เข้าคุกสามปีไม่รอลงอาญา...


คนส่วนใหญ่ที่รับกรรมก็คือคนไทยตาดำๆที่เจ็บป่วย

เรื่องแทรก

ตามข่าวที่หลายๆคนคงทราบกัน ตอนนี้เพื่อนๆหมอหลายๆคนคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกัน

จึงอยากมาแลกเปลี่ยนกันที่เว็บนี้ด้วย....

กรณีศาลจังหวัดทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช มีคำพิพากษาให้จำคุก แพทย์ประจำโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเวลา 3 ปี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ในข้อหากระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตจากการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกในการเตรียมผ่าตัดไส้ติ่ง แล้วผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ซึ่งภายหลังจากที่พยายามช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยแล้วแพทย์ได้นำผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับการรักษาตัวและเสียชีวิตในเวลาอีก 16 วันต่อมา

เพื่อนแพทย์ที่รัก:อ.เอื้อชาติ-กล่าวถึงกรณีอาญา
7 ธันวาคม 2550
เพื่อนแพทย์ที่รัก :
1) จดหมายฉบับนี้ผมมีเรื่องที่น่าเศร้า และเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนทางจิตใจเพื่อน ๆ ของเราทุก ๆ คน และก็เป็นเรื่องที่เป็นตัวอย่างให้พวกเราพึงใช้ความระมัดระวังให้มากๆ ถ้าเพื่อนๆ ย้อนไปดู จดหมายฉบับลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ของผม ซึ่งผมเคยเล่าเรื่องให้ฟังถึงคดีตัวอย่างที่โรงพยาบาลอำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งคนไข้ 1 คน ได้มารับการผ่าตัดไส้ติ่ง โดยแพทย์ผู้อำนวยการเป็นผู้ผ่าตัด และมีน้องแพทย์หญิง (แพทย์ใช้ทุน) มาช่วยเหลือ โดยช่วยทำ Spinal Block ให้ โดยใช้ Marcain
คนไข้รายนี้เป็นคนไข้บัตรทองของ พรบ. หลักประกันฯ และได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นไปเรียบร้อยแล้ว ตามมาตรา 41ติดคุก 3 ปี โดยไม่มีการรอลงอาญา
คำถามถึงมีมากมายว่า การประกอบวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่ ทำไมถึงติดคุกกันง่าย ๆ เช่นนี้เชียวหรือ หรือว่าต่อสู้คดีไม่เก่ง แสดงว่าทำด้วยเจตนาดีอย่างไร แต่ถ้าต่อสู้คดีไม่เก่งก็ไม่รอดใช่ไหม ?
ซึ่งในชั้นศาลนั้น อาจารย์สุรีรัตน์ อดีตประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีอาจารย์ธารทิพย์ ประธานราชวิทยาลัย ก็ให้การต่อศาลทำนองเดียวกัน และอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ยังให้การต่อศาลว่า เหตุการณ์เช่นนี้มีคนไข้เสียชีวิตจากการ Spinal Block โดยไม่ทราบสาเหตุ ทั่วโลกก็มีอุบัติการณ์อยู่เป็นระยะ ๆ โดยไม่ได้เกิดจากความประมาทแต่อย่างใด แต่คำให้การของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ไม่ได้มีน้ำหนักพอ แต่ศาลไปให้น้ำหนักกับแพทย์ 1 คน ซึ่งชอบไปเป็นพยานให้โจทย์เวลาฟ้องแพทย์Total Block ผู้ป่วยจึงเสียชีวิต จึงตัดสินจำคุก 3 ปี และไม่รอลงอาญา


ราชวิทยาลัยบอกว่า Total Block มักจะเกิดใน Epidural ไม่ใช่ Spinal แต่ว่าขณะนี้ศาลก็ได้เชื่อและตัดสินไปแล้ว คงเหลือแต่ความทุกข์โดยตรงที่เกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวงกับน้องแพทย์หญิงใช้ทุน ที่น่าสงสารคนนี้ และเพื่อน ๆ แพทย์ที่เหลือทั้งหมดที่กระเทือนใจอย่างใหญ่หลวง

แต่อย่างไรก็ดีผมใคร่ขอวิงวอนให้กระทรวงสาธารณสุข จะต้องเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาของน้องแพทย์หญิงใช้ทุนที่ถูกตัดสินติดคุก 3 ปี ทั้งๆ ที่โดยความเห็นของแพทย์ส่วนหนึ่งซึ่งมีส่วนรับทราบในคดีนี้ น้องได้ทำงานโดยเจตนาดีที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย แต่พอมีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นโดยทำได้ตามมาตรฐานแล้วกลับต้องรับโทษติดคุก และการไปใช้ทุนตามโรงพยาบาลอำเภอต่าง ๆ ก็ไปดูแลประชาชนตามความต้องการ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ส่งไป และผมคิดว่าถ้ากระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ จะมีองค์กรทางการแพทย์ทั้งหมดสนับสนุนอย่างแน่นอน  ปรากฏว่าคนไข้เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ (ซึ่งในระยะนั้นปรากฏว่าการใช้ Marcain ในการทำ Spinal Block มีการเสียชีวิตหลายต่อหลายราย ซึ่งทางราชวิทยาลัยวิสัญญีก็พยายามหาสาเหตุและทบทวนขั้นตอนในการปฏิบัติทั้ งหมด ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนว่าทำไมผู้ป่วยจึงเสียชีวิต จึงได้พยายามออกวิธีปฏิบัติ เมื่อจะต้องใช้ Spinal Block ด้วย Marcain และก็ยังพบว่า แม้ว่าจะทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วก็ยังมีเสียชีวิตอยู่บ้าง ซึ่งโดยสรุปแล้วก็ยังไม่รู้สาเหตุ จึงขอให้แพทย์ที่จะใช้ยาระงับความรู้สึกโดยวิธี Spinal Block ให้พึงตระหนักในเรื่องการเสียชีวิตให้มากๆ) (ซึ่งไม่ได้มีการพิสูจน์ว่าผู้ประกอบวิชาชีพถูกหรือผิด) แต่ญาติผู้ป่วยได้ฟ้องคดีแพ่งต่อกระทรวงสาธารณสุขในฐานะต้นสังกัด ศาลขั้นต้นได้ตัดสินให้กระทรวงสาธารณสุขแพ้ ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินยก คือ ให้กระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องรับผิด จึงรอศาลฎีกา (คดีแพ่ง) แต่ในระหว่างนี้ญาติได้ร้องต่ออัยการเขตและ อัยการได้เป็นโจทย์และญาติผู้ป่วยก็เป็นโจทย์ร่วมในการฟ้องคดีอาญา แพทย์ผู้ผ่าตัดและฟ้องแพทย์หญิง (แพทย์ใช้ทุน) ผู้ทำ Spinal Block ว่าประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ 6 ธันวาคม ศาลจังหวัดทุ่งสง ได้ตัดสินแพทย์ผู้จะทำผ่าตัดไม่ผิด แต่น้องหมอผู้หญิง (แพทย์ใช้ทุน) น้องหมอผู้หญิงจึงต้องใช้ตำแหน่ง & สมุดเงินฝากอีก 1 แสนบาท ประกันตัวออกมา มิฉะนั้นจะต้องติดคุกไปเรื่อยๆ ก็ไปให้การว่ามันเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถจะป้องกันได้ และทำตามขั้นตอนแล้ว (ขณะนี้ทั้งหมดมี 2-3 คน) ซึ่งแพทย์คนนี้ก็ไม่ได้เป็นแพทย์วิสัญญี ซึ่งผลสุดท้ายศาลจึงได้ตัดสินว่าแพทย์ประมาท ทำให้เกิด

 

......ในความเห็นส่วนตัวคิดว่าต้องมีการสื่อสารที่ดีกว่านี้ระหว่าง

แพทย์,ผู้ป่วย,และญาติ  เพราะว่าทุกๆการรักษาทั้งการผ่าตัดหรือให้ยากิน,ยาฉีด

ล้วนมีความเสี่ยง

แม้แต่คนที่แข็งแรงดีหรือไม่มีประวัติแพ้ยาใดๆก็มีโอกาสแพ้ยาหรือสารบางอย่าง

แบบรุนแรงได้ในครั้งแรกที่ได้รับ  ตรงนี้หลายๆคนจะไม่ทราบ และคิดว่าที่แพทย์ให้การรักษานั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการ

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแพทย์มักจะไม่ กล้าบอกเพราะกลัวผู้ป่วยไม่ยอมรับการรักษา

เช่นผ่าตัดไส้ติ่งหรือกระเพาะทะลุ เกือบร้อยเปอร์เซนต์จะเสียชีวิตจากการติดเชื้อและช้อคถ้าไม่ผ่าตัด

แต่ก็มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการดมยาสลบหรือระหว่างผ่าตัดเช่นกัน(ถ้าlow riskก็ประมาณ ห้าเปอร์เซนต์) 

พอบอกไป บางคนถึงกับจะกลับบ้านท่าเดียว

ซึ่งแพทย์ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เพราะเท่ากับปล่อยคนไข้ไปตายแน่ๆ

...ดังนั้นที่ทำงานกันอยู่ทุกวันนี้ แพทย์ส่วนใหญ่เริ่มหมดแรงหมดกำลังใจในการทำงาน

และแพทย์ไม่ดีเห็นแก่เงินก็มีมากขึ้นเรื่อยๆตามกระแสสังคมที่เห็นแก่เงิน

ตอนนี้ก็คาดการณ์ไม่ถูกเลยว่าอนาคตแพทย์จะเป็นยังไง.....

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 152456เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2007 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ

  • เรื่องแพทย์คงไม่กล้าออกความเห็น ถ้าเจตนาดี ก็ควรลดหย่อน ถ้าประมาทเลินเล่อ ไม่ใส่ใจคนไข้ ก็อีกอย่าง
  • ก่อนนี้มีดารากินเหล้าขับรถชนคนตาย ก็ไม่เข้าคุกเหมือนกัน ลองถามความเห็นคุณอัยการชาวเกาะดูไหมครับ เผื่อมีความคิดที่น่าสนใจเพิ่มเติม P 
  • แพทย์หรือทุกอาชีพ
  • มีทั้งดีและชั่ว
  • แต่ 
  • ผมขอเข้าข้างแพทย์ครับ
  • ทำดีเสมอตัว ห้ามพลาด

หากพิจารณาตามข้อมูลเท่าที่มีอยู่ น่าสงสารคุณหมอมากครับ คุณหมอไม่มีเจตนาอย่างแน่นอนในทัศนะของพี่นะ แต่ต้องมารับเคราะห์เเช่นนี้ต้องอุธรกันครับ  ยิ่งข้อมูลมาเปรียบเทียบกันแล้วว่า ศรรามรอลงอาญา ?? ก็น่าคิดมากครับ

 

วงการแพทย์ต้องช่วยกันมากๆหน่อย case นี้ครับ เอาใชช่วยครับน้องหมอ อิน

  • ดีใจที่ได้อ่านนะครับ
  • ลองไปอ่านของอัยการชาวเกาะรับรองว่าต้องชอบครับ
  • ดีใจที่ได้พบบันทึกชาว มช ครับ

กระผมคิดว่าต้องป้องกันหรือแก้ไขที่ต้นเหตุครับ

คุณหมอคิดว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหนบ้างหละครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ค้นพบและแก้ไขได้  ทุกคนทุกฝ่ายจะได้อยู่รอดปลอดภัย และมีความสุขนะครับ

 

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยสั่งไม่ฟ้องหมอกรณีรักษาคนไข้ที่เป็นภูมิแพ้ที่ตา หมอถามคนไข้ว่าแพ้ยาอะไรบ้างหรือเปล่า คนไข้บอกไม่ทราบ หมอก็ฉีดยาให้ (เรื่องนี้นานมากแล้วประมาณปี ๒๕๓๔ ผมจำชื่อยาไม่ได้) แล้วอาการคนไข้ก็ทรุดลงเรื่อยๆมีอาการตาแดงหนักขึ้นจนหน้าตาบวมผิวหนังปริแตกหน้าตาเหมือนคนตายกำลังเน่า ผมได้รับสำนวนมาพิจารณาความผิดฐานกระทำโดยประมาท(ของแพทย์)ทำให้เกิดอันตรายแก่กายถึงสาหัส ได้พิเคราะห์ถึงการรักษา สอบแพทยสภาให้ช่วยวินิจฉัยว่าถ้าอาการของโรคที่กำลังลุกลามอยู่หากหมอปฏิบัติตามขั้นตอนที่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนจะทำให้เกิดอาการเหมือนผู้เสียหายได้หรือไม่ ก็ได้ความว่าสามารถเกิดอาการเช่นนั้นได้ ผมถือว่าแพทย์ไม่ประมาทเสนอความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ไป อัยการจังหวัดเห็นชอบ และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ เรื่องก็จบ

แต่กรณีของศาลทุ่งสงน่าสงสารแพทย์ใช้ทุนครับ และเห็นด้วยค่อนข้างมากกับผู้แสดงความคิดเห็นในการลงโทษในความผิดฐานกระทำโดยประมาท ผมกำลังนึกถึงแพทย์พยาบาลที่กำลังปฏิบัติงาน ว่าจะมีใครกล้าตัดสินใจรักษาคนไข้หรือเปล่า การสืบพยานได้มีการนำเสนอไหมครับว่าวิสัญญีแพทย์มีมากน้อยขนาดไหนทั่วประเทศ และถ้าโรงพยาบาลนั้นวิสัญญีแพทย์ไม่พร้อมจะมีแพทย์คนไหนกล้าตัดสินใจรักษาผู้ป่วย ถ้าจะให้ปลอดภัยไว้ก่อนก็ส่งโรงพยาบาลศูนย์ แล้วก็จะเกิดการโยนกลองอย่างที่เป็นอยู่หลายโรงพยาบาล

ขอให้ทุกท่านใจเย็นๆตั้งสติให้ดี ยังมีโอกาสสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา แต่ขออภัยไม่อาจให้คำแนะนำปรึกษาโดยตรงได้เนื่องจากเป็นคดีที่อัยการฟ้องครับ แต่อยากอ่านคำพิพากษาฉบับเต็มครับ เผื่อจะได้วิเคราะห์ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในการสืบพยานครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณ  อัยการชาวเกาะ  ที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์และสร้างกำลังใจให้กับแพทย์

ตอนนี้คิดว่าคงทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด-ให้กำลังใจแพทย์ดีๆที่ยังคงทำงานอยู่  และรอติดตามข่าวต่อไปค่ะ

ฟังข่าวแล้วก็อดสงสารน้องไม่ได้เพราะนึกถึงตัวเองตอนที่ใช้ทุน เวลาที่จะทำการผ่าตัดในกรณีที่จำเป็นและต้องตัดสินใจในเวลาจำกัด บางครั้งถ้าไม่ทำ คนไข้อาการแย่เพราะรักษาช้าก็เกิดผลเสียต่อคนไข้

พอส่งตัวไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็พบว่า งานก็ล้นมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจนผ่าไม่หวาดไม่ไหว case ที่ไม่เร่งด่วนก็ได้รับการรักษาล่าช้า

ระบบสาธารณสุขวันนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน

ให้กำลังใจน้องครับ เพราะแพทย์ไม่คิดร้ายต่อผู้ป่วยอยู่แล้ว ขอให้ความตั้งใจดีของน้องช่วยน้องผ่านพ้นความทุกข์ใหญ่ในครั้งนี้ครับ

  • สวัสดี.ครับคุณหมอ ผมขออณุญาติให้ความเห็นในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่ง...ผมมั่นใจว่าในที่สุดคุณหมอท่านนั้นจะได้รับการตัดสินให้รอลงอาญา.แต่ห่วงกำลังใจของเธอ  นี้แหละชีวิตไม่ว่าคุณเป็นใครอาชีพอะไรก็ต้องเจอกับสถานะการณ์เป็นตายทั้งนั้น กระบวนการทางการรักษาของแพทย์ ณ.ปัจจุบันนั้นต้องยอมรับความจริงว่าน่าเห็นใจโดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุนกรณีนี้หากผมเป็นเพื่อนหัวหน้าน้องฯลฯจะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเธอ...เรื่องประมาทนี้เหนื่อยเหลือเกินครับตามความเป็นจริงขึ้นอยู่กับการเจรจาไกล่เกลี่ยน่าจะจบได้ผมไม่เชื่อว่าเธอตั้งใจและไม่คิดว่าปรารถนาให้เกิด...เมื่อ สิบกว่าปีก่อนผมและเพื่อนประสบอุบัติเหตุโดนรถชนถูกนำส่งรพ.นนทเวช ไม่มีเงินเขาไม่รักษาต้องหาผู้คำประกันตรวจเสร็จให้กลับบ้านไม่รักษาต่อบอกไม่เป็นอะไร แต่คุณหมอครับเพื่อนผมเชิงกรานหักต้องนอน 3 เดือนฯลฯ ผมไม่เคยโกรธหมอผู้หญิงคนนั้นเลยความผิดพลาดเกิดขึ้นได้และมีผลต่อเราได้ทุกเวลาไม่มีใครต้องการแต่เป็นสิ่งที่เราต้องเจอสักครั้งในชีวิต.มีการขอร้องไม่ให้เอาเรื่องกับเธอ....ผมไม่โทษเธอเลย   ขอให้เพื่อนผมไม่ตายในวันเกิดเหตุและขอให้เดินได้หลังจากเธอรอดและก็ได้เช่นนั้นตอนนี้เพื่อนผมเป็นข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโทสุขภาพดีและเป็นแม่ของลูกสาวผม...แม้วันนี้ผมขอให้ใครมีชีวิตรอดไม่ได้แต่ขอให้กำลังใจแก่คนดีทุกคนรวมถึงแพทย์ด้วยวิญญาณทุกท่านยังมีผู้ป่วยอีกมากมายรอท่านช่วยอยู่...และขอให้น้องหมอที่ร่อนพิบูลย์ผ่านวิบากนี้ไปให้ได้...เธอยังสามารถช่วยคนได้อีกมากมายครับ ต้องช่วยเธอให้ได้และยกระดับโรงพยาบาลของรัฐเสียที่ ภาพลักษณ์ของหมอไทยจะได้ดีขึ้นด้วย..." 30  บาทรักษาอะไรได้?"สวัสดีครับ

P 7. อิน
 

 

ขอบคุณค่ะคุณเดโชชัย

 รู้สึกซาบซึ้งที่คุณให้ความเห็นใจแก่หมอค่ะ

และเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดในครั้งนั้น

....ส่วนเรื่องที่ไม่รักษานั้น ก็อาจจะยังมีรพ.เอกชนอยู่บางที่

่ที่ไม่มีน้ำใจ ไม่มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ 

ผลเสียก็ตกอยู่กับคนไข้ที่ไม่รู้อะไร ต้องมาถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการรักษา

.....ตรงนี้ก็ยังไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร

ส่วนของรพ.รัฐเองก็มีผู้ป่วยล้นรพ. คนเจ็บป่วยก็เพิ่มขึ้นอยู่ทุกๆปี

คงต้งหวังพึ่งคนไทยกันเองเป็นอันดับแรกที่จะดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุดล่ะค่ะ

เรื่องนี้ละเอียดอ่อนครับ  สัญญานเริ่มมีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องครับ  สิ่งสำคัญผมว่าต้องทำเชิงป้องกันให้มากๆครับ  เพราะได้ร่วมกับสำนักสันติวิธีของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เห็นแนวโน้มว่าเกิดปัญหาในกระทรวงนี้มากๆ  มีการฟ้องร้องกันหลายๆฝ่ายครับ หมอกับพยาบาล  หมอกับคนไข้  หมอกับอื่นๆอีกครับ  ช่วงเวลาผ่านมาเด็กไม่อยากเป็นหมอแม้สอบได้ครับ

ระยะหลังๆมีการพูดถึงอาชีพหมอในทางที่ไม่ดีตามสื่อต่างๆ  กระทรวงคงต้องลงมาดูให้มากครับ  เพราะสังคมไทยเปลี่ยนไปมากพอควร   จะใช้รูปแบบเดิมๆทั้งระบบการศึกษา  การชี้แจงคนไข้แบบเดิม  ไม่ได้แล้วครับ  น่าเห็นใจคุณหมอท่านนี้จริงๆ  เอาใจช่วยครับ  คงต้องทำอะไรให้มากขึ้นจริงๆครับ 

P 

ขอบคุณค่ะคุณเอก

พอจะทราบข้อมูลมาบ้างค่ะ

ปีที่แล้วมีเด็กนักเรียนที่ได้โควต้าและเอ็นทรานซ์ติดคณะแพทย์สละสิทธิ

เกือบ 30 คนซึ่งไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน 

 

แล้วก็เกิดเรื่องราวฟ้องร้องแพทย์จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

แพทย์ปัจจุบันก็ถึงขั้นที่ว่าต้อง "ระวังตัว" มากขึ้น 

ก็น่าเห็นใจทั้งตัวคนไข้-ญาติเอง  และตัวแพทย์ทั้งสองฝ่ายเลยค่ะ

ตอบ

คุณ เรื่องจริง

เมื่อ Sat 09 Aug 2551 @ 12:25

779488 [ลบ]

ค่ะ ผู้เป็นแพทย์เองควรแสดงความเห็นใจกับญาติและผู้ป่วยด้วยความจริงใจ

ผู้เขียนเองไม่ใช่คนในพื้นที่ และไม่ทราบข้อมูลอย่างละเอียด

ขอขอบคุณที่ีแสดงความคิดเห็นค่ะ

ในกรณีศาลจังหวัดทุ่งสง เป็นเรื่องจริงค่ะที่แพทย์ไม่แสดงความใส่ใจกับญาติของผู้ตาย

อีกทั้งญาติผู้ตายยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานใด ๆ แม้แต่ทางกระทรวง,

แพทยสภา ทำให้ญาติเหลือหนทางสุดท้ายคือ ฟ้องแพทย์

(มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ blog " ฟ้องแพทย์ " ค่ะ)

ซึ่งที่บอกว่า "ใช่นะที่หมอมีความตั้งใจดีที่จะช่วยคนไข้"

อันนี้เห็นด้วยและเห็นใจแพทย์หลายท่านที่มีความตั้งใจจริง

แต่กลายเห็นว่าแพทย์กลายเป็นตัวแทน กลายเป็นสัญลักษณ์ในการฟ้องเพื่อเอาผิด

ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้มีแต่ความเสียหายตามมาแก่ทั้งระบบการรักษาเอง และต่อผู้ป่วยคนอื่นที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย

ต้องแก้ที่ระบบอย่างใหญ่หลวงเลยค่ะ การใช้อารมณ์แก้ไขที่ปลายเหตุคงไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง

แพทย์และทีมผู้รักษาแม้จะไม่ได้ตั้งใจทำ แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นเช่นนี้

ควรพูดคุยให้กำลังใจญาติ และแสดงความเห็นใจกับญาติผู้ตายค่ะ

ผมมองในแง่นี้นะครับ เรื่องนี้คงต้องเป็นอุทาหรณ์ให้กับทั้ง รพ. และ หมอทุกคน

1.กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่อคนไข้แล้ว ควระต้องรีบบอกญาติครับและทำความเข้าใจกับญาติให้มากที่สุด และพยายามช่วยเหลือ

อย่างเต็มความสามารถที่สุด เช่นกรณีผ่าตัดธรรมดา แต่หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ ต้องเข้าห้องไอซียู ควร

รีบอธิบายต่อญาติให้เร็วที่สุด ทันทีที่ผุ้ป่วยได้ย้ายจากห้องผ่าตัดแล้ว และต้องดูแลผู้ป่วย

อย่างใกล้ชิดมากที่สุด เพื่อให้ญาติได้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุที่ไม่มีใครคาด

คิดและเราได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด เต็มความสามารถเรา

2.ผู้อำนวยการ รพ. ต้องมีบทบาทอย่างมากในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาษย์ต่าง ๆให้เร็วที่สุด

ทั้งการคุยกับญาติคนไข้ การให้ความช่วยเหลือในการรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงต้องให้กำลังใจแพทย์ให้มากที่สุด อย่าให้เขาหมดกำลังใจ หรือ สติแตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พยายามให้เรื่องจบได้ด้วยดี และจบในโรงพยาบาล ให้ทุกฝ่ายเข้าใจมากที่สุด จะได้ไม่นำไปถึงการฟ้องร้อง

3.หัตถการบางอย่าง แพทย์ต้องระวังมาก ๆครับ ผมโดยส่วนตัวที่เป็นวิสัญญีแพทย์ มองว่าการทำ spinal block ที่ต้องการระดับการชาที่สูง เช่น ตั้งแต่ระดับลิ้นปี่ขึ้นไป โดยเฉพาะในการผ่าตัดคลอดลูก หรือ การผ่าตัดไส้ติ่งนั้น ค่อนข้างเสี่ยงมาก โดยเฉพาะหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่เราไม่สามารถวินิจฉัยได้ก่อน เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ โรคปอด อ้วนมาก ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กรณีที่บล้อกแล้ว วิ่งไปเข้าช่วยผ่าตัด แล้วให้พยาบาลเฝ้า ค่อนข้างเสี่ยงมาก หากเกิดอะไรแล้วเราจะไม่สามารถวินิจฉัยหรือแก้ไขได้ทัน กรณีนี้ ถ้ามีวิสัญญีพยาบาล

น่าจะใส่ท่อช่วยหายใจแล้วดมยาสลบเลย อาจจะปลอดภัยกว่า แต่หากผ่าตัดที่ช่วงล่างของร่างกาย การบล้อกผมก็มองว่ายังมีประโยชน์อยู่ครับ น้องแพทย์ที่จบใหม่คงพอสามารถทำได้

ผมมองว่า ณ ปัจจุบันนี้ ขอให้แพทย์ทุกคนพยายามทำการรักษา หัตถการต่าง ๆด้วยความระมัดระวัง และเลือกทางที่ safe ที่สุดสำหรับตัวเองและผู้ป่วยก่อนจะดีที่สุด

ครับ และอย่าลืมคุยกับญาติให้มาก ๆ ครับ และติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แล้ว หากเราได้คุยอย่างดี และติดตามอย่างใกล้ชิด ผมยังเชื่อว่าญาติผู้ป่วยต้องเข้าใจและไม่ฟ้องร้องตามมา

ขอบคุณค่ะคุณหมอ(วิสัญญีแพทย์)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะที่ต้องคุยและทำความเข้าใจกับญาติอย่างใกล้ชิด

และคุยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจติดตามอย่างสม่ำเสมอ

และให้เห็นว่าเราได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด เต็มความสามารถแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท