเขีวยนให้ตรงกับอักขรวิธีของเรา

           “ศ”  ศี  (ด้านที่  ๒  บรรทัดที่  ๘, ๒๑  )  “สุโขทัยนี้ปลูกไม้ตาลได้สิบศี่เข้า  จึงให้ช่างฟัน”  ใช้เป็นคำบอกจำนวนนับ  คือจำนวนสี่

                 ใศ่  (ด้านที่  ๔  บรรทัดที่  ๑๐ -๑๑  พ่อขุนรามคำแหงใคร่ใจในใจแลใศ่ลายสือไทยนี้”  ใช้เป็นคำกิริยาแปลว่าใสหรือ  บรรจุ

                  ศู่   (ด้านที่  ๒ (บรรทัดที่  ๘ ,๒๑ )  คนใดขี่ช้างมาหา  พาเมืองมาศู่”  ใช้เป็นคำกริยาแปลว่าให้

                  คำ ศี่  ใศ่ และศู่ ทั้ง  ๓  คำนี้ ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้พยัญชนะ  ส  แทน  ศ  สันนิษฐานว่าไม่ใช่คำไทย  คงจะยืมมาจากภาษาถิ่นอื่น  เพราะถ้าเป็นคำไทยต้องใช้พยัญชนะ  ส  เป็นพยัญชนะต้นสาเหตุที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น  ส  เพราะในการยืมคำจากภาษาถิ่นอื่นเรายังไม่คุ้นชินกับคำที่เรายืมมานั้น  เราจึงเขียนกันตามความพอใจ  หรือปรับเข้ากับอักขรวิธีของเรา

                หลังจากศึกษาคำเหล่านี้  ทราบว่าพยัญชนะทั้ง  ๙  ตัวนี้  มิได้ใช้เขียนเฉพาะคำภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น  แต่ยังใช้เขียนคำยืมจากภาษาอื่นที่ไม่ทราบที่มาอีกด้วย

                ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงพยัญชนะเดิม  น่าจะอธิบายได้ว่าประดิษฐ์ขึ้นจากการดัดแปลงอักษรที่มีอยู่แล้วในภาษาอื่น  นำมาใช้เขียนคำบาลี-สันสกฤต  บางกรณีอาจจะใช้เขียนคำยืมจากภาษาอื่นได้สำหรับในศิลาจากรึกนั้นปรากฏว่าใช้พยัญชนะเดิมเขียนคำยืมหลายคำ  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสมัยนั้นเรามีความจำเป็นต้องยืมคำภาษาบาลี- สัสสกฤตเข้ามาใช้มาก  และในการยืมคำเข้ามาใช้นั้นเราไม่สามารถจะออกเรียงให้ตรงกับเสียงคำที่เรายืมมาจากต้นตอได้ทั้งหมด  เนื่องจากระบบเสียงของแต่สะภาษาย่อมเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้  ดังนั้นเราจึงนำคำยืมเข้ามาแล้วปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอักขรวิธีของเรา  เมื่อเข้ามาอยู่ในภาษาไทยเป็นระยะเวลานาน  ผู้รับหรือเราเองอาจเขียนตามความพอใจ  ตามความเข้าใจจึงคิดว่าสิ่งหรือคำที่เขียนไปนั้นถูกต้อง

                สำหรับคำบางคำในสมัยสุโขทัยที่อาจใช้พยัญชนะหลายตัวเขียนแทนกันเช่น  ส ษ ศ  ปัจจุบันได้เปลี่ยนมรใช้พยัญชนะเพียงตัวเดียวแล้ว  สาเหตุเพราะเสียงเหล่านี้มีความใกล้เคียงกันมากซึ่งดั้งเดิมทีเดียวเสียงนี้ไม่ได้เป็นเสียงที่ซ้ำกัน  แต่เมื่อเรายืมเข้ามาการออกเสียงของเราเลือนไป  เสียงที่ใกล้เคียงกันก็กลายเป็นเสียงที่เหมือนกัน  เช่นเราอ่าน  ษรี  กับ  ศรี ออกเสียงเหมือนกัน  พอเปลี่ยนมาเป็นเสียงเหมือนกันแล้ว  มีผลทำให้พยัญชนะต้องเปลี่ยนไปด้วย  คือเป็นจาก  ษ  เป็น  ศ  เพราะคิดว่าเป็นเสียงเดียวกัน  น่าจะใช้อักษรตัวเดียว

เอกสารอ้างอิง

กำชัย  ทองหล่อ  ๒๕๓๓.  หลักภาษาไทย.  พิมพ์ครั้งที่  ๘.  กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์นการพิมพ์เทพ  สุนทรคารทูล.  มบป.  วิจัยข้อเท็จจริง  เรื่องศิลาจารึกอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพฯ:  จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.อิงอร  สุพันธ์วณิช.  ๒๕๒๗. วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย.  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16031เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ສົງໄສວ່າ ທີ່ປາກົດໃນສີລາຈາຣືກນັ້ນ ຄື ຄຳວ່າ "ສຽງຈັນ ວຽງຄຳເປັນທີ່ແລ້ວ" ອັນນີ້ສົງໄສ ຄຶ ຣາມຄຳແຫ່ງ ສ້າງຈາຣືກນີ້ ເມື່ອ ພ.ສ ໑໘໑໘ ພຣະເຈົ້າຟ້າງູ່ມະຫາຣາດສະຖາປານາອານາຈັຫລ້ານຊ້າງ ຫຼັງຂຸຸນຣາມຄຳແຫງ ຫຼາຍປີ ຄື ພ.ສ ໑໘໙໖ ໝາຍຄວາມວ່າ "ພຣະເຈົ້າຟ້າງຸ່ມຢູ່ໃນຍຸຸກຫຼັງຂຸນຣາມຄຳແຫງ ຕັ້ງ ໖໘ ປີ ໂດຍປະມານ" ແຕ່ເຫດໃດຄຳວ່າ "ວຽງຈັນ ວຽງຄຳ ເປັນທີ່ແລ້ວ" ຈຶ່ງໄປປາກົດໃນສີລາຈາຣືກຂຸນຣາມຄຳແຫງ ທີ່ເກີດກ່ອນຕັ້ງ ໖໘ ປີໄດ້.

- ຕາມປະຫວັດສາດ ແລະຕຳນານກໍດີ ວ່າ "ເຈົ້າຟ້າງຸ່ມໄດ້ເຮັດຈຽງໜ້າຄຳ ໄປຍິງໃສ່ເມຶອງໄຜໜາມ ຂອງພະຍາເພົາ ແລ້ວຊາວເມືອງກໍໄປຖາມກໍໄຜ່ເອົາຈຽງນ້າຄຳ ແລ້ວພຣະເຈົ້າຟ້າງຸ່ມອອກໄປຕີເມືອງໄຜ່ໜາມໄດ້ ແລ້ວກໍຈັບພະຍາເພົາສົ່ງຂຶ້ນຊຽງທອງ ແລ້ວຍົກລຸູກຊາຍຂອງພຣະຍາເພົາ ເປັນເຈົ້າເມືອງໄຜ່ໜາມ ແລະຂະໜານນາມເມືອງໃໝ່ວ່າ "ວຽງຄຳ".

ແກ້ໄຂ

ພ.ສ ໑໘໑໘ ເປັນ

ພ.ສ ໑໘໒໘

ແກ້ໄຂອີກ

໑. ສຽງຈັນ ເປັນ ວຽງຈັນ

໒. ຊາວເມືອງກໍໄປຖາມກໍໄຜ່ເອົາຈຽງນ້າຄຳ-ປ່ຽນເປັນ-ຊາວເມືອງກໍໄປຖາງກໍໄຜ່ເອົາຈຽງໜ້າຄຳ

สุดยอดเลยอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท