ซายวาย : วงปี่พาทย์พม่า


นัยหนึ่งหมายถึง เปิงมางคอก และอีกนัยหนึ่งหมายถึง วงปี่พาทย์ที่มีเปิงมางคอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอก
ซายวาย : วงปี่พาทย์พม่า
ซายวาย (C6b'Nt;6b'Nt) มีความหมายได้สองนัย นัยหนึ่งหมายถึง เปิงมางคอก และอีกนัยหนึ่งหมายถึง วงปี่พาทย์ที่มีเปิงมางคอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอก และอาจเรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า ปัตซาย (x9NC6b'Nt) ส่วนตัวเปิงมางคอกนั้น จะเรียกว่า ปัตวาย (x9N;6b'Nt)
ซายวายเป็นวงดนตรีประจำชาติของพม่า ที่ใช้ในงานพิธีและงานบันเทิง มีเล่นทั้งในงานหลวง งานวัด และงานราษฎร์ ปัจจุบันพม่ายังคงมีความนิยมนำวงซายวายมาเล่นในงานพิธีต่างๆ เช่น งานบวช งานเจาะหู งานทรงเจ้า งานรับปริญญา และงานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เสียงดนตรีที่บรรเลงจากวงซายวายนั้นมีลีลาเคร่งขรึม แต่นุ่มนวล ให้ทั้งอารมณ์สนุกสนาน เร้าใจ และโศกสลด ซายวายจึงนับเป็นวงดนตรีที่เล่นได้หลายรสและถือเป็นเอกลักษณ์ทางคีตศิลป์อย่างหนึ่งของพม่า
จากบันทึกการส่งคณะนักดนตรีชาวพยูไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในปี ค.ศ.๘๐๒ ไม่มีการกล่าวถึงซายวาย อีกทั้งภาพฝาผนังในพระเจดีย์อนันดาที่พุกามในราว ค.ศ.๑๐๘๔ ก็ไม่พบภาพของซายวาย ซายวายเพิ่งมีกล่าวในพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว หรือ มังนันยาซะวีง (,aoNooNtik=;'N)ว่า ในเมียนมาศักราช ๙๐๖ ซึ่งตรงกับปี ค.ศ. ๑๕๔๔ นั้น พระเจ้าธรรมราชาชเวที หรือ พระเจ้าตะเบงชเวตี้แห่งตองอูได้ยกทัพไปยังเขตฉาน เมื่อถึงเมืองสะหลิ่น(0]'Nt1,bh) พระองค์ได้ตั้งทัพ ณ ท่าน้ำเมืองนั้น ซึ่งกำลังมีงานฉลองพระเจดีย์ เมื่อพระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ทรงสดับเสียงดนตรีจากงานฉลองนั้น จึงทรงไต่ถามข้าราชบริพาร และทรงทราบว่าเป็นเสียงของปัตซายหรือวงพาทย์ พระองค์จึงมีรับสั่งให้นำคณะดนตรีนั้นกลับตองอู หลังจากมีชัยชนะต่อเมืองสะหลิ่น จากหลักฐานที่กล่าวนี้ จึงพออนุมานได้ว่าวงซายวายน่าจะเข้าสู่ราชสำนักพม่ามานับแต่นั้น
ในสมัยอังวะ ซายวายยังเป็นเพียงวงดนตรีธรรมดา ที่ไม่มีความอลังการเช่นปัจจุบัน ในหนังสือเกี่ยวกับดนตรีเครื่องหนัง ชื่อ เมียนมะตะเยดูริยา (e,oN,kHlktgi9^ibpk) กล่าวว่าปัตวายเป็นกลองชุดวางเรียงเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีกอย่างเปิงมางของมอญ และเรียกว่า ละชางซาย (]e-,NtC6b'Nt) พอถึงสมัยคอนบอง(d6oNtg4k'N) รูปทรงปัตวายได้เปลี่ยนมาเป็นรูปวงกลม และมีการตกแต่งเครื่องดนตรีให้ดูงดงาม อาทิ สลักคอกเปิงมางเป็นรูปนกยูงหรือรูปกินนร เป็นต้น ซึ่งเข้าใจว่าเริ่มในสมัยของพระเจ้าตายาวะดี(lkpk;9u,'Nt) หรือ ชเวโบมีง(gU­46b,'Nt) (ค.ศ.๑๘๓๗-๑๘๔๖) จนต่อมาในสมัยรัตนบุระอังวะจึงมีการลงทองติดกระจกที่ตัวปัตวายให้ดูวิจิตรยิ่งขึ้น
ในสมัยราชวงศ์นั้น กล่าวว่ามีการตกแต่งรูปลักษณ์ของซายวายให้งดงามสมตามศักดิ์ฐานะอีกด้วย อาทิ เส่งซายด่อ(0boNC6b'Ntg9kN) เป็นซายวายเพชรสำหรับกษัตริย์ จะปิดทองลงกระจกสีขาว    มยะซายด่อ (e,C6b'Ntg9kN) เป็นซายวายมรกตสำหรับอุปราช จะตกแต่งด้วยกระจกสีเขียว     ปัตตะมยาซายด่อ(x9µe,ktC6b'Ntg9kN) เป็นซายวายทับทิมสำหรับอำมาตย์ จะประดับด้วยกระจกสีแดง นวรัตซายด่อ (o;i9NC6b'Ntg9kN) เป็นซายวายนพรัตน์สำหรับอำมาตย์ชั้นรองลงมา จะประดับด้วยกระจกหลากสี และชเวซายด่อ (gU­C6b'Ntg9kN) เป็นซายวายประดับสีทอง และหง่วยซายด่อ (g':C6b'Ntg9kN) เป็นซายวายประดับสีเงิน ใช้บรรเลงกับการแสดงละครในราชสำนัก
ในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีการปิดทองทั้งคอกปัตวายและคอกฆ้องวง พร้อมทั้งมีการสลักคานแขวนกลองใหญ่หรือปัตมะจี(x9N,Edut) เป็นรูปนาค วงซายวายทั้งวงจึงดูตระการตา พอหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ นิยมทำคานแขวนกลองใหญ่เป็นตัวเบญจรูป หรือ ปิงซะรูปะ(xf¨U^x)ตัวเบญจรูปนั้น เป็นสัตว์ในจินตนาการ มีรูปผสมของสัตว์ ๕  ชนิด คือ ส่วนหัวมีงวง(C'NOakg,k'Nt)และงา(C'N0:pN)อย่างช้าง มีเขาอย่างตัวโต (96bt-yb7) มีขาอย่างม้า (e,'Nt]dNe,'Ntge-) มีปีกอย่างนก ('adNvg9k'N) และมีหางอย่างปลา('jtEd'Ntve,ut) ตัวเบญจรูปเป็นทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก  สามารถอยู่ได้ทั้งบนบก ในน้ำ และกลางเวหา ตามคติของชาวพม่าเชื่อว่า ตัวเบญจรูปเป็นสัตว์ที่ให้คุณ ปกป้องสิ่งร้าย และเป็นเครื่องหมายแห่งพละกำลังและความปราดเปรียว
วงซายวายเป็นวงดนตรีพื้นเมืองวงใหญ่สุดของพม่า เครื่องดนตรีสำหรับวงซายวาย มี ๑๒ ชิ้นเป็นอย่างน้อย มีทั้งเครื่องหนัง เครื่องโลหะ และเครื่องไม้ เป็นวงดนตรีที่มีเฉพาะเครื่องตีและเครื่องเป่า ไม่มีเครื่องสี เครื่องดนตรีทั้ง ๑๒ ชิ้นในวงซายวาย ได้แก่ เปิงมางคอก กลองใหญ่ กลองสั้น ตะโพน กลองชุดหกใบ ฆ้องวง ฆ้องแผง ฉิ่ง ฉาบ เกราะ กรับไม้ไผ่ และปี่แน
ปัตวายหรือเปิงมางคอกประกอบด้วยกลองย่อย ๒๑ ลูกที่เรียกว่า ปัตโลง(x9N]6"t) แขวนเรียงในคอก แต่ละลูกมีขนาดและระดับเสียงต่างกัน ก่อนเล่นต้องปรับเสียงด้วยจ่ากลอง ที่เรียกว่า ปัตส่า(x9N0k) ซึ่งทำจากข้าวสุกผสมขี้เถ้า โดยนำมาแปะติดที่หน้ากลอง ขี้เถ้าที่ใช้ทำจ่ากลองได้จากเนื้อไม้มะขาม ซึ่งมีความเค็มน้อย ไม่ทำให้เป็นเหงื่อที่หน้ากลอง ในหนังสือ The New Grove Dictionary of Music and Musicians ของ Stanley Sadie (๑๙๘๐) กล่าวว่า ปัตวายพม่ามีรูปลักษณ์และใช้เทคนิคการถ่วงเสียงคล้ายกับเครื่องดนตรีที่พบในอินเดียโบราณ ปัตวายจึงน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
ในบรรดาเครื่องดนตรีที่เล่นในวงซายวายนั้น ปัตวายเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากที่สุด ผู้เล่นจะต้องรู้จักการปรับเสียงกลองทั้ง ๒๑ ลูกจนชำนาญ ในขณะเล่นจะต้องบรรเลงให้สอดคล้องกับเสียงระนาด เสียงฆ้อง เสียงปี่ และต้องตีให้เข้าจังหวะฉาบและกรับไม้ไผ่ นักตีปัตวายที่เก่งจะต้องแม่นยำในจังหวะ จึงจะทำให้การบรรเลงวงซายวายน่าฟังและมีรสชาติ ในวงซายวายนี้ผู้เล่นปัตวาย จะได้รับการยกย่องเป็นครูซายวาย(C6b'Nt;6b'NtCik) และมักจะเป็น
หัวหน้าวงด้วย นอกเหนือจากปัตวายซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเด่นของวงซายวายแล้ว ยังมีเครื่องดนตรีชิ้นอื่นร่วมบรรเลงอยู่ด้วยดังนี้
กลองใหญ่ หรือ ปัตมะจี (x9N,Edut) นำเข้ามาเล่นร่วมวงซายวายตั้งแต่สมัยพระเจ้ามินดง เป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยเพิ่มเสียงให้ดังกระหึ่ม เสียงทุ้มของปัตมะจีจะขับเคี่ยวกับเสียงแหลมของฉาบ
กลองสั้น หรือ สี่โด่ (0PN96b)  นำเข้ามาผสมในวงซายวายราวปลายสมัยของพระเจ้าธีบอ  ตัวกลองมักทำจากไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้ที่ตีให้เสียงสดใส ส่วนหนังที่นำมาขึงหน้ากลองนั้นทำจากหนังวัว
ตะโพน หรือ ซะคุ่น (0-:oNh) กล่าวกันว่าพม่ารับมาจากไทยในสมัยของพระเจ้ามินดง ชื่อของซะคุ่นยังปรากฏเค้าของคำเดิม ตัวกลองทำด้วยไม้ประดู่และขึงหน้ากลองด้วยหนังวัวเช่นกัน
กลองชุดหกใบ หรือ เช่าก์โลงปัต (ge-kdN]6"tx9N) มีลักษณะคล้ายกลองปัตวาย แต่ไม่แขวนเป็นคอก กลองชนิดนี้เป็นกลองชุด ๖ ใบ วางเรียงไล่ขนาดจากใหญ่ไปเล็ก เช่าก์โลงปัตจะให้เสียง ๖ ระดับ   ใช้บรรเลงควบไปกับปัตวายและฆ้องวง
ฆ้องวง หรือ เจวาย (gEdt;6b'Nt) ประกอบด้วยลูกฆ้อง ๑๙ ลูก วางบนคอกทรงโค้งที่วางราบกับพื้น พม่าเรียกลูกฆ้องว่าเจหน่อง (gEdtgok'N) ฆ้องวงถือเป็นเครื่องดนตรีสำคัญรองจากปัตวาย ผู้ตีเจวายมักมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าวงซายวาย เรียกว่าเจหน่องตี (gEdtgok'N9ut) หากพัฒนาฝีมือได้ดี ก็อาจไต่ลำดับเป็นผู้เล่นปัตวายได้ เจวายจะตีไล่เสียงปี่แนและตีนำในการบรรเลงโหมโรง
ฆ้องแผง หรือ มองซาย (g,k'NtC6b'Nt) เป็นฆ้องชุดที่ขึงเป็นแผง มี ๑๘ ลูก เริ่มนำมาเล่นในวงซายวายเมื่อราว ค.ศ. ๑๙๔๐
ฉาบ หรือ ละกวีง (]'Ntd:'Nt)  เป็นเครื่องดนตรีที่ให้เสียงแหลม ใช้ตีเพิ่มเสียงให้กับวง
ฉิ่ง หรือ ซี (0PNt) เป็นเครื่องดนตรีกำกับจังหวะ ฉิ่งพม่ามีขนาดเล็ก ดูคล้ายฉิ่งจีนมากกว่าฉิ่งไทย
เกราะ หรือ วา (;jt)  เป็นเครื่องประกอบจังหวะคู่กับฉิ่ง ฉิ่งและเกราะ ซึ่งมักเรียกพร้อมกันว่า ซีวา (0PNt;jt) เป็นตัวเล่นคุมจังหวะในวงซายวาย และในวงดนตรีพื้นเมืองประเภทอื่นของพม่า พม่ามีสำนวน “ไม่เข้าจังหวะจะโคน” โดยฟังจากการเข้าจังหวะของเกราะกับฉิ่ง ว่า ซีล็วดวาล็วด (0PNt]:9N;jt]:9N) หรือ ซีมะไก้วามะไก้ (0PNt,d6bdN;jt,d6bdN) นักดนตรีจะต้องให้ความสำคัญต่อฉิ่งและเกราะ และห้ามก้าวข้ามฉิ่งและเกราะเป็นอันขาด
กรับไม้ไผ่ หรือ วาและโค๊ะ (;j]dN-6xN) ทำด้วยลำไม้ไผ่ผ่าซีก  ใช้ตีประกบกำกับจังหวะ
ปี่แน หรือ แน (Oac)  มีสองขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่า แนจี (OacEdut) และขนาดเล็ก เรียกว่า แนเล (Oacg]t) ใช้เป่าไล่ตามเสียงปัตวาย บางครั้งใช้เป่าเลียนเสียงคนหรือเสียงดนตรีชิ้นอื่น
หากเปรียบวงซายวาย กับวงปี่พาทย์มอญในไทย และของล้านนาแล้ว นับว่ามีความแตกต่างในส่วนของดนตรีประกอบวงอยู่บ้าง ในหนังสือ "ดนตรีไทย โครงสร้าง อภิธานศัพท์และสารสังเขป" เรียบเรียงโดย ทรงวิทย์ แก้วศรี กล่าวถึงวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ในไทยว่า ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ๑๔ ชิ้น คือ ปี่มอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก โหม่ง(ฆ้องราว) สำหรับวงซายวายของพม่านั้น ถือเอาปัตวายหรือเปิงมางคอกเป็นตัวชูโรง มีเสียงปี่แนเป็นตัวเสริม และวงปี่พาทย์พม่าไม่มีระนาดร่วมเล่นอย่างวงปี่พาทย์ไทย ที่จริงพม่าก็มีระนาด แต่จัดเป็นเครื่องดนตรีมอญ พม่านิยมเล่นระนาดในการแสดงที่เรียกว่า อะเญ่ง (ve'b,NH) ซึ่งมีจังหวะนุ่มนวล และไม่ดังอึกทึกอย่างวงซายวาย อะเญ่งจัดเป็นการแสดงแบบแชมเบอร์มิวสิค ในขณะที่ซายวายเป็นวงดนตรีแบบออเครสต้า ทั้งอะเญ่งและซายวายต่างเป็นการแสดงในราชสำนัก และจากการที่ซายวายเป็นวงดนตรีที่มีเสียงดังกระหึ่ม จึงเหมาะที่จะแสดงกลางแจ้งหรือในห้องโถง
วงซายวายจะมีผู้เล่นราว ๗ คน จนถึง ๑๐ กว่าคน ผู้เล่นสำคัญ ได้แก่ ซายสะยา (C6b'NtCik)หมายถึงครูปัตวาย เจสะยา (gEdtCik) หมายถึงครูฆ้องวง ปัตมะตี (x9N,9ut) เป็นคนตีกลองใหญ่ แนสะยา(OacCik)หมายถึงครูปี่ และเท่าก์ปัตมะตี (g5kdNx9N,9ut)เป็นผู้ช่วยกลองใหญ่ สี่ตี(0PN9ut)เป็นคนตีฉิ่ง และวาตี(;jt9ut)เป็นคนตีกรับ นอกจากนี้อาจจะมีมองตี(g,k'Nt9ut)หรือคนตีฆ้อง คนตีฉาบใหญ่ ฉาบกลาง ฉาบเล็ก ช่างปี่ใหญ่ ปี่เล็ก ทั้งนี้ตามแต่ขนาดของวง
การจัดวางเครื่องดนตรีซายวายในเวลาบรรเลงนั้น ปัตวาย ซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญ จะต้องวางอยู่ส่วนหน้าของวง ขนาบด้วยปัตมะจีทางด้านซ้าย กับเจวายทางด้านขวา เครื่องดนตรีทั้งสามชิ้นนี้จัดเป็นเครื่องดนตรีแถวหน้า เรียกว่า เชะตาน (giah9oNt) ส่วนเครื่องดนตรีที่เหลือจะจัดว่าเป็นกลุ่มแถวหลัง เรียกว่า เน่าก์ตาน (gokdN9oNt) และเรียกผู้บรรเลงดนตรีแถวหลังนี้ว่า เน่าก์ไถ่ (gokdN56b'N) แปลว่า "นั่งหลัง" นอกจากนักดนตรีแล้ว ในวงซายวายอาจมีนักร้องและตัวตลกประจำวง คอยเล่นประกอบอยู่ส่วนหลังของวง จึงเรียกว่า เน่าก์ทะ(gokdN5) แปลว่า "ลุกจากด้านหลัง"
พม่าจัดแบ่งซายวายไว้ ๔ ประเภท คือ บะลาซาย(r]kC6b'Nt) เป็นการบรรเลงประโคมในงานพิธี  อาทิ งานบวช งานเจาะหู งานศพ งานฉลองพระเจดีย์; โย๊ะเตซาย (U6xNgltC6b'Nt) เป็นปี่พาทย์บรรเลงประกอบการเล่นหุ่นชัก ; ซัตซาย (=k9NC6b'Nt) เป็นปี่พาทย์ใช้เล่นประกอบละคร และนัตซาย (o9NC6b'Nt) เป็นปี่พาทย์ที่ใช้แสดงประกอบการลงทรงเทพนัตหรืองานทรงเจ้า ในการบรรเลงซายวายแต่ละประเภทนั้น จะต้องใช้เทคนิคการบรรเลงที่แตกต่างกัน แต่ผู้เล่นซายวายเก่งๆจะสามารถเล่นบรรเลงได้ทุกประเภท
นับแต่ที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้นำวงซายวายมาสู่ราชสำนัก การเล่นซายวายก็เป็นที่นิยมเรื่อยมา โดยเฉพาะสมัยอังวะและคอนบองนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองทางศิลปการดนตรีและการละครทั้งในและนอกราชสำนัก สำหรับซายวายนิยมเล่นในงานพระราชพิธี และใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครและหุ่นชัก นอกจากนี้ยังนิยมนำวงซายวายมาเล่นในงานทรงเจ้า ตามที่มีกล่าวในหนังสือ ป่างตยาคีตะลางญ่น (xoN9yk8u9],NtP:oNh) ว่า ในสมัยของพระเจ้าโพด่อ มยะวดีมีงจีอูซะได้รวบรวมเพลงนัตที่เคยมีมาแต่อดีต และมีการใช้วงซายวายเล่นประกอบเพลงมอญในการทรงเจ้า
พอในสมัยพระเจ้ามินดง พม่าเริ่มมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น จึงได้มีเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาในราชสำนัก เช่น เปียนโนที่ชาวอิตาลีนำมาถวาย แต่ซายวายนั้นก็ยังคงเป็นที่นิยมดังเดิม ในสมัยพระเจ้ามินดงจนถึงสมัยพระเจ้าธีบอ คือในช่วงปี ค.ศ.๑๘๕๒-๑๘๘๕ ราชสำนักได้ให้การอุปถัมภ์คีตศิลป์เป็นอย่างมาก ผู้ที่มีความสามารถในการดนตรีจะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ มีการพระราชทานทินนามและปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่นักดนตรีเหล่านั้น  ในหนังสือ Burmese Puppet กล่าวว่า ในปี ค.ศ.๑๘๕๗-๑๘๘๕ นักดนตรีบางคนได้รับตำแหน่งเป็นถึงเจ้าเมือง (1,bh0kt) หัวหน้าหมู่บ้าน (U:k0kt) สามารถเก็บภาษีจากชาวบ้านมาเป็นบำเหน็จเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยของพระเจ้ามินดงจึงเริ่มได้รับเงินเดือนจากราชสำนัก นอกจากนี้ยังมีการตั้งฉายาให้กับนักดนตรีฝีมือเลิศ อาทิ ซายพะยา (C6b'Nt46ikt) หรือ ซายบะยีง (C6b'Nt46i'N) แปลว่า "เจ้าแห่งซายวาย" ดังเช่น สะยาเส่งเบดา(Cik0boNgrmj) ได้รับฉายาดังกล่าวในปลายสมัยพระเจ้าธีบอ และเคยได้รับการยกย่องจากราชสำนักให้เป็น เนมะโยบะละจ่อตูบ้วยซายสะยาจี (go,yb7tr]gdykNl^4:chC6b'NtCikEdut)  กินส่วยภาษีได้ถึง ๑๐ เมือง และพม่ายังยกย่องสะยาเส่งเบดาเป็นศิลปินแห่งชาติ หรือ อนุปิญญาฉี่ง (vO6xPkia'N) ปัจจุบันมีรูปหล่อสัมฤทธิ์ของสะยาเส่งเบดา ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนศิลปะ ที่เมืองมัณฑะเล
ช่วงแรกที่พม่าทั้งประเทศตกเป็นอาณานิคม คือในช่วง ค.ศ.๑๘๘๖ จนต้นศตวรรษที่ ๑๙ วงซายวายได้เริ่มซบเซาลง นักดนตรีขาดผู้อุปถัมภ์ การแสดงในงานราชสำนักหมดไป แต่การแสดงกลางแจ้ง หรือ มเยวายซัต (ge,;6b'Nt=k9N) กลับได้รับความนิยมแทน โดยเฉพาะการแสดงละคร และการเล่นหุ่นชัก ในยุคนั้นเริ่มมีหนังเงียบเข้ามาฉาย จึงเกิดเพลงบรรเลงแนวใหม่ขึ้นมา เป็นเพลงประกอบหนัง เพลงโฆษณาสินค้าพื้นเมือง อาทิ ผ้าโสร่งเมืองยอ ร่มเมืองพะสิม และบุหรี่พม่า นอกจากนี้ยังมีการแต่งเพลงพุทธศาสนา พอในยุคที่พม่าต่อต้านเจ้าอาณานิคม จึงได้มีการเล่นซายวายเป็นเพลงเพื่อการปฏิวัติ (g9kN]aoNgitlu-y'Nt) หรือ เพลงทางการเมือง (O6b'N'"gitlu-y'Nt) ในสมัยนั้นเริ่มมีการผลิตแผ่นเสียง หรือ ดัต-ปยา (Tk9Nexkt) จึงทำให้เพลงบรรเลงซายวายกระจายไปทั่วประเทศ แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการบันทึกเสียง ซึ่งบันทึกได้เพียง ๖ นาทีต่อแผ่น เพลงบรรเลงซายวายจึงต้องสั้นลง ซายวายจึงได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเล่นกันมา
พอถึงยุคสังคมนิยม ซึ่งถือเป็นยุคเทปคลาสเซท ได้เกิดวงดนตรีสมัยใหม่ ที่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตกทั้งวง ซึ่งเรียกว่าตีวาย (9ut;6b'Nt) กีตาร์เป็นเครื่องดนตรียอดนิยม เพลงจำนวนมากจึงเป็นเพลงทำนองฝรั่ง อาทิ เพลงร็อค และเพลงดิสโก อย่างไรก็ตามยังมีการพัฒนาเพลงพื้นบ้านเป็นเพลงแนวลูกทุ่ง เครื่องดนตรีหลักที่ใช้เป็นแมนดาริน ส่วนซายวายนั้นมักนิยมบรรเลงในเพลงทางศาสนาและเพลงทรงเจ้าเป็นส่วนใหญ่  พอถึงยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นยุคสมัยของซีดีรอมนั้น ได้มีการลอกทำนองเพลงต่างประเทศกันอย่างมากมาย ขณะเดียวกันเสียงของซายวายก็แทบจะเลือนหายไปจากตลาดเพลงยุคใหม่
แม้ซายวายจะเสื่อมความนิยมในหมู่คนยุคใหม่ แต่ก็ยังได้รับการยอมรับในฐานะเป็นดนตรีคลาสสิคของพม่า เสียงของซายวายยังคงรับฟังได้ในเพลงทางพุทธศาสนา และเพลงปลุกใจ  ส่วนวงซายวายนั้น ยังหาชมได้ในงานแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงละคร การแสดงหุ่นชัก งานทางศาสนพิธี งานประเพณี งานรัฐพิธี และงานทรงเจ้า เป็นต้น ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์วงซายวายเช่นเดียวกับการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ โดยจัดให้มีการประกวดกันทุกปี อีกทั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐจะออกอากาศเพลงบรรเลงซายวายเป็นประจำ
อรนุช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15563เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อือ มานก้อดี เอาไปทามรายงานได้  คับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่อง เปิงมางนะค่ะ

พอดีทำศิลปนิพนธ์ เรื่อง "ฟ้อนพม่าเปิงมาง" อยู่

รบกวนอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเปิงมางอีกได้มั้ยค่ะ

จะหาได้ที่ไหน แล้วที่ไทยมีนักดนตรีที่ตีเปิงมางพม่าได้บ้างมั้ยค่ะ????

มีรูปด้วยก็ดีค่ะ รบกวนด้วยนะค่ะ

จะหาข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพม่าที่ไหนได้ค่ะ

แล้วก็อิทธิพลของพม่าที่มีต่อวัฒนธรรมไทยอ่ะค่ะ

ช่วยเป็นไฟส่องทางให้หน่อยนะค่ะ มืดแปดด้านมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

ผมชอบเสียงฆ้องวง เปิงมาง สไตล์พม่ามาก มันดุ๊กดิ๊กกรุ๊งกริ๊งบอกไม่ถูก

จะต้องทำยังไงคะ ถึงจะได้ข้อมูลในนี้ไปทำรายงานได้ คือก๊อปงานไม่ได้อ่ะค่ะ หมดหนทางแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท