ก้าวแรกการดำเนินงานนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง


นวัตกรรม

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 เป็นวันแรกที่มีการประชุมกรรมการและอนุกรรมการสร้างเสริมนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ณ กรมส่งเสริมการเกษตร วันนี้ตื่นเต้นนิดหน่อย เพราะทีมงานเตรียมการมานานพอสมควร ประมาณเดือนเศษ ๆ

ในวันนี้ที่กรมส่งเสริมการเกษตรคึกคักมาก เนื่องจากมีการเตรียมห้องทำงานท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรใหม่ 3 ท่านคือท่านรองปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ ท่านรองอภิชัย จึงประภา และท่านรองโอฬาร พิทักษ์ และมีการจัดงานเลี้ยงท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตร(ผตร.) 2 ท่านที่ท่านได้เลื่อนตำแหน่งจากรองอธิบดีกรมฯทั้ง 2 ท่านคือท่านผตร.ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ และท่าน ผตร.อรรถ อินทลักษณ์ รวมทั้งท่านรองอธิบดีทั้งสามท่าน โดยมีเจ้าหน้าที่ในกรมฯร่วมเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยง

การประชุมวันนี้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการ 4 ท่านเข้าประชุมด้วย คือ

 (1)   ศจ.นพ.วิจารณ์ พานิช ขณะนี้ท่านเป็นประธานมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ ผลงานของท่านในการผลักดันการจัดการความรู้สู่สังคมไทยประสบความสำเร็จ สังคมไทยได้รับเรื่องนี้เข้าเป็นวิถีชีวิตทุกภาคส่วน เพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น ท่านได้สร้างทรัพยากรมนุษย์มากมายในลักษณะตัวคูณ นับว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อสังคมไทยได้สนับสนุนและผลักดันการจัดตั้งสถาบันนี้ ตลอดจนได้แนะนำทีมงานซึ่งเป็นทีมการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรเดิมเข้ามาพัฒนางานด้วย ดิฉันขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงด้วยคะ

(2)   ท่านสุนัย เศรษฐบุญสร้าง ท่านเป็นที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตรและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายหน่วยงาน ท่านเขียนหนังสือด้านเศรษฐกิจพอเพียงหลายเล่มและมีแนวคิดการพัฒนางานด้านนี้อย่างกว้างขวาง ได้ผลักดันให้เกิดสถาบันนี้ขึ้นมาช่วงก่อนจัดตั้งได้ให้แนวความคิด หลักการและวิธีการมากมาย  แนวคิดของท่านหากนำไปสู่การปฏิบัติจริงจะเกิดคุณูปการต่อสังคมไทย

(3)  ท่านเอ็นนู ซื่อสุวรรณ ท่านเป็นรองผู้จัดการ ธกส. ดิฉันไม่เคยทำงานกับท่าน เคยทราบกิติศัพท์ว่าท่านมีส่วนสำคัญทำให้ ธกส. เปลี่ยนโฉมการทำงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นแบบองค์รวม

(4) ผอ.วิเชียร  ศรีลูกหว้า  ผู้อำนวยการมูลนิธิยุวเกษตรกรไทย ท่านมีประสบการณ์การทำงานภาคประชาสังคมมานาน ทำงานใกล้ชิดชุมชน ตลอดจนทำงานระดับนโยบายด้วย มีเครือข่ายการทำงานมากมาย

นับว่าเป็นความโชคดีของสถาบันฯที่มีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิในสังคมไทยมาให้คำแนะนำด้านต่าง ๆ และยังมีที่ปรึกษาอีก 2 ท่านที่ติดงานแต่ได้ให้กำลังใจและคำแนะนำก่อนหน้านี้แล้วคือท่านอาจารย์ ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ ประธานมูลนิธิพลังนิเวศชุมชนและอาจารย์วิชิต นันทสุวรรณ จากสภาผู้นำชุมชน ต้องขอบพระคุณทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยคะ

สำหรับประเด็นการรวบรวมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจ

พอเพียงมีข้อคิดเห็นดังนี้

ศจ.นพ. วิจารณ์  พานิช  มีข้อคิดเห็นดังนี้

(1) การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตอย่างเดียวไม่พอ เพราะการทำงานจริงต้องใช้ความรู้รอบด้าน คือ การแปรรูป การตลาด ทุน และสิ่งแวดล้อม

(2) วิธีการรวบรวมข้อมูลใช้หลายวิธีประกอบกัน นอกจากใช่้กลไกราชการ และควรมีกลไกลนอกราชการ ประกอบด้วย เป็น tacit knowledge ในเรื่องข้าวมีมูลนิธิข้าวขวัญ โดยคุณเดชา ศิริภัทร มีเครือข่ายเกษตรกรรู้จริง ชุมชนอโศก ลุงทองเหมาะ ปราชญ์ภูมิปัญญา  ดร.แสวง รวยสูงเนิน จากขอนแก่น นพ. สมพงษ์ ยูงทอง จากนครสวรรค์ และคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ จากจังหวัดพิจิตร

(3) ความรู้ที่นำไปใช้เป็นความรู้องค์รวมไม่แยกส่วน โดยบูรณาการองค์ความรู้หลายด้านมาประกอบนำไปสู่การปฏิบัติ

 

ท่านเอ็นนู ซื่อสุวรรณ  เห็นว่าควรต่อยอดความรู้จากหน่วยงานที่ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว จะเกิดประโยชน์ทวีคูณ เช่น มูลนิธิข้าวขวัญและมูลนิธิข้าวไทยที่ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว  นอกจากนี้ท่านได้คุยกับ กปร. มีความเห็นว่าควรมีการบูรณาการหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้ง สกว. และ สคส. ทำงานเรื่องข้าวเพื่อถวายในหลวง ขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพ โดย ธกส. ยินดีเข้ามาช่วยเหลือและมีข้อมูลเกษตรกรคนเก่งสามารถให้ข้อมูลมาเชื่อมประสานกันได้ด้วย

ผอ.วิเชียร  ศรีลูกหว้า  เห็นด้วยกับการเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องข้าว โดยแจ้งว่ามีงานวิจัยการพลิกพื้นดินไทย ใช้ปลาทะเลเป็น waste product ทำปุ๋ยชีวภาพ จะบริจาคจำนวน 50 ล้านลิตร ให้กรมส่งเสริมการเกษตรนำไปแจกจ่ายเกษตรกรเพื่อลดการใช้สารเคมี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ร่วมกับศูนย์ข้าวปทุมธานี มีเทคโนโลยีที่ทำให้ข้าวเรียงโมเลกุลใหม่ ทำให้ความงอกเพิ่มขึ้น ความแข็งแรงและผลผลิตเพิ่มขึ้น 20-25% ประโยชน์คือ ลดต้นทุนและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาเป็นข้อมูลนวัตกรรมเรื่องข้าว

 

นอกจากนี้ยังได้คุยเรื่องการจัดทำเว็บไซด์สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีข้อเสนอว่าควรให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเว็บไซด์ด้วยตนเอง จะได้มีความยั่งยืนต่อไป และสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นด้วย รวมทั้งการสร้างช่องทางให้ส่งข้อมูลนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง

 

     ดิฉันหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินงานด้านนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สำเร็จต่อไป

 

ธุวนันท์  พานิชโยทัย

6  ธันวาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 151672เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรียน...พี่หม่าที่เคารพค่ะ

  • ขอเป็นกำลังใจให้ในการทำงานนะคะ
  • ยินดีด้วยค่ะที่สถาบันฯ ได้เริ่มทำงานและมีผู้รู้ ผู้ชำนาญจากภายนอกมาร่วมกันในการขับเคลื่อนการทำงานภายใต้...ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • พวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรคงมีความสุขในการทำงานนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                     น้องแดงประหยัดเจ้า

สวัสดีครับ

  • พูดถึงการสร้างเวบไซต์ เห็นด้วยกับการให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการ ทำ
  • การมีส่วนร่วม เหมือนกับเว็บ gotoknow.org ที่ขยายผลไปไกลมากๆแล้ว
  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์
  • ดีใจกับก้าวแรก เป็นก้าวเริ่มต้นที่สำคัญของสำนักฯ  ครับ
  • สู้ๆ.....

หวัดดีค่ะ  ป้าหม่า

           ขอให้ได้เวปตัวจริงนะค่ะ ทุกคนรอคอยวันนั้นจะมาถึง  ยังคิดถึงเหมือนเดิมและยังเป็นกำลังใจให้เสมอ

            ต้อย

P  น้องแดงจ๋า

ขอบคุณมากนะคะที่ส่งกำลังใจมา ต้องอาศัยพวกเราทุกคนคะ งานจึงจะสำเร็จ หวังว่าเราคงมีความสุขที่ที่ได้ทำงานร่วมกัน เรียนจบหรือยังเจ๊า

รักเสมอ

พี่หม่า

P   สวัสดีคะหนุ่มร้อยเกาะ

  • เรื่องเว็บไซด์เราได้คุณวิศรุตช่วยทำให้ร่วมกับศูนย์สารสนเทศ และเราจะประสานงานกับโครงการต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียงให้เยาชนมีส่วนร่วมคะ
  • พี่อ่านหนังสืออิสรภาพเขียนโดยอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ เดินทางจากเชียงใหม่ไปยังสุราษฎร์ธานีแล้วนึกถึงหนุ่มร้อยเกาะและคนอื่นๆ ที่อยู่สุราษฎร์ฯ

P  เรียนน้องสิงห์ฯ

มีพรรคพวกน้องสิงห์ถามถึงในงานมหกรรม เจอครูบาฯด้วยคะซื้อหนังสือท่านแถมลายเซ็นให้ด้วย ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจ หวังว่าคงได้ร่วมงานกันอีก

พี่หม่า

สวัสดีคะน้องต้อย

     ขอบคุณคะที่ส่งกำลังใจมาให้ เมื่อวันก่อนเจออิฐ(คุณดุษฎี ที่ กระทรวงฯ)จะทำงานร่วมกันเรื่องข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน  คงสนุกแน่ ๆ เลยคะ เราอาจได้ร่วมมือกันอีกนะคะ ตอนนี้มีนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงก็รวบรวมเป็นองค์ความรู้เพื่อแบ่งปันแก่ผู้อื่นต่อไป กรมฯได้ทำหนับงสือให้จังหวัดรวบรวมแล้ว  พี่รู้ดีว่าต้อยมีความรู้จากการปฏิบัติจริงมากมาย คงได้ร่วมงานกัน ฝากความคิดถึงทุกคนด้วยคะ

พี่หม่า

เพื่อ การต่อยอด ชีวิต ชีวา

ผมยังเชื่อว่า  แพทย์  หรือ สุขภาพ กับ การ เกษตร ควรไปด้วยกัน อย่างใกล้ชิด  ไม่ว่าจะมองจากมุมใดก็ตาม

รายได้ดี มีความสุข   สุขภาพก็ดี

รู้จักใช้ ผลผลิตเกษตร เพื่อดีกับ สุขภาพ

ใช้เกษตรเชิง นิเวศใหม่   ก็ดีกับสุขภาพ ผู้ปลูกเพาะเลี้ยง  ดีกับผู้ซื้อ ผู้กิน

ผมอยู่หาดใหญ่ ก็แสวงหาเครือข่าย ทางใต้ไปพลางๆ ในระดับชาติ หรือ ส่วนกลาง ก็ลองหาเครือข่าย ทางสาธารณสุข หรือ ด้านสุขภาพ โภชนาการ สมุนไพร เพื่อเชื่อมต่อ ร้อยเรียง เครือข่ายไว้

เรียนคุณวีรพัฒน์

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะที่กล่าวมาว่าเราต้องไปด้วยกัน มีอะไรให้ช่วยก็เชิญได้เลยนะคะ ขอบพระคุณมากคะ

กลุ่มเยวชนอาซ่อง สายแม่ น้ำสายบุรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท