คลังชงตั้งงบขาดดุล2ปี


รมช.คลังเสนอตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเป็น 2.5-3% ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง 2 ปี เร่งใช้เงินในยามที่ค่าเงินบาทแข็งค่า นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็ง ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนมากถึง 8.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และเงินทุนไหลเข้ายังมีต่อเนื่อง รัฐบาลควรทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้น โดย         ในปีงบประมาณ 2552-2553 รัฐบาลควรทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้นกว่าเดิม ให้อยู่ใน ช่วง 2.5-3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งขณะนี้ อยู่ที่ 8.4 ล้านล้านบาท รมช.คลัง กล่าวว่า ถ้าตั้งงบขาดดุล 2.5-3% หมายถึงว่ารัฐบาลสามารถตั้งงบประมาณขาดดุลได้         1.7-2.5 แสนล้านบาท จากเดิมในปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลจัดงบประมาณแบบขาดดุลไว้แค่ 1.65 แสนล้านบาท  ซึ่งคิดเป็น 1.5-2% ของจีดีพี นายสมหมาย กล่าวว่า ในการตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์และต้องมีการระบุวงเงินที่ใช้ให้ชัดเจน ว่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเงินงบประมาณที่ตั้งแบบขาดดุลต้อง นำไปใช้เพื่อการลงทุน เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะทั้งนี้สัดส่วนเงินลงทุนปัจจุบันอยู่ที่ 24-25% ของงบประมาณรายจ่าย แต่ถือว่ายังน้อยมาก ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปใช้เพื่อการบริหารประเทศในด้านอื่น ๆ นายสมหมาย กล่าวว่า การเพิ่มการลงทุนในช่วงที่บาทแข็งทำให้รัฐบาลและผู้ลงทุนได้ประโยชน์ เพราะในการซื้อสินค้าทุนเครื่องจักร ก็ใช้เงินบาทไปแลกเงินเหรียญสหรัฐมาซื้อสินค้าทำให้มีภาระที่เป็นเงินบาทน้อยลง ทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งเศรษฐกิจในช่วงต่อไปต้องพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐ แทนการส่งออกที่ชะลอตัวลดลง  ตอนนี้เราพึ่งการส่งออกมากอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นไม่มีประโยชน์ที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อน และค่าเงินบาทที่แข็งอยู่ในระดับนี้ ก็เหมาะสมดีอยู่แล้ว และเท่าที่ประเมินค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าไปอย่างนี้อีก 1-2 ปี จากเงินทุนไหลเข้า อย่างต่อเนื่อง และทุนสำรองที่มากขึ้น ดังนั้นเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งการใช้จ่ายจากภาครัฐที่นำไปลงทุนมากขึ้นนายสมหมาย กล่าว อย่างไรก็ตาม นายสมหมาย กล่าวว่า ในช่วงที่รัฐทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้น รัฐบาลก็ควรอธิบายให้ประชาชนเกิดความเข้าใจถึงภาระการใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน การใช้จ่ายเพื่อสาธารณสุข และการศึกษา เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ  ด้านผลข้างเคียงของการทำงบประมาณแบบขาดดุลอีกอย่างหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่ม โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่อาจจะต้องปรับขึ้นปีละ 1% จากเดิม       ที่เก็บอยู่ 7% ซึ่งจะทำให้รัฐได้เงินเพิ่มขึ้นมาใช้ในงบ ประมาณเพิ่มปีละ 4 หมื่นล้านบาท สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อการลงทุนต่าง ๆ ได้มากขึ้น และต้องกำหนดเป้าหมายว่ามีแผนงานที่จะลดการขาดดุลงบประมาณลงในปีงบประมาณ 2554 นายสมหมาย กล่าวว่า ในภาวะ ที่ค่าเงินบาทแข็งที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เร่งการใช้จ่ายเงิน เช่น การคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งหนี้ดี ๆ ก้อนใหญ่ได้มีการขึ้นไปหมดแล้ว มีการเร่งการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าซึ่งเป็นการลงทุนที่สำคัญ มีประโยชน์ ลดต้นทุนการเดินทางและการใช้น้ำมันของประเทศ  นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้ มีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ ในรูปของการนำไปฝากต่างประเทศ การไปซื้อหลักทรัพย์ และการซื้อทรัพย์สิน  ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าว ประเทศญี่ปุ่นใช้ในยามที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นก็มีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศในด้านต่าง ๆ และเวลาที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ก็จะขายทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ไปลงทุน ซึ่งก็ทำให้ได้กำไรจากค่าเงิน และทำให้ค่าเงินเยนมีเสถียรภาพ โพสต์ทูเดย์  แนวหน้า  ข่าวหุ้น  โลกวันนี้ 
คำสำคัญ (Tags): #จีดีพี#รมช.
หมายเลขบันทึก: 152006เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2007 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท