กิ่งหว้า : สัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความสำเร็จของชาวพม่า


ทั้งไทยและพม่าต่างก็มีลักษณะร่วมกันในทางวัฒนธรรมอยู่หลายๆอย่าง และหนึ่งในวัฒนธรรมนั้นก็คือความเชื่อถือในเรื่องความเป็นมงคลของพืชและพันธุ์ไม้บางชนิด
กิ่งหว้า : สัญลักษณ์แห่งชัยชนะและความสำเร็จของชาวพม่า
ทั้งไทยและพม่าต่างก็มีลักษณะร่วมกันในทางวัฒนธรรมอยู่หลายๆอย่าง และหนึ่งในวัฒนธรรมนั้นก็คือความเชื่อถือในเรื่องความเป็นมงคลของพืชและพันธุ์ไม้บางชนิด ทั้งที่เชื่อในฐานะของพืชซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ดลบันดาลให้ได้รับความสุขสมหวังทั้งในทางเมตตามหานิยม ลาภ ยศ และทรัพย์ หากได้รับการดูและบูชาอย่างถูกต้อง  และการเชื่อถือในฐานะของพืชมงคลอันเป็นสัญลักษณ์ของความพูนสุข รุ่งเรืองและบริบูรณ์
ในสังคมพม่าไม้หว้าได้ถูกกำหนดให้เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคมชาวพุทธแบบพม่าเสมอมา หว้า จัดเป็นไม้วงศ์เดียวกันกับชมพู่ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Eugenia Tree” ตะบเยบิ่ง(lgexx'N) คือต้นหว้าที่ชาวพม่าต่างก็รู้จักกันดีในฐานะของ เซ้วา(gCt;jt)หรือพืชสมุนไพรที่น้ำสะกัดจากผลสุกสีม่วงคล้ำ มีรสหวานปนฝาด มีสรรพคุณในการแก้อาการท้องเสีย น้ำจากใบสดมีสรรพคุณในรักษาบาดแผลจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนน้ำจากใบอ่อนใช้อมรักษาตุ่มแผลพุพองในปากซึ่งเกิดจากอาการร้อนใน
ในประเทศพม่าแบ่งชนิดของหว้าออกเป็น๔ชนิดได้แก่๑.หว้ากษัตริย์(ตะบเยมิง lgex,'Nt)หรือ ยาซะซะบู ik==,¾&)ในภาษาบาลี หว้าชนิดนี้มีผลใหญ่ที่สุดในบรรดาหว้าทั้งสี่ชนิดของพม่า ๒.หว้ากา (จีตะบเย dyutlgex)หรือ ซะบู =,¾&) ในภาษาบาลี หว้าชนิดนี้มีผลและใบขนาดกลาง ๓.หว้าป่า (ตอตะบเย g9klgex)หรือ วนะซะบู (;o=,¾&) ในภาษาบาลีหว้าชนิดนี้ให้ผลขนาดเล็กและ ๔.หว้าดิน (มเยตะบเย ge,lgex) หรือภูมิซะบู(4^,b=,¾&) ในภาษาบาลี หว้าชนิดนี้มีผลขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหว้าทั้งสี่ชนิดของพม่า
ในฐานะของพืชมงคล ชาวพม่าถือว่าใบอ่อนของต้นหว้าซึ่งมีสีออกแดงเรื่อๆนี่แหละที่เป็นส่วนของดอกหว้า ที่ชาวพม่าเรียกกันว่า ตะบเยปั๊น(lgexxoNt) ตะบเยปั๊นจัดเป็นดอกไม้มงคล หรือ มิงกลาปั๊น(,8§]kxoNt)ชนิดหนึ่งของชาวพม่าที่มักจะถูกนำมาใช้เป็น ดอกไม้บูชาพระ หรือ พยาปั๊น(46iktxoNt) ซึ่งปักบูชาอยู่ในแจกันบนหิ้งพระหิ้งผีหรือศาสนสถานที่เนื่องด้วยพุทธศาสนาอยู่เสมอ
สังเกตง่ายๆถ้าใครเคยไปเที่ยวพม่าก็จะได้พบเห็นว่า ตามศาสนสถานหรือปูชนียสถานต่างๆไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร ลานเจดีย์ ไปจนกระทั่ง ศาลผีนัตประจำวัด ประจำหมูบ้าน เรื่อยลงไปจนถึงหิ้งพระหรือหิ้งผีที่ประดิษฐานอยู่ภายในตัวอาคารบ้านเรือนตลอดจนที่พักอาศัย ก็มักจะพบกับช่อดอกหว้าสีแดงเรื่อๆอมชมพูแซมเขียวประดับเด่นอยู่ร่วมกับบรรดาดอกไม้ใบไม้หลากสีต่างพรรณ หรือไม่ก็ปักร่วมอยู่กับพวกช่อที่ประดิษฐ์ขึ้นจากกระดาษหลากสี เช่น ร่มเงินร่มทอง (งเวที g':5ut ชเวที gU­5ut) ตุงไส้หมู (กุกก่า d6d¡kt) ธงสามเหลี่ยม (แจ๊ะก์ชยา EddN]Yk) และพัด (ยต่อง pxNg9k'N) เป็นต้น กิ่งหว้ากับพืชพรรณไม้และสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้จัดเป็นเครื่องมงคลบูชาที่เราจะพบเห็นกันได้ในสังคมพม่าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ในงานเฉลิมฉลองต่างๆที่เป็นมงคล อย่างที่เรียกกันว่า มิงกลาบแว(,8§]kx:c) ช่อดอกหว้าจะต้องถูกดึงให้เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในความเป็นมงคลของงานเหล่านั้นอยู่เสมอ ตั้งแต่งานปีใหม่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานเปิดการประชุม งานวางศิลาฤกษ์  งานฉลองรถใหม่ หรือแม้แต่งานออกศึกออกสงคราม  งานเดินพลสวนสนาม งานฉลองชัยชนะและความสำเร็จ ช่อดอกหว้าอ่อนจะต้องถูกนำมาประดับประดาในบริเวณงานด้วยรูปแบบที่หลากหลายตั้งแต่ ปักไว้ในแจกัน ผูกมัดติดไว้กับเสาประตูบ้าน ประตูหน้าบ้าน หรือเสาปะรำพิธี จนกระทั่งถือเข้าไปร่วมในขบวนแห่ หรือผูกไว้ที่หน้ารถขบวน เป็นต้น
ด้วยบทบาทของดอกหว้าที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมต่อการเฉลิมฉลองและงานรื่นเริงอันเป็นมงคลของชาวพม่าอยู่ทุกๆงานเช่นนี้เอง สมญานาม “อ่องตะบเยปั๊น” (gvk'NlgexxoNt) หรือ “ดอกหว้าแห่งความสำเร็จและชัยชนะ” จึงได้กลายมาเป็นมงคลนามของต้นหว้าและดอกหว้าไปโดยปริยายจากบริบทในทางวัฒนธรรม

ทำไมต้นหว้าจึงได้ถูกกำหนดให้กลายมาเป็นไม้มงคลในวัฒนธรรมพม่า? ความเป็นมงคลของต้นหว้าน่าจะสืบเนื่องมาจากการเป็นพรรณไม้ที่ได้มีการกล่าวไว้ในตำนานทางพระพุทธศาสนาอยู่หลายแห่ง  นับตั้งแต่ดินแดนชมพูทวีปซึ่งเป็นแดนเกิดแห่งพระพุทธศาสนา ชมพูทวีป ในภาษาไทย หรือ ซะบูดีบา(=,¾&muxj) ซะบูดีบาในภาษาพม่านั้นมาจากภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า “ดินแดนแห่งต้นหว้า” ก็แผ่นดินแห่งต้นชมพูหรือต้นหว้านี้เองที่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหลายๆเล่มล้วนกล่าวไว้ตรงกันว่าเป็นแดนเกิดของเหล่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะได้ทรงใช้เป็นที่อุบัติขึ้นเพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์
ในพุทธประวัติตอนหนึ่งได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างต้นหว้ากับเจ้าชายสิทธัตถะไว้ว่า ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงเป็นพระราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงร่วมเสด็จไปในงานแรกนาขวัญกับพระราชบิดา ขณะที่พระราชบิดาได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินลงไปในท้องนาหลวงเพื่อประกอบพีธีไถนั้น พระราชกุมารกลับทรงปลีกพระองค์เองออกไปนั่งสมาธิอยู่ภายใต้ร่มไม้หว้าเพียงพระองค์เดียว ในขณะนั้นร่มเงาแห่งไม้หว้าก็ได้ค่อยๆคล้อยลงมาปกป้องพระวรกายของพระกุมารไว้มิให้ต้องกับแสงพระอาทิตย์เป็นอัศจรรย์ การเข้าไปนั่งใต้ร่มไม้หว้าในครั้งนั้นของพระราชกุมารได้กลายเป็นจุดกำเนิดเล็กๆที่มีความสำคัญอย่างยิ่งใหญ่ต่อการถือกำเนิดขึ้นของพระพุทธศาสนาในกาลต่อมา เพราะนั่นเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของเจ้าชายสิทธัตถะที่ได้ทรงสัมผัสกับความสงบทางจิตจากการเจริญสมาธิในแบบอานาปานสติก่อนที่จะได้ทรงบรรลุความเป็นพุทธะในอีกกว่า ๓๐ ปีต่อมา
ดังนั้นดินแดนแห่งต้นหว้าในชมพูทวีปจึงนับเป็นแดนแห่งมงคลอันประเสริฐของเหล่าพุทธศาสนิกชน และต้นหว้าในทรรศนะของพุทธศาสนิกชนชาวพม่าจึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของความเป็นมงคลอันเนื่องด้วยแผ่นดินอันเป็นแดนกำเนิดของพระพุทธศาสนาและพระบรมศาสดา
ต้นหว้าในวัฒนธรรมของชาวพม่าจึงได้ถูกกำหนดให้เป็นไม้มงคลในเรื่องความสำเร็จและชัยชนะ“ต้นหว้าแห่งความสำเร็จหรือชัยชนะ” หรือ อ่องตะบเยบิ่ง(gvk'Nlgexx'N) จึงเป็นนามมงคลอีกหนึ่งที่ชาวพม่ามีให้แก่ต้นหว้า
ในตำนานประวัติศาสตร์การดนตรีของพม่าได้กล่าวถึงต้นหว้าในฐานะของไม้ผลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของเสียงกลองชนิดหนึ่งในวงปี่พาทย์ของพม่า ในตำนานได้กล่าวถึงกษัตริย์ในสมัยอาณาจักรพุกามนามว่า พระเจ้าอลองสีตู(vg]k'Nt0PNl^) ที่ได้เคยเสด็จท่องเที่ยวไปยังเกาะทิศใต้แห่งชมพูทวีปจนถึงชายขอบทางตอนเหนือโดยทางเรือ ในเวลานั้นลูกหว้าสุกจากต้นได้ร่วงหล่นลงสู่ท้องน้ำในมหาสมุทร ส่งเสียงดัง ตุ๊บตั๊บ ๆๆ อยู่ทั่วไป ด้วยเสียงตกแห่งลูกหว้ากระทบยังพื้นน้ำนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่วงทำนองแห่งเสียงกลอง บยอ(gerk) ด้วยพระปัญญาญาณและพระอุตสาหะแห่งพระองค์ จนได้กลายมาเป็นแบบแผนสำหรับการบรรเลงกลอง บยอ ของพม่าสืบต่อกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้
สิ่นเบดา(0boNgrmj) ผู้ได้รับพระราชทานส่วยบ้าน ในบรรดาศักดิ์ที่ เนมโยบะละจ่อตู(go,y7btr]gdykNl^)เจ้าพนักงานชาวดนตรีชื่อก้องแห่งราชสำนักพม่าในสมัยปลายราชวงศ์คองบอง(ยะตะนาโบง) ได้ร้อยเรียงบทกลอนแห่งต้นหว้าขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่มาแห่งการบรรเลงกลอง บยอไว้ว่า “เกาะชมพูทีป,จากขอบทิศเหนือ,รอบต้นสูงลิ่ว,ซึ่งหว้าสูง,ฤดูลมไหวสะบัด,ลูกร่วงหล่น,จมสู่สมุทร,เป็นเทพดนตรี,ยังลูกกลอง,สมมุติดั่ง,ทองเก่าอร่ามเหลือง,ซึ่งเสียงขั้วอันอ่อนช้อย,มังกรร่ายรำตาม,รับประโยชน์ใช้”
จวบจนช่วงสมัยปลายอาณานิคม วรรณกรรมต่างๆได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปลุกเร้ากระแสชาตินิยมให้เกิดขึ้นในพม่า ดอกหว้าก็ยังได้ถูกตีความและให้ความหมายโดยพวกปัญญาชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการต่อสู้ทางเชื้อชาติระหว่างชาวพม่ากับจักรวรรดินิยมอังกฤษ บทเพลงชื่ออ่องตะบเย (gvk'Nlgex) หรือเพลง ต้นหว้าแห่งความสำเร็จ ที่ร้อยเรียงขึ้นโดย อาจารย์ ชเวไตง์โญ่น(gU­96b'NP:oNh) ได้กล่าวถึงคำอธิษฐานหรือคำอวยพรเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จของชาติต่อเอกราช และความเชื่อมั่นในมงคลของดอกหว้าในฐานะต้นไม้แห่งความสำเร็จและชัยชนะของชาติ ดังข้อความที่ว่า “ขอให้สำเร็จเถิด ด้วยดอกหว้าซึ่งราดรดด้วยน้ำอันฉ่ำเย็น” นี่คือนัยยะแห่งความผูกพันระหว่างชาวพม่าและไม้หว้าไม้สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ชัยชนะและความเป็นมงคลของชาติและของวัฒนธรรมพม่า ที่ได้ถูกบันทึกและระลึกถึงอยู่เสมอในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่ออิสรภาพและจิตวิญญาณชาตินิยมของชาวพม่าเสมอมา
สิทธิพร เนตรนิยม
เก็บความและเรียบเรียงจาก
e,9NO6bt0ik 96bh96b'Nti'Ntlkt v,a9Nlgd§9,ykt
เขียนโดย lboNtsoN
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15566เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท