วันในสัปดาห์กับการตั้งชื่อของชาวพม่า
ชาวพม่ามักเชื่อว่า วันเกิด หรือ มเวเนะ (g,:tgoh) ในสัปดาห์มีความสำคัญต่อชีวิต และมักผูกเกี่ยวกับการตัดสินใจในหลายเรื่อง อาทิ การตั้งชื่อ นิยมกำหนดเริ่มด้วยอักษรประจำวันเกิด หรือแม้การเลือกคบคนให้ต้องชะตา ไม่ว่าในฐานะเพื่อน คู่ครอง หรือ คู่ค้า อาจต้องเทียบวันเกิด และในทำนองเดียวกับไทย พม่าก็มีข้อห้ามตัดผมในวันที่ตรงกับวันเกิดของตน อีกทั้งควรเว้นตัดผมในวันจันทร์และวันศุกร์ และเชื่อว่านามวันเกิดยังช่วยกำหนดวันโชคลาภอีกด้วย นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าวันเกิดจะบ่งบอกลักษณะนิสัยของแต่ละคน กล่าวคือ ผู้เกิดวันอาทิตย์จะเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เกิดวันจันทร์จะเป็นคนใจน้อยแถมขี้อิจฉา เกิดวันอังคารจะเป็นคนซื่อตรง เกิดวันพุธจะเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว เกิดวันพฤหัสบดีจะเป็นคนอ่อนโยน เกิดวันศุกร์จะเป็นคนช่างพูด และหากเกิดวันเสาร์จะเป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว จากการที่ชาวพม่าชอบพึ่งโชคชะตา ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับวันเกิดจึงเป็นความจำเป็นพื้นฐานต่อ
การดำเนินชีวิตของชาวพม่าทั่วๆไป
การเรียกชื่อวันในสัปดาห์ หรือ เนะ (goh) ในภาษาพม่า กำหนดเรียกตามดาวพระเคราะห์ หรือ โจ่ (18bsN) เช่นเดียวกับไทย แต่เรียกต่างกัน ดังนี้
อาทิตย์ 9o8§gO: ตะนีงกะนเหว่
จันทร์ 9o]§k ตะนีงหล่า
อังคาร v8§j อี่งก่า
พุธ r6m¸s^t โบ๊ะดะฮู
พฤหัสบดี Edklxg9t จ่าดะบะเด
ศุกร์ glkEdk เต้าก์จ่า
เสาร์ 0go สะเหน่
วันในสัปดาห์จะมีความเกี่ยวข้องกับทิศทั้ง ๘ โดยเพิ่มพระราหู หรือ ยาฮุ (iks6) เป็นดาวสำหรับผู้เกิดในวันพุธเฉพาะช่วงเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน ทิศประจำวันกำหนดไว้ดังนี้
อาทิตย์ ตะวันออกเฉียงเหนือ vgiahge,kdN อะเชะ-มเย่าก์
จันทร์ ตะวันออก vgiah อะเชะ
อังคาร ตะวันออกเฉียงใต้ vgiahg9k'N อะเชะ-ต่อง
พุธ ใต้ g9k'N ต่อง
ราหู ตะวันตกเฉียงเหนือ vgokdNge,kdN อะเน่าก์-มเย่าก์
พฤหัสบดี ตะวันตก vgokdN อะเน่าก์
ศุกร์ เหนือ ge,kdN มเย่าก์
เสาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ vgokdNg9k'N อะเน่าก์-ต่อง
ชาวพุทธพม่านิยมไปไหว้พระประจำวันเกิดที่ตั้งอยู่รายรอบพุทธเจดีย์ตามทิศดังกล่าวมานั้น และที่ฐานพระประจำวันจะมีรูปสัตว์ประจำดาวพระเคราะห์ ดังนี้
อาทิตย์ ครุฑ 8>7oN กะโหล่ง
จันทร์ เสือ dykt จา
อังคาร สิงห์ e-gl§H ชีงเต๊ะ
พุธ ช้างมีงา C'N สี่ง, เสี่ยน
ราหู ช้างไร้งา s6b'Nt ฮาย
พฤหัสบดี หนู Ed:dN จแวะ
ศุกร์ หนูตะเภา x^t ปู
เสาร์ นาค o8jt นะกา
ตำราโหราศาสตร์ของพม่ายังกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างวันกับชาติพันธุ์ ๘ เผ่าไว้ด้วย และถ้าหากวาดเป็นแผนภูมิให้เห็นตำแหน่งของพระประจำวันเกิด สัตว์ประจำวันเกิด และชาติพันธุ์ทั้ง ๘ ให้สอดคล้องกับทิศ อันมีพระเกตุ หรือ เก๊ะ (db9N) เป็นศูนย์กลางแทนด้วยองค์พุทธเจดีย์ จะเป็นดังนี้
ความเข้าใจเกี่ยวกับวันที่สัมพันธ์กับทิศทั้ง ๘
นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจวิถีชีวิตของชาวพม่า
ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา
และมักข้องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไม่มากก็น้อย ในการตั้งชื่อก็เช่นกัน
ชาวพม่าจะอาศัยวันเกิดมากำหนดชื่อ พม่าไม่ใช้ชื่อสกุล
หากจะมีแต่ชื่อตัวเท่านั้น ดังนั้นพ่อ แม่ ลูก และพี่น้อง
จึงไม่มีนามบ่งชี้ความสัมพันธ์ ภรรยาจึงไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี
แต่ชื่อจะต้องมีความหมายเป็นมงคล หรืออาจบ่งบอกรูปลักษณ์
และที่สำคัญชื่อมักมีอักษรขึ้นต้นสัมพันธ์กับวันที่เกิด
ชื่อที่นิยมใช้จะประกอบด้วยคำออกจะไพเราะ อาทิ
หม่อง (g,k'NX “หนุ่ม” นุ (O6) “อ่อน,นุ่ม”
อ่อง (gvk'N) “ชนะ” หนั่ย (O6b'N) “สามารถ”
จ่อ (gdykN) “โด่งดัง” โฉ่ (-y7b) “หวาน”
ขิ่ง (-'N) “รัก,สนิท” หละ (]a) “สวย”
ข่าย (-6b'N) “ทน” เส่ง (0boN) “เพชร”
ฉเว่ (gU) “ทอง” มยะ (e,) “มรกต”
เตง (lboNt) “แสน” ตัน (loNt) “ล้าน”
เอ้ (gvt) “เย็น” หนี่ (ou) “แดง”
ผยู่ (ez&) “ขาว” จี่ (EdPN) “แจ่มใส”
ทูน (5:oNt) “รุ่งจรัส” อู (Ft) “แรก,ต้น”
ชาวพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอันน่าภาคภูมิ แสดงความมั่งมีศรีสุข และแฝงด้วยเสน่ห์ เช่น นายยันอ่อง (ioNgvk'N) แปลว่า “ชนะศัตรู” นายเมตตาอ่อง (g,9µkgvk'N) แปลว่า “ได้เมตตา” คือมีนัยว่า “ชนะใจ”, นายตันฉ่วย (loNtgU) แปลว่า “ทองเป็นล้าน”, นายเตงหนั่ย (lboNtO6b'N) แปลว่า “แสนชัย”, นายจ่อเตงเด (gdykNlboNtg{t) แปลว่า “ร่ำรวยเงินแสนระบือนาม”, นายเนลีงแทะ (go]'Nt5dN) แปลว่า “คมแสงตะวัน”, นางตันตีง (loNt9'N) แปลว่า “เทิดล้าน”, นางโฉ่โฉ่หละ (-y7b-y7b]a) แปลว่า“หวานสวย”, นางมยะโมหนั่ย (e,,6btO6b'N) แปลว่า “ได้ชัยฝนมรกต” และนางนุนุ (O6O6) แปลว่า “นิ่มนวล” ผู้หญิงพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอ่อนโยนน่ารัก ในขณะที่ผู้ชายนิยมชื่อที่มีนัยเข้มแข็ง มั่งมีและชาญฉลาด
ในสมัยพุกาม มีการตั้งชื่อด้วยคำว่า ตี่ง (l'N) เป็นคำเก่าที่มีนัยว่า “อิสระ” และอาจหมายถึง “ผู้ประเสริฐ” หรือ “ภิกษุ” ปัจจุบันเป็นคำสรรพนามหมายถึง “ท่าน” มีการสันนิษฐานไว้ว่า คำนี้น่าจะนิยมใช้ในสมัยนั้น ก็เพื่อต้องการจำแนกตัวเองให้ต่างจากผู้ตกเป็นทาส โดยเฉพาะทาสพุทธเจดีย์ ที่เรียกว่า พะยาจู่น (46iktd°oN) คำว่า จู่น (d°oN) นั้นหมายถึงทาส และคำว่า พะยา (46ikt) หมายถึงพุทธเจดีย์ การเป็นทาสพุทธเจดีย์ถือว่ามีฐานะต่ำต้อย อันที่จริงคำว่าจู่นที่แปลว่าบ่าวหรือทาสนั้น ได้ใช้เรื่อยมาเป็นคำสรรพนามอย่างสุภาพ ในคำว่า จู่นด่อ (d°oNg9kN) แปลว่า “กระผม” หรือ “ข้าหลวง” และ จู่นมะ (d°oN,) แปลว่า “ดิฉัน” หรือ “ข้าหญิง” การเรียกตนเองเป็น “ข้า” ในภาษาพม่ากลับดูสุภาพในปัจจุบัน ส่วนคำว่า ตี่ง อาจใช้ว่า อะตี่ง (vl'N) ในความหมายว่า “คุณท่าน” ได้เช่นกัน
ในการตั้งชื่ออาจตั้งตามลำดับผู้เกิดก่อนหลัง เช่นหากเป็นลูกคนโต จะใช้คำว่า อู (Ft) แปลว่า “แรก,ต้น” หรือ จี (Wdut) แปลว่า “ใหญ่” ประกอบชื่อ หากเป็นคนกลางจะมีคำว่า ลัต (]9N) และถ้าหากเป็นคนสุดท้องจะมีคำว่า แหง่ ('pN) เล (g]t) หรือ ทเวหรือทวย (g5:t) เช่น พระนางสุพยาลัต (06z6ikt]9N) เป็นพระธิดาคนกลางของพระนางอะเลนันดอ มเหสีของพระเจ้ามินดง พี่สาวของพระนางสุพยาลัตมีพระนามว่า สุพยาจี (06z6iktWdut) และน้องสาวของพระนางมีพระนามว่า สุพยาแหง่ (06z6ikt'pN)
คนพม่ามักเชื่อเรื่องโชคลาง เด็กบางคนจึงอาจมีชื่อเล่น เป็นชื่อทำนองให้ผีชัง เช่น เจ้าหมา ('g-:t) เจ้าดำ (',PNt) เจ้าขี้เหร่ (U6xNC6bt) เจ้าขี้แมว (gEdk'Ng-yt) ชื่อเหล่านี้ตั้งเรียกเพียงชั่ววัยเด็กเท่านั้น ชื่อบางคนมีความหมายพิเศษ เช่น คนที่รอดพ้นจากภัยเกือบต้องสิ้นชีวิต อาจชื่อว่า แต๊ะเปี่ยง (ldNexoN) แปลว่า “คืนชีพ,ฟื้น” หรือ คนที่พี่ตายไปก่อน อาจชื่อว่า หม่องจ่าง (g,k'NdyoN) แปลว่า “นายเหลือ”
นอกจากนี้การตั้งชื่อของชาวพม่า ยังนิยมตั้งตามวันที่เกิด โดยกำหนดอักษรประจำวันเป็นอักษรตัวแรกของชื่อ ดังนี้
วันอาทิตย์ เริ่มด้วยอักษร อ(v)
วันจันทร์ เริ่มด้วยอักษร ก(d) ข(-) ค(8) ฆ(S) ง(')
วันอังคาร เริ่มด้วยอักษร จ(0) ฉ(C) ช(=) ฌ(G) ญ(P)
วันพุธ เริ่มด้วยอักษร ย(p) ร(i) ล(]) ว(;)
วันพฤหัส เริ่มด้วยอักษร ป(x) ผ(z) พ(r) ภ(4) ม(,)
วันศุกร์ เริ่มด้วยอักษร ส(l) ห(s)
วันเสาร์ เริ่มด้วยอักษร ต(9) ถ(5) ท(m) ธ(T) น(o)
พม่าเชื่อว่าวันที่เกิดจะช่วยบ่งบอกลักษณะนิสัย จึงมักนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเลือกคู่ครองว่ามีดวงสมพงศ์กันหรือไม่ และเชื่อว่าหากทราบอักษรตัวแรกของชื่อก็พอจะคาดเดานิสัยใจคอได้ แต่ถ้าไม่ทราบชื่อก็ให้สังเกตตอนไปไหว้พระเจดีย์ เพราะชาวพม่านิยมไปสรงน้ำพระประจำวันเกิดซึ่งตั้งอยู่ประจำรายรอบพระเจดีย์นั้น วิธีนี้เป็นเพียงข้อชี้นำคร่าวๆ สำหรับคนที่เชื่อถือดวงชะตา
ปัจจุบัน ชาวพม่ามักยังให้ความสำคัญกับการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับวันที่เกิด โดยจะปรึกษาหมอดู หรือ พระสงฆ์ บางคนอาจตั้งชื่อโดยไม่ปรึกษาผู้รู้ดังกล่าว แต่ก็มักจะขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรที่กำหนดไว้สอดคล้องกับวันเกิด ส่วนการเปลี่ยนชื่อนั้นจะเปลี่ยนกันบ้างในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ มีน้อยคนที่จะเปลี่ยนชื่อเมื่ออายุมากแล้ว นอกจากนี้ ในอดีต ชาวพม่าจะมีการจารดวงชะตาไว้บนใบลาน อีกทั้งบนใบลานจะมีคำอวยพรให้กับเจ้าของวันเกิดอีกด้วย ส่วนมากจะขอให้อายุยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี เจ้าของวันเกิดจะต้องเก็บใบลานนั้นไว้อย่างดี ส่วนมากจะวางไว้บนหิ้งพระพุทธรูปในบ้าน หากใบลานเสียหาย อาจด้วยถูกหนูปลวกกัดแทะ หักงอ หรือ ไฟใหม้ จะถือว่าไม่ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความนิยมในการจารดวงชะตาไว้บนใบลานได้ลดน้อยไปมากแล้ว และหันมาบันทึกดวงชะตาไว้บนกระดาษแทน
วิรัช นิยมธรรม
ชาวพม่ามักเชื่อว่า วันเกิด หรือ มเวเนะ (g,:tgoh) ในสัปดาห์มีความสำคัญต่อชีวิต และมักผูกเกี่ยวกับการตัดสินใจในหลายเรื่อง อาทิ การตั้งชื่อ นิยมกำหนดเริ่มด้วยอักษรประจำวันเกิด หรือแม้การเลือกคบคนให้ต้องชะตา ไม่ว่าในฐานะเพื่อน คู่ครอง หรือ คู่ค้า อาจต้องเทียบวันเกิด และในทำนองเดียวกับไทย พม่าก็มีข้อห้ามตัดผมในวันที่ตรงกับวันเกิดของตน อีกทั้งควรเว้นตัดผมในวันจันทร์และวันศุกร์ และเชื่อว่านามวันเกิดยังช่วยกำหนดวันโชคลาภอีกด้วย นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าวันเกิดจะบ่งบอกลักษณะนิสัยของแต่ละคน กล่าวคือ ผู้เกิดวันอาทิตย์จะเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เกิดวันจันทร์จะเป็นคนใจน้อยแถมขี้อิจฉา เกิดวันอังคารจะเป็นคนซื่อตรง เกิดวันพุธจะเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว เกิดวันพฤหัสบดีจะเป็นคนอ่อนโยน เกิดวันศุกร์จะเป็นคนช่างพูด และหากเกิดวันเสาร์จะเป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว จากการที่ชาวพม่าชอบพึ่งโชคชะตา ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับวันเกิดจึงเป็นความจำเป็นพื้นฐานต่อ
การดำเนินชีวิตของชาวพม่าทั่วๆไป
การเรียกชื่อวันในสัปดาห์ หรือ เนะ (goh) ในภาษาพม่า กำหนดเรียกตามดาวพระเคราะห์ หรือ โจ่ (18bsN) เช่นเดียวกับไทย แต่เรียกต่างกัน ดังนี้
อาทิตย์ 9o8§gO: ตะนีงกะนเหว่
จันทร์ 9o]§k ตะนีงหล่า
อังคาร v8§j อี่งก่า
พุธ r6m¸s^t โบ๊ะดะฮู
พฤหัสบดี Edklxg9t จ่าดะบะเด
ศุกร์ glkEdk เต้าก์จ่า
เสาร์ 0go สะเหน่
วันในสัปดาห์จะมีความเกี่ยวข้องกับทิศทั้ง ๘ โดยเพิ่มพระราหู หรือ ยาฮุ (iks6) เป็นดาวสำหรับผู้เกิดในวันพุธเฉพาะช่วงเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน ทิศประจำวันกำหนดไว้ดังนี้
อาทิตย์ ตะวันออกเฉียงเหนือ vgiahge,kdN อะเชะ-มเย่าก์
จันทร์ ตะวันออก vgiah อะเชะ
อังคาร ตะวันออกเฉียงใต้ vgiahg9k'N อะเชะ-ต่อง
พุธ ใต้ g9k'N ต่อง
ราหู ตะวันตกเฉียงเหนือ vgokdNge,kdN อะเน่าก์-มเย่าก์
พฤหัสบดี ตะวันตก vgokdN อะเน่าก์
ศุกร์ เหนือ ge,kdN มเย่าก์
เสาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ vgokdNg9k'N อะเน่าก์-ต่อง
ชาวพุทธพม่านิยมไปไหว้พระประจำวันเกิดที่ตั้งอยู่รายรอบพุทธเจดีย์ตามทิศดังกล่าวมานั้น และที่ฐานพระประจำวันจะมีรูปสัตว์ประจำดาวพระเคราะห์ ดังนี้
อาทิตย์ ครุฑ 8>7oN กะโหล่ง
จันทร์ เสือ dykt จา
อังคาร สิงห์ e-gl§H ชีงเต๊ะ
พุธ ช้างมีงา C'N สี่ง, เสี่ยน
ราหู ช้างไร้งา s6b'Nt ฮาย
พฤหัสบดี หนู Ed:dN จแวะ
ศุกร์ หนูตะเภา x^t ปู
เสาร์ นาค o8jt นะกา
ตำราโหราศาสตร์ของพม่ายังกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างวันกับชาติพันธุ์ ๘ เผ่าไว้ด้วย และถ้าหากวาดเป็นแผนภูมิให้เห็นตำแหน่งของพระประจำวันเกิด สัตว์ประจำวันเกิด และชาติพันธุ์ทั้ง ๘ ให้สอดคล้องกับทิศ อันมีพระเกตุ หรือ เก๊ะ (db9N) เป็นศูนย์กลางแทนด้วยองค์พุทธเจดีย์ จะเป็นดังนี้
ตะวันตกเฉียงเหนือ ราหู ช้างไร้งา (จีน) |
เหนือ ศุกร์ หนูตะเภา (แต๊ะ) |
ตะวันออกเฉียงเหนือ
อาทิตย์ครุฑ (ยวน) |
ตะวันตก
พฤหัสบดีหนู (พม่า) |
พระเกตุ (องค์เจดีย์) |
ตะวันออก จันทร์ เสือ (ไทใหญ่) |
ตะวันตกเฉียงใต้ เสาร์ นาค (แขก) |
ใต้ พุธ ช้างมีงา (กะดู) |
ตะวันออกเฉียงใต้ อังคาร สิงห์ (มอญ) |
หม่อง (g,k'NX “หนุ่ม” นุ (O6) “อ่อน,นุ่ม”
อ่อง (gvk'N) “ชนะ” หนั่ย (O6b'N) “สามารถ”
จ่อ (gdykN) “โด่งดัง” โฉ่ (-y7b) “หวาน”
ขิ่ง (-'N) “รัก,สนิท” หละ (]a) “สวย”
ข่าย (-6b'N) “ทน” เส่ง (0boN) “เพชร”
ฉเว่ (gU) “ทอง” มยะ (e,) “มรกต”
เตง (lboNt) “แสน” ตัน (loNt) “ล้าน”
เอ้ (gvt) “เย็น” หนี่ (ou) “แดง”
ผยู่ (ez&) “ขาว” จี่ (EdPN) “แจ่มใส”
ทูน (5:oNt) “รุ่งจรัส” อู (Ft) “แรก,ต้น”
ชาวพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอันน่าภาคภูมิ แสดงความมั่งมีศรีสุข และแฝงด้วยเสน่ห์ เช่น นายยันอ่อง (ioNgvk'N) แปลว่า “ชนะศัตรู” นายเมตตาอ่อง (g,9µkgvk'N) แปลว่า “ได้เมตตา” คือมีนัยว่า “ชนะใจ”, นายตันฉ่วย (loNtgU) แปลว่า “ทองเป็นล้าน”, นายเตงหนั่ย (lboNtO6b'N) แปลว่า “แสนชัย”, นายจ่อเตงเด (gdykNlboNtg{t) แปลว่า “ร่ำรวยเงินแสนระบือนาม”, นายเนลีงแทะ (go]'Nt5dN) แปลว่า “คมแสงตะวัน”, นางตันตีง (loNt9'N) แปลว่า “เทิดล้าน”, นางโฉ่โฉ่หละ (-y7b-y7b]a) แปลว่า“หวานสวย”, นางมยะโมหนั่ย (e,,6btO6b'N) แปลว่า “ได้ชัยฝนมรกต” และนางนุนุ (O6O6) แปลว่า “นิ่มนวล” ผู้หญิงพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอ่อนโยนน่ารัก ในขณะที่ผู้ชายนิยมชื่อที่มีนัยเข้มแข็ง มั่งมีและชาญฉลาด
ในสมัยพุกาม มีการตั้งชื่อด้วยคำว่า ตี่ง (l'N) เป็นคำเก่าที่มีนัยว่า “อิสระ” และอาจหมายถึง “ผู้ประเสริฐ” หรือ “ภิกษุ” ปัจจุบันเป็นคำสรรพนามหมายถึง “ท่าน” มีการสันนิษฐานไว้ว่า คำนี้น่าจะนิยมใช้ในสมัยนั้น ก็เพื่อต้องการจำแนกตัวเองให้ต่างจากผู้ตกเป็นทาส โดยเฉพาะทาสพุทธเจดีย์ ที่เรียกว่า พะยาจู่น (46iktd°oN) คำว่า จู่น (d°oN) นั้นหมายถึงทาส และคำว่า พะยา (46ikt) หมายถึงพุทธเจดีย์ การเป็นทาสพุทธเจดีย์ถือว่ามีฐานะต่ำต้อย อันที่จริงคำว่าจู่นที่แปลว่าบ่าวหรือทาสนั้น ได้ใช้เรื่อยมาเป็นคำสรรพนามอย่างสุภาพ ในคำว่า จู่นด่อ (d°oNg9kN) แปลว่า “กระผม” หรือ “ข้าหลวง” และ จู่นมะ (d°oN,) แปลว่า “ดิฉัน” หรือ “ข้าหญิง” การเรียกตนเองเป็น “ข้า” ในภาษาพม่ากลับดูสุภาพในปัจจุบัน ส่วนคำว่า ตี่ง อาจใช้ว่า อะตี่ง (vl'N) ในความหมายว่า “คุณท่าน” ได้เช่นกัน
ในการตั้งชื่ออาจตั้งตามลำดับผู้เกิดก่อนหลัง เช่นหากเป็นลูกคนโต จะใช้คำว่า อู (Ft) แปลว่า “แรก,ต้น” หรือ จี (Wdut) แปลว่า “ใหญ่” ประกอบชื่อ หากเป็นคนกลางจะมีคำว่า ลัต (]9N) และถ้าหากเป็นคนสุดท้องจะมีคำว่า แหง่ ('pN) เล (g]t) หรือ ทเวหรือทวย (g5:t) เช่น พระนางสุพยาลัต (06z6ikt]9N) เป็นพระธิดาคนกลางของพระนางอะเลนันดอ มเหสีของพระเจ้ามินดง พี่สาวของพระนางสุพยาลัตมีพระนามว่า สุพยาจี (06z6iktWdut) และน้องสาวของพระนางมีพระนามว่า สุพยาแหง่ (06z6ikt'pN)
คนพม่ามักเชื่อเรื่องโชคลาง เด็กบางคนจึงอาจมีชื่อเล่น เป็นชื่อทำนองให้ผีชัง เช่น เจ้าหมา ('g-:t) เจ้าดำ (',PNt) เจ้าขี้เหร่ (U6xNC6bt) เจ้าขี้แมว (gEdk'Ng-yt) ชื่อเหล่านี้ตั้งเรียกเพียงชั่ววัยเด็กเท่านั้น ชื่อบางคนมีความหมายพิเศษ เช่น คนที่รอดพ้นจากภัยเกือบต้องสิ้นชีวิต อาจชื่อว่า แต๊ะเปี่ยง (ldNexoN) แปลว่า “คืนชีพ,ฟื้น” หรือ คนที่พี่ตายไปก่อน อาจชื่อว่า หม่องจ่าง (g,k'NdyoN) แปลว่า “นายเหลือ”
นอกจากนี้การตั้งชื่อของชาวพม่า ยังนิยมตั้งตามวันที่เกิด โดยกำหนดอักษรประจำวันเป็นอักษรตัวแรกของชื่อ ดังนี้
วันอาทิตย์ เริ่มด้วยอักษร อ(v)
วันจันทร์ เริ่มด้วยอักษร ก(d) ข(-) ค(8) ฆ(S) ง(')
วันอังคาร เริ่มด้วยอักษร จ(0) ฉ(C) ช(=) ฌ(G) ญ(P)
วันพุธ เริ่มด้วยอักษร ย(p) ร(i) ล(]) ว(;)
วันพฤหัส เริ่มด้วยอักษร ป(x) ผ(z) พ(r) ภ(4) ม(,)
วันศุกร์ เริ่มด้วยอักษร ส(l) ห(s)
วันเสาร์ เริ่มด้วยอักษร ต(9) ถ(5) ท(m) ธ(T) น(o)
พม่าเชื่อว่าวันที่เกิดจะช่วยบ่งบอกลักษณะนิสัย จึงมักนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเลือกคู่ครองว่ามีดวงสมพงศ์กันหรือไม่ และเชื่อว่าหากทราบอักษรตัวแรกของชื่อก็พอจะคาดเดานิสัยใจคอได้ แต่ถ้าไม่ทราบชื่อก็ให้สังเกตตอนไปไหว้พระเจดีย์ เพราะชาวพม่านิยมไปสรงน้ำพระประจำวันเกิดซึ่งตั้งอยู่ประจำรายรอบพระเจดีย์นั้น วิธีนี้เป็นเพียงข้อชี้นำคร่าวๆ สำหรับคนที่เชื่อถือดวงชะตา
ปัจจุบัน ชาวพม่ามักยังให้ความสำคัญกับการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับวันที่เกิด โดยจะปรึกษาหมอดู หรือ พระสงฆ์ บางคนอาจตั้งชื่อโดยไม่ปรึกษาผู้รู้ดังกล่าว แต่ก็มักจะขึ้นต้นชื่อด้วยตัวอักษรที่กำหนดไว้สอดคล้องกับวันเกิด ส่วนการเปลี่ยนชื่อนั้นจะเปลี่ยนกันบ้างในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ มีน้อยคนที่จะเปลี่ยนชื่อเมื่ออายุมากแล้ว นอกจากนี้ ในอดีต ชาวพม่าจะมีการจารดวงชะตาไว้บนใบลาน อีกทั้งบนใบลานจะมีคำอวยพรให้กับเจ้าของวันเกิดอีกด้วย ส่วนมากจะขอให้อายุยืนยาวถึง ๑๒๐ ปี เจ้าของวันเกิดจะต้องเก็บใบลานนั้นไว้อย่างดี ส่วนมากจะวางไว้บนหิ้งพระพุทธรูปในบ้าน หากใบลานเสียหาย อาจด้วยถูกหนูปลวกกัดแทะ หักงอ หรือ ไฟใหม้ จะถือว่าไม่ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความนิยมในการจารดวงชะตาไว้บนใบลานได้ลดน้อยไปมากแล้ว และหันมาบันทึกดวงชะตาไว้บนกระดาษแทน
วิรัช นิยมธรรม