ทิศทาง ICT ปี 51 ไปทางไหนกัน


มีเรื่องราวเข้ามาให้คิดมากมาย ถ้าไม่วิเคราะห์ให้ชัดเจน เราจะเดินแบบไม่มีทิศทาง เพื่อถึงตอนนั้นเราจะรู้สึกว่างานเราหนักมาก เพราะบางเรี่องไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ

ตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ 2551 คือ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา หลายท่านที่ทำงาน ICT คงได้เข้าร่วมประชุมหลายครั้ง เข้ารับการอบรมหลายหน ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านหลายเรื่องเกี่ยวกับ ICT ของ กศน. จนบางท่านสับสนแล้วว่า เรากำลังจะเดินไปทางไหน เรากำลังจะทำอะไร เพราะดูเหมือนว่า มีเรื่องต่างๆ มากมายที่ถูกกำนดว่า จะต้องทำ โดยที่บางครั้งก็ไม่รู้ว่า จะทำอะไร ทำไปทำไม เช่น ได้ฟังแนวทาง และนโยบายจากท่านผู้อำนวยการสำนัก ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง บางเรื่องก็กล่าวถึง ICT อย่างชัดเจน บางเรื่องก็ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องหรือเปล่า หรือเมื่อเร็วๆ นี้ ถ้าใครได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน เต็มหน้ากลางคงได้เห็นนโยบาย 11 ข้อเกี่ยวกับ กศน. ของท่านปลัดกระทรวง โดยเฉพาะเรื่อง gnfe อ่านแล้วอาจจะยัง งง ว่ามันคืออะไร ดังนั้น จึงคิดว่า อาจจะต้องมาทบทวนตัวเองสักนิด เพื่อสามารถดำเนินการพัฒนา ICT ในปี 2551 โดยไม่สับสน

 

  • ประการแรก ตั้งสติ ยึดหลักให้ถูกต้อง ว่า งานหลักของเราคือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือเป็นงานเพื่อการเรียนการสอน การเรียนรู้ ICT ไม่ใช่งานหลัก แต่เป็นเรื่องที่เข้าไปเสริมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานหลัก คืองานการศึกษา ถ้าเอา ICT เป็นหลัก อาจจะเกิดผลที่ตามมาคือ พัฒนา ICT มาแล้ว ไม่รู้จะเอาไปใช้อย่างไร หรือไม่มีคนใช้ แล้วก็ไปสรุปว่า คนอื่นไม่ดี เพราะไม่เอา ICT ไปใช้ ดังนั้น ก่อนที่จะทำอะไร ต้องมองผลที่จะเกิด ให้ทะลุไปถึงการศึกษา ว่า สิ่งที่เราพัฒนามันส่งผลไปถึงการศึกษาอย่างไร เช่น อบรม GoogleApps. ไปแล้ว จะนำไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลงานการศึกษานอกโรงเรียนอย่างไร ถ้าคิดยังไม่ออก หรือคิดเพียงว่าอบรมหรือใช้งาน GoogleApps เพื่อจะได้ส่ง e-Mail ได้ ถ้าคิดแค่นี้คงไม่คุ้มกับการลงทุนที่ได้จัดไปแล้ว หรือแม้กระทั่งการพัฒนา website ของแต่ละหน่วยงานว่า website ที่สร้างขึ้นมานั้น จะส่งผลไปถึงการศึกษาของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร ถ้านักพัฒนา ICT คิดเพียงว่า เพื่อให้ได้ชื่อว่า มี Website ของหน่วยงาน แค่นั้น คงไม่พอแน่ นักพัฒนา ICT อย่าหลงประเด็น อย่าหลงบทบาท ต้องมองให้ทะลุถึงเป้าหมายที่แท้จริง
  • ประการที่ 2 จับประเด็นให้ชัดเจน ว่า จะต้องทำอะไร ทำอย่างไร เพราะช่วงที่ผ่านมา แนวทางและนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงหลายท่านออกมากล่าวถึงนโยบาย แนวทางเกี่ยวกับ กศน. หลายประการ แต่ยังขาดการกำหนดออกมาเป็นแนวทางที่ชัดเจนว่า ทำอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ดังนั้น แต่ละคนจึงต่างคนต่างคิดว่าจะทำอย่างไรตามกรอบคิดของตนเอง ทำให้การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติขาดตอนไม่ต่อเนื่องและไม่เป็นเอกภาพ โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นท่อต่อจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติ คือหน่วยงานในส่วนกลาง ได้แก่กลุ่มงานต่างๆ ในส่วนกลาง ที่จะต้องร่วมกันนำนโยบายมาสู่แนวทางเพื่อส่งต่อไปยังผู้ปฏิบัติ บางทีท่านอาจจะคิด อาจจะมีแนวทาง แต่ผู้ปฏิบัติยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องติดตามและจับประเด็นหลักๆ ให้ชัดเจน
  • ประการที่ 3 ผลักดันไปสู่การปฏิบัติ เพราะหลายเรื่อง ดูเหมือนว่าเมื่อประกาศแนวทางแล้ว หยุดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือไม่รู้ว่า ในฐานะผู้พัฒนา ICT จะต้องทำอะไรบ้าง ผลก็คืออยู่เฉยๆ รอรับการสั่งการ แต่บางครั้งอาจจะต้องมาคิดว่า จะช่วยกันผลักดันอย่างไรยกตัวอย่างในบางเรื่องที่ได้คุยกับเพื่อน ICT เช่น

    • นโยบายในเรื่องลดอัตราการออกกลางคันของนักึกษา กศน. ซึ่งพบว่าปัจจุบัน นักศึกษา กศน. ที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่เข้าสอบมีเป็นจำนวนมาก ถ้าคิดแบบง่ายๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของการศึกษานอกโรงเรียน แต่ถ้าเอาไปผูกโยงกับงบประมาณรายหัวที่ต้องจ่ายแล้ว ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เช่น ถ้ามีการลงทะเบียนแล้วไม่เข้าสอบสัก 50% ก็หมายความว่า งบรายหัวสูญเปล่าไปประมาณ 50% ถ้าต้องจ่ายหัวละ 200 บาท  50% คิดเป็นเท่าไร ทั่วประเทศเท่าไร ดังนั้น จากนโยบายนี้ ใครบ้างที่ต้องรับไปปฏิบัติ และจะทำอย่างไร และถ้าโยงมาถึงผู้รับผิดชอบ ICT ปัจจุบัน ได้รับมอบหมายให้ทำอะไรหรือไม่ (คำตอบคือยังไม่ได้รับมอบหมายให้ทำอะไร) แนวทางที่อาจจะทำได้ สำหรับนัก ICT ที่รับผิดชอบการใช้งานโปรแกรม IT คงจะต้องหาตัวเลขมานำเสนอจากโปรรแกรม IT ว่า จังหวัดของเรา ลงทะเบียนเท่าไร ได้ค่ารายหัวเท่าไร และมีการออกกลางคันเท่าไร เมือเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือภาคเรียนที่ผ่านมา มากขึ้นหรือน้อยลงเท่าไร  ข้อมูลเหล่านี้ ถ้านัก ICT ได้รายงานออกมา อาจจะได้เห็นอะไรหลายอย่าง ที่จะนำไปสู่การพัฒนางาน กศน. ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

    อยากให้มอง ICT ของ กศน.แบบองค์รวม แล้วจะเห็นภาพให่ว่า ควรจะไปในทิศทางไหน ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนว่า การพัฒนา ICT จะมีอยู่ 2 เป้าหมายใหญ่ๆ คือ

  1. การพัฒนา ICT เพื่อการเรียนรู้ เป็นหัวใจหลัก และ สำคัญของการพัฒนา ICT ต้องหันมาทบทวนว่าท่านที่ใช้เวลาส่วนมากอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทุกเรื่องที่กำลังทำผ่านหน้าจอนั้น ได้มุ่งไปสู่การสนับสนุนการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอนหรือไม่ เช่น

    • การสร้าง website ของหน่วยงาน ปัจจุบัน มี wesite ของหน่วยงานในส่วนกลาง หน่วยงานระดับภาพ หน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานระดับอำเภอ ในสังกัด กศน. จำนวมากมายมหาศาล ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้น 2 คำถามในปัจจุบัน คือ
         คำถามที่ 1 website ของท่าน ได้ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เกิดการเรียนรู้  หรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร
         คำถามที่ 2  website ที่เรามีอยู่มากมายนั้น ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ เขารู้จักไหม หรือผู้เรียนต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาเขารู้หรือไม่ว่า จะเข้าไปเรียนรู้จากที่ไหน คำถามข้อนี้เป็นการทบทวนให้เห็นว่า เรามีอะไรอยู่มากมายแต่ไรสาระหรือไม่ หรือมีอยู่มากมาย แต่กลุ่มเป้าหมายได้ใช้ประโยชน์หรือไม่
  2. การพัฒนา ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ คือเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ สั่งการ ซึ่งความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ ข้อมูล สารสนเทศ ที่ถูกจัดเก็บในระบบ ICT ว่าสามารถช่วยในด้านการบริหารจัดการหรือไม่ โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันระบบต่างๆเหล่านั้นมักจะมีแต่ฐานแต่ไม่มีข้อมูล เพราะคนที่คิดทำฐาน กับคนทำข้อมูลเป็นคนละคน เป็นคนละหน่วยงาน จึงทำให้เกิดกลุ่มคน 3 กลุ่ม ที่ไม่ไปด้วยกัน คือ กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล กลุ่มผู้พัฒนาฐานข้อมูล และกลุ่มผู้จัดทำข้อมูลบันทึกลงฐานข้อมูล ทั้ง 3 กลุ่มนี้เข้าลักษณะ คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ
หมายเลขบันทึก: 157585เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่ศรีเชาว์ครับ

  • คิดถึงมากนะครับ ขอบอก
  • อ่านบทความนี้รู้สึกว่าเป็นเสียงสะท้อนได้ดี ผมเองไม่ใช่นักไอซีทีเหมือนอย่างพี่ แต่รู้สึกว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่ทประดังประเด มะรุมมะตุ้มทำให้สับสนไปเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะโฟกัสแต่ละเรื่องที่ตรงจุดไหน รูปธรรมแต่ละเรื่อง ประโยชน์ ความสัมพันธ์กับของเดิมเป็นอย่างไร ได้ใหม่แล้วทิ้งเก่าอย่างนั้นหรือเปล่า อ่านบทความพีที่พี่ลำดับความและตั้งโจทย์วิเคราะห์แล้วรู้สึกว่าตรงใจผมมากทีเดียว เพราะแค่เรื่องกูเกิลแอ๊ปเรื่องเดียวก็ปวดหัวมากแล้วไม่ทราบว่าทำไมต้องกูเกิลแอ๊ปด้วย
  • ทำอย่างไรน้า บทความนี้จะได้อ่านกันทั่วถึงทุกฝ่าย กำหนดทบทวน และทำกันอย่างจริงจัง 
  • พี่ศรีเชาว์ครับ อีเมลล์กลุ่มย่อย กลุ่มที่เข้าอบรมที่ ศนอ.พี่ขึ้นเว็ปหรือแจ้งทราบที่ไหนแล้วหรือยังครับ
  • ผมอยากได้อีเมล์พี่ครับ บอกด้วยครับ บอกที่เมลล์ผมที่นี่ครับ [email protected]
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์

                ทุกวันนี้มีช่องทางของ ICT ในกระทรวงศึกษาธิการเกิดขึ้นมากหลายช่องทาง ให้อิสระกับผู้ที่เรียนรู้หรือผู้บันทึก แต่ไม่เป็นเอกภาพ เพราะต่างคนต่างคิด ต่างทำ ไม่ใช้หน่วยงานกลางให้เป็นประโยชน์ การพัฒนาก็จะลำบากมากขึ้น เพราะคนที่มีหน้าที่โดยตรงเขาก็จะดำเนินการในช่องทางที่เขาคิดว่าเหมาะสมกับกับเทคโนโลยีและการใช้งานที่เขาได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในศธ. เมื่อไม่มีใครเข้ามาใช้ หรือใช้ไม่เต็มศักยภาพก็ไม่เกิดประโยชน์ ความรู้ต่าง ๆ ก็กระจายกันอยู่ พัฒนาระบบต่อก็ไม่ได้ เสียดายงบประมาณครับ

                                         ขอบคุณครับผม

ขอบคุณครับ ครูนง

  • e-Mail ของผมคือ [email protected]
  • ตอนนี้กำลังรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับวิทยฐานะ และจะส่งให้ ทุกท่านครับ และผมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยฐานนะไว้ที Gotoknow ครับ อยู่ที่ http://gotoknow.org/blog/expert-teacher
  • ชื่อ ที่อยู่ และ e-Mail ของกลุ่มย่อย (มี e-Mail ไม่ครบทุกคนครับ
  1. นางศิรพร หมู่แก้ว   081-5373306  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
  2. นางสุปราณี จูฑามาตย์  086-8670063  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
  3. นางนิตยาพร จันทร์อุดม 086-5955536  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช [email protected]
  4. นางจำนง หนูนิล  081-0908860  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช [email protected]
  5. นายสายัณห์ ทวีเศรษฐ 074-612403  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
  6. นางสุกัญญา จันทะสูน  086-2026245  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  7. นางรวีวรรณ จันทร์อยู่  081-2724984  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดภูเก็ต [email protected]
  8. นางลดาวัลย์ บุญพนิช  089-0099657  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรสาคร
  9. นางจุฑาทิพย์ ถาวรประสิทธิ์ 081-2759363  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ จังหวัดสงขลา
  10. นางสายชล จักรเจริญ  089-7334803  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ จังหวัดสงขลา
  11. นายศรีเชาวน์ วิหคโต  086-8660705  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดอุบลราชธานี [email protected]
  12.  น.ส.วาสนา โกสีย์วัฒนา  089-9852259  สถาบันยการศึกษาทางไกล กรุงเทพมหานคร [email protected]

สวัสดีครับ นายช่างใหญ่
  คิดว่าผมคิดไปคนเดียว อย่างน้อยก็ยังมีอาจารย์ที่คิดเหมือนผมครับ ดังนั้น คงต้องเหนื่อยหน่อยครับ ที่ต้องช่วยกันปรับทิศทาง เพราะตอนนี้ทั้งจังหวัดและอำเภอหลายแห่งไม่รู้จะเดินทางไหนกันครับ

พรุ่งนี้จะต้องไปพูดเรื่อง ระบบข้อมูลสารสนเทศ กับผู้บริหารใหม่ กศน. ที่อบรมอยู่ที่สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร ความจริงแล้วเป็นรายการของท่าน ผอ. ศนอ. แต่ท่านให้ไปช่วยบรรยายด้วย ดังนั้นจึงต้องเตรียมการอย่างดีว่า ช่วง 3 ชั่วโมงจะนำเสนออะไรบ้างจึงจะเหมาะสมกับผู้บริหารในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบข้อมูลสารสนเทศ และการนำไปใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่กังวลคือ ทำอย่างไรให้เลือกใช้ให้เหมาะสม ให้เราเป็นนายของ ICT ไม่ใช่ให้ ICT เป็นนายของเรา ได้หารือกับท่านผู้อำนวยการค่อนข้างนาน โดยสสรุปก็คงไปตามแนวคิดที่เราต้องการคือ กำหนดให้เห็นเป้าหมายหลักของงาน กศน. บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร แล้วจึงค่อยมาดูว่า จะเอา ข้อมูลสารสนเทศไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการได้อย่างไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท