ทำไมวันนี้ครูต้องถาม นักเรียนต้องคิด ครูกำลังคิดอะไร ในการสอนภาษา


 

  หลายท่านคงคุ้นหูกับ  การตั้งศูนย์ (ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง) หรือที่คุ้นหู คือ (child centered ) หรือ (learner centered) 

ซึ่งมีแนวคิดมาจากทฤษฎี constructivism ทฤษฏีนี้เหมือนการก่ออิฐ ผู้เรียนต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา (problem solving ) เชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ (นำมาสู่ mind map)การบูรณาการ (employment) และหาความคิดวิกฤติ(critical thinking) สรุปคือการฝึกให้ผู้เรียนคิดแบบเฉียบ เพราะเมื่อผู้เรียนมีความสามารถอย่างนี้ (ก็คิดว่าจะทำให้เรียนรู้ได้เร็ว ก็เพราะสามารถคิดเข้าใจเหตุผลเป็น รวมถึงหาแนวทางการแก้ปัญหาเป็น)

นำมาสู่การเรียนภาษาในห้องเรียนที่มีพื้นฐานจากแนวคิดที่กล่าวมา

คุณครูแทนที่จะสอนเนื้อหา ว่า คำนั้นคำนี้แปลว่าอะไร หรือประโยคนั้นประโยคนี้แปลว่าอะไร กลับถามเรื่องอื่นโน่นนี่นั้น เช่นเคยไปที่นั้นไหม เคยนั้นเคยนี้ไหม (งง) เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ topic หรือประเด็นที่จะเรียนในวันนั้น

จากนักเรียนในอดีตที่นั่งฟังไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีอีกต่อไป ต้องรวมกลุ่มกันทำงานที่ครูสั่งที่ต้องแก้ปัญหาไปด้วย เช่นแต่ละกลุ่มมานำเสนอเรื่อง การทำอาหารโดย พูดภาษาอังกฤษ แต่ละบุคคลก็พูดส่วนนั้นส่วนนี้ ซึ่งต้องมีการคิด การเตรียม การแบ่งหน้าืที่ (เอาคิดเข้าไป ใครเวิร์คสุดได้คะแนนมากสุด)

ตบท้ายด้วยการทำการต่อยอดความคิด (บูรณาการ) สรุปเน้นให้ผู้เรียนคิด คิด และคิดแก้ปัญหา  

การเรียนภาษาจึงไม่ใช่แค่การนั่งฟัง หรือฝึกแบบซ้ำๆในห้อง sound lab แต่เป็นการกระทำที่รวมเอาการใช้ภาษาลงไปด้วย (เสมือนจริง)

รู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับในวิธีการที่กล่าวมานี้

แต่ต้องยอมรับ ว่าสอนให้คิด (cognitive) เป็นสิ่งที่ดี แต่ส่วนมากถ้ามันไม่สนุก (ไม่มี  affective )มันก็ไม่เวิร์ค  เด็กจะเหมือนบังคับให้ทำ  ก็กลับมาจุดเดิมที่สำคัญที่สุดคือ (แรงจูงใจภายใน ทำอย่างไรจะให้เกิด????)

ถ้าวันนี้คุณไม่อยากแตะภาษาอังกฤษ (เหมือนผมในตอนนี้ แสนเบื่อ)จะไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นเลยแม้วิธีการเรียนจะดีแค่ไหนก็ตาม 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #english teaching
หมายเลขบันทึก: 153166เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนี่ย....รออ่านอยู่นานเชียวค่ะ....แต่  "กลับมาคราวนี้....(ไม่ใช่)....เพื่อมาทวงความฝันคืน..."  หรอกหรือคะ  ไหง....ออกแนวอาการแสนเบื่อซะล่ะครับผม  หากมันไม่เวิร์ค  เราก็หาวิธีการใหม่ก็ได้ครับ  อย่าเพิ่งเหนื่อยนะครับผม  สู้ๆ ครับ  เด็กน้อยๆ รอคอยอยู่ครับ

สวัสดีครับพี่เกศวิไล

คงประมาณนั้นนะครับ จริงๆครับ คนเราเหมือนที่ทฤษฎีบอกไว้ หนึ่งต้องรู้สึกว่าทำสิ่งนั้นได้ ไม่ใช่ง่ายเกินไป หรือยากเกินไป สอง สิ่งที่ทำมันต้องท้าทาย แปลกใหม่ (challenge)  ที่จริงมันก็มีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกมากครับ อาทิตย์ที่แล้วมีพี่วานให้สอนแทน(สอนพิเศษ) แต่เขาเอาเด็กประถมมารวมกัน สามสิบสี่สิบคน (โกลาหล) เลยเข้าใจเลยว่าทำไมอาจารย์ต้องดุ ไม่งั้นเอาเด็กไม่อยู่ แต่กิจกรรมนี่ก็ทำให้รวมตัวกันได้ พอสอนเสร็จ  จุก เลย (ใช้เสียงเยอะ) เลยคิดว่าจริงๆประเทศไทยนี้การปฎิรูปการศึกษาน่าจะมีการทำวิจัยเกี่ยวกับ groupwork ให้เป็นเรื่องเป็นราวแบบจริงจังกว่านี้ที่จริงฝรั่งเขาก็ทำเยอะครับ แต่ไม่มีใครเอามาช่วยกันศึกษา(อาจติดปัญหา ความรู้พื้นฐานที่จะเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด) ที่เบื่อเพราะตรงนี้แหละครับ ความรู้จากงานวิจัยไม่ได้ถ่ายทอดสู่ครูผู้ปฏิบัติเท่าไหร่เลย เมืองไทย สงสัยต่อไปอาจจะเขียนแต่เรื่องการสอนนี้แหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท