ส้มเขียวหวานปลอดภัย


เกษตรกรพบเกษตรกร น่าจะสร้างความเชื่อมั่นในการลดสารเคมีได้ดี เพราะเห็นตัวอย่างของจริง

          วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่เราได้นัดหมายกับเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานจาก ตำบลท่ามะเขือ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานตำบลยางสูง เพื่อศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารศัตรูพืชพิษณุโลก สาขาจังหวัดกำแพงเพชร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

          ในวันนี้ มีเกษตรกรมาเพียงกลุ่มเดียว คือกลุ่มฯ ตำบลท่ามะเขือเดินทางมาพร้อมกับนักส่งเสริมการเกษตรของอำเภอคลองขลุง  นอกจากนั้นยังมีนักส่งเสริมมือใหม่ และคุณเสนาะ  ยิ้มสบาย จากสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย มาร่วมศึกษาดูงานและ ลปรร.ในวันนี้ด้วย

  • เริ่มต้นด้วยการ แนะนำผลิตภัณฑ์ชีวินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของศูนย์ฯ โดยคุณศักดา  บุญสังวาลย์      

                                         ศักดิ์ดา บุญสังวาลย์ แนะนำ

 

  • ตามด้วยการดูงานการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงหางหนีบ,ผีเลื้อข้าวสาร และการผลิตอาหารและการเขี่ยเชื้อรากำจัดแมลงและโรคพืช

                                         ดูการเลี้ยงแมลงหางหนีบ

 

  • หลังจากนั้น เดินทางไปศึกษาดูงานแปลงปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากศุนย์ฯ มากนัก

                                         ลปรร.กับเจ้าของแปลงปลูกส้ม

 

  • ลงแปลงดูต้นส้มเขียวหวาน ที่ไม่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเลยมาเกือบ 1 ปี แล้ว

                                         ดูแปลงส้มเขียวหวาน

          จากการนำเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานเข้าดูงานในครั้งนี้ เกษตรกรมีความสนใจเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากการสอบถามข้อมูล ทั้งที่ศูนย์ฯ โดยพี่ศักดา  บุญสังวาลย์ และเจ้าหน้าที่ได้ตอบคำถามและเล่ารายละเอียด รวมทั้งที่แปลงปลูกส้มเขียวหวานของเกษตรกร เนื่องจากการหาตัวอย่างแปลงเกษตรกรที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหายากมาก  ในแปลงนี้เกษตรกรยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่บ้าง แต่ก็สามารถลดต้นทุนลงได้เกือบร้อยละ 60 ผมขอสรุปการเรียนรู้ของทีมที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ก็คือ

  • การที่เกษตรกรได้มาพูดคุยกัน พบว่าเกษตรกรมีการซักถามอย่างละเอียดดีมาก หากเป็นเรื่องที่สนใจ
  • มีประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมที่หลากหลายที่คาดไม่ถึงหลายเรื่อง
  • เกษตรกรพบเกษตรกร น่าจะสร้างความเชื่อมั่นในการลดสารเคมีได้ดี เพราะเห็นตัวอย่างของจริง
  • เกิดเครือข่ายแบบชนิดไม่รู้ตัว เช่น มีการพูดถึงการรวมกันจำหน่าย/หาตลาดส้มปลอดภัย เป็นต้น
  • นักส่งเสริมฯ จะต้องติดตามและร่วมเรียนรู้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง วิธีการถ่ายทอดความรู้แบบเดิมอาจไม่เพียงพอในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่พืชปลอดภัย
  • นักส่งเสริมฯ/ทีมงาน คงต้องมองรอบด้าน ไม่เฉพาะด้านการผลิตเท่านั้น คงต้องประสานหน่วยอื่นเพื่อมาทำงานร่วมกัน เช่น หน่วยงานด้านการตลาด สาธารณสุข และท้องถิ่น เป็นต้น เพราะปัญหามีความเชื่อมโยงกันไปหมด
  • การทำงานกับเกษตรกร บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามแผน ต้องอดทน...ทุกอย่างไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด...

          บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 15817เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
น่าอิจฉา กำแพงเพชรนะครับที่มีแหล่งความรู้และสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยดีระหว่าง เจ้าหน้าที่ศูนย์กับจังหวัด(ต้องเรียกบูรณาการ)  คิดว่างานส่งเสริมด้านอาหารปลอดภัยคงไปได้ดี  ขอชื่นชมครับ
      ขอบพระคุณมากครับ

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับส้มเขียวหวาน เทคนิคต่าง ๆ หรือแหล่งข้อมูลการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้จริง ได้ที่ใดบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท