การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่วิถีชุมชน


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

           666 การจัดการเรียนการสอน ครูควรเน้นบทบาทผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีความประทับใจ    ในการเรียน กิจกรรมที่จัดต้องเกิดจากสภาพจริง สามารถพิสูจน์ได้ การสอนจึงต้องใช้หลักความจริง สมเหตุ สมผล ทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย อยากรู้ อยากทดลอง เริ่มมีความคิดที่จะวิจัย แสวงหาความรู้ นักเรียน   ทุกคนต้องเป็นพระเอก นางเอก รู้จักเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน มีกระบวนการ รู้จักสังเกต มีการจับกลุ่มเพื่อ ระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน หาแนวทางเพื่อเกิดความคิดใหม่ ๆ มาช่วยกันแก้ปัญหา นักเรียนมีการยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นในกระบวนการคิดแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน

            ครูควรเห็นคุณค่าในความคิดของนักเรียน ควรมีปฏิสัมพันธ์วางแผนการสอนให้สอดคล้องโดยเน้นให้นักเรียนสังเกต วิเคราะห์สภาพปัญหา ทำนายผลมีการสร้างสรรค์งานและสามารถนำความคิดของตนเองไปออกแบบการทดลอง และทำการทดลองได้ด้วยตนเอง

              ครูควรใช้ความสนใจของนักเรียน มากำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียน ปรับกลยุทธ์วิธีสอน และยืดหยุ่นเนื้อหา เร่งเร้าให้มีการสนทนากันของนักเรียน ครู และผู้อื่น ในคำถามที่ครูถามนั้น ต้องเป็นคำถามปลายเปิด จึงช่วยพัฒนาคน พัฒนาชาติได้

2007 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

         กระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สู่วิถีชุมชนเรื่อง “ เรารักสิ่งแวดล้อม”

          การจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อมุ่งเน้นบทบาทของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากพ่อ แม่ ครอบครัว ชุมชน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และดำรงอยู่ในสังคม ให้เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่า และหวงแหนถิ่นที่อยู่ของตน เกิดความมานะพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในความยากลำบาก สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาทดลองที่ประสบความสำเร็จไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริง นำไปประยุกต์ใช้ได้ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงด้วย “ วิธีวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาไทย” ให้มีการบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

            กระบวนการที่ 1 ร่วมกันสำรวจสภาพทั่วไป

            ä เป็นการพัฒนาผู้เรียนโดยมุ่งเน้นบทบาทผู้เรียน นักเรียนสามารถร่วมกันศึกษา สำรวจสภาพลักษณะของแหล่งที่เรียนได้

             ä ความรู้และสิ่งที่ผู้เรียนได้รับในการะบวนการที่ 1 คือลักษณะและขนาดของชุมชน จำนวนประชากร อาชีพ ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

             ä นักเรียนสามารถเขียนแผนผังแหล่งที่อยู่ของชุมชนของตนเองได้ สามารถศึกษาสภาพทั่วไป เพื่อบอกจุดและตำแหน่งที่ต้องการศึกษาค้นหาสภาพทั่วไปได้

             ä นักเรียนสามารถร่วมกันนำเสนอผลงาน เพื่อสื่อสารสิ่งที่สำรวจมาได้ตามข้อเท็จจริง เป็นการเริ่มต้นให้นักเรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอในลำดับแรก

               กระบวนการที่ 2 ร่วมกันค้นหาสภาพที่แท้จริง

             ä เป็นการทำกิจกรรมที่ท้าทายผู้เรียนได้อย่างชัดเจน นักเรียนไม่ถูกครูเก็บไว้ในห้องสี่เหลี่ยม

             ä นักเรียนสามารถค้นหาปัญหาและพบสภาพปัญหาที่แท้จริง ได้สัมผัสและปฏิสัมพันธ์ในความรู้ ความคิด ความสามารถ

              ä นักเรียนสามารถรู้แหล่งที่มาของปัญหา เช่น โรงงาน ขยะ น้ำเสีย แหล่งที่สร้างปัญหาร้ายแรง แหล่งที่สร้างปัญหารอง ความแตกต่างของปัญหาขึ้นอยู่กับสภาพที่มาของปัญหานั้นๆ

              ä นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ที่มาของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ä นักเรียนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา เห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม เกิดภาพพจน์ที่ผู้เรียนอยากเรียนรู้อย่างกระหาย

                 กระบวนการที่ 3  ร่วมกันศึกษาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อแสวงหาความรู้ร่วมกัน

                 ä ผู้เรียนได้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม

                 ä ความเป็นอยู่อย่างเอื้ออาทรของสิ่งมีชีวิต สัตว์กับพืช

                 ä ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

                 ä กิจกรรมศึกษาเฉพาะเรื่อ  พืช

                 ä กิจกรรมศึกษาเฉพาะเรื่อง  สัตว์

                 ä ศึกษาเรื่อง ดิน น้ำ ลักษณะความเป็นอยู่

                ä ผู้เรียนแสวงหาความรู้ร่วมกัน เพื่อนำเสนอผลงานหน้าชั้นได้

                ä เพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่นักเรียนได้ร่วมกันศึกษาและระดมสมอง

                ä ผู้เรียนได้รู้คุณค่า เห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิต รู้จักวิเคราะห์ กำหนดสมมติฐาน และสร้างสรรค์งานได้

               ä ผู้เรียนรู้จักคิดแบบวิทยาศาสตร์ รู้จักสังเกต ฯลฯ ในการศึกษาหาความรู้

               กระบวนการที่ 4 ร่วมกันหาทางเลือกอย่างหลากหลาย ป้องกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตลอดไป

              ä แหล่งข่าว สิ่งแวดล้อม คิดรูป เขียนเรื่อง ถามปัญหา

              ä ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามกระบวนการ

              ä กิจกรรมวาดภาพ เขียนคำขวัญ สิ่งมีชีวิตในบริเวณที่ศึกษา และบรรยายภาพ

               ä กิจกรรมเขียนเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์

              ä ประดิษฐ์ของเล่นและของใช้จากวัสดุทิ้งแล้ว (ขยะ)

               ä ปลูกป่าชุมชนอย่างเห็นคุณค่า

               ä กิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชน

       กระบวนการที่ 5 ร่วมกันขยายผลสู่ครอบครัว เพื่อให้ประชาชนร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

           ä นำเสนอผลงานในรูปโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเรียนการสอน

            ä เพื่อให้ประชาชนในชุมชน ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม

            ä ปลูกป่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามาแพร่พันธุ์ และอาศัยพักพิง มีผลให้ทรัพยากรป่ามีความอุดมสมบูรณ์ จะได้แหล่งอาหารไว้บริโภคอย่างยั่งยืนตลอดไป

              การประเมินผล

             1. ประเมินโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด

            2. จากสภาพที่นักเรียนทำกิจกรรม เก็บไว้ในแฟ้มผลงานของนักเรียน

             3. ประเมินจากกิจกรรม 1 กิจกรรม/ครั้ง ในบทเรียน บทปฏิบัติการ

               4. จากกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                5. กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่น

หมายเลขบันทึก: 154430เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2007 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีมาก น่าสนใจ ที่สำคัญรวดเร็ว ทันสมัยเน้อะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท