หลักเกฑ์และวิธีการเลื่อนเป็นวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ


เริ่มต้นยกแรก ด้วยข้อกำหนดที่เป็นหลักเกณฑ์ก่อน ว่า ท่านเข้าเกณฑ์ที่จะเลือนเป็นครูเชี่ยวชาญได้หรือยัง เมื่ออยู่ในเกณฑ์แล้วค่อยมาดูกันว่าจะทำอย่างไร หรือเตรียมตัวอย่างไร

หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะ  ครูเชี่ยวชาญ


หลักเกณฑ์
 1. ผู้ที่จะขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ  ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
       1.1 ดำรงตำแหน่งครู  ที่มีวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ   หรือดำรงตำแหน่งครู ที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี   หรือดำรงตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะชำนาญการมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
       1.2  ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.4
       1.3  ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ    และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
 2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้
       2.1  ด้านวินัย  คุณธรรม จริยธรรม  และจรรยาบรรณวิชาชีพ  โดยพิจารณาจาก
             2.1.1  การมีวินัย
             2.1.2  การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
             2.1.3  การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
             2.1.4  ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
             2.1.5  ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
      2.2  ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ดังนี้
             2.2.1  สมรรถนะหลัก
                  (1)  การมุ่งผลสัมฤทธิ์
                  (2)  การบริการที่ดี
                  (3)  การพัฒนาตนเอง
                  (4)  การทำงานเป็นทีม
             2.2.2  สมรรถนะประจำสายงาน
                  (1)  การวิเคราะห์และสังเคราะห์
                  (2)  การออกแบบการเรียนรู้
                  (3)  การพัฒนาเรียนรู้
                  (4)  การบริหารจัดการชั้นเรียน

     2.3 ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ในด้านการเรียนการสอน โดยพิจารณาจาก
             2.3.1  ผลการปฏิบัติงาน
                    (1)  การจัดการเรียนรู้
                    (2)  การพัฒนาวิชาการ
                    (3)  ผลที่เกิดกับผู้เรียน
                     (4)  ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
             2.3.2  ผลงานทางวิชาการ  ไม่น้อยกว่า 2 รายการ   ซึ่งต้องเป็นงานวิจัย 1  รายการ  และงานวิชาการอื่น  1 รายการ
     3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน      ให้พิจารณาจากเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอ และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
     4. การประเมินผลงานทางวิชาการ ให้ประเมินจากเอกสารผลงานทางวิชาการ และอาจให้
ผู้ขอนำเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้
      ในกรณีที่  ก.ค.ศ.   เห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ   ให้ผู้ขอปรับปรุงตามข้อสังเกต ภายใน 6 เดือน  นับแต่วันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งมติ   แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา
     5. เกณฑ์การตัดสิน
     ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
           5.1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ   และด้านคุณภาพ     การปฏิบัติงาน   ผลการประเมินแต่ละด้านต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคน  เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
          5.2 ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ที่ผ่านการประเมินจะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ดังนี้
    ผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
    ผลงานทางวิชาการ ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
    คะแนนรวม ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75   
         ทั้งนี้   ผู้ที่ผ่านการประเมินในข้อ 5.2    จะต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์เป็นเอกฉันท์  โดยเป็นเอกฉันท์ทั้งส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ และคะแนนรวม
       6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมิน ให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้อนุมัติ มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงาน ก.ค.ศ.  ได้รับรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการ     ในกรณีที่มีการปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้อนุมัติได้ไม่ก่อนวันที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับผลงานทางวิชาการที่ปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว
        7. ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ    จะต้องผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
           ผลการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง    ให้นำไปใช้ในการขอให้มีวิทยฐานะได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นสำเร็จหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงวิทยฐานะ
          8. เมื่อ ก.ค.ศ. พิจารณาผลการประเมินและมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด
          9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา    ให้หมายถึงส่วนราชการด้วย     และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายถึง อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการที่ ก.ค.ศ. ตั้งด้วย

วิธีการ

  1. ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา    ผู้ประสงค์จะขอรับการประเมินยื่นคำขอได้ปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคำขอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น  เพื่อตรวจสอบและรับรอง   แล้วเสนอผู้บังคับ-บัญชาตามลำดับ    ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน หรือระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม
  2. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตรวจสอบคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  3. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  4. การตั้งคณะกรรมการประเมิน
                      4.1 คณะกรรมการประเมินด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และด้านคุณภาพการปฏิบัติงานให้   อ.ก.ค.ศ.    เขตพื้นที่การศึกษา      ตั้งคณะกรรมการ จำนวนสามคน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้น ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะเชี่ยวชาญเป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
    กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่สามารถตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมินเป็นกรรมการได้ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาอื่นได้ตามความเหมาะสม
                  4.2 คณะกรรมการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
            ให้ ก.ค.ศ. ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ   ซึ่งมีความรู้  ความสามารถ และเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ ตามความเหมาะสม เป็นกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการ   การประเมินผู้ขอหนึ่งรายให้มีกรรมการประเมินสามคน
  5. การประเมินด้านวินัย   คุณธรรม จริยธรรม  และจรรยาบรรณวิชาชีพ และการประเมินด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน   ให้ดำเนินการพร้อมกัน แล้วนำผลการประเมินเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
                 5.1 กรณีไม่ผ่านการประเมินด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน ให้แจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ เพื่อพัฒนาในการที่จะขอรับการประเมินใหม่
                 5.2 กรณีผ่านการประเมินทั้งสองด้าน  ให้แจ้งผู้ขอรับการประเมินเสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการ อย่างละ 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรอง   แล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ  ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในรอบปีที่เสนอขอ หากไม่ส่งตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์
  6. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณากลั่นกรองก่อนนำเสนอ ก.ค.ศ. หรืออาจตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อช่วยกลั่นกรองก็ได้
  7. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลการประเมินด้านวินัย   คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และด้านคุณภาพการปฏิบัติงานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน  1  ชุด พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการ จำนวนอย่างละ 4 ชุด ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อดำเนินการ
  8. ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน และผลงานทางวิชาการให้ ก.ค.ศ. พิจารณา
  9. กรณี ก.ค.ศ. มีมติไม่อนุมัติ   ผู้ขออาจส่งคำขอรับการประเมินใหม่ได้ในปีต่อ ๆ ไป  สำหรับผู้ที่ส่งคำขอเดือนเมษายน   จะส่งคำขอใหม่ได้ไม่ก่อนเดือนเมษายนของปีต่อไป  ส่วนผู้ที่ส่งคำขอเดือนตุลาคม  จะส่งคำขอใหม่ได้ไม่ก่อนเดือนตุลาคมของปีต่อไป
           กรณีอนุมัติ ถ้าผู้ขอผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้ง
  10. เมื่อดำเนินการแต่งตั้งแล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้ง จำนวน 1 ชุด ให้สำนักงาน  ก.ค.ศ. ภายใน  7 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง
คำสำคัญ (Tags): #วิทยฐานะ
หมายเลขบันทึก: 154431เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • จากเกณฑ์ทั้ง 9 ข้อนี้ ถ้าท่านผ่านเกณฑ์ข้อที่ 1 ก็พร้อมที่จะเขารับการประเมิน และเมื่อประเมินผ่านเกณฑ์ขัอ 2-9 ก็จะได้รับเลือนวิทยฐานะเป็นครูเชี่ยวชาญ หรือเทียบเท่ากับรองศาสตราจารย์
  • การขอเข้ารับการประเมินในข้อ 2-9 ท่านจะต้องยื่นแสดงความจำนงเข้ารับการประเมิน เขาเรียกว่ายื่นแบบ วฐ.1
  • เมื่อยื่นเรื่องแล้ว จะต้องผ่านด่านแรก คือเข้ารับการอบรม ให้ผ่านเกณฑ์การอบรม
  • เมื่อผ่านการอบรมแล้ว ต้องฝ่าด่านที่ 2 คือประเมินด้านที่ 1 คือประเมินคุณธรรม จริยธรรม และด้านที่ 2 คือ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจะมีกรรมการ 3 ท่านมาประเมินหลังจากอบรมแล้วประมาณ 1-2 เดือน
  • ต่อไปจะต้องฝ่าด้านสุดท้ายคือส่งผลงานวิชาการ ซึ่งส่งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นขอประเมิน ซึ่งด่านนี้เป็นด่านที่ยากที่สุด เพราะจะต้องทำ 3 เรื่องคือ
       เรื่องที่ 1 ทำเอกสาร บรรยายผลการปฏิบัติงาน ไม่เกิน 50 หน้า
       เรื่องที่ 2 ทำวิจัย 1 เรื่อง แล้วส่งรายงานการวิจัย (ถ้าเป็นวิจัยและพัฒนาด้วยยิ่งดี)
       เรื่องที่ 3 ผลงานนวัตกรรมอื่นๆ 1 ชิ้น
      

เมื่อเห็นแนวทางอย่างนี้จะเห็นว่า ถ้าท่านทำงานขยันขันแข็ง เป็นคนดีมีคุณธรรม และมีผลงานมาตลอด ก็สามารถขอเข้ารับการประเมินได้เลย แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีผลงานมาก่อนเลย จะต้องคิดให้ดีว่า ถ้าจะทำผลงานใหม่ ภายใน 1 ปี จะทำทันหรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่ทัน ก็อาจจะยื่นขอเข้าอบรมไว้ก่อนก็ได้ แล้วประเมินด้านที่ 1 และ 2 (แต่ถึงจะผ่านก็ไม่ได้เพราะส่งผลงานไม่ทัน) ปีต่อไป ถ้าคิดว่าผลงานเสร็จ ก็ยืนเรื่องขอประเมินอีก คราวนี้ไม่ต้องเขาอบรม แต่จะประเมินด้านที่ 1 และ 2 ใหม่ ต่อจากนั้นก็ส่งผลงานวิชาการเข้าประเมิน
      หรือทำผลงานให้เสร็จแล้วค่อยยืนขอประเมินเสร็จแล้วส่งผลงานเลยก็ได้

แต่มีข่าวแจ้งว่า เขากำลังพิจารณาเปลี่ยนวิธีการประเมินใหม่อยู่เหมือนกันนะ คือจะมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องทำผลงานวิชาการส่ง  โดยมีการประเมินทุกปี แล้ว 3 ปี ประเมินใหญ่สักครั้ง แต่ถ้าใครได้วิทยฐานะอะไรแล้ว มีผลงานไม่สมกับวิทยฐานะ เขาจะยึดคืน ไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ใครมีข่าว หรือมีรายละเอียดก็ช่วยบอกกันบ้างนะครับ

เส้นทางการเลื่อนวิทยฐานะ

     เพื่อนครู ที่ต้องการเลื่อนวิทยฐานะ จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร มีหลายท่าน ขอเข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเลย โดยไม่ทราบและไม่ได้เตรียมความพร้อมมาก่อน จะทำให้ถูกบีบด้วยระยะเวลาอันจำกัดที่จะต้องทำผลงาน จนมีผลทำให้จัดทำผลงานไม่ทัน หรือผลงานไม่ผ่านการประเมิน มีผลทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ
      ถอยหลังมาสักก้าว แล้วเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ ดีกว่า รีบวิ่งไปข้างหน้าแล้วไปสะดุดขาตัวเองจนไปไม่ถึงเป้าหมายสิ่งแรกที่นึกถึงตลอดเวลา คือ วิทยฐานะนั้น เป็นผลพลอยได้จากการทำงาน นั่นคือทำงานให้ดี แล้วค่อยเอางานที่เราทำนั้นไปขอเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ใช่ขอวิทยฐานะแล้ว จึงมาสร้างผลงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เพราะผลงานนั้นจะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม สำหรับงานในหน้าที่รับผิดชอบ แล้วเราจะไม่ภูมิใจในวิทยฐานะที่เราได้เลย คุยได้ไม่เต็มปาก เพราะเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยการหลอกลวง หรือไปจ้างผู้อื่นทำ

ให้นึกถึงลูกของท่าน หลานของท่าน ที่หน้าตาใสซื่อ เหล่านี้ คือผู้ที่จะได้รับผลจากการกระทำของครูทุกท่านทั้งด้านบวกและลบ บางครั้งท่านทำให้เด็กเหล่านี้ โตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัวเพียงเพราะเด็กเหล่านี้เลียนแบบความเห็นแก่ตัวของท่าน เป็นผู้ใหญ่ที่โกงกินบ้านเมือง เพราะเห็นแบบอย่างของท่านที่โกงเวลาสอนไปหารายได้ข้างนอก โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ฟุ้งเฟ้อ เพียงเพราะเห็นครูฟุ้งเฟ้อ อย่าคิดว่าเรื่องน้อยนิดที่ท่านทำจะไม่มีผลต่อประเทศชาติบ้านเมือง
     ถ้าครูบางท่านที่กำลังคิดผิด ทำผิด เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีในปัจจุบันปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดี ท่านจะช่วยเติมเต็มบุคลากรที่ดีในสังคมให้เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมากมาย แต่สังคมไทย มีครูที่ดีเป็นจำนวนมาก บ้านเมืองจึงยังอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้ ช่วยกันทำความดี เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อแผ่นดินไทย เพื่อคนไทย กันนะครับ

ขอบคุณค่ะ  อาจารย์ 

ครูอ้อยถอยมาหลายก้าวแล้วค่ะ  พร้อมวิ่งเข้าสู่เส้นชัย

 

ครูสุวรรณี นครศรีฯ

ดิฉันผ่านคศ.3มาครบ 3 ปีแล้วกำลังยื่น วฐ.1เพื่อเข้ารับการอบรมไม่ทราบว่าเกณฑืจะเปลี่ยนแปลงในช่วงไหนพอทราบข้อมูลหรือเปล่าคะ

ดิฉันพร้อมที่จะทำเชี่ยวชาญตั้งแต่ได้ชำนาญการพิเศษค่ะ

ดิฉันผ่าน คศ.3 เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ.2550 และจะยื่น วฐ.1 เพื้อเข้ารับการอบรม(เกณฑ์ใหม่)ตุลาคม พ.ศ.2553 เงินเดือน 24,310 บาท จะต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ นั้น คือ 1 ต.ค.51 ถึง 1 ต.ค. 53 ใช่ไหมคะ

ดิฉันเก็บงานมาเรื่อย ๆ และที่จะต้องทำ 3 เรื่องคือ

เรื่องที่ 1 ทำเอกสาร บรรยายผลการปฏิบัติงาน ไม่เกิน 50 หน้า

เรื่องที่ 2 ทำวิจัย 1 เรื่อง แล้วส่งรายงานการวิจัย (ถ้าเป็นวิจัยและพัฒนาด้วยยิ่งดี)

เรื่องที่ 3 ผลงานนวัตกรรมอื่นๆ 1 ชิ้น

ดิฉันสงสัยว่า เรื่องที่ 2 กับเรื่องที่ 3 มีลักษณะคล้ายๆ กันตามความคิดของดิฉัน จึงขอความกรุณาจากท่านศรีเชาวน์ วิหคโต ช่วยอธิบายข้อแตกต่าง จักขอขอบพระคุณยิ่งค่ะ

ครูสุภาวรรณ์

ดิฉันสงสัยว่า เรื่องที่ 2 กับเรื่องที่ 3 มีลักษณะคล้ายๆ กันตามความคิดของดิฉัน จึงขอความกรุณาจากท่านศรีเชาวน์ วิหคโต ช่วยอธิบายข้อแตกต่าง จักขอขอบพระคุณยิ่งค่ะ

แก้ไขเป็น

ดิฉันสงสัยว่า เรื่องที่ 2 กับเรื่องที่ 3 ของชำนาญการพิเศษ กับเชี่ยวชาญแตกต่างกันอย่างไร (ความเข้มข้น)

ครูสุภาวรรณ์

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากที่ให้ความรู้ในเรื่องการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าอน่างไรขอความอนุเคราะห์เพิ่มเติมด้วยครับคือว่ามีการอบรมเมื่อไหร่ก็เอิ้น ๆ ด้วยเด้อ

ขอบคุณในความอนุเคราะห์ข้อมูลของอาจารย์ และขอชื่นชมความจริงใจที่ท่านมีต่อครู และถ้อยคำดี ๆ ที่ช่วยเตือนสติครูที่กำลังจะทำผลงานค่ะ ว่าขอให้เป็นงานที่เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาเด็กจริง ๆ

ท่านศรีเชาวน์ วิหคโต คะ ดิฉันเป็นครูคนหนึ่งนะคะที่คิดว่าตัวเองเป็นครูที่ดีสอนเต็มที่และใช้วิธีใหม่ๆ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ดิฉันสอนนักเรียนในรายวิชาการงานฯ (อาหาร)โดยใช้การสอนแบบโครงงาน และมีการแสดงนิทรรศการโครงงานทุกปี ติดต่อกัน 3 ปี เมื่อถึงเวลาที่คิดว่าจะส่งชำนาญการพิเศษจึงใช้ผลงานที่สอนจริงมา 3 ปี ครูที่โรงเรียนก็รู้ว่าดิฉันทำจริงทุกคนก็บอกว่า"ต้องผ่านแน่ๆ" ดิฉันส่งเมื่อ ต.ค. 51 (รุ่น 2) แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านค่ะ (เยียวยากลุ่ม 1 สอบ E ธ.ค. 52 ) ตอนนั้นยังทำใจได้อยู่ จึงส่งเยียวยา เมื่อเดือน มิ.ย. 53 รอนานมาก คนอื่นในโรงเรียนที่เค้าจ้างทำแต่ไม่ได้สอนแบบที่ส่งผ่านหมดแล้วย้อนหลังคนละ 2 ปี และวันนี้ดิฉันได้รู้ว่าตัวเองต้องปรับปรุงผลงานส่งภายใน 6 เดือนอีก เสียใจมากจริง ๆ (ทำให้เกิดความคิดขึ้มมาว่า "รู้งี้จ้างทำซะก็แล้ว") ดิฉันย้อนกลับมาดูเกณฑ์การส่งผลงานเชี่ยวชาญ ซึ่ง ในข้อ 1.1 มีว่า หรือดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี สงสัยคะขอถามท่านศรีเชาวน์ นะคะว่า ถ้าดิฉันไม่ส่งปรับปรุงชำนาญการพิเศษแต่จะส่งผลงานเชี่ยวชาญเลยได้ไหมคะ (โดยถ้าได้ส่งกรณีมีผลงานดีเด่นระดับชาติ 3 รายการ ตรงนี้ดิฉันมีนะคะ ) ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้ไหม ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวจึงเปิดเน็ตไปเรื่อยๆ เลยพบว่าท่านให้คำปรึกษาและให้กำลังใจคนอื่นอยู่จึงอยากได้กำลังใจเพื่อการทำงานต่อไปจากท่านศรีเชาวน์ค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ ครูแดง

นางสาวนฤมล พุฒิฤทธิ์

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานเก็บงานอย่างตรงประเด็นค่ะ

อาจารย์คะ หนูผ่านการอบรมพัฒนาก่อนแต่งตั้งมาแล้วค่ะ ในใบประกาศว่าให้มีผลในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่่ 29 สิงหาคม 2553 หนูยื่นขอเลื่อนวิทยฐานะกำหนดส่งผลงานเดือนเมษา 2557 จะทันมั๊ยคะ หรือต้องไปเข้ารับการอบรมใหม่คะ

การรับรองวุฒิบัตรวิทยฐานะขอเลื่อนเชี่ยวชาญอบรมทางtape online เปิดให้สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเขต1ดำเนินการบัดนี้สอบถามไปที่สนง.เขตพื้นที่ได้รับคำตอบว่าทางสพฐ.ไม่มีหนังสือแจ้งให้ดำเนินการ แท้จริงแล้วขั้นตอนและกระบวนการเป็นอย่างไร


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท