ตำนานว่าด้วยกำเนิดชนชาติพม่า


บทความชุด “สารัตถะจากตำราเรียนพม่า” จะนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสหภาพพม่า ตามที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียนของกระทรวงศึกษาธิการพม่า โดยจะคัดสรรเนื้อหามาเสนอเป็นตอนๆไป สำหรับในตอนแรกๆนี้จะเป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์พม่าตามที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียนชั้นต้นๆในระดับการศึกษาพื้นฐานของพม่า
สารัตถะจากตำราเรียนพม่า :
ตำนานว่าด้วยกำเนิดชนชาติพม่า
บทความชุด สารัตถะจากตำราเรียนพม่า จะนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสหภาพพม่า ตามที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียนของกระทรวงศึกษาธิการพม่า โดยจะคัดสรรเนื้อหามาเสนอเป็นตอนๆไป สำหรับในตอนแรกๆนี้จะเป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์พม่าตามที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียนชั้นต้นๆในระดับการศึกษาพื้นฐานของพม่า
พม่าจัดระบบการศึกษาระดับพื้นฐานเป็นแบบ ๕ - ๔ - ๒ โดยแบ่งเป็นชั้นต้น ๕ ปี ชั้นกลาง ๔ ปี และชั้นสูง ๒ ปี ชั้นต้นได้แก่ ชั้นเด็กเล็ก และชั้น ๑ – ๔, ชั้นกลางได้แก่ ชั้น ๕ - ๘ และชั้นสูงได้แก่ ชั้น ๙ - ๑๐ สำหรับตำราวิชาประวัติศาสตร์ของพม่าที่ใช้ในระดับการศึกษาพื้นฐานนั้น อาจจำแนกเป็น ๒ รูปแบบ คือ แบบแรกเป็นประวัติศาสตร์ภาคสังเขป และอีกแบบหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ภาคพิสดาร ประวัติศาสตร์ภาคสังเขปจะเรียนกันตั้งแต่ชั้น ๓ จนถึงชั้น ๖ มีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์และบุคคลสำคัญ ส่วนประวัติศาสตร์ภาคพิสดารจะเรียนในชั้น ๗ จนถึง ๑๐ มีการนำเสนอโดยเรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับเวลาเป็น ๒ ภาค คือ สมัยบรรพกาลจนถึงสมัยราชวงศ์เป็นภาคแรก และสมัยอาณานิคมจนถึงสมัยเอกราชเป็นภาคหลัง นักเรียนจะได้เรียนเหตุการณ์และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ในชั้นต้นๆ ( ชั้น ๓ - ๖ ) โดยสังเขป เพื่อเป็นการปูพื้นฐานก่อนที่จะต้องเรียนประวัติศาสตร์ภาคพิสดารในชั้นสูง (ชั้น ๗ -๑๐ ) ต่อไป
ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงตำนานว่าด้วยการกำเนิดของชนชาติพม่า ตามที่เขียนไว้ในตำรา ชื่อ “หนังสืออ่านประวัติศาสตร์พม่า” สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ เนื้อหาระบุว่าพม่ามีกษัตริย์สืบเชื้อสายมาจากศากยวงศ์อันเป็นวงศ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นจึงแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ปกครองเมืองตะกองบนฝั่งอิรวดี กับฝ่ายที่ปกครองเมืองต่องโหญ่แถบแม่น้ำชิดวินและเมืองธัญวดีในแดนยะไข่ ในตำรายังกล่าวถึงพวกพยูที่เชื่อว่าอาจเป็นเชื้อสายดั้งเดิมของชาวเมียนมาได้ผู้ปกครองเป็นราชบุตรจากเมืองต่องโหญ่ และกล่าวว่ากษัตริย์เมืองตะกองสืบเชื้อสายต่อกันมาถึง ๓๓ พระองค์ก่อนที่จะเกิดเมืองพุกามซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณา-จักรเมียนมาของชาวพม่าในกาลหลัง เนื้อความในตำราว่าไว้ดังนี้ …..
“พม่ามีคำกล่าวว่า จุดเริ่มต้นของเมียนมา มาจากตะกอง (e,oN,kv0 9gdk'Ntd) ในเวลาที่สร้างเมืองตะกอง(9gdk'Nt)นั้น ด้านตะวันออกมีชาวพยู(xy&) ด้านตะวันตกมีชาวกังยัง(d,Ntp") ด้านเหนือมีชาวแต๊ะ(ldN) และที่ลุ่มน้ำอิรวดี(Vik;9u) สะโตง(00Ng9k'Nt) และสาละวิน(l"]:'N)มีชาวมอญ(,:oN)อาศัยอยู่ ศาสนาความเชื่อตลอดจนศิลปะวรรณกรรมได้รับจากประเทศอินเดียโดยเข้าสู่ประเทศเมียนมาทางด้านเหนือด้วยเส้นทางบก และเข้ามาทางด้านใต้โดยทางทะเล
กาลครั้งหนึ่ง เหล่าเชื้อสายกษัตริย์ศากยวงศ์(lkdu;'N)แห่งกบิลพัสดุ์(dxb];9N) กับเหล่าเชื่อสายกษัตริย์ปัญจลราช(xf¨]ik=N)ได้กระทำศึกสายเลือด ชาวเมืองกบิลพัสดุ์เป็นฝ่ายแพ้สงคราม ดังนั้นอภิราชา(v4bik=k)กษัตริย์เชื้อสายศากยวงศ์พร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงอพยพสู่แผ่นดินเมียนมาโดยทางบก เมื่อถึงเมียนมาจึงได้ตั้งเมืองตะกอง ณ ฝั่งขวาของแม่น้ำอิรวดี และปกครองชาวประชาแห่งแผ่นดินเมียนมา
กษัตริย์พระองค์นั้นได้ให้กำเนิดราชบุตร ๒ พระองค์ นามว่า กังราชาจี(d"ik=kEdut) และ กังราชาแหง่(d"ik=k'pN) พอราชบุตรทั้งสององค์เติบใหญ่ เจ้าอภิราชาก็พลันสิ้นพระชนม์  เมื่อสิ้นพระราชบิดา ราชบุตรทั้งสองจึงแย่งราชบัลลังก์กัน แต่เหล่าขุนนางเกรงว่าหากเกิดศึกระหว่าง ๒ ราชบุตร ราษฎรทั้งหลายจะต้องทุกข์ยาก ดังนั้นจึงเสนอทางคลี่คลายปัญหาโดยวิธีสันติ ข้อเสนอนั้นกำหนดให้ต่างฝ่ายสร้างเจดีย์ให้แล้วเสร็จในเพลาชั่วคืน กังราชาจีผู้เป็นพระเชษฐาสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องเพราะทรงพยายามสร้างเจดีย์ให้คงมั่น ในขณะที่กังราชาแหง่ผู้เป็นพระอนุชานั้นสร้างเจดีย์ด้วยปฏิภาณโดยใช้ไม้ไผ่ ตอก หวาย และเถาวัลย์ จึงสำเร็จไวในชั่วคืน กังราชาแหง่ผู้อนุชาจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์แห่งเมืองตะกอง
ฝ่ายพระเชษฐากังราชาจีนั้นทรงยอมปฏิบัติตามสัญญา จึงได้เคลื่อนกำลังพลของพระองค์ทั้งหมดล่องลงมาตามลำน้ำอิรวดี จากนั้นได้ยกพลทวนลำน้ำชิดวิน(-y'Nt9:'Nt)ไปสร้างเมือง ณ กะเลต่องโหญ่ (dg]tg9k'NL6b) และประทับอยู่ที่นั่น ชาวพยูทูลขอให้กังราชาจีมาเป็นกษัตริย์ปกครองในเขตของพวกตน กังราชาจีทรงปรึกษากับเหล่าขุนนาง แล้วจึงส่งราชบุตรไปปกครองชาวพยู
กังราชาจีได้เคลื่อนย้ายจากเมืองต่องโหญ่ไปสร้างเมืองเจ้าก์ปะดอง (gdykdNxoNtg9k'Nt) ซึ่งอยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำกะลาตั่น (d6]kt9oN) ทางตอนเหนือของแดนยะไข่ (i-6b'N) หลังจากนั้นได้ยึดเมืองเก่าธัญวดี (TP;9u) ของยะไข่ซึ่งกำลังว่างเว้นกษัตริย์สืบบัลลังก์ แล้วสร้างราชธานีประทับอยู่ ณ ที่นั่น
ฝ่ายกังราชาแหง่นั้นได้ครองบัลลังก์ตะกองต่อมา ตะกองมีกษัตริย์สืบราชวงศ์ปกครองเรื่อยมาถึง ๓๓ พระองค์”
ตำนานเรื่องอภิราชา กังราชาจี และกังราชาแหง่ ซึ่งบอกนัยว่ากษัตริย์เชื้อสายศากยวงศ์เข้ามาตั้งราชธานีในเมียนมาและเป็นต้นราชวงศ์ของกษัตริย์พม่าในยุคตะกองนั้น มีกล่าวถึงในพงศาวดารพม่า โดยเฉพาะพงศาวดารฉบับหอแก้ว(มังนันยาซะวีง) พงศาวดารฉบับนี้เริ่มชำระในปี ๑๘๒๙ คือหลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรก และหนังสือหรือตำราเรียนประวัติศาสตร์ของพม่าหลายเล่มมักต้องเอ่ยถึงตำนานนี้เมื่อต้องการให้ภาพของพม่าในยุคก่อนอาณาจักรพุกาม อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์พม่าในอีกมุมมองหนึ่งกล่าวถึงต้นกำเนิดของชนชาติพม่าว่าพม่าคือกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าซึ่งสัมพันธ์กับจีน และเชื่อว่าพม่าคือเผ่าเชียง(-ybpoN)ที่เคยอาศัยอยู่ที่กันซูแถบทะเลทรายโกบี ภายหลังถูกพวกจีนกดขี่ทำร้าย จึงต้องอพยพลงมาอาศัยในแผ่นดินทิเบต แล้วได้อพยพต่อมายังน่านเจ้า โดยถูกเรียกว่าเผ่าม่าน(,oNt) ชาวม่านถูกพวกน่านเจ้าบังคับให้ต้องสู้รบ จึงขึ้นชื่อว่ารบเก่ง ภายหลังชาวม่านได้อพยพจากน่านเจ้าเข้ามาอาศัยในพื้นที่เจ้าก์แส่(gdykdNCPN)ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของประเทศพม่าปัจจุบัน ชาวม่านอยู่ปะปนกับคนพื้นเมืองดั้งเดิมโดยเฉพาะชาวพยูและชาวมอญ ท้ายที่สุดจึงได้ตั้งเมืองพุกามขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร และเรียกตนเองว่า เมียนมา (e,oN,k)
ประวัติศาสตร์การกำเนิดชาติรัฐของพม่าจึงมี ๒ แนวคิด แนวคิดหนึ่งเชื่อตามตำนานว่าตะกองคือราชธานีแรกของพม่า และอีกแนวคิดหนึ่งเชื่อตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่าราชธานีแรกของพม่าคือพุกาม สำหรับแนวคิดที่ว่าตะกองเป็นจุดเริ่มของพม่าในแผ่นดินเมียนมานั้น แม้จะเปิดช่องให้ยกย่องกษัตริย์พม่าว่าสืบเชื้อสายร่วมกับเจ้าชายสิทธัตถะก็ตาม แต่เนื่องจากศากยวงศ์เป็นแขก(d6]kt) จึงมีผู้แย้งว่าชาวพม่าพัฒนาอารยธรรมของตนมาโดยลำดับ มิใช่เป็นเพราะชนชาติอินเดียเข้ามาสร้างราชธานีให้จึงมีอาณาจักรขึ้นได้ ฉะนั้นพม่าคงสบายใจที่จะเชื่อว่าชาวพม่าอาจอพยพจากแผ่นดินใหญ่แล้วกลมกลืนกับชนพื้นเมืองในเมียนมา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพม่ารับอารยธรรมหลายอย่างจากอินเดีย

วิรัช  นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15568เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณวิรัชคงเรียนรู้ เรื่องพม่าศึกษา โดยมองภาพ และประวัติศาสตร์จากพม่าด้านเดียว นั่นเรียกว่าประวัติศาสตร์ตามแบบฉบับของพม่า คุณวิรัชเชื่อใหม่ว่าชาวพม่า ไม่ว่าจะเป็นตำนาน ประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ยังซ่อนเร้นปิดบังอำพรางอยู่มาก เคยได้ยินคำพูดว่า "การเขียนประวัติศาสตร์แบบเข้าข้างตนเองไหม" พม่าเป็นอย่างนั้น ไทยก็เช่นกัน หากต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เป็นจริงต้องศึกษาจากประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ มันไม่มีตามแผงหนังสือ รู้กันเฉพาะนักประวัติศาสตร์ เมื่อพบความจริงบางอย่าง ก็จะรู้เองว่า บางอย่าง บางสถานการณ์เหลวแหลกยิ่งกว่านวนิยายนำเน่าเลยทีเดียว พม่าก็เช่นกัน หากต้องการศึกษาเรื่องพม่า อย่าศึกษาเฉพาะภายใน ต้องศึกษาจากภายนอกด้วย แล้วนำไปวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อาจไม่มีคำตอบในโลกหนังสือ แต่คุณวิรัชจะทราบคำตอบในใจ ผมเขียนประวัติความเป็นมาของชาวพม่าที่เรียกว่า "เผ่ามิรันมา" ให้ข้าราชการในจังหวัดได้เรียนรู้ เพื่อประโยชน์ต่อการทำงานตามชายแดน

วันหน้าผมขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณวิรัช ให้ชัดแจ้ง เราจะหาคำตอบที่เป็นจริงร่วมกัน ถ้าไม่รังเกียจคนแก่คนหนึ่ง

อาจารย์เก

ป่อไมแหน่ แม่ไมโย่ว ป้อเฒ่าไมแหน่

ครับ...สำหรับตัวผมเองผมจะศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันเลวร้ายหรือว่าดีเลิศแค่ไหนก็ตามแต่นั่นคือความจริงที่เกิดขึ้น ผมจะเปิดใจให้กว้างแล้วก็เรียนรู้มัน รับรู้มัน แต่ผมจะไม่ไปตั้งอคติว่าเรื่องนี้บิดเบือนหรือเปล่า แค่ไหน อย่างไร จะไม่ค้นหาคำตอบที่ถูกใจพอใจของตัวเอง จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ขอแค่เป็นเรืองจริง เพราะอย่าลืมว่าขึ้นชือว่าประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็แล้วแต่ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ แค่เรื่องที่คนข้างบ้านทะเลาะกันพอได้ฟังจากคนเล่าแต่ละคนก็เล่าไม่เหมือนกันซะทั้งหมดอยู่ที่ว่าคนเล่าจะมีความคิดแบบไหนเข้าข้างใคร ฯลฯ ครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท