งานช่างสิบหมู่ของพม่า


พม่าเรียกงานช่างสิบหมู่ว่า ปางแซ-มโย
ช่างสิบหมู่ของพม่า
พม่าเรียกงานช่างสิบหมู่ว่า ปางแซ-มโย (xoNtCpN,y7bt) งานช่างสิบหมู่เป็นงานฝีมือของชาวพม่าที่จัดว่าเป็นปราณีตศิลป์ หรือ สุขุมะปีญญา  คำว่า ปาง โดยความหมายเดิมหมายถึง ดอกไม้  แต่ในที่นี้หมายถึง ลวดลายที่มีความงดงามทางศิลปะดุจดอกไม้  แต่ปราชญ์ชาวพม่าบางท่านกล่าวว่า ปาง  เป็นคำภาษามอญ มีความหมายว่า "ปัญญา,วิชาความรู้" ส่วน แซ นั้น หมายถึง “สิบ” ส่วน มโย เป็นคำลักษณะนาม หมายถึง “ชนิด” หรือ “ประเภท” ปางแซ-มโย จึงน่าจะหมายถึง “ความรู้ ๑๐ สาขา” ตามนัยของภาษามอญ
โดยทั่วไปพม่าจะจำแนกงานช่างสิบหมู่เป็น ๑๐ ประเภท ได้แก่  งานเหล็ก (xc)  งานทอง(5b,N)  งานหล่อ (9fNt) งานปูนปั้น (g9kH) งานก่อปูน (ioN) งานแกะสลัก (x6) งานสลักหินหรือพลอย (g,kH) งานกลึงไม้ (x:9N) งานวาด (-yu) และงานลงรัก (p:oNt)  อย่างไรก็ตาม ผู้รู้บางท่านแย้งว่างานช่างของพม่ามิได้มีเพียงแค่สิบประเภทตามชื่อที่เรียก หากว่ามี ๑๒ ชนิดด้วยกัน ทั้งนี้ได้รวมเอกงานศิลปะทางดนตรีและงานเจียรนัยเพชรพลอยเข้าไว้ด้วย  งานช่างสิบหมู่แต่ละประเภทมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้
๑. งานเหล็ก หรือ งานโลหะ
พม่าเรียกงานเหล็กหรืองานโลหะ ว่า   บะแบ (xoNtxc)   เป็นงานช่างโบราณสาขาหนึ่งที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ ในการศึกสงครามมีการทำดาบ  หอก  และเสื้อเกราะ  งานโลหะชิ้นเด่นคือเสื้อเกราะของมหาพันธุละซึ่งจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่ลอนดอน ในงานไร่นามีการทำไถ  เคียว  มีดโต้  และคราด นอกจากนี้ยังมีงานโลหะในงานสร้างเรือน สร้างวัง งานปั้นหม้อ และงานเครื่องสัมฤทธิ์ ส่วนทางศาสนามีการทำฉัตร เป็นต้น  โลหะที่ใช้ในงานประเภทนี้จะได้จากภูเขาแถบเขาโปปาและเขาตั้งจิ๊ต่องใกล้เมืองพุกาม
การผลิตงานโลหะถือเป็นงานฝีมือระดับราชสำนัก และเป็นงานฝีมือของผู้ชาย  กล่าวกันว่าผู้ที่ทำงานช่างเหล็กได้นั้น จักต้องเป็นผู้ที่มีพละกำลัง พม่ามีตำนานเกี่ยวกับเรื่องของหม่องติ้งแด่ ช่างเหล็กรูปงามแห่งเมืองตะกอง หม่องติ้งแด่เป็นผู้เปี่ยมด้วยพละกำลัง จนแม้แต่กษัตริย์แห่งเมืองตะกองยังหวั่นเกรงในตัวของหม่องติ้งแด่ ถึงขนาดกังวลว่าจะกลายเป็นผู้มาแย่งราชบัลลังก์ของพระองค์ เลยต้องลวงมาสังหารในกองเพลิง  นอกจากนี้ พม่ามีคำภาษิตเปรียบเทียบบทบาทและหน้าที่ของชายกับหญิงไว้ต่างกันว่า “ชายฝนมีด หญิงคลอดลูก” ( gpkdNykt  Tktgl:t  ,boNt, lktg,:t) ผู้ชายจึงเหมาะกับงานช่างโลหะ ในขณะที่ผู้หญิงก็ต้องเก่งการเรือน
๒. งานหล่อ
พม่าเรียกงานหล่อว่า  บะดีง (xoNt9fNt) ส่วนใหญ่หมายถึงงานหล่อทองเหลืองและทองแดง มีหลักฐานกล่าวถึงงานหล่อในศิลาจารึกสมัยอังวะและคอนบองไว้ด้วย   แต่นักปราชญ์พม่าเชื่อว่าที่จริงงานหล่อนี้น่าจะมีมาแต่สมัยศรีเกษตรของพยู แล้วสืบทอดไปถึงสมัยสะเทิมของมอญ จากนั้นจึงสืบต่อมาถึงสมัยพุกามของพม่า เพราะชิ้นงานที่ปรากฏเป็นงานที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างของอินเดีย  งานช่างหล่อของพม่าส่วนใหญ่จะเป็นงานเกี่ยวกับงานด้านศาสนา  เช่น  การหล่อพระพุทธรูป  เทวรูปหรือรูปเคารพ (เทพนัต)  ระฆัง  กังสดาล  และสิ่งของเครื่องใช้  นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่าในสมัยก่อนยุคเมืองตะกองนั้น เคยมีนาคมารบกวนความสงบสุขอยู่เสมอ จึงเกิดความเชื่อในเรื่องการปราบนาค   ดังมีธรรมเนียมการสร้างปราสาทสัมฤทธิ์ในสระน้ำให้กษัตริย์ที่เพิ่งขึ้นครองราชย์เพื่อประทับอยู่เป็นเวลา ๗ วัน นัยว่าเพื่อปราบนาคที่มารบกวนนั้น
ในการทำระฆังและกังสดาลนั้น พบมากในสมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งกรุงพุกามเป็นยุคแรกๆ ซึ่งเป็นยุคที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง นอกจากจะมีการสร้างเจดีย์กันมากแล้ว ยังมีการสร้างระฆังและกังสดาลมากเช่นกัน   และในสมัยพระเจ้าจันสิตตาแห่งพุกาม มีการสร้างระฆังขนาดใหญ่ทำด้วยสัมฤทธิ์ หนัก ๑๐๐๐ ปิตตา(๑ ปิตตา เท่ากับ ๑.๖ กิโลกรัม) จำนวน ๕ ใบ  ถวายไว้ที่พระเจดีย์ชเวซีโข่ง ๓ ใบ ถวายไว้ที่พระเจดีย์อนันดา ๑ ใบ และถวายไว้ที่พระเจดีย์มีงโอ่ชางต่า ๑ ใบ  และในสมัยหลังได้มีความนิยมทำกุศลด้วยการถวายระฆังขนาดต่างๆไว้ที่พระเจดีย์จนเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน ที่องค์ระฆังจะมีการสลักคำกัลปนา(คำถวาย)ไว้ด้วย แม้แต่กษัตริย์กัมพูชาที่ไปเยือนพม่าและได้ถวายระฆังไว้ที่เจดีย์บนดอยแห่งหนึ่งในเมืองมะริดก็มีคำกัลปนาปรากฏไว้ด้วย  และที่ลานพระเจดีย์ชเวดากองมีระฆังเคลือบขนาดใหญ่น้ำหนัก ๑๕,๕๕๕ ปิตตา ฝ่ายอังกฤษพยายามชักลากระฆังนี้กลับไปอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จ ด้วยระฆังนั้นพลัดตกจมอยู่ใต้แม่น้ำย่างกุ้ง ภายหลังชาวพม่าได้ช่วยกันกู้ระฆังใบนี้ขึ้นมาแล้วประดิษฐานไว้บนลานพระเจดีย์ชเวดากองดังเดิม และเรียกว่าระฆังนั้นว่า ปยีด่อเปี่ยงคองลอง แปลว่า “ระฆังคืนเมือง” ด้วยเชื่อว่า องค์ระฆังนั้งปรารถนาจะกลับคืนยังที่ประดิษฐานเดิมมากกว่าที่จะให้อังกฤษนำไป
การถวายระฆังให้กับพระศาสนานับว่ามีความหมายต่อชาวพุทธพม่ามาก ชาวพม่าเชื่อว่าเป็นการกระทำที่ได้กุศลสูงยิ่ง เสียงระฆังที่ก้องดังจากวัดไปไกลจะช่วยให้ผู้ได้ยินเกิดปีติ อีกทั้งยังช่วยพามลทินทางใจให้ปลิวไปกับเสียงระฆัง พร้อมกับบังเกิดเป็นความสงบเย็นขึ้นแทน การตีระฆังยังถือเป็นการประกาศหรือบอกบุญให้ผู้อื่นได้รับรู้และร่วมอนุโมทนาในบุญกิรยาของผู้ประกอบกุศล (พม่าจะกล่าวคำว่า สาธุ ๓ ครั้ง เพื่อแสดงมุทิตาจิต) การสร้างระฆังถวายนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาเช่นเดียวกับการสร้างพระเจดีย์  หากแต่ในการสร้างระฆังขนาดใหญ่จะกระทำได้เฉพาะผู้ที่มีบุญบารมีอย่างกษัตริย์และคหบดีเท่านั้น
ระฆังที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของพม่าคือ ระฆังมีงกุน ระฆังใบนี้เป็นระฆังขนาดใหญ่อันดับ ๓ ของโลก ตั้งอยู่ใกล้เจดีย์เมืองมีงกุน ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี  ทั้งพระเจดีย์และระฆังนี้สร้างโดยพระเจ้าโพด่อพญา(ค.ศ.๑๗๘๒–๑๘๑๙) พระองค์ทรงมอบให้อำมาตย์ ชื่อนันทจ่อตูเป็นผู้หล่อขึ้น  จากบันทึกของอังกฤษได้ทราบว่าระฆังใหญ่ใบนี้มีขนาดใหญ่ หนัก ๘๗ ตัน  กว้าง ๑๖ ฟุต ๓ นิ้ว  สูง ๑๒ ฟุตครึ่ง  นอกจากนี้ยังมีบันทึกอีกว่าระฆังใหญ่ที่ดีจะทำด้วยเบญจโลหะ คือ ทอง เงิน สัมฤทธิ์ เหล็ก และตะกั่ว ด้วยจะช่วยให้มีเสียงไพเราะน่าฟัง
ส่วนกังสดาลเป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบศาสนากิจ นับจากอดีตจนปัจจุบัน ชาวพม่าจะตีกังสดาลในเวลาทำบุญและแผ่เมตตา นอกจากใช้ในการแผ่เมตตาแล้ว ยังนิยมใช้กังสดาลตีบอกเวลาในกิจของสงฆ์ อาทิ บอกเวลาพระลงฉัน เวลาทำวัตร และเวลาออกรับบาตร เสียงกังสดาลจะส่งสัญญาณแจ้งให้ญาติโยมได้รู้ คนพม่าถือว่าเสียงกังสดาลเป็นเสียงที่ปลุกใจให้ใฝ่ในธรรมะ และเป็นเสียงที่ทำให้บังเกิดความสงบเย็นและนำสันติภาพมาสู่ กังสดาลมีทั้งขนาดเล็กไปจนขนาดใหญ่ เช่น ที่พระเจดีย์มหามัยมุนีที่เมืองมัณฑะเล มีกังสดาลขนาดใหญ่ น้ำหนักถึง ๓,๒๖๔ ปิตตา แขวนอยู่
ในสมัยพุกาม มีการนำเครื่องทองเหลืองไปใช้ในงานอื่นๆ นอกเหนือจากงานทางศาสนา เช่น ของใช้ในเรือนอาจเป็นเครื่องทองเหลือง อาทิ กาน้ำ ถาด หม้อ ถ้วยชาม แก้วน้ำ หากเป็นเครื่องแต่งกายก็อาจใช้ทองเหลืองผสม  อาทิ กำไล ตุ้มหู แหวน และมงกุฎ นอกจากนี้งานหล่อยังใช้ในการทำเครื่องดนตรี  เช่น  ฆ้อง  กลอง  กังสดาล  กระดิ่ง  จิ้งหน่อง  ระฆัง  และฉิ่ง เป็นต้น หากเป็นเครื่องประดับกายจะไม่ค่อยใช้ทองแท้และเงินแท้ แต่จะใช้ทองผสมเงิน โดยจะใช้การแปรธาตุทำให้ดูเป็นเงินแท้ ทองแท้ การเล่นแร่แปรธาตุเจริญมากในสมัยพุกาม โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าเตงลีจ่องมีง  พวกพระอเยจีต่างชำนาญในวิชาเล่นแร่แปรธาตุ กล่าวกันว่าในสมัยพุกามนั้นพระสงฆ์ที่เล่นแร่แปรธาตุสามารถช่วยให้ชาวบ้านร่ำรวยขึ้นได้  กล่าวกันว่ารวยถึงขนาดแม่หม้ายสามารถสร้างเจดีย์ได้ทีเดียว
ส่วนการหล่อพระพุทธรูปของพม่านั้น พม่าได้รับความรู้ด้านนี้จากอินเดีย เช่นเดียวกับมอญและไทย ดังพบบันทึกการหล่อพระในสมัยพระเจ้าอโนรธาตอนปลาย แต่อย่างไรก็ตามงานหล่อพระพุทธรูปของพม่าได้เกิดขึ้นมากมายในสมัยอังวะและคอนบอง ปัจจุบันงานหล่อพระพุทธรูปมีลดน้อยลง เนื่องจากเป็นงานที่ยาก ต้องใช้เวลา ทำรายได้ไม่มาก จึงทำให้จำนวนช่างหล่อลดจำนวน อย่างไรก็ตามพม่าก็ยังชำนาญในการสลักพระพุทธรูปที่ทำจากหินอ่อน
๓. งานแกะสลัก
พม่าเรียกงานแกะสลักว่า บะบุ (xoNtx6)  กล่าวกันว่างานแกะสลักเป็นงานที่ชาวพม่านิยมมาก และเคยได้รับการส่งเสริมจากราชสำนักเป็นอย่างดี    ความเป็นมาของงานแกะสักของพม่านั้นไม่ใคร่ชัดเจนนัก  แต่ว่ากันว่าน่าจะมีมาแต่สมัยพยู และพบว่างานแกะสลักรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าอโนรธา ดังพบจารึกเกี่ยวกับเรื่องการว่าจ้างช่างสลัก ในสมัยนั้นมีทั้งการแกะสลักพระพุทธรูปหิน  การแกะพระพิมพ์  ควบคู่ไปกับการหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์  นอกจากนี้ยังพบการแกะสลักไม้ งาช้าง แต่พบหลักฐานได้น้อยชิ้น ซึ่งกล่าวกันว่าอาจเป็นเพราะสิ่งเหล่านี้คงผุพังไปตามกาลเวลา จึงไม่พบร่องรอยให้เห็นมากนัก
ในสมัยก่อนนี้งานแกะสลักจะพบในงานศาสนาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในการสร้างวัดวาอาราม สถูป เจดีย์ จึงเชื่อกันว่างานแกะสลักเป็นงานที่เกิดมาคู่กับการสร้างเจดีย์  แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเกิดงานแกะสลักหิน ได้มีการกล่าวถึงงานแกะสลักไม้ ซึ่งมีมาแต่สมัยพุกามตอนต้นๆ คือในสมัยพระเจ้าเตงลีจ่องมีง และก่อนสมัยพระเจ้าอโนรธาราว ๑๔๐ ปี ได้มีการกล่าวถึงตำนานเทพนัตตนหนึ่ง และพูดถึงรูปสลักไม้ของเทพนัตนั้นว่าทำจากไม้จำปาจากเมืองตะกอง และพระเจ้าเตงลีจ่องได้นำรูปสลักนั้นไปไว้ที่เขาโปปาแห่งเมืองพุกาม และเชื่อว่านับจากนั้นมาการแกะสลักไม้ของพม่าได้รุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ นอกจากนี้ยังมีการขุดพบว่าในสมัยก่อนยุคศรีเกษตรและพิสสโณ มีการแกะสลักรูปเทพนัตและสัตว์เช่นกัน ต่อมาในสมัยพระเจ้าอลองสี่ตู พระองค์สำคัญตนว่ายิ่งใหญ่กว่าบรรพบุรุษ จึงไม่ยำเกรงใคร โหราจารย์ได้กล่าวเตือน และแนะนำให้สร้างรูปเคารพบรรพบุรุษเพื่อป้องกันภัยพิบัติ จากนั้นจึงได้เกิดเป็นธรรมเนียมการสร้างรูปเคารพบรรพบุรุษจนถึงสมัยพระเจ้าธีบอ พระเจ้าธีบอเองก็ได้สร้างรูปเคารพของบรรพบุรุษไว้เช่นกัน
ในภายหลัง ได้มีการนำการแกะสลักมาใช้กับงานฝีมือ ทำเป็นของใช้และของประดับ เช่น ทำพายคนข้าว กระบวยน้ำ คานฆ้อง คานเกราะ  และยังทำเป็นรูปนกหน้าเกวียนและหัวเรือ นอกจากนี้ยังใช้ในงานพุทธศิลป์ เช่น ภาพแกะสลักเรื่องนิบาตต่างๆ
นอกจากนี้ งานแกะสลักนี้ยังมีทั้งแกะบนดินเหนียว ไม้ ไม้ไผ่ งาช้าง กระดูกสัตว์ และเปลือกหอย เป็นต้น การแกะจะแบ่งเป็น ๓ แบบ คือ รูปสลัก (U6xN]6"t) นูนสูง (U6xNEd:) นูนต่ำ (U6xN-6"t)   ส่วนลวดลาย หรือที่เรียกว่า ปาง จะมีอยู่ ๓ ลาย คือ ลายเบงคาลี ลายกนกโยดะยา และลายพม่า ลายเบงคาลีเป็นลวดลายที่ไม่ละเอียด แต่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ  ลายกนกโยดะยาเป็นลายละเอียดและอ่อนช้อย ถือเป็นงานชั้นสูง และลวดลายอาจบิดเบี้ยวได้ง่ายหากช่างมีฝีมือไม่ดีพอ ส่วนลายพม่าถือเป็นลวดลายที่จัดว่ายากที่สุด คือยากกว่าลายกนกโยดะยาเสียอีก  เพราะมีการแกะเป็นรูปซ้อนกันเป็นชั้นๆ จึงต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของเส้น และช่างต้องชำนาญในการกะระดับของลวดลายเชิงซ้อน
๔. งานก่อปูน
พม่าเรียกงานก่อปูนว่า ปะยัน  (xoNtioN) มีเรื่องเล่าถึงการเกิดงานก่อปูนไว้ในตำราราชวังสะชาลินีว่า ภายหลังของการล่มสลายของเมืองศรีเกษตร ได้มีกลุ่มชนชาวพยู ชาวกังยัง และชาวพม่า  ชาวพยูและชาวกังยังได้ท้าแข่งขันกันก่อพระเจดีย์เพื่อแสดงพลังของไพร่พลตน ในการแข่งขันครั้งนั้น ชาวกังยังได้ใช้เทคนิคการก่อสร้างพระเจดีย์ด้วยการก่ออิฐถือปูน แต่ชาวพยูใช้อุบายด้วยต้องการทำให้เสร็จเร็วกว่า จึงใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นโครงและพันโครงไม้ไผ่นั้นด้วยผ้าขาว จากนั้นก็ขึ้นฉัตร ชาวกังยังเข้าใจว่าชาวพยูก่อพระเจดีย์เสร็จก่อน จึงได้ยอมแพ้
ในสมัยพุกามได้มีการสร้างพระเจดีย์เป็นจำนวนมากมาย ในการสร้างพระเจดีย์นั้น ได้ใช้งานก่อปูนเป็นงานพื้นฐาน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่างานก่อสร้างของพม่าในสมัยพุกามนั้นไม่ได้นิยมใช้ไม้ แต่นิยมการก่อปูนและใช้หิน  ในการก่อสร้างวัดทั้งของชาวพุทธและชาวฮินดู   พบว่าการสร้างศาลา  คอกวัว คอกควาย ศาลยุติธรรม และสถูปเจดีย์ทั้งหลาย จะใช้งานก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่ จึงนับว่างานก่อปูนเป็นงานที่รุ่งเรืองในสมัยพุกาม แต่หากดูจากหลักฐานทางพงศาวดาร พบว่าความนิยมในการสร้างอาคารด้วยไม้จะเริ่มในราวสมัยปีงยะ ซึ่งมีการสร้างวัดด้วยไม้จำปา และตลอดยุคคอนบองมีการสร้างเรือนด้วยไม้ซุง
ที่จริงก่อนหน้าสมัยพุกามนั้น งานก่อปูนโดดเด่นมาก่อนแล้ว ดังเรื่องการสร้างพระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนของชาวพยู และมีหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์ด้วยอิฐที่เมืองศรีเกษตร (เมืองแปรปัจจุบัน) และพบว่าพื้นที่นี้เป็นแหล่งที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีชั้นยอดที่ก่อสร้างด้วยอิฐ เช่น พระเจดีย์บอบอจี (g4kg4kWdut46ikt) ต่อมาในสมัยพุกามมีการสร้างพระเจดีย์จำนวนมาก โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอโนรธาและพระเจ้าจันสิตตา ซึ่งถือว่าเป็นยุคกำเนิดรูปแบบของงานศิลปะพม่าอย่างแท้จริง และงานพระเจดีย์ที่พุกามจัดได้ว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมการก่ออิฐที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศ
ในด้านองค์ประกอบในการสร้างเจดีย์พม่านั้น   โดยส่วนใหญ่เจดีย์ในพม่าจะแบ่งส่วนออกเป็น ๑๓ ส่วน ได้แก่ ฐานเจดีย์ เรียกว่า  พะนะด่อ(zboxNg9kN), ชั้นพระเจดีย์                เรียกว่า ปิจสะยา(x0¨pk), ย่อมุมแปดเหลี่ยม  เรียกว่า  ชิจ์มะย่อง(ia0Nge,k'NH), ปากระฆัง เรียกว่า คองลองนะคาง(g-j'Ntg]k'NtOA9N-,Nt), รัดอก เรียกว่า ยีงซี(i'N0PNt), บาตรคว่ำ เรียกว่า ตะเบะเม่าก์(lxb9Ng,akdN), กนก เรียกว่า บะลูปาง-ซแว(4u]^xoNtC:c), ปล้องไฉน เรียกว่า พองยิจ(gzk'Nti0N), บัวคว่ำ เรียกว่า จ่าเม่าก์(Edkg,akdN), ลูกแก้ว เรียกว่า ยแว(U:c), บัวหงาย เรียกว่า จ่าหลั่ง (Edk]oN), ปลียอด เรียกว่า แงะ-ปยอ-พู('adNgxykz^t) และฉัตร เรียกว่า ที(5ut)
ในการสร้างพระเจดีย์ พม่าจะกำหนดองค์ประกอบพื้นฐานของเจดีย์ดังที่กล่าวมา แต่จะมีทรวดทรงหรือมีการสร้างสรรสิ่งใหม่เพิ่มเติมบ้างตามความนิยมของยุคสมัย อย่างไรก็ตาม จะมีเป้าประสงค์ที่ไม่ต่างกันคือ การสร้างพระเจดีย์จะสร้างให้งดงามและอ่อนช้อยให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน นอกเหนือจากการสร้างพระเจดีย์ ยังมีการสร้างประตูเมือง กำแพงเมืองด้วยหินและอิฐ  เช่น กำแพงเมืองในสมัยอังวะ ดังมีคำกล่าวว่า “งานก่อปูนเลิศ เงินดี” หรือ ปางยัน-ปยัง จีกอง (xoNioNxy" gEdtgdk'Ntt) ยิ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญงานก่อปูน ยิ่งจะได้ค่าตอบแทนสูง  และงานก่อปูนก็ยังเป็นงานช่างที่สืบทอดอยู่จนถึงปัจจุบัน
๕. งานแกะสลักหินและพลอย
พม่าเรียกงานประเภทนี้ว่า  ปางตะเมาะ (xoNt9g,kH)  คำว่า ตะเมาะ เป็นคำภาษามอญ มีความหมายว่า  "หินและพลอย" กล่าวกันว่างานแกะสลักเจียระไนในพม่านั้น เริ่มมาแต่สมัยพิสสโณและศรีเกษตร และมาเจริญรุ่งเรืองในสมัยพุกาม ดังพบเป็นหลักฐานการขุดค้นพบรูปสลักนูนสูงแบบฮินดูบริเวณปากประตูเมืองพิสสโณ และรูปสลักพระอรหันต์และพระพุทธรูปที่เมืองศรีเกษตร และยังพบคำเรียกงานประเภทนี้ในศิลาจารึกสมัยพุกาม อีกด้วย
นักวิชาการพม่ากล่าวว่า มีหลักฐานว่างานแกะสลักนี้สืบทอดมาจากอินเดีย โดยช่วงแรกได้แพร่หลายมาทางตะวันออก เช่น มาเลเซีย  กัมโพช(กัมพูชา) และโยดะยา(ไทย)  ส่วนในประเทศพม่างานแกะสลักหินและพลอยได้เจริญมาเป็นลำดับจากสมัยพยูจนถึงสมัยอังวะ งานแกะสลักใช้วัถตุเป็นหินชนิดต่างๆ เช่น ศิลาแลง  และหินอ่อน เป็นต้น
งานแกะสลักที่งดงามมากจนเป็นที่กล่าวถึงบ่อยๆ คือ งานแกะสลักในสมัยพระเจ้ามินดง พระเจ้ามินดงมีพระประสงค์จะประกอบมหากุศล จึงได้ให้ช่างแกะสลักพระพุทธรูป ชื่อว่า มหาสะจะมารเชง (,skldy,ki=boN) เป็นพระพุทธรูปที่แกะด้วยหินหยกขาวขนาดใหญ่ ซึ่งรู้จักกันว่า เจ้าก์ด่อจีพะยา (gdykdNg9kNWdut46ikt)  แปลว่า "พระศิลาใหญ่" มีขนาดกว้างราว ๑๒ ศอก สูงราว ๑๗ ศอก   หินหยกขาวที่นำมาสลักนี้ได้มาจากหมู่บ้าน สะจีงยะวา (0dy'NU:k) ซึ่งอยู่ใกล้เมืองมัณฑะเล ในการเคลื่อนย้ายก้อนหินเพื่อนำมาแกะสลักที่มัณฑะเลนั้นต้องใช้แรงคนถึงหนึ่งหมื่นสองพันคน และใช้เวลาในการขนย้ายนานถึง ๑๓ วัน  งานแกะสลักพระพุทธรูปถือเป็นงานที่สำคัญมากในสังคมพม่า  ในปัจจุบัน ยังได้มีการแกะสลักพระหินหยกขาวอีกองค์หนึ่ง นามว่า พระลาภะมุนี(g]kd-y,Ntlk v4p]k4,6ou) ความสูง ๓๗ ฟุต ตั้งอยู่ ณ เมืองย่างกุ้ง
๖. งานปูนปั้น
พม่าเรียกงานปูนปั้นว่า ปางเดาะ  (xoNtg9kN) ส่วนใหญ่งานปูนปั้นจะใช้กับการทำประตูมุขของวัด พม่านิยมลายเถาแบบต่างๆ และมีรูปเทพนัต กินรา สิงห์ ที่มีลวดลายอ่อนช้อยประดับซุ้มประตู มีหลักฐานการขุดพบรูปปูนปั้นในบริเวณเมืองพิสสโณและศรีเกษตร ตลอดถึงเมืองพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธาตอนปลาย และได้กลายมาเป็นแม่แบบงานปูนปั้นของพม่า ซึ่งจัดว่าเป็นงานที่มีลวดลายงดงามและมีฝีมือสูงส่ง   ในสมัยพิสสโณนั้นยังได้พบงานปูนปั้นจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปปั้นคน ยักษ์ สิงห์ มังกร และรูปดอกบัวและใบบัว จึงถือได้ว่ายุคพุกามได้สืบทอดรับงานปูนปั้นมาจากยุคพิสสโณ แต่อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานเป็นคำเรียกงานปูนปั้นในจารึกสมัยพุกาม เพียงเพิ่งมาพบคำเรียกนี้ในสมัยคอนบองเท่านั้น
๗. งานวาด หรือ งานจิตรกรรม
พม่าเรียกงานวาดภาพว่า บะจี  (xoNt-yu) ประวัติความเป็นมาของงานวาดภาพในพม่าไม่แน่ชัด แต่มีหลักฐานว่าเคยเป็นที่นิยมในสมัยศรีเกษตร นอกจากนี้ยังกล่าวกันว่า ในสมัยพยูจนถึงพุกาม ได้ใช้ศิลปะการวาดภาพเป็นสื่อในการเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนา  ดังนั้นภาพวาดในสมัยก่อนจึงมักเป็นงานภาพวาดประกอบเรื่องนิบาตตามคติพุทธศาสนา โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโนรธาเป็นต้นมา ได้มีการนำเอาศิลปะการวาดภาพมาสนับสนุนให้พุทธศาสนา นิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองและแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่าความเจริญทางศิลปะการภาพวาดของพม่าสืบได้จากสมัยพระเจ้าจันสิตตาเป็นต้นมา พอถึงสมัยพุกามตอนปลายงานวาดภาพของพม่ามีความหลากหลายมากขึ้น เพราะมีชนเผ่าต่างๆมาอาศัยอยู่รวมกัน เช่น ชาวมอญ ฉาน จีน และ แขก เกิดงานของช่างหลายกลุ่มปะปนกัน แต่ร่องรอยที่เหลือให้เห็นในงานจิตรกรรมจนถึงปัจจุบันเป็นงานของกลุ่มชาวฮินดูซึ่งมาจากอินเดีย
กล่าวกันว่างานศิลปะวาดภาพมีมาก่อนงานแกะสลัก ในสมัยนั้นนิยมใช้สีทองที่เรียกว่าชเวสวา (gU­=;j) งานที่เป็นตัวอย่างการใช้สีอย่างโบราณ คือ งานภาพนัตสองพี่น้องมีงมหาคีริบนท่อนไม้จำปา งานชิ้นนี้มีตำนานกล่าวว่า ภาพนั้นถูกนำมาไว้ที่เขาโปปาใกล้เมืองพุกามในสมัยพระเจ้าเตงลีจ่องมีง และอีก ๙ ปีต่อมา จึงมีการทำรูปปั้นใบหน้าเทพดังกล่าวขึ้น อย่างไรก็ตามหากจะพูดถึงหลักฐานศิลปะงานวาดภาพของพม่าที่ชัดเจน สามารถดูได้ตามสถูปเจดีย์ที่พุกาม ซึ่งจะมีภาพฝาผนังให้เห็น  ภาพวาดฝาผนังตามวิหารในสมัยพุกามนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธวงศ์และภาพพุทธองค์ นิบาต พระเจ้า ๕๕๐ ชาติ ภาพวาดตามความเชื่อในนิกายมหายานและตันตระ ภาพเทพนัตและพรหม ภาพชาวบ้านในสมัยพุกาม ภาพการขับฟ้อนและดนตรี ภาพลวดลายกนก และภาพสัตว์ที่เป็นลายกนก
ในการวาดภาพของพม่าแบบเดิมนั้น จะเป็นการวาดภาพลายเส้น ที่เรียกว่า ตะจองสแวเย (9gEdk'NtCc:git) มีการลงสี ซึ่งภาษาทางจิตรกรรมของพม่าเรียกว่า เก้าก์จอง (gdkdNgEdk'N) เป็นการวาดที่ได้อิทธิพลจากการวาดภาพนิบาตของชาวอินเดีย ในสมัยพุกามตอนปลายมีการใช้สีมากขึ้น แต่ก็ยังจำกัดเพียงสีเขียว แดง เหลือง ดำ และ ขาว จนถึงสมัยคอนบองตอนต้นจึงใช้สีกันหลากหลายกว่าเดิม
ในการวาดภาพของพม่าแบบโบราณขั้นพื้นฐาน จำแนกลวดลายออกเป็นสี่ประเภท คือ
๑.   ลายกนก             เป็นรูปดอกบัว ขดบัว
๒.  ลายนารี             เป็นรูปเจ้าหญิง เทพธิดา รวมถึงภาพผู้สูงศักดิ์ เช่น เจ้าชาย เทพ พระอินทร์   และ พระพรหม
๓.  ลายกระบี่           ไม่เพียงแต่เป็นรูปลิง แต่ยังหมายรวมถึงรูปสัตว์อื่นๆ อาทิ สิงห์ หงส์ เศียรลิง เศียรยักษ์ กินรา และครุฑ รูปสัตว์เหล่านี้จะมีลวดลายอย่างกนก 
๔.  ลายคชะ             เป็นรูปช้าง และรวมถึงรูปสัตว์ใหญ่ และสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น ภูเขา เป็นต้น
ในการวาดภาพ ๔ ประเภทข้างต้นนี้ ช่างวาดโดยเฉพาะในสมัยพุกามจะให้ความสำคัญที่การวาดลายกนกเป็นพิเศษ ส่วนในสมัยพระเจ้ามินดง การวาดภาพของพม่าเจริญรุ่งเรืองมาก มีช่างวาดภาพเหมือนที่มีฝีมือสูง ชื่อ อูจ่าญุ่น ในสมัยนั้นยังได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากตะวันตก ทำให้การวาดภาพของพม่าพัฒนาขึ้น ที่จริงการวาดภาพของพม่ามิได้จำกัดอยู่แต่ในงานภาพฝาผนังเท่านั้น หากยังพบในงานหนังสือบุดด้วย แต่หลักฐานที่เป็นหนังสือบุดนั้นมีเหลือให้เห็นเพียงน้อยชิ้น เนื่องจากเป็นของที่ผุพังง่าย นอกจากนี้ยังมีภาพวาดชนิดแขวนติดกับผนัง ภาพที่มีชื่อเสียงมากเป็นภาพในสมัยพระเจ้าธีบอ  เขียนโดย สะยาโฉ่ง (Cik1-") เป็นภาพเกี่ยวกับพิธีจรดพระนังคัล อีกภาพหนึ่งเป็นภาพแสดงการเสด็จของพระเจ้าธีบอกับพระนางสุภยาลัตกำลังเสด็จออกจากเมืองมัณฑะเลไปพำนักยังอินเดีย เมื่อคราวเสียเมืองให้กับกองทัพอังกฤษ
นอกจากการวาดภาพทั่วไปแล้ว งานสักลายบนร่างกายก็ถือเป็นงานจิตรกรรมอย่างหนึ่ง การสักลายของพม่าแต่เดิมนิยมสักด้วยสีแดงและสีดำ การสักนี้เป็นธรรมเนียมของผู้ชายพม่า เพื่อเป็นสิ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งอดทน คำเรียกชื่อการสักลายมีหลายคำ เช่น มีงเต้ะ (,'NtglH) มีงจ่อง(,'NgEdk'N)  โท-กวีง(56btd:'Nt) และ คาจ่อง(-jtgEdk'N) กล่าวกันว่าการสักนี้มีมาแต่สมัยศรีเกษตร เกิดจากความฝันของพระสงฆ์นามว่าอูอุตมะศีรีมะเถร์  พระรูปนี้ได้ฝันว่าได้พบการเขียนอักขระในหนังสือบุดสัมฤทธิ์ ซึ่งได้มาจากท้องของจรเข้ อักษรที่บันทึกนั้นเป็นอักษรเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ จึงได้มีการลอกอักษรเหล่านั้นลงบนเนื้อหนังของคนด้วยสีแดงและดำ จนมาถึงในสมัยพุกาม พระนอกรีตฝ่ายอเยจีได้สักลายอักขระดังกล่าวให้กับชาวบ้าน และเชื่อว่าได้กลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมสืบต่อกันมา ในการสักลายด้วยสีแดงและดำนี้ แต่ละยุคสมัยมีข้อแตกต่างกันที่ตำแหน่งในการสัก   สีแดงจะสักบริเวณร่างกายตอนบนแถวหน้าอก คอ และต้นแขน เป็นการสักเพื่อป้องกันงู  ช่วยให้หนังเหนียว  และเพื่อความงาม นิยมสักเป็นรูปเทพ นาค ครุฑ ยักษ์ และกินรา  ส่วนสีดำจะสักจากบริเวณเอวลงมาถึงข้อเท้า โดยจะสักเป็นลายไม้เถา แต่ในสมัยอังวะพบว่ามีการใช้สีดำสักบริเวณตอนบนของร่างกายอีกด้วย
พม่ามีความเชื่อเกี่ยวกับการสักมานับแต่อดีต หนุ่มพม่าทุกคนจะต้องสักลายบนร่างกาย เพื่อแสดงความเป็นลูกผู้ชาย ในขณะที่กำลังสักนั้น ผู้ถูกสักจะพยายามไม่แสดงสีหน้าเจ็บปวดและไม่ร้องโอดโอย เพราะกลัวถูกล้อเลียนเย้ยหยัน และถือเป็นเรื่องน่าอับอาย อย่างไรก็ตาม ในเวลาสัก ผู้ถูกสักจะขบลูกหมากไว้ที่กรามเพื่อช่วยข่มอาการเจ็บปวด และด้วยผู้ถูกสักมักจะต้องทนกับเจ็บปวดอย่างเหลือฝืน จนมีกล่าวว่า “พอสักบนที่วางหม้อ(หน้าขา) เจ็บจนอยากเผ่นหนี   พอถึงย้อยก้นแทบอยากก่นหมอ”   ในเวลาเกณฑ์ทหาร หนุ่มพม่าจะต้องนุ่งผ้าถกเขมรให้เห็นลายสัก เพื่อให้ดูสง่าและน่าภาคภูมิ
๘. งานช่างเงินและทอง
พม่าเรียกชื่องานประเภทนี้ว่า บะเดง (xoNt5b,N) เชื่อว่าวิชาช่างสาขานี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพยู ดังมีหลักฐานการขุดพบเครื่องเงินเครื่องทองโบราณที่เมืองศรีเกษตรและเมืองหั่นลีง ในสมัยพยูนั้นพบว่างานช่างเงินช่างทองจะเป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อมาถึงสมัยพุกาม วัฒนธรรมทางจีนและมอญได้เข้ามาผสมปนเปมากขึ้น จึงส่งผลต่องานช่างเงินและช่างทองของพม่าไปด้วย ดังพบหลักฐานผอบบรรจุพระธาตุที่ขุดได้ที่เมืองศรีเกษตร เป็นต้น
ย้อนไปในสมัยพยูพบว่ามีการใช้สิ่งของที่ทำจากเครื่องเงินเครื่องทองอยู่ไม้น้อย เช่น ผอบทอง ขันทอง ขันเงิน สร้อยคอ กระดิ่ง หวี  ซึ่งส่วนใหญ่จะพบสิ่งของเหล่านี้ในกรุพระเจดีย์   นอกจากนี้ยังพบรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อทราย เต่า ผีเสื้อ หงส์ และของประดับมีค่าเช่น กำไลประดับเพชรพลอย และลูกประคำ เป็นต้น
นับแต่อดีตมางานช่างทองของพม่าเจริญมาโดยลำดับ และเจริญสูงสุดในสมัยอังวะ ซึ่งในสมัยนี้ได้เกิดการทำลวดลายใหม่ๆขึ้น พร้อมกับยังคงลวดลายดั้งเดิมไว้ ลวดลายดังกล่าวนี้เรียกว่า โจแซมะโย  (!dbtCpN,y7bt) ต่อมาในสมัยรัตนบุระอังวะ ซึ่งเป็นตอนปลายของยุคราชวงศ์พม่า งานช่างด้านนี้ก็ยังคงรุ่งเรืองสืบมา มีการแต่งตั้งช่างเงินช่างทองไว้ประจำราชสำนักมากขึ้น
ในยุคราชวงศ์นั้นใช้เครื่องเงินเครื่องทองในวาระต่างๆกัน ได้แก่ เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เครื่องประดับประจำราชวงศ์ เครื่องบรรณาการ และ เครื่องประกอบในราชพิธี เช่น งานผูกข้อมือ  และงานพิธีเจาะพระกรรณ เป็นต้น
ในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณาคมของอังกฤษ ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทองคำเทียม เงินเทียม พลอยเทียมมาขายในราคาถูก ความนิยมใช้ของแท้ก็ลดน้อยลง และส่งผลให้งานช่างฝีมือโบราณแทบจะสูญไปด้วย อย่างไรก็ตามงานช่างทองและเงินที่พัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆยังคงเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน 
๙. งานกลึงไม้
พม่าเรียกงานนี้ว่า  ปางปุ๊ต (xoNtx:9N) งานช่างสาขานี้เริ่มพบในสมัยพุกาม พอในสมัยอังวะตอนต้นได้พบงานกลึงไม้ฝีมือดีเป็นจำนวนมาก ในอดีตนั้นงานช่างกลึงไม้เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งในและนอกราชสำนัก เช่น การทำผอบหมาก พานดอกไม้ และตลับเมี่ยง ซึ่งนิยมมาจนถึงสมัยอังวะตอนปลาย และยังคงพบงานกลึงเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนะบุระอังวะอีกด้วย ดังเช่น หม้อน้ำตาล หม้อเนย และตลับเมี่ยง   นอกจากนี้ยังมีงานที่เกี่ยวกับการสร้างอาคารในวัดและวัง เช่น  เสา คันฉัตร คานวอ ส่วนเครื่องครัว เช่น หม้อใส่สิ่งของ  ในปัจจุบันงานกลึงไม้ลดความนิยมลง แต่ยังคงมีหลงเหลืออยู่ ในงานประเภทของที่ระลึก ซึ่งทำคู่กับเครื่องเขิน
๑๐. งานลงรัก
พม่าเรียกงานนี้ว่า  ปางยูน (xoNtp:oNt) ในสมัยก่อนงานลงรักใช้กับการผลิตของใช้ในบ้าน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความนิยมลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุให้มีผู้ยึดอาชีพลงรักน้อยลงไปด้วย ไม่พบหลักฐานงานช่างสาขานี้ในสมัยพุกาม อีกทั้งไม่พบหลักฐานที่อ้างว่าพระเจ้าหงสาวดีช้างเผือกได้นำเอาวิชาช่างประเภทนี้มาจากอยุธยา อย่างไรก็ตามนักปราชญ์พม่ากล่าวว่า แม้จะไม่มีหลักฐานการกล่าวถึงเครื่องใช้ชนิดนี้ไว้เป็นถ้อยคำที่ชัดเจน แต่เป็นที่เชื่อกันว่าในสมัยนั้นได้มีการใช้เครื่องไม้ที่ลงสียางไม้ เช่น หีบ แก้ว ถ้วย ชาม และผอบต่างๆ และสิ่งของเหล่านี้ก็คงไม่หลงเหลือให้เห็น หรืออาจจะกล่าวได้ว่าในสมัยพุกามนั้นมีความนิยมเครื่องใช้ที่ทำจากเครื่องทองเครื่องเงินและเครื่องเคลือบมากกว่า จึงไม่ได้มีการกล่าวถึงเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ก็อาจเป็นได้   แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าในสมัยปีงยะ สมัยพระเจ้าตะซีฉีงสีหตู่ ซึ่งมีการสร้างพระเจดีย์ชเวสี่โข่งนั้น ได้รับเครื่องบรรณาการจากมิตรประเทศ อาทิ เชียงใหม่ อยุธยา ยะไข่ และล้านช้าง หนึ่งในบรรดาเครื่องบรรณาการนั้นเป็นเครื่องไม้ลงรัก(เครื่องเขิน) และพบในบันทึกราชวังสะชาลินีจางว่าชาวพม่าสมัยปีงยะและอังวะเรียกคนไทยที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนว่า ยูน ชนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่ใช้เครื่องใช้ที่ลงยางไม้ และภายหลังความรู้นี้ได้สืบผ่านมายังพม่า และรุ่งเรืองมากในสมัยคอนบอง จนได้กลายมาเป็นเครื่องใช้ในราชสำนักและเป็นเครื่องบรรณาการ  เครื่องใช้ลงรักสมัยนั้นมีอาทิ ตลับเมี่ยง พานหมาก พานดอกไม้ และโตกภัตตาหาร เป็นต้น
ปัจจุบัน แหล่งผลิตเครื่องเขินที่สำคัญของพม่า คือ เมืองพุกาม-ญองอู  อังวะ  โหม่งยะหว่า  และมองถ่อง ด้วยเป็นพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตยางไม้ ยางไม้ที่นำมาใช้ในการทำเครื่องไม้ลงรักหรือเครื่องเขินนี้อยู่บริเวณรัฐฉานและแถบพม่าตอนกลาง ในการทำเครื่องเขินของพม่านั้นจะทำเป็นอาชีพในครัวเรือน โดยทำเป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในแต่ละท้องถิ่นที่ผลิตเครื่องเขินนั้น จะมีการพัฒนาความชำนาญที่แตกต่างกันไป เช่น โหม่งยะหว่าและมองถ่องนิยมทำแก้ว ถ้วย โตก และ ถ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15565เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำยัง
รักพีร์
ดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำยัง

รักพีร์

         จาก..ปุ้ย..สุด love

ที่เข้ามาเพราะอ.สั่งทำงานอ่าคะ   หนูว่าลายไทยทำอยากอ่าคะแต่ถ้าทำได้เก่งน่าดูเลย  หนูจะพยายาม

 

อยากได้รูปลายนารีค่ะ

ดีค่ะ แต่ถ้ามีรูปให้ดูด้วยก็จะยิ่งดีกว่านี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท