สืบหา มโนทัศน์ ในสมอง


Relation among neuronal circuit forming a concept

การบันทึกครั้งก่อน เราเข้าไปสืบหา "ความรู้" ประเภท "ข้อเท็จจริง" หรือ Facts  (คลิกที่ http://gotoknow.org/blog/mind/158607  )  ในครั้งนี้เราจะเข้าไปสืบหา "ความรู้" ที่ ซับซ้อนกว่า คือ "มโนทัศน์" หรือ Concept

ให้ A, B, C, เป็น "วงจรนิวโรน" โดย A  "มีสารเกี่ยวกับเจ้าด่าง",  B "มีสารเกี่ยวกับเจ้าตูบ",  C  "มีสารเกี่ยวกับเจ้าโต้ง"  คำว่า "สาร" ในที่นี้คือ Information ในรูปของบางสิ่งบางอย่าง  A, B, C, อยู่"ใน"สมอง  แต่ "สุนัขทั้งสามตัวนั้น" อยู่ "นอก"สมอง ในโลกจริง  ทั้งสาม เป็น "ความรู้" ประเภท "ข้อเท็จจริง" (Facts) ในขณะนั้น

เจ้าตูบ,  เจ้าด่าง, เจ้าโต้ง, มี "ลักษณะ" ที่ "เหมือนกัน" อยู่จำนวนหนึ่ง เช่น  "มีสี่เท้า",   "มีหาง",  "เสียงเห่า", "เสีงหอน", เป็นต้น  สมองจึง"รวมลักษณะร่วม" เหล่านี้เข้าด้วยกัน  แล้ว "สร้างภาพสุนัข" ขึ้นมาตัวหนึ่งซึ่ง"ไม่มี" ตัวจริง ในโลกภายนอกสมอง  เป็นสุนัข Abstract  "ลักษณะร่วมและภาพสุนัขแบบย่อ" นี้เป็น "แบบ" ของสุนัขทั่วไป เราเรียก"แบบ"นี้ว่า "มโนทัศน์" (Concept) (Plato เรียกว่า Form, Universal)

ในรูปข้างบนนี้ ผม "แทน" A, B, C, ด้วยรูปวงกลมสามวง, Intersect กันเกิดเป็นบริเวณที่เป็น "สีชมพู"  และสีชมพูนี้ "แทน"  "มโนทัศน์สุนัข"ตามตัวอย่างนั้น

เราพบมโนทัศน์แล้ว !!

"ลักษณะร่วม"(Common attributes) นั่นแหละ คือ "มโนทัศน์" 

ลักษณะร่วมแต่ละลักษณะนั้น "มีอยู่จริงในโลก" แต่ "ภาพสุนัข" ที่เกิดจากลักษณะร่วมนั้น "ไม่มีจรงิในโลก"

ข้อที่น่าตื่นเต้นก็คือ "ถ้าไม่มีสุนัขตัวจริงในโลก" แล้ว " Concept dog" ก็ "หามีไม่" ?!

Concept เกิดในหัวของเรานี่เอง !!!

ในรูปวงกลมสีชมพูเล็กๆ  ที่มีเส้นสามเส้นพุ่งเข้าไปหานั้น  ก็เป็นภาพแทนมโนทัศน์ได้  โดยเส้นทั้งสามนั้นแทนลักษณะร่วมที่ "ร่วมกันกำหนดมโนทัศน์"

และมันมีลักษณะเป็น "กระจุก" ของลักษณะกำหนดมโนทัศน์  คล้ายๆกับ สิ่งที่เรียกว่า Chunk.

เราอาจจะเขียนภาพเป็นสิ่งแทนมโนทัศน์ได้หลายแบบ

หมายเลขบันทึก: 158803เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2008 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

อาจารย์ทำให้ผมนึกถึงเทอมที่ผ่านมา ที่เพิ่งเรียน Cognitive Psychology เกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ (Perception) ในเรื่องของการจดจำข้อมูลลงในสมอง ซึ่งมีทฤษฎีเกี่ยวกับ Prototype, Template กับ Feature

บทความสองสามตอนที่ผ่านมา ช่วยเสริมความรู้ในส่วนนั้นได้พอสมควรเลยครับ ขอบคุณครับ

อ้อ --  เก่งนี่.

เรียนทฤษฎีเหล่านั้นแล้วคิดอย่างไร?  เล่าให้ฟังบ้างซี

บังเอิญผมเรียนสาย จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ แม้จะมีโอกาสได้เรียน Cognitive Psychology แต่ก็ได้ความรู้ในระดับที่ไม่ลึกซึ้งนัก (โดยส่วนตัวของผม ผมว่าวิชานี้ให้เรียน 1 ปี ก็ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมาก) ส่วนใหญ่ผมหาอ่านเพิ่มเติมเอาจากหนังสือ (ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายเล่ม แต่นอนรออยู่ในตู้รอผมไปอ่านอยู่ เนื่องจากตอนนี้ยังเปิดเทอม และผมต้องอ่านเล่มอื่นๆ ของวิชาที่เรียนก่อน)

ผมว่า Cognitive Psychology เป็นวิชาที่น่าสนใจ และ เป็นตัวเสริมให้กับวิชาอื่นๆ ในสายจิตวิทยา และการจัดการได้อย่างดี แต่ส่วนใหญ่กลับถูกจัดเป็นวิชาเลือก (อาจเพราะว่ายากเกินไป?)

จากที่ผมเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับการจดจำ และจัดกลุ่มทั้งหมด ผมมีแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากทฤษฎีที่เรียนมาครับ ผมมองว่าการจดจำของมนุษย์นั้น มีลักษณะถ้าจะเปรียบเทียบแล้ว เหมือนกับ SQL Database (ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถหาได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/SQL) มากกว่า โดยแบ่งข้อมูลต่างๆ ออกเป็นแต่ละ ตาราง (Table) ซึ่งแต่ละตารางจะประกอบไปด้วย ฟิลด์ (Field) ย่อยๆ ที่เอาไว้อธิบายคุณลักษณะต่างๆ เช่น

ตาราง สิ่งมีชีวิต

ฟิลด์ 1: ชื่อ

ฟิลด์ 2: จำนวนขา

ฟิลด์ 3: มีปีกหรือไม่

ฟิลด์ 4: อาศัยอยู่ในน้ำหรือไม่

ไปเรื่อยๆ

 ซึ่งจำนวน field เหล่านี้จะมีการปรับปรุงอยู่เป็นระยะๆ ผ่านทางการเรียนรู้ และประสบการณ์ของเรา โดยตอนเด็กๆ เราอาจจะรับรู้แค่ว่า สิ่งมีชีวิตมีแค่ 4 fields ที่ใช้อธิบายคุณลักษณะ แต่เมื่อโตขึ้น เราก็อาจเพิ่ม fields ที่ 5 และ 6 ว่า

ฟิลด์ 5: เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือไม่

ฟิลด์ 6: ออกลูกเป็นตัวหรือออกลูกเป็นไข่

แบบนี้เป็นต้น

ซึ่งเวลาที่จะเรียกข้อมูลเหล่านี้มาใช้ ก็จะใช้หลักการคล้ายๆ กับ SQL Statement ของการ query เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล เช่น

ค้นหาใน 'ตารางสิ่งมีชีวิต' โดยดูที่ ฟิลด์มีปีกหรือไม่ = 'มีปีก'

ซึ่งเมื่อค้นหาแล้วเราก็จะได้รายชื่อของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีปีกที่เรารู้จักมาครับ

นอกจากการเพิ่มฟิลด์แล้ว เราอาจมีการเพิ่มจำนวนตารางได้ด้วย เช่น ตารางที่ชื่อว่า ประเภทของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะประกอบไปด้วยฟิลด์

ฟิลด์ 1: รหัสประเภทสิ่งมีชีวิต

ฟิลด์ 2: ชื่อประเภทของสิ่งมีชีวิต

และเมื่อมีการเพิ่มตารางแล้ว ก็จะเกิดการสร้างดัชนี (index) ไปที่ตารางสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นตารางหลัก โดยอาจเป็น

ฟิลด์ 7: รหัสประเภทสิ่งมีชีวิต 

ทีนี้เวลาที่เราเรียกข้อมูลมา ก็อาจอยู่ในรูปแบบของการค้นหาข้อมูลจาก 2 ตาราง โดยมีรายละเอียดตามกำหนด และมีการกำหนดรหัสประเภทด้วย

ค้นหาใน 'ตารางสิ่งมีชีวิต, ตารางประเภทของสิ่งมีชีวิต' โดยดูที่ ตารางสิ่งมีชีวิต.ฟิลด์มีปีกหรือไม่ = 'มีปีก' และ ตารางสิ่งมีชีวิต.ฟิลด์รหัสประเภทของสิ่งมีชีวิต = '1' และ ตารางสิ่งมีชีวิต.ฟิลด์รหัสประเภทสิ่งมีชีวิต = ตารางประเภทของสิ่งมีชีวิต.ฟิลด์รหัสประเภทสิ่งมีชีวิต

ซึ่งการค้นหาแบบนี้เราจะได้รายชื่อของสัตว์ปีกที่เป็นประเภทนกทั้งหมดมา (สมมติว่า นก มีรหัสประเภทเป็น 1) 

 (ผมอาจจะอธิบายฟังดูยากนิดหน่อยนะครับ เพราะแนวคิดของผม ใช้พื้นฐานการค้นหาข้อมูลใน Database ของคอมพิวเตอร์เป็นแกน)

ผมว่าแนวคิดแบบนี้จะยืดหยุ่นกว่าแนวคิดแบบเดิมๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายการจัดกลุ่มบางอย่าง ในบางทฤษฎีได้ครับ

อาจารย์คิดว่าอย่างไรบ้างครับ? 

ผมคิดว่า  คุณเป็นนักศึกษาที่ดี  มีแววไปไกลมาก  ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่ชมใตที่สาธารณะนะ  แต่เป็นเพราะ คุณคิด "แบบขยายความ" ออกไปนอกเรื่องที่เรียน  บวกด้วยรู้จักวิจารณ์ วิพากษ์  ไม่ใช่ป็นประเภท "เก็บของใส่โกดัง"  อย่างเดียว จริงไหม?  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  SQL นั้น ผู้คิดต้องการใช้กับความสามารถของควมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของการค้าในการสืบค้นข้อมูลของคอมพิวเตอร์  เขาไม่ได้ใช้ในการศึกษาจิตของมนุษย์  แต่คอมพิวเตอร์มันเหมือนส่วนหัวของคน  จึงยุ่งอยู่กับ "การคิด" "การจำ" จึงทำให้ผู้เรียนทางจิตวิทยาด้าน Cognition  ได้รับการกระตุ้นให้คิดต่อแบบแวบขึ้นมา  แล้วนำไปประดิษฐ์คิดต่อเป็นเรื่องเป็นราว  เป็นการพบของใหม่ต่อไปเรื่อยๆ  เหตุการณ์เช่นนี้เราต้องการให้เกิดกับนักศึกษาของเราครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมของอาจารย์ครับ

ตอนนี้ผมก็กำลังรออ่านบทความตอนต่อไปของอาจารย์อยู่ ไม่ทราบว่า อาจารย์มีเว็บไซต์ใดแนะนำสำหรับหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องของ Cognitive Psychology ไหมครับ?

คุณ wwibul เคยชี้แนะไว้ให้น่าสนใจ  ลองคลิกที่ http://gotoknow.org/blog/mind/149431  แล้วคลิกที่  แผนที่เดินทาง(Roadmap)การวิจัยเทคโนโลยี. Brain Debug  ที่ข้อคิดเห็นของ wwibul ครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ พอดีวันนี้ว่างๆ ผมได้โอกาสลองไปอ่านตอนเก่าๆ ของอาจารย์ (โดยเฉพาะที่มี comment เพราะผมสนใจมุมมองของท่านอื่นๆ ด้วย) ผมก็ได้เจอ link พอดีเหมือนกันครับ เว็บไซต์นี้น่าสนใจมาก

ผมมองว่าปัญหาของนักศึกษาของเราในปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นภาษาอังกฤษอยู่ แม้ตอนนี้จะมีการให้ความสนใจเรื่อง ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองก็ตาม นักเรียนนักศึกษาไทยก็ยังคงมีปัญหาในภาษาอังกฤษอยู่ไม่น้อยเลย

ผมเจอน้องๆ หลายคนที่ภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มที่ต้องศึกษาจากสถาบันภาษาต่างๆ เพิ่มเติม 

ผมว่าเราน่าจะมีการพิจารณาเรื่องหลักสูตร และแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในไทยสักหน่อยครับ

เห็นด้วยบางส่วนครับ

ส่วนที่เห็นด้วยคือส่วน Listening & Speaking  ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการใช้ในชีวิตประจำวัน  การฟัง Lecture  การโต้ตอบกับข้อซักถาม

แต่ส่วนที่เกี่ยวกับการอ่านตำรานั้น  มันเกี่ยวกับ Concepts นั้นๆ  ซึ่ง คำ ที่เป็นชื่อ Concepts นั้นๆมากกว่า  และคำเหล่านี้เราได้มาจากการอ่านตำรา  และฟัง Lecture  ไม่เคยได้มาจาก AUA หรือ TOFL เลย !

มันมีความจริงอยู่ว่า  "คนฝรั่งที่ลิ้นฝรั่งนัน  ก็ไม่ใช่ว่าจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูง,  เรียนฟิสิกส์,  หรือเรียนจิตวิทยา ได้สำเร็จ" ทุกคนนะครับ  จะท่องดิกชันนารีให้ได้หมดเล่ม  ก็ไม่ช่วยให้เรียนได้ ดร.ทางฟิสิกส์ ก็เหมือนกับคนไทยที่พูดสิ้นไทยปรื๋อ  ก็ไม่ใช่ว่าจะเรียนวิชาเอกที่ยากๆได้สำเร็จทุกคน นะครับ

อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของเรา ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด ทราบข้อนี้ดีครับ ทุกท่านจึงใช้วิธี  เขียนภาษาอังกฤษเต็มกระดานทุกชั่วโมง  แถมพูดฝรั่งปนไทยไปเลยก็มี  ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยเรื่องมโนทัศน์ที่ป็นคำศัพท์เฉพาะของแต่ละสาขานี่แหละครับ  บางคนคิดว่าอาจารย์อวดภาษาอังกฤษ  ไม่ใช่หรอกครับ  เขาต้องการจะสอนให้ลูกศิษย์ของเขาสามารถอ่านตำราภาษาอังกฤษรู้เรื่องนั่นเอง  รู้อย่างนี้แล้ว  เดินสวนทางท่านก็ ไหว้ ให้สวยงามชื่นใจด้วย นะ

ค่อยใจชื้นขึ้นไหม?

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ในส่วนของ การใช้ภาษาอังกฤษแบบปนกับภาษาไทย เพื่อช่วยเรื่องมโนทัศน์ที่เป็นศัพท์เฉพาะครับ

 ในสายจิตวิทยาเราเอง ก็ยังมีศัพท์อีกหลายคำที่ยังไม่มีการบัญญัติความหมายในภาษาไทย และบางคำเองถ้าพูดเป็นภาษาไทยแล้ว เข้าใจได้ไม่ลึกซึ้งเท่าภาษาอังกฤษ (เช่น คำว่า assertiveness นี่ เล่นเอาผมปวดหัวไปพักใหญ่ จนขนาดต้องไป post ขอความเห็นตามเว็บภาษาอังกฤษ เพื่อขอคำอธิบาย)

อาจารย์ที่สอนผม ก็พยายามจะให้นักศึกษาได้อ่านตำราภาษาอังกฤษกันรู้เรื่อง พยายามที่จะสอนให้อ่าน และพยายามให้อ่านกัน เสียดายครับที่นักศึกษาหลายคนไม่เข้าใจถึงความพยายามของพวกท่าน กลับมองว่าเป็นการบ้าน (ผมควรเรียกว่า assignment น่าจะตรงกว่า) ที่น่าเบื่อไปเสียนี่

แต่ได้คำอธิบายของอาจารย์แล้วใจชื้นขึ้นเยอะครับ

ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับ  Concepts,  Concept name, & Language ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท