กระบวนการเรียนรู้ กับงานพัฒนา


บนเส้นทางงานพัฒนาที่มาพร้อมงบประมาณและตัวชี้วัด จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่

เมื่อ2-3 วันก่อน ได้มีโอกาสพูดคุยกับภาคีทางภาคเหนือ ที่ได้งบประมาณไปทำเรื่องการจัดการความรู้เรื่องเหล้ากับชุมชน ทำงานกันมาปีนึงแล้ว ปรากฎว่าผู้ว่าฯ ชอบใจ ให้งบมาจัดเวทีระดับตำบลและอบรมวิทยากร 3 รุ่น พร้อมงานฝากอีกกองนึง

เราเข้าใจความรู้สึกของภาคีท่านนี้ดี เนื่องจากตอนที่ท่านมาร่วมทำงานกับเราเมื่อปีที่แล้วนั้น ท่านบอกตลอดเลยว่างานที่ท่านทำกับชุมชนนั้นคือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชน ซึ่งอาศัยเครื่องมือคือการจดบัญชีรายจ่าย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์  เพื่อจะให้ชาวบ้านเห็นว่าอะไรเป็นปัญหาร่วม ที่ชุมชนต้องช่วยหาวิธีแก้ไข ดังนั้นไม่ว่าจะนำประเด็นไหนใส่เข้าไปก็ตาม ชาวบ้านก็สามารถรู้และจัดการปัญหาของตนเองได้ โดยใช้เครื่องมือที่ให้ไป  ซึ่งท่านถามว่า "เรา(ผู้ให้ทุน) รอได้ไหม"  (คิดยาววววววววว  แต่ก็ตอบว่าพอทนได้เจ้า)

แต่วันนี้ ท่านหนักใจ เนื่องจากขณะนี้ มีงบประมาณมุ่งหน้ามาสู่ท่านอีกมาก พร้อมกับตัวชี้วัดเชิงประมาณ กับข้อจำกัดด้านเวลา

เมื่อทบทวนดูแล้ว สิ่งที่ภาคีท่านนี้เจอ ก็คงไม่ต่างจากที่หลายๆ ชุมชนเจอ  ถ้าหากชุมชนสามารถจัดการกับตัวแปรภายนอกได้(เลือกว่าจะรับแค่ไหน อย่างไร / มีเวลาทบทวนเป้าหมายของชุมชน/ มีการบริหารจัดการทุนทุกประเภทที่เข้ามาอย่างโปร่งใส/มีการประยุกต์ความรู้ที่รับมา  ฯลฯ) ก็ไปรอด    แต่ถ้าไม่ใช่ก็กลายเป็นเพียงชุมชนที่มีชื่อว่า "ชุมชนเข้มแข็ง" ในทำเนียบ แต่เข้าไปแล้วไม่พบอะไร

ทำอย่างไร จะทำให้บนเส้นทางงานพัฒนาที่มาพร้อมงบประมาณและตัวชี้วัด จะสร้างเงื่อนไขให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนได้ตลอดรอดฝั่งได้

ขอเป็นกำลังใจให้ชุมชนที่ตั้งเป้าหมายว่า "จะพึ่งตนเอง" ให้ได้นั้น มีพลังที่จะนำพากันไปสู่สิ่งที่ฝันได้อย่างรู้เท่าทันด้วยเทอญ    

หมายเลขบันทึก: 153973เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2007 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ปัญหาที่พบเรื่อง "วันนี้ ท่านหนักใจ เนื่องจากขณะนี้ มีงบประมาณมุ่งหน้ามาสู่ท่านอีกมาก พร้อมกับตัวชี้วัดเชิงประมาณ กับข้อจำกัดด้านเวลา"....ผมก็พบครับ

ผมสรุปว่าระบบราชการนั้นทำงานพัฒนาที่เอาชาวบ้านเป็นตัวตั้งไม่ได้  หรือได้ไม่เต็มที่ เพราะระบบระเบียบการเงินการคลังออกแบบมาไม่ใช่เพื่อการพัฒนาตามหลักการ มีส่วนร่วม เอาชาวบ้านเป็นตัวตั้ง ให้ชาวบ้านคิดเอง ฯลฯ  มีแต่เร่งให้เอานั่นออกมา เอานี่ออกมาให้ได้เมื่อนั่นเมื่อนี่  พากลูกน้องก็ไปบีบงานให้ออกมาจนชาวบ้านหลายแห่งก็บอกเลิกไปเลยก็มี หรือเล่นเอาเถิดกับระบบ  เพราะเขาชินกับสิ่งเหล่านี้แล้ว...แล้วจะพัฒนาอะไรล่ะ  มีแต่เสียกับเสีย โดยเฉพาะเสียงบประมาณที่มาจากประชาชนนั่นแหละ

 

บ่นมาเพื่อให้คิดปรับเสียทีเถิดระบบราชการเพื่องานพัฒนาน่ะ  ตายแล้ว ขอโทด้วยครับที่มา "บ่นผ่านบล็อค" ของท่านครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์บางทรายคะ   ตอนนี้ในโครงการที่ทำอยู่ก็ทำท่าว่าจะต้องทำอย่างนั้นกับภาคีที่รับทุนจากสำนักงานไปเหมือนกัน  เพราะตัวเองก็โดนบีบให้เร่งทำผลงานตอบกับผู้สนับสนุนงบประมาณใหญ่ค่ะ (ที่สุดก็รอไม่ไหว)  

เฮ้อ  อยากรู้จังเลยค่ะว่า ประเทศอื่นๆ เขาทำกันยังไงกันนะคะ  หรือว่าถ้าอยากทำงานพัฒนาอยู่ก็ต้องไปทำนาหาเลี้ยงชีพตัวเอง แล้วก็ทำงานแบบไม่ต้องของบจากข้างนอก(อิอิ)   

 

 

คุณ ดอกไม้น้อย

จากการทำงานวารสารทันตภูธรเองก็ขอรับทุนจากราชการบ้างเหมือนกันค่ะ แต่กลับกันนะคะ  ทุนมาไม่ค่อยทันจ่ายค่าพิมพ์ค่ะ  ไปๆมาๆต้องช้าตามทุน ไม่งั้นกลัวเขายกเลิกสนับสนุนทุน จะอดทำวารสารค่ะ

 อ๋อจ้ะ

หมออ๋อคะ

ถ้านุชเป็นเศรษฐีอันดับ1ของประเทศนะ นุชจะแจกเงินให้เพื่อนๆ ไปทำงานพัฒนาแบบไม่ต้องส่งรายงานการเงินดีไหมค่ะ (เหอะเหอะ)  แต่เดี๋ยวคิดก่อนว่าจะไปทำงานอะไรดีถึงมีเงินเยอะขนาดนั้น

บางทีก็คงต้องจัดการให้สมดุล

เราปฏิเสธไม่ได้ครับบางครั้งความต้องการที่ชัดเจนของแหล่งทุน โดยใช้ตัวชี้วัดเป็นเชิงปริมาณ

จะว่าไป คนที่ให้ทุน ต้องเข้าใจบริบทของงานและความเป็นไป

เข้าใจคนทำงาน และเข้าใจคนให้ทุนด้วยครับ แต่อยากให้สอดคล้องประสานกัน

เหมือนอย่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง health promotion ในไทยแลนด์ ที่ยังยึดติดกรอบความคิดทีเก่าโบราณ คนทำงานอึดอัดไปตามๆกัน

 

คุณนุชจ๋า

อ๋อส่งซีดีไปให้แล้วนะคะ  อ่าน ปตท. ให้เลือดสูบฉีด แล้วมองดูจิตว่านั่นคือสภาวะภายนอกค่ะ

หน้าที่ของเราคือตามรู้สภาวะ  การทำความเข้าใจสภาวะจิตทั้งภายนอกและภายในกาย  ก็เป็นการเรียนรู้ธรรมนะคะ 

เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา และเป็นปกติค่ะ

สวัสดีจ้ะ

อ๋อ

 

คุณนุช

ธรรมะ ทำมั่วจากอ๋อ อย่าใส่ใจนะคะ

ศึกษาสภาวะจากซีดีและหนังสือที่ส่งไปให้ดีกว่าค่ะ

แฮ่ะๆๆ

อ๋อ

คุณเอกคะ

ทุนนอกเข้าไป  ถ้าทุนใน(ชุมชน)ไม่แข็งแรงพอ หรือไม่รู้เท่าทันพอ ก็เกิดสภาพที่เห็นและเป็นอยู่เนาะคะ

โชคดีที่เรามีหน่วยงานอย่างสกว. ภาคที่เข้าไปสนับสนุนให้ชุมชนทำวิจัยด้วยตนเอง จึงยั่งยืนเสมอ แม้เมื่อหน่วยงานภายนอกถอนทุนออก

โชคดีจังที่คุณเอกได้ทำงานตรงนั้นด้วย อนุโมทนานะคะ

หมออ๋อคะ

ตื่นเต้นมากๆ ค่ะ กับหนังสือที่ส่งมา

อันนี้เลือดก็สูบฉีดเหมือนกัน

แต่จะไม่ลืมหายใจเบาๆ ยาวๆ นะคะ (อิอิ)

สวัสดีค่ะ คุณนุช

ตอนแรกได้รับพัสดุเกิดอาการงงๆ

เห็นชื่อ พิมพ์มณี เอ๊ะๆๆ คุ้น (เพิ่งเสร็จจากภารกิจในปากคน เลยออกจะมึนๆนิดๆค่ะ)

น่ารักมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆทุกอย่างที่ส่งมาเลยค่ะ ปลื้มมากค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ 

ส่งมาให้เยอะขนาดนี้เกรงใจจังค่ะ

แต่ไม่มีอะไรมากมายเท่ากับ มิตรภาพอุ่นๆ ที่ได้รับค่ะ

อ๋อค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

เพิ่งไปร่วมงานของอำเภอสบปราบที่ลำปาง อำเภอต้นแบบเรื่องงดเหล้างานศพมาค่ะ และกำลังคิดจัดวงเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนหาแนวทางการขยายผลกับเครือข่ายทางภาคเหนือค่ะ

คงได้มีโอกาส "Care-Share-Learn" กับคุณดอกไม้น้อยบ้างนะคะ

ขอให้สุขสันต์วันปีใหม่และทุก ๆวันค่ะ

  • แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะเชิญเลือกโปสการ์ดปีใหม่ได้ที่นี่นะคะ
  • Postcard: กระดาษแผ่นเล็กๆที่บอกเล่าเรื่องราวจากหัวใจ
  • สวัสดีค่ะ

    มาส่งความสุขถึงบ้านค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท