ERP


Let's go to the ERP

ERP คือ Enterprise Resource Planning เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการกระบวนการทำงานในองค์กรซึ่งใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน  และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำธุรกิจ  โดยเป็นโปรแกรมที่ใช้เชื่อมโยงติดต่อสื่อสารภายในฝ่ายๆขององค์กร  ซึ่งประกอบไปด้วย  ฝ่ายการขาย, ฝ่ายการตลาด, ฝ่ายการผลิต, ฝ่ายการบัญชี  และฝ่ายบุคคล  

ซึ่งในการจัดการระบบในองค์กรโดยทั่วไปอาจแบ่งการทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันและต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนทำให้ข้อมูลต่างๆไม่ได้ถูกนำมาคำนึงถึงในทุกฝ่าย ก่อให้เกิดผลเสียคือการบริหารงานจะไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น ERP จึงเป็นระบบแผนการดำเนินงานที่จะช่วยในการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีหลักการคือมีการแบ่งฝ่ายการทำงานต่างๆเป็น

1.ฝ่ายการตลาดและการขาย

2.ฝ่ายการผลิตและทรัพยากร

3.ฝ่ายการบัญชีและการเงิน

4.ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

โดยทุกฝ่ายจะทำให้เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุดเมื่อถูกใช้ข้อมูลรวมกัน ยกตัวอย่างเช่น การขายน้ำมะนาวหากเราจะขายน้ำโดยตั้งราคาที่ไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อาจทำให้ขาดทุนได้ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยนำข้อมูลการจัดซื้อวัตถุดิบ การจ้างแรงงงานจากฝ่ายการผลิตและฝ่ายทรัพยากรบุคคลมาช่วยในการตั้งราคาที่เหมาะสมได้นั้นหมายความว่าข้อมูลทุกส่วนต้องถูกนำมาพิจารณารวมกันเพื่อให้แต่ละแผนกทำหน้าที่ของตนได้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

การพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์คอมพิวเตอร์  ในปี 1960  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้จริงเครื่องแรกคือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก  ต่อมาจึงมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ขึ้นระหว่างปี 1960 ถึง 1970 ให้มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมีการประมวลผลเร็วขึ้น   และร่วมกับการพัฒนาของระบบเครือข่าย network ในส่วนของclient-server ทำให้มีการติดต่อและส่งผ่านข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีโดยตรงกับระบบของ ERP เพราะการประมวลผลที่รวดเร็วส่งผลให้การทำงานเป็นแบบเวลาจริงมากขึ้น และออกมาทันความต้องการต่างๆของลูกค้า

ซึ่งในส่วนของการพัฒนาโปรแกรมนั้นเริ่มจากในส่วนของโปรแกรมที่เรียกว่า MRP หรือ Matarials Requirement Planing โดย MRP คือโปรแกรมรุ่นแรกที่ช่วยในการจัดสรรทรัพยากร และมันได้ถูกพัฒนามาเป็น MRP II ซึ่งโปรแกรมนี้ต่อมาก็ได้ถูกพัฒนามาเป็น ERP นั้นเอง

                ต่อมาองค์กร SAP ได้นำโปรแกรมนี้มาพัฒนาเป็น SAP’s R/2 และจากการพัฒนาของโปรแกรมต่อมาได้ผลิตมาเป็นโปรแกรมที่เรียกว่า SAP’s R/3 ซึ่งมันได้ถูกเพิ่มในส่วนฝ่ายงานพื้นฐานหรือโมดุลที่จำเป็นเข้ามา และยังได้เพิ่มในส่วนของระบบ client-server ทำให้ระบบมีการเชื่อมต่อที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

แต่ใช่ว่าทุกองค์กรที่เลือกใช้ระบบ ERP แล้วจะประสบความสำเร็จทุกองค์กรเพราะไม่เพียงแต่การเลือกใช้เท่านั้นแต่ยังขึ้นกับองค์ประกอบอีกหลายส่วนเช่น ความสนใจของผู้บริหาร หรือความสามารถของพนักงานขององค์กร ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15872เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท