เสียมเรียบ นครวัด ชมการแสดงแสง-เสียง


ภาพสลักชุดเทพธิดา หรือนางอัปสร ที่มีทั้งหมดราว 2000 นาง งดงามที่สุด เป็นทั้งรูปเดี่ยวบ้าง รูปหมู่สอง, สาม, สี่บ้าง แต่งกายเป็นแบบนครวัดทั้งสิ้น คือ นุ่งผ้าลายดอกไม้ ชักชายออกมามากทั้งสองข้างของลำตัว ศิราภรณ์หรือเครื่องประดับเศียรเป็นรูปดอกไม้กลมเรียงกัน 3 ดอก และมียอดแหลมอยู่ข้างบน ซึ่งทรงผมและเครื่องแต่งกายจะแตกต่างกันถึง 36 ชุด

เที่ยวนี้ได้ชมภาพกันได้หลังจากน้องซูซานอุตส่าห์โทรคุยกันสอนวิธีง่ายๆให้ในการใส่ภาพ เราเคยทำแต่อีกวิธี คนไม่มีหัวทางเทคนิคนี่เจอปัญหาง่ายๆก็ตันไปเลยค่ะ ขอขอบคุณน้องซูซานไว้ตรงนี้อีกครั้งนะคะ

 Tickets

การเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ในเสียมเรียบหนึ่งวันเขามีตั๋ววันให้ใช้ค่ะ ราคา ๒๐ ดอลล่าร์ สหรัฐ เป็น One Day Pass ใบแค่ฝ่ามือ กระดาษก็ไม่แข็ง แต่ต้องรักษาให้ดี เพราะใช้ได้ทั้งวัน ไปที่หนึ่งเขาก็จะขลิบ ฉีก หรือเจาะ ที่บัตร ข้างหลังเขาเขียนไว้เลยว่าการปลอมบัตรนี้เป็นความผิด ต้องเสียค่าปรับ ๑๐๐ เหรียญ

ส่วนบัตรใบใหญ่นั้นใช้เข้าชมการแสดงแสง-เสียง ราคาตั้ง ๘๐ เหรียญ กัดฟันจ่ายเพราะไหนๆก็มาถึงที่แล้วนี่คะ

บัตรใบเล็กสำหรับเข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่เพิ่งเปิดใหม่หมาดๆ ในเดือนธันวาคมที่เราไปนั่นเอง ราคาย่อมเยา แค่ ๘ เหรียญ

รู้สึกว่าเขานิยมใช้ดอลลาร์ มากกว่าเงินเขมรเสียอีก หากให้ดอลล่าร์เขาไป เขาจะทอนกลับมาเป็นเงินเขมร ตั๋วเข้าชมโบราณสถานนี่มักรวมอยู่ในรายการที่เราซื้อการบริการทัวร์ น่าแปลกใจที่บริษัทที่เป็นผู้จัดการเรื่องตั๋วชมอุทยานประวัติศาสตร์นี้จัดการโดยบริษัทที่ดำเนินกิจการโรงแรม รายได้คงมหาศาล เพราะไม่มีใครที่มาถึงเสียมเรียบแล้วไม่ซื้อตั๋วนี้

ที่จริงวันนี้เราเริ่มต้นด้วยการไปนครธม ชมปราสาทบายน แล้วไป ปราสาทตาพรหม แล้วปิดท้ายวันด้วย นครวัด แต่อยากพาไปนครวัดก่อนค่ะ

 

S+gate+angkor+wat 

ทางเข้านครวัดมีหลายทาง และยาวมากกว่าจะเดินถึงตัวปราสาท แต่มันร้อน เลยถ่ายภาพออกจะส่งเดชเพราะมีหลานไปด้วยใช้กล้องอีกตัว ท่าทางเขามือโปรกว่า ว่ากลับเมืองไทยจะขอก๊อปปี้ภาพสักชุด แต่ก็ยังไมได้ขอ มีภาพที่มือโปรจริงๆเขาถ่ายไว้ทั่วไปหาชมไม่ยาก ไม่ว่ากันนะคะ และถ้าเข้าไปที่พระบรมมหาราชวังในบริเวณเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ที่กรุงเทพ ก็จะเห็น นครวัดจำลอง แสดงอยู่ด้วย

คงไม่เล่าละเอียด แต่ขอนำข้อมูลหลักๆที่จะทำให้มองเห็นภาพประวัติศาสตร์ของเขมรพอเป็นสังเขป <h3> ตามธรรมเนียมของกษัตริย์ขอมโบราณ เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ก็จะโปรดให้สร้างสิ่งก่อสร้างขึ้น 3 อย่างด้วยกันกล่าวคือ <ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">  ปราสาทซึ่งใช้เป็นวิมานของเทพเจ้าตามความเชื่อในศาสนาที่พระองค์นับถือโดยสร้างขึ้นเพื่อบูชาบรรพบุรุษและบรรพสตรี </li>

  • จากนั้นจะโปรดให้สร้างปราสาทประจำรัชกาลของพระองค์เอง และ
  • โปรดให้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บาราย ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ช่างผู้ก่อสร้างปราสาท และไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • </ul> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ทางประวัติศาสตร์เขาแยกการศึกษาเกี่ยวกับความรุ่งเรืองของเขมรนี้ออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ โดยยึด Angkor เป็นแกน นั่นคือ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">------> Pre-Angkor Period คือช่วงเวลาที่ขอมยังเป็นชุมชนกระจัดกระจาย จนมีการรวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">------> Angkor Period เป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองและอำนาจในอาณาจักรอย่างต่อเนื่อง </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตอนที่อาณาจักรขอมเจริญถึงขีดสุดนั้น หนังสือเขาเขียนไว้ว่าอำนาจปกครองจากนอร์กอร์ นั้นแผ่ขยายกินอาณาเขต ….most of mainland southeast Asia, ได้แก่  the entire Chao Phraya Basin and northeastern plateau in what is now Thailand, parts of upper Burma, Laos, Champa(now central Vietnam), and the Malay Peninsula.</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> (From: Angkor/Icon by Michael Freeman , River Books)</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          นับแต่การสร้าง พระนคร แห่งแรก คือ ยโสธรปุระ เป็นเมืองหลวง สร้างปราสาท   พนมบาเก็ง  เป็นวัดหรือปราสาทของเทพเจ้า ประจำรัชกาลของ พระเจ้ายโสธรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1345-1393)และตัวเขตเมือง พระนคร นั้นมีคันดินล้อมรอบ เป็นพื้นที่ถึง สี่ตารางกิโลเมตร </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         หากเทียบในยุคใกล้ๆกันนั้นเป็นยุคกลางของฝรั่งเศส(Medieval France) ราวๆคริสตศตวรรษ 1200  หากนำ 543 บวกเข้าไปก็ราวๆ พ.ศ. 1743 ปารีส ยังเป็นเมืองที่มีอาณาเขตพื้นที่ไม่ถึงหนึ่งในสิบ ของ ยโสธรปุระ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         หลังจากนั้นก็มีการย้ายเมืองหลวงหลายครั้ง รวมทั้งย้ายกลับมาที่ ยโสธรปุระ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        จนถึงสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1693) ซึ่งความเกรียงไกรอันอมตะของพระองค์คือการสร้าง นครวัด หรือ Angkor Wat  อันมีความหมายว่า Capital which is a temple </p>         <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กล่าวกันว่าแผนผังของ ปราสาทนครวัด ออกแบบเป็นแบบคอมเพล็กซ์ซับซ้อน ใช้ความคิดความอ่านละเอียด และเป็นผังของศาสนสถานเขมรที่สวยงามที่สุด ในยุคเมื่อประมาณร่วม 900 ปี ที่แล้ว ซึ่งร่วมสมัยเดียวกันกับโบสถ์ศิลปแบบโกธิค “โนตเตรอดาม (Notre Dame)” แห่งปารีส ของประเทศฝรั่งเศส

    ปราสาทนครวัดเป็นตัวอย่างของศาสนสถานบนฐานเป็นชั้นๆ ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกกันว่าศาสนบรรพตที่ดีที่สุด คือ ดูเป็นเขาพระสุเมรุอย่างแท้จริง เพราะสูงใหญ่ มียอด 5 ยอด แต่ละยอดสูงกว่า 60 เมตรเหนือพื้นดิน</p>  ปราสาทนครวัดมีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 1,500 เมตร กว้าง 1,300 เมตร
    ขอบเขตชั้นนอกสุดเป็นคูน้ำที่มีความกว้างถึง 200 เมตร ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ยาวทั้งหมด 6 กม.
    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         และยุครุ่งเรืองท้ายสุดคือสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ นครธม หรือ พระนครหลวง ที่เรามักเห็นเป็นภาพปราสาทหินแกะสลักหน้าเทพเจ้าขนาดยักษ์ที่ดวงตาคอยจับจ้องผู้คนที่เข้าไปชม และยุคนี้พุทธศาสนานิกายมหายานรุ่งเรืองมาก เก็บไว้เล่าต่อตอนไปถึง นครธมและ ปราสาทตาพรหม นะคะ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">------> Post-Angkor Period เป็นยุคที่อำนาจเปลี่ยนจากแถบ พระนคร ไปยังอีกแห่งหนึ่ง คือ พนมเปญ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

      ย้อนกลับมาที่ปราสาทนครวัด อีกครั้ง นอกจากสถาปัตยกรรมอลังการแล้ว เชื่อว่าสิ่งที่ทุกคนตั้งตาไปชมคือ นางอัปสรา ภาพแกะสลัก ยาวราว 50 เมตร ที่ระเบียงด้านตะวันตกและด้านใต้ และ อยากเตือนว่าอย่าลืมชม ตัวสิงห์ ที่มีลักษณะพิเศษ (ที่ผู้เขียนก็พลาดชม ทั้งๆทีอยู่อยุธยา เลยไม่มีภาพมาฝาก)  สิงห์ดังกล่าวมีลักษณะเบือนหน้าออกด้านข้าง ไม่หันตรง รูปแบบสิงห์เบือนนี้คล้ายกับสิงห์ที่ เจดีย์วัดธรรมิกราช พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงบูรณะวัดนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม จากการที่พระองค์เคยตีเมืองพระนครได้ในปีพ.ศ.1974

    ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้นมีวัดและสถาปัตยกรรมหลายแห่งที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอม เช่น วัดไชยวัฒนาราม ในตัวเมือง และ ปราสาทนครหลวง ที่อำเภอนครหลวง ใกล้บ้านผู้เขียน (ใครมาเยี่ยมบ้าน จะพาไปชมนะคะ)

    เริ่มที่นางอัปสรา เมื่อก้าวเข้าไปในตัวปราสาทนครวัด

    </span> </h3></span><p>Apsara+1 </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จะพบภาพสลักชุดเทพธิดา หรือนางอัปสร ที่มีทั้งหมดราว 2000 นาง งดงามที่สุด เป็นทั้งรูปเดี่ยวบ้าง รูปหมู่สอง, สาม, สี่บ้าง แต่งกายเป็นแบบนครวัดทั้งสิ้น คือ นุ่งผ้าลายดอกไม้ ชักชายออกมามากทั้งสองข้างของลำตัว ศิราภรณ์หรือเครื่องประดับเศียรเป็นรูปดอกไม้กลมเรียงกัน 3 ดอก และมียอดแหลมอยู่ข้างบน ซึ่งทรงผมและเครื่องแต่งกายจะแตกต่างกันถึง 36 ชุด </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
    อัปสราแต่ละนางมีรอยยิ้มแต่ไม่เห็นฟัน มีเพียงสองรูปทางด้านขวามือข้างกรอบประตูที่มีรอยยิ้มเห็นฟันหลายซี่ แต่ขอบอกว่า ต้องชะโงกตัวออกไปดู หากจะถ่ายภาพก็ต้องถึงขั้นปีนขอบระเบียง หลานที่ไปด้วยเขาถ่ายได้ ผู้เขียนขอผ่านค่ะ</p><p> Apsara+2 </p><p> </p><p>Apsara+3 </p><p>หันไปทางไหน หรือ แหงนขึ้นไป ก็มักเห็นภาพอัปสราอยู่ในสายตาเสมอ</p><p>อัปสราบางภาพที่อยู่ใกล้มือคน ก็ถูกลูบคลำซะเป็นมัน เพราะหินทรายนี้มีคุณสมบัติขึ้นเงามันเมื่อใช้มือขัดถู ซึ่งที่จริงผู้ชมไม่ควรทำ ทั้งแตะต้องหรือขีดเขียนไว้ตามโบรณสถาน คนมือบอนเหล่านี้ช่างไม่รู้เลยว่า ชื่อตัวและวงศ์ตระกูลถูกคนก่นด่า ประณามสาปแช่งตลอดเวลา แล้วจะเจริญไปได้อย่างไร</p><p>Long+carving+wall </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ระเบียงด้านตะวันตกส่วนใต้ เป็นภาพยาวประมาณ 50 เมตร เป็นภาพสลักแบนมาก มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าเบื้องหลังภาพ คือสลักโดยไม่มีเว้นที่ว่างเปล่าเลย เป็นภาพเล่าเรื่องมหาภารตะตอนพระอรชุนของฝ่ายปาณฑพ กับแม่ทัพฝ่ายเการพชื่อ ภีษมะ รบพุ่งกันที่ทุ่งกุรุเกษตร</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ระเบียงด้านใต้ส่วนตะวันตก เรียกกันว่าระเบียงประวัติศาสตร์
    สลักเรื่องของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทางด้านซ้ายในชั้นต้นจะสลักเป็น 2 แนว ซึ่งถือกันว่าคงสลักขึ้นในรุ่นหลังของปราสาทนครวัด เป็นภาพขบวนเสด็จของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฟังไกด์เล่าและชี้ให้ดูจุดสำคัญในภาพสลักจนมึนไปหมด ตาลายจนฟังและมองไม่เห็นเป็นเรื่อง สมควรแก่เวลาก็ต้องกลับเข้าตัวเมืองเสียมเรียบ เพื่อ พักผ่อนสักนิด อาบน้ำ แต่งตัว ทานอาหารเย็นกันเองที่โรงแรม รอรถและไกด์มารับ กลับไปที่ นครวัด อีกครั้งเพื่อชมการแสดง แสง-เสียง ในตอนค่ำ ตื่นเต้นที่จะได้เดินเข้าไปในสถานที่ประวัติศาสตร์ยามค่ำ เผื่อนางอัปสราจะมาทักทาย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>Show</p><p>การแสดงแสง-เสียงนี้ เป็นการดำเนินการโดยบริษัทของคนไทย แต่ผู้แสดงเป็นคนเขมรทั้งหมด โดยเฉพาะอัปสราตัวเด่นนั้น เป็นระดับศิลปินที่รูปร่างหน้าตาสวยมาก เขาใช้ชื่อชุดการแสดงว่า The Legend of Angkor Wat : When History Comes to Life ค่าบัตร 80ดอลล่าร์ สหรัฐ หรือประมาณ 2,700 บาทไม่รวมดินเนอร์นะคะ (เขามีรายการดินเนอร์หรูในบริเวณปราสาท ก่อนการแสดงด้วย)  นับว่าแพงมาก สำหรับคนที่เคยชมการแสดงแสง-เสียง ที่อยุธยาราคาไม่ถึง 500 บาท</p><p> </p><p>การแสดงก็ตามชื่อค่ะ คือเปิดฉากด้วย อองรี มูโอต์ กับคณะสำรวจเดินๆ ส่องๆ ไปพบซากโบราณสถาน พบภาพนางอัปสรา ถึงกับตะลึง และไปนอนฝันถึง ประมาณว่านางอัปสรามาเข้าฝันและสนทนากัน บอกว่าจะพาย้อนอดีตไปดูความเป็นมาของนครวัด โดยต้องสัญญาว่าจะทำให้เรื่องราวความรุ่งเรืองของนครวัดปรากฏ มีรึฝรั่งจะปฏิเสธ แล้วการแสดงก็เล่าไปตั้งแต่เรื่องตำนานเจ้าหญิงแห่งเมืองนาคา การกวนเกษียรสมุทร จนถึงการสร้างนครวัด</p><p> Show+apsaras </p><p>ความรู้สึกส่วนตัวที่ชมการแสดงนี้คือ ก็งั้นๆ ความงามของการร่ายรำ ชอบแบบไทยมากกว่าเพราะอ่อนช้อยลงตัว เครื่องแต่งกายของผู้แสดงก็ไม่ดูอลังการเท่าไหร่ ขนาดนั่งชมในแถวหน้าๆ (ถูกให้ร่นถอยหลังไปราวสองแถวเพราะ เจ้าหญิงจำชื่อไม่ได้ ลูกสาวสีหนุ พาคณะมาชมรอบเดียวกับเรา) เทคนิคที่ใช้พวกฉากน้ำ เราก็เห็นซะเบื่อ ฉากบนเวทีก็ไม่ปราณีตเท่าไหร่ บอกตรงๆหากทราบว่าเป็นอย่างนี้ รับรองไม่ได้เงินผู้เขียนแน่นอน </p><p>แต่ก็นับเป็นค่ำคืนที่น่าสนใจ อากาศดี นั่งชมการแสดงท่ามกลางแสงจันทร์เสียด้วย คิดเสียว่าได้มานั่งอยู่ในนครวัดตอนกลางคืน ที่เหล่าวิญญาณของผู้คนในอดีตคงได้มาร่วมชมการแสดงกับเราด้วยก็คงคุ้มแล้วค่ะ</p><p>ชมเสร็จรถพาไปส่งโรงแรม พวกเราก็เลยแก้เซ็งด้วยการไปหาร้านนวดเท้าใกล้ๆโรงแรม (ร้านนวดมีมากมายเกือบทุกถนนและมีหลายระดับ สงสัยดูงานมาจากบ้านเรา) เจอร้านที่สะอาดพอควร ค่านวดแค่ชั่วโมงละ 4 เหรียญ คุณภาพสมราคา พวกงานบริการทุกอย่างในแถบเพื่อนบ้าน ขนาดว่ามี Asian Hospitality หรือการต้อนรับขับสู้อันอบอุ่นแบบเอเชีย  ก็ไม่มีใครสู้เมืองไทยได้</p><p>ตอนหน้าจะพาไป นครธม และ ปราสาทตาพรหม ค่ะ</p><p> </p><p> </p>

    หมายเลขบันทึก: 160144เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (10)
    พี่นุช น้องชายฝากมาลปรร. ค่ะ เขาว่าอาณาจักรเขมรไม่น่าลงไปถึงแหลมมลายูเพราะไม่พบศาสนสถานใด ถ้าหากพบพวกประติมากรรมอาจจะเป็นการเคลื่อนย้ายติดตัวไป มันผิดวิสัยที่จะไม่มีตัวศาสนสถานค่ะ ที่พบใต้สุดของประเทศไทยก็ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นประสาทศิลาแลงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชื่อปราสาทกำแพงแลง เพราะฉะนั้นอิทธิพลของอาณาเขมรจึงไม่น่าแผ่ลงต่ำไปกว่าที่นี่ แต่แปลกที่กลับพบศาสนสถานแบบศิลปะจาม (เวียตนาม) บริเวณจ.สุราษฎร์ธานี

    ส่วนทางพม่านักโบราณคดียังไม่กล้าฟันธงลงไปชัดเจน แต่อาจมีอิทธิพลทางศิลปะแผ่ไปถึง หลักฐานทางโบราณคดีที่ชัดเจนว่าเขมรแผ่อำนาจไปถึงก็คือทางตะวันตกของประเทศไทย คือกาญจนบุรีนั่นเอง ยังไม่พบในฝั่งพม่าว่ามีปราสาทแบบเขมร

    หลักฐานการแผ่ขยายอำนาจการปกครองที่ชัดเจนของเขมรต้องมีศาสนสถานไปตั้ง ณ ที่นั่น การขยายฐานอำนาจที่เด่นชัดของอาณาจักรเขมรโบราณแบ่งเป็น 2 ช่วง 1.ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แผ่ขยายอาณาเขตเข้ามาทางทิศตะวันตกของเขมรหรือในเขตประเทศไทยปัจจุบัน ดังปรากฎหลักฐานในจารึกศาลสูง (ศาลพระกาฬ) แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมลงของอาณาจักรทวารวดีก่อนจะถูกกลืนหายไปในที่สุด ศาสนสถานที่เห็นชัดที่นี่ก็คือปรางค์แขก เป็นศิลปะแบบเกาะแกร์ 2. ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่18 มีหลักฐานที่ปรากฏบนจารึกปราสาทพระขรรค์กล่าวถึงการสร้างอโรคยาศาล  บ้านมีไฟ และการส่งพระพุทธรูปชัยพุทธมหานาถไปยังศาสนสถานต่างๆ ที่ได้สร้างขึ้นตามที่กล่าวไว้ในข้างต้น
    สวัสดีค่ะพี่นุช โอ้..อัปสรา เบิร์ดชอบเสียงของคำนี้มากเลยนะคะ อัปสรา หวานแว่วหูดีเหลือเกิน แต่ความหมายกลับดูพิกลๆ อิ อิ อิ ก็อัปสรา แปลว่า “ผู้กระดิกในน้ำ” นี่คะ..ฟังดูแปลกๆ ทะแม่งๆ ไม่เห็นจะเข้ากันได้เลยกับคำสวยๆ ที่ออกเสียงว่า อัป-สะ-รา เลยนะคะ “ผู้กระดิกในน้ำ” น้ำนี้คือทะเลน้ำนม (เกษียรสมุทร) ที่เหล่าเทวดาและอสูร (ซึ่งถูกเทวดาหลอกใช้...แล้วสุดท้ายก็ถูกเบี้ยว) ใช้เวลา 1,000 ปี ช่วยกันกวนเพื่อให้ได้ น้ำอมฤต แต่ก่อนที่น้ำอมฤต จะออกมา อัปสราก็กระดุกกระดิก เกิดขึ้นมาก่อน ตั้ง 35 ล้าน กับ 1 องค์แน่ะค่ะ ( มาจากฟองคลื่นแบบวีนัสหรือเปล่าน้อ ^ ^ ) แต่น่าสงสาร...อัปสรานะคะ เพราะ มีเพียง 1 องค์เท่านั้น ที่ได้รับเกียรติสูงสุด ถูกอัญเชิญเป็นชายาของพระนารายณ์ คือ พระนางลักษมีเทวี ส่วนที่เหลืออีก 35 ล้าน องค์ หามีเทวดาองค์ใดรับเป็นชายาไม่ ดังนั้นทุกองค์จึงตกเป็นของกลางแห่งสวรรค์เป็นข้าบริจาริกา ของเทวดาทั่วไป เค้าบอกว่า รูปร่างของอัปสราในยุคก่อนและหลัง นครวัด ล้วนมีรูปร่างอวบอิ่ม พิมพ์นิยมแบบสาวแขกในยุคก่อนๆ ต้องมีพุงหน่อยๆถึงจะเต้นระบำได้งามนัก แต่ที่ผิดเพี้ยนและตรงกับพิมพ์นิยมในยุคนี้ กลับเป็นอัปสรา ประจำนครวัด ( ที่พี่นุชพาชมนี่แหละค่ะ ) ที่มี หน้าอกโต เอวคอดกิ่ว ร่างเพรียวลม สงสัยว่ากษัตริย์ สุริยวรมันที่ 2 ผู้ทรงสร้างนครวัด จะทรงชอบสาวๆพิมพ์นี้นะคะ สนมกำนัลในของท่านก็คงจะคัดแต่ทรงนี้ เลยเป็นต้นแบบให้ช่างแกะสลักสะท้อนออกมา ( เป็นข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ค่ะ แหะ แหะ ) เบิร์ดไปรวบรวมจากความเห็นของการชมอัปสราจากผู้รู้หลายๆท่าน..สรุปรวบยอดจากการชมอัปราขยายความได้ตามนี้ค่ะพี่นุช ... อัปสราสวยที่สุด (ตัดสินจากกรรมการยุคศตวรรษที่ 21) คือ...อัปสรานครวัด ... อัปสราจอมแฟชั่น คือ...อัปสรานครวัดเหมียนกันค่ะ เพราะทรงผมและการแต่งตัวของเธอมีให้ดูลานตา หลากหลายสไตล์ ... อัปสราที่เซ็กซี่มากที่สุด คือ...อัปสรานครวัดอีกเช่นเคย เพราะที่ไม่ใส่เสื้อเก๊าะเป็นธรรมดา แต่บางนางเธอไม่นุ่งผ้าด้วยนี่สิคะ ^ ^ .. อัปสราที่มีมากที่สุด คือ...อัปสรานครวัด มีถึง 1,800 นางเชียว ... อัปสราที่โดดเด่นมากที่สุด คือ...อัปสราบันทายศรี เพราะแกะเป็นรูปนูนสูง และเป็นศิลปะ เอกลักษณ์เฉพาะตัว ... อัปสราที่มีผิวงามที่สุด คือ ...อัปสราบันทายศรี เพราะเธอมีผิวสีชมพู (หินทรายที่สร้างปราสาท เป็นหินทรายสีชมพูค่ะ) เธอถูก อัปสรานครวัด ช่วงชิงตำแหน่ง...อัปสรา สวยที่สุด ไปเพียงเส้นยาแดง ผ่าแปด เพราะเธออวบไปนิดนึงเท่านั้นเองค่ะ ^ ^ ... อัปสราที่มีท่าร่ายรำพิสดารที่สุด คือ...อัปสรานครธม สมเด็จพระเทพฯ ท่านทรงให้สมญา ท่าร่ายรำของเธอว่า “ ท่าผิดมนุษย์ม้วย” อย่างไรก็ดี อัปสรานครธม ที่มีรูปแบบการยืนแบบปกติ ก็มีอยู่นะคะ ต้องรอชมที่พี่นุชจะพาไปอีกทีค่ะ ... อัปสราน่าจะเป็นพี่น้อง หรือญาติสนิทกัน คือ ... อัปสรานครธม และอัปสราปราสาทตาพรหม เพราะคล้ายคลึงกันมาก ด้วยเกิดร่วมสมัย คือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 น่าจะเกิดจากช่างฝีมือชุดเดียวกันค่ะ ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ เบิร์ดจะคอยชมอัปสรานครธมและปราสาทตาพรหมค่ะ ^ ^

    มีแต่คนที่ไปเที่ยวมาจะชื่นชม  ในความยิ่งใหญ่อลังการของ "นครธม" หรือ "พระนคร" หรือ "นครหลวง" นะคะ

    หลังจากอ่านจากที่อาจารย์เล่า

    พอดี ไปอ่านพบเหมือนกันค่ะว่า....

    "เสียมเรียบ" ที่ออกเสียงแบบเขมรนั้น  คืออ่านจากตัวหนังสือขอมที่เขียนกันทั่วไป

    ถ้าอ่านแบบภาษาไทยก็ต้องอ่านว่า "เสียมราบ" หรือแปลว่า "สยามราบ" ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

    ก็ได้ความว่า กองทัพไทยเคยยกทัพมาที่นี่ และเกิดการสู้รบกันขึ้น เมื่อประมาณ 440 ปีที่แล้ว แล้วกองทัพไทยต้องถอย ทัพกลับไป ทางเขมรเลยเรียกเมืองนี้ว่า "เสียมเรียบ"

     ต่อมาเมื่อเขมรส่วนในนี้ มาขึ้นกับสยาม เราก็เลยเปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่จาก "เสียมเรียบ" หรือ "สยามราบ" มาเป็น "เสียมราฐ"

    เหมือนกับเรามีเมือง "เขมราฐ" หรือ "รัฐเขมร" ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

     หรือเมืองปราจีนบุรีก็คงจะเป็นชื่อเขมร เพราะคำว่า ปราจีน แปลว่าตะวันตก แต่ว่าไปอยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเป็นตะวันตกของประเทศกัมพูชา

    อ่านแล้ว อยากไปเที่ยวค่ะ

    ดีค่ะที่น้องซูซานPและน้องชายมาร่วมลปรร. เรื่องอาณาจักรเขมรกินอาณาเขตไปถึงที่ใดนั้นพี่ก็ยกมาจากหนังสือ Angkor Icon by Michael Freeman พิมพ์โดย  River Books ค่ะอาจไม่เป็นตามหลักวิชาการที่จะอ้างอิง แต่หนังสือเล่มนี้มันเล็กๆอ่านง่าย เขาไม่ใช่นักประวัติศาสตร์แต่เป็นช่างภาพอาชีพที่ทำงานร่วมกับนักวิชาการประวัติศาสตร์เขมรอย่าง Claude Jaques มายาวนาน พี่ขอยกที่เขาเขียนเต็มๆมานะคะ

    At the height of its power, the Khmer Empire, ruled from Angkor, covered most of mainland Southeast Asia. It claimed, either through the conquests of its armies or dependency, the entire Chao Phraya Basin, and northeastern plateau in what is now Thailand, parts of upper Burma, Laos, Champa(now central Vietnam), and the Malay Peninsula.

    สนุกดีนะคะได้แลกเปลี่ยนกันทำให้ได้รู้อะไรอีกมาก

    เท่าที่อ่าน ไกด์และท่านอดีตทูตเขมรประจำประเทศไทยซึ่งเราได้ไปพบที่พนมเปญก็พูดถึง ชนชาติจาม ว่ามาจากทางใต้ พี่ได้ไปเห็นบ้านของคนเชื้อสายจามที่พนมเปญเหมือนบ้านแขกๆทางใต้ แล้วพี่จะนำภาพมาลงให้ชมทีหลังนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณเบิร์ดP เรื่องราวนางอัปสราที่นำมาฝากนี้ยอดเยี่ยมค่ะ อ่านสนุก เห็นภาพตามไปเลยล่ะค่ะ

    เหล่านางอัปสราเป็นล้านที่กำเนิดขึ้นมานั้นถูกให้ทำหน้าที่เป็นนางผู้ให้ความบันเทิงทั้งร่ายรำปรนนิบัติเทพเจ้า และนักรบแกล้วกล้าที่ตายในการรบนั้นก็จะได้นางอัปสราไว้ปรนนิบัติด้วย สงสัยนักรบขอมสมัยนั้นที่กล้าทำศึกขยายอาณาจักรขอมแบบไม่กลัวตายก็ด้วยฝันว่าตายแล้วจะได้นางอัปสราเป็นรางวัล

    อัปสราที่นครวัดที่ไม่นุ่งผ้านั้นไกด์ไม่ยักกะชี้ให้ดูเลยค่ะ ชี้ให้ดูแต่อัปสรายิ้มเห็นฟัน ซึ่งต้องแย่งกันชะโงกหน้าออกไปดู

    แค่ดูอัปสรานครวัดอย่างละเอียดก็ใช้เวลา เห็นแล้วตื่นตะลึง ช่างสวยงามและมากมาย ไปดูใกล้ๆที่เท้าจะเห็นเท้าบิดมากเหมือนนางเท้าแป เพื่อแสดงนิ้วเท้าทั้งห้าชัดเจนทั้งๆที่เป็นภาพนูนต่ำค่ะ

    อัปสราที่นครธมนั้นแปลกมาก พี่ก็เพิ่งสังเกตจากอ่านที่คุณเบิร์ดเขียนมา คือตอนเห็นรูปสลักผู้หญิงยืนพี่ก็นึกว่าอัปสรา แล้วก็เห็นรูปนางรำ ปรากฏว่าพอมาดูในหนังสือ Angkor Cities and Temples โดยClaude Jaques ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์เชี่ยวชาญเรื่องเขมร เขาเขียนอธิบายภาพผู้หญิงที่เรานึกว่าเป็นอัปสรา ว่า Devata เป็นภาษาสันสกฤต คงน้องๆเทวดามังคะ ส่วนนางรำ “ ท่าผิดมนุษย์ม้วย” นั้นเขาระบุว่าเป็นอัปสรา

    คงต้องถามน้องชายน้องซูซานให้อธิบายต่อนะคะ (และพี่ยังมีภาพที่จะส่งไปถามน้องซูซานและน้องชายด้วยค่ะ) ต้องขอบคุณทั้งคุณเบิร์ด น้องซูซานและคุณน้องชายที่ช่วยทำให้เรื่องราวผิวๆที่พี่นำมาเล่านี้มีรายละเอียด มีความถูกต้อง และมีสีสันมากขึ้นค่ะ

    ขอบคุณคุณพี่ศศินันท์P นะคะที่มาช่วยเติมข้อมูลรายละเอียดประวัติศาสตร์อีกส่วน

    แถบเสียมเรียบที่ไปชมปราสาทและวัดนั้น เขาเรียกว่า Angkor Archaeological Park มีความกว้างใหญ่ มีปราสาทและวัดโบราณมากมายค่ะ เพราะเป็นดินแดนที่มีเมืองหลวงอย่างน้อยเจ็ดแห่งเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามยุคสมัยผู้ครองเมืองว่าจะย้ายไปตรงไหน แต่ก็อยู่ในย่านๆนี้แหละค่ะ ที่ไปเห็นก็แค่หลักๆนิดเดียว

    คงต้องกลับไปอีกครั้งค่ะ อยากเห็นปราสาท บันทายศรี (Banteay Srei)ที่เป็นหินทรายสีชมพู ที่คุณเบิร์ดเขียนถึง ดูในภาพจากหนัวสือยังสวยสมบูรณ์มาก และขนาดกระทัดรัดค่ะ

    คุ้มค่ากับการเดินทางไปชมค่ะ

    ชื่อ Claude Jaques นี่คุ้นๆ แต่คุ้นกับ Claude Monet มากกว่า ^ ^ ส่วน Jaques นี่หนูมีเพื่อนข้ามรุ่นใช้ชื่อนี้ด้วยนะคะ แต่เป็นชาวไร่ปลูกองุ่นทำไวน์ : ) ชื่อไร่เขาคือ Château du Roc ส่วนใหญ่ไม่เรียกชื่อแต่ชอบเรียกเขาว่าลุงหมีต่างหาก เพราะเหมือนหมีตัวใหญ่ใจดี ถ้าพี่นุชมีรูปจะให้ดูก็ส่งมาได้นะคะ ยินดีช่วยกันกับน้องชาย ถ้าไม่เกินความสามารถก็จะช่วยเดาให้ค่ะ อิ อิ
    •  ตามมาชมนครวัดแล้วค่ะพี่นุช
    • งดงามอลังการจริงๆ
    • ปราสาทของขอมในเมืองไทยไปเที่ยวครบทุกที่แล้วค่ะ
    • แต่ยังไม่ได้เข้าไปในเมรจริงๆสักที
    • ได้แต่แอบเหยียบแถวด่านคลองลึกตาพระยานั่นละครั้ง
    • อิอิ ไปครั้งล่าสุดจตุจักรบ้านเราเป็นไง เขาก็เป็นอย่างนั้นเลย
    • มีคนชวนหลายครั้งแล้วแต่เป็นทางรถยนต์ ก็หวั่นๆกลัวไม่ได้ข้ามกลับมา
    • ไปเที่ยวกับพี่นุชดีกว่าปลอดภัย
     ขอบคุณค่ะน้องซูซานP ที่ช่วยค้นคว้า มาเติมเต็ม มาทำให้กระจ่างแจ้ง มีเพื่อนข้ามรุ่นทำไวน์นี่เพราะเป็นลูกค้าขาใหญ่หรือเปล่าคะ พี่พอดื่มได้ แต่ไม่ค่อยมีความรู้

    ขอบคุณน้องออยด้วยค่ะที่ช่วยตอบหลายเรื่อง
     โอ้โฮทึ่งความเป็นคนช่างเดินทางแสวงหาความรู้ ชื่นชมศิลปะของอาจารย์นารีรัตน์P จังเลย ไปปราสาทเขมรทุกแห่งในไทยมาแล้ว อยากมอบเหรียญให้จริงๆ

    มีคนบอกว่าเส้นทางรถตอนนี้ก็สะดวกพอใช้และค่อนข้างปลอดภัย พี่คิดว่าหากคิดว่าตัวเองยังมีแรง มีพลังอยู่เยอะ ไปทางรถก็ได้สัมผัสชีวิตผู้คนดีนะคะ แต่พี่ขณะนี้อยุเริ่มด้วยเลขห้าแล้วนี่ต้องเจียมสังขาร ไม่อยากให้ใครต้องมาแบกคุณป้าค่ะ อิ อิ อายเขา หากไม่เหนื่อยนัก ยังทำท่าทางสาวกว่าอายุจริงได้อยู่ เพราะฉะนั้นห้ามเหนื่อยค่ะ

    ขออนุญาต ขอบคุณกันตรงนี้นะคะสำหรับภาพทุ่งทานตะวันกระจ่างตาที่ส่งไปให้ชม
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท