ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

รายงานการวิจัยเรื่อง ความต้องการของนักเรียนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์


ครูที่ปรึกษาจำเป็นต้องชี้แจงถึงความแตกต่างของโครงงานในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนจึงจะทำให้การดำเนินการโครงงานเกิดกับผู้เรียนได้ครบกระบวนการ มากกว่าการที่จะได้โครงงานแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

จากการสำรวจความต้องการของนักเรียนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านบึง จังหวัดสุรินทร์จำนวนจำนวนประชากร 132 สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มจับฉลาก 86 คน คิดเป็นร้อยละ 65.15  ซึ่งได้สำรวจความต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลต่าง ๆ ตามกรอบ ลำดับการทำโครงงาน 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดชื่อเรื่อง ขั้นที่ 2 การเขียนเค้าโครงงาน ขั้นที่ 3 การดำเนินการทำโครงงาน ขั้นที่ 4 การนำเสนอและเขียนรายงานโครงงาน แต่ละขั้นได้แบ่งกลุ่มย่อยขอความช่วยเหลือตามเงื่อไขตัวแปรต้น ได้แก่ จาก ครู ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อน รุ่นพี่ บุคคลอื่น ๆ ซึ่งผลปรากฎว่า นักเรียนที่ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ต้องการรับความช่วยเหลือโดยรวมจาก เพื่อนมากที่สุด (เฉลี่ย x = 3.60 ) รองลงมาได้แก่ ครู (เฉลี่ย x = 2.46) รุ่นพี่ (เฉลี่ย x = 2.32 ) บุคคอื่น ๆ (เฉลี่ย x = 1.10 ) ผู้เชี่ยวชาญ (เฉลี่ย x = 0.0 )  ส่วนเรื่องที่ผู้ทำโครงงานต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดคือ การกำหนดชื่อเรื่อง (เฉลี่ย x = 3.83 ) รองลงมาได้แก่ การเขียนเค้าโครง (เฉลี่ย x = 2.02)  การนำเสนอและการเขียนรายงาน (เฉลี่ย x = 1.16 ) และการดำเนินการทำโครงงาน (เฉลี่ย x = 1.02 )

จากกผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนประสบปัญหาในการดำเนินงานด้านกำหนดชื่อเรื่องมากเพราะว่า โครงงานที่มีการนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ มีจำนวนมาก เรื่องที่นักเรียนจะดำเนินการก็มักจะมีผู้ศึกษามาก่อนแล้ว ครูที่ปรึกษาจำเป็นต้องชี้แจงถึงความแตกต่างของโครงงานในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนจึงจะทำให้การดำเนินการโครงงานเกิดกับผู้เรียนได้ครบกระบวนการ  มากกว่าการที่จะได้โครงงานแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

  ข้อสังเกตอีกประการที่นักเรียนไม่ได้เลือกตัวช่วยจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะนักเรียนไม่เข้าใจหรือเคยสัมผัสรับรู้ว่าบุคคลดังกล่าวเรียกว่าผู้เชี่ยวชาญ ถ้ามีการกำหนดเช่นเดี่ยวกันกับภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียนก็จะสงสัยคนนี้หรือที่เรียกว่าผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่แสดงหรือกำหนดมาตรฐานของผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น  นักเรียนจึงไม่รู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น  สุดท้ายปราชญ์จริงก็จะสูญพันธ์

 

หมายเลขบันทึก: 154518เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เครื่องมือเก็บข้อมูลไม่สมบูรณ์ นักเรียนจำนวนหนึ่งกรอกข้อมูลไม่ครบคถ้วน นีคือส่วนจริง ที่นักสำรวจหรือนักวิจัยพบ ไม่เสแสร้งทางข้อมูล แต่สถิติจะพลาดจะสมมุติฐาน

''''''''''''''''''''''''''E'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''R'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''e'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''r'''''''''''''''''''''''''''''..........................................................................................................................................................................................E................E....................................E....E...........E....E...............................E.........E......E........E...........................R.............R..R............R.........................R...............R.............R..........................R...........................R.............................R.......................R................................R.....................R..................................R...................R....................................E.................E.......................................E.............E...........................................E.........E...............................................E.....E...................................................E.E......................................................E............................[][][][][][][][[][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][]E[][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][]R[][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][]E[][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][][]R[][][][][][][][][][][][][]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท