เฮฮาศาสตร์3 ที่ดงหลวง ตอน ทำเกือบปีกิโลกรัมละ 200


คงไม่ง่ายนักที่จะมีคนเพียรพยายามขนาดนี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หายากแต่ราคาแสนจะถูก

     ณ บ้านแก่งนาง ต.กกตูม พวกเรากลับจากเที่ยวน้ำตกแก่งโพธิ์  รอทีมงานจากพิษณุโลกมาสมทบที่ตลาดชุมชุนกลางหมู่บ้าน

     ออต ชวนพวกเราเดินชมหมู่บ้าน ดูบ้านที่ใช้ไม้ทำหลังคา แล้วเดินไปเรื่อย เห็นฝ้ายตากอยู่บนหลังคา ออต รีบเดินเข้าไปคุยกับชาวบ้านที่นั่งจับกลุ่มกันอยู่บ้านตรงข้าม

    ยาย...ไม่รู้ชื่อจริงครับ รับเป็นเจ้าของฝ้าย และบอกว่าทำเส้นด้ายเก็บไว้ก็มี ออต บอกให้ยายไปนำมาให้ดู  หนึ่งถุงประมาณ 2-3 กิโลเห็นจะได้ ยายบอกว่านั่งทำทั้งปีได้แค่นี้ละ  ชาวบ้านช่วยเสริมว่า ยายทำด้ายเก่ง และเส้นด้ายสวย ปั่นด้วยมืออย่างเดียว

803b3p113a

เครื่องหีบฝ้าย(Roller Gin)ที่ใช้มือหนุนหรือเรียกว่า"อิ้ว"

   บางคนใช้ เครื่องหีบฝ้ายหรือที่อีสานเราเรียกว่า"อิ้ว" ในการแยกเมล็ดของฝ้ายออกจากเส้นใย  บางคนไม่มีเครื่องหีบก็ต้องใช้มือแกะเอาครับ คิดดูนะครับว่ามันทำยากขนาดไหน

    โอ้... แม่เจ้าโว้ย  การทำเส้นด้ายจากฝ้ายนี่ ผมเคยเห็นคุณยายของผมทำสมัยผมเป็นเด็กๆ  อย่างดีก็แค่เอาไว้เป็นด้ายเย็บฟูก เย็บผ้าห่มนวม ที่เขาใช่นุ่นยัดข้างใน  แต่ยาย..คนนี้ทำด้ายจากฝ้ายด้วยมือเอาไว้ขายหรือทอผ้า แล้วแบบนี้ปีๆหนึ่งจะได้สักเท่าไหร่บาท ถ้าคิดเป็นค่าแรงหรือรายได้ต่อปีของประชากร ก็เพราะว่าเส้นด้ายที่ยายแกขายนี่เพียงกิโลกรัมละ 200 บาท เท่านั้นเอง

Puppla1+049

น้องออตและน้องออย สนใจเรื่องเส้นด้ายจากฝ้าย

     และตกลงว่า ออต ซื้อมา 1 กิโลกรัม

     ผมละนึกสงสารยายแกอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี กับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใกล้จะสูญหายไปจากชนบท  เนื่องจากราคาการผลิตตกต่ำ

     เพราะคนเราหันเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทดแทน  ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติมาโดยตลอด  ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

หมายเลขบันทึก: 150910เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
  • สวัสดีค่ะ ท่านสะมะฯ
  • ป้าแดงและเพื่อนที่ทำงาน มีแนวคิดที่อยากทำแบบนี้
  • แต่ทุกคนไม่มีพื้นฐาน ไม่มีเวลาทุ่มเทจริงจังเลย
  • ไม่รู้ว่าฝันจะเป็นจริงรึป่าว

ราคาถูกมากเลยนะครับ กว่าจะปั่นเป็นด้ายแต่ละเส้นขึ้นมา น่าเห็นใจยายจริงๆ

เสียดายผมไปเที่ยวมุกดาหารไม่งั้นได้ไปเที่ยวกับพี่สมนึกแล้ว

ภาพล่างสุด แอบเห็นเบียร์ช้าง คงไม่ใช่ยายใช้จิบนะครับ อิอิ

สวัสดีครับ pa_daeng

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับงานเกษตร นี้เราต้องเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่การผลิต วัตถุดิบให้เป็นก่อนนะครับ
  • ฉะนั้น  ป้าแดงและเพื่อนๆ ต้องปลูกฝ้าย เลี้ยงไหม ปลุกหม่อน ก่อนครับ
  • เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ก็เชิญครู อาจารย์มาสอนหรือแนะนำ เดี๋ยวก็เก่งเองละครับ

ขอบคุณครับ

 

  • สวัสดีค่ะ
  • วัตถุดิบส่วนมาก
  • ชาวบ้านขายได้ราคาถูก
  • ผ่านการแปรรูปนิดหน่อย
  • กลับมาหาชาวบ้านในราคาแพ้งแพงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน...  วิถีก็เปลี่ยนผันไปตามกระแสโลก

คิดถึงอดีตครับ...

อดีตที่แม่ยังทอผ้าด้วยมือ... 

ภาพเหล่านี้งดงามและมีพลังปลุกเร้าให้ผมรักผืนแผ่นดินเกิดอย่างไม่รู้ลืม...

......

 

สวัสดีครับ

ดีใจจังเลยที่ยังมีคนนำเรื่องราวของดงหลวงมาเล่าสู่กันอีกอย่างต่อเนื่อง

ชาวผู้ไทผู้เฒ่าผู้แก่เขามักจะปลูกฝ้ายทอผ้าขาวเก็บไว้ เคยถามยายท่านนี้ ท่านพูดยิ้มๆว่าเก็บไว้ใช้สอยในงานบุญยามที่จากโลกนี้ไปครับ

นับเป็นการดำเนินชีวิตแบบไม่ประมาทมี มรณานุสติดีแท้ครับ

สวัสดีครับน้องเอกจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • พวกเราได้มีโอกาสไปเดินชมวิถีชีวิตชาวบ้านกันพักหนึ่งครับ และก็เห็นว่าชนบททั่วๆไปของเมืองไทย ยังมีมนต์เสน่ห์บางอย่างซ่อนเร้นอยู่
  • ส่วนกระป๋องนั้นเป็นเครื่องดื่มแก้คอแห้งของพวกเราเองครับ

ขอบคุณครับ

พี่สะมะนึกะ

  • แสดงความคิดเห็นในฐานะที่ถูกพาดพิงครับ
  • ชาวบ้านที่เมืองเลย ปลูกฝ้ายขายเป็นฝ้ายอินทรีย์ขายกิโลกรัมละ 200 บาท
  • ปีหนึ่ง ๆกลุ่มช่วยกันผลิตเป็นสหกรณ์กลุ่มปลูกฝ้าย ซึ่งผลิตกันเป็นกลุ่ม เมื่อสิ้นปีมีผลตอบแทนหลายพันบาทต่อครอบครัว
  • นี่เป็นตัวอย่างของความขยันครับ ซึ่งราคา 200 บาทเป็นราคามาตราฐานที่กำหนดโดยชาวบ้าน นับว่าสูงกว่าราคาฝ้ายที่ซื้อจากร้านขายส่งอยู่พอควร
  • ความจริงเรามักคิดว่าชาวบ้านได้ผลตอบแทนน้อย ซึ่งผมคิดว่าหากขยันและผลิตเส้นใยมีคุณภาพดีจริงและปลูกในปริมาณที่พอเหมาะปีหนึ่ง ๆ ก็นับว่าได้กำไรอยู่พอเลี้ยงครอบครัวได้
  • อิอิ 

พี่เอก

  • เหอๆๆสังเกตดีแท้
  • กระป๋องเล็ก ๆเป็นสมุนไพรแก้หนาวครับ
  • น้ำตก เย็นดีจนหนาว
  • อิอิ เลยมีของแก้หนาว ไม่ใช่ของยายแต่ประการใด

สวัสดีค่ะท่านพี่

  • ชอบดูวิถีชีวิตเดิมๆของชาวบ้านค่ะ สงบ เรียบง่าย
  • เคยใช้ อิ้ว  อิ้วฝ้ายค่ะ เคยช่วยแม่อิ้วฝ้าย  ปั่นด้ายให้เป็นเส้นๆ  แต่เดี๋ยวนี้เหลือแต่อิ้ว...แต่ไม่ได้ใช้เลยค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณลุงสะ-มะ-นึก

  • สมัยเปลี่ยนไปวัฒนาธรรมเปลี่ยนแปลง
  • วันเสาร์ก็ได้อุดหนุนเสื้อผ้าที่ทำมาจากฝ้ายค่ะ
  • คิดถึงยายค่ะตอนยายอิ้วด้าย

สวัสดีครับท่านสะมะนึกะ

 

ชอบมาก

คงเป็นช่วงเดียวที่ออตเขียนเรื่องเด็กได้ออกไปเรียนรู้ของพื้นบ้านอย่างสนุก  ดีมากครับ หยิบเรื่องราวของท้องถิ่นออกมาบ้างเถอะ มีแต่จะไปไกลเกินไปจนลืมเหง้าของเราเอง อิ อิ

จริงๆเราต้องไปข้างหน้าแต่ก็มองเหลียวหลังบ้าง

P

วันนี้โพสต์บันทึกคุณไม่ขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่ลำดับที่ 1ขณะนี้ดูแล้วน่าจะเป็นลำดับที่ 13 นะค่ะเป็นลัคกี้นัมเบอร์เดียวกันกับเต้นท์ที่ดงหลวง

เสียดายเหมือนน้องเอกนั่นแหละที่ไม่ได้ไปด้วยวันนั้น เพราะกลับบ้านที่มุก

สวัสดีครับคุณครูRAK-NA

  • นั่นคือหลักการค้าขายครับ
  • ไม่มีผู้ค้าคนใดที่ลงทุนไปแล้วยอมขาดทุนหรอกครับ
  • ไม่เอากำไรมาก ก็น้อยแล้วแต่โอกาส  จริงไหมครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้อง แผ่นดิน

  • ครอบครัวมีส่วนร่วม  ครอบครัวมีสุข 
  • การได้ช่วยกันทำงานในครอบครัว ช่วยกันคนละนิดละหน่อย ทำไม่เป็นยืนให้กำลังใจก็ยังดี
  • เดินด้าย...ร้อยฟืมทอผ้า บางครั้งก็สนุก บางครั้งก็เวียนหัว
  • นี่คือวิถีชีวิตคนชนบทเมื่ออดีตกาล
  • แต่ยุคปัจจุบัน มองเห็นภาพเลือนลาง  หาดูยากครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านพี่ paleeyon

  • ดงหลวง ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกตั้งมากมาย อย่างที่ท่านพี่บางทราย ได้เขียนเล่ามาอย่างต่อเนื่อง แต่พวกเรายังเข้าไปร่วมรับรู้ไม่ทั่วถึง อันจำกัดซึ่งเวลา
  • วิถีชีวิตชนบทชาวดงหลวงก็เหมือนที่อื่นๆ ทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่ การดำเนินชีวิตที่พึ่งพัฒนาหลังจากการแตกแยกทางความคิดของผู้คนสมัยโน้น
  • เท่ากับว่าพึ่งเริ่มต้นการพัฒนามาเมื่อไม่กี่ปี แต่ก็ทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้ เท่าเทียมกับที่อื่นที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
  • ต้องขอยกย่องชมเชย ทีมงานที่เข้าไปทำงานที่นั่นทุกคนละครับ

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับน้อง ออต

  • การปลูกฝ้ายที่เมืองเลยถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจก็ว่าได้ จนต้องมีงาน "ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย"
  • การที่มีกลุ่มนายทุนคอยช่วยเหลือเรื่องพันธุ์พืชและการตลาด ย่อมทำได้ในลักษณะเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์
  • แต่ต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือบุกรุกป่า
  • เคยเห็นนายทุนจ้างปลูกขิงตามไหล่เขา ชาวบ้านจะต้องตัดไม้ ไถทำลายหน้าดิน เวลาเกิดน้ำป่าไหลหลาก แล้วเป็นเช่นไรเราก็เห็นกันอยู่บ่อยๆใช่ไหมครับ
  • คนรับกรรมคือชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ แต่นายทุนไม่รู้อยู่ไหน
  • ดังนั้นชาวบ้านจะทำอะไรบางครั้งขาดความรู้ ไม่มองไปข้างหน้า หวังเพียงรายได้เข้ามาช่วยเหลือครอบครัว กรณีนี้ก็น่าเป็นห่วงอยู่นะครับ
  • แต่ในกรณีแม่ใหญ่ที่ดงหลวงนั้น คงปลูกไม่มากหรอกครับ เพราะปลูกเอง เก็บเกี่ยวเอง  หีบเอง ปั่นเอง ทอเองครับ

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับน้องครู  หญ้าบัว

  • วิถีชีวิตแบบชนบทบ้านนอกดูสงบ ร่มรื่น ใครๆก็อยากอยู่
  • แต่ชีวิตต้องเดินตามฟ้าลิขิตนะครับ
  • "อิ้ว" ถ้าไม่ใช้งานเก็บไว้ดีๆนะครับ ป้าแดงอาจจะขอไปใช้งานต่อ เห็นว่าอยากทำผ้าฝ้ายกับเพื่อนๆครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้องสาว แดนไท

  • โลกยุคโลกาภิวัฒน์ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยี  จนธรรมชาติปรับตัวตามไม่ทัน
  • ผลกระทบก็ตกอยู่กับมนุษย์เรา ผู้ซึ่งพยายามเสาะแสวงหาความสุข ความสะดวก สบายใส่ตัว
  • วัฒนธรรมการกิน อยู่ หลับนอน แตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง
  • ผมยังเด็กมากตอนนั้นที่ยายปลูกฝ้ายและทอผ้าฝ้าย  แต่ก็ยังพอมองภาพเห็นแบบเลือนลางครับ  หรือเป็นเพราะว่าเราเป็นเด็กผู้ชาย เลยไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้สักเท่าไหร่
  • แต่จำได้ว่าอุปกรณ์พวกนี้บ้านยายมีหมดทุกอย่างครับ เพราะว่าเป็นชาวไร่ ชาวนา 1,000%ครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านพี่ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • มีแต่โรงเรียนตามชนบทบ้านนอก เท่านั้นกระมังครับ ที่ยังมีสอนภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตการเป็นอยู่แบบพอเพียง
  • ในเมืองหรือส่วนกลางคงทำได้ยาก แม้แต่ครู อาจารย์ ยังไม่รู้เรื่องกับงานอาชีพ เก่าๆแบบนี้
  • เด็กเมืองหลวงออกไปบ้านนอกเห็นวัวหรือควาย ยังแยกไม่ออกเลยครับว่าเป็นอะไรกันแน่ระหว่างวัวกับควาย อันนี้เป็นเรื่องจริงครับ
  • แต่เดินเข้าห้างเห็นแค่สัญลักษณ์ก็รู้แล้วว่าเป็นร้านไก่ย่าง เค.เอฟ.ซี.หรือ ร้าน เอ็ม.เค.สุกี้

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์ อ.หมู

  • สงสัยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ของอาจารย์มีปัญหาใช่ไหมครับ
  • มาช้ามาเร็วไม่สำคัญหรอกครับ แค่รู้ว่าเข้ามาก็ดีใจแล้ว
  • ผมก็เสียดายเหมือนกันไปตั้งไกลไม่ได้ไปเที่ยวมุกดาหารและสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2  เอาไว้โอกาสหน้าไปกันใหม่นะครับ

ขอบคุณครับ

ขอเข้ามาปั่นฝ้ายด้วยคนน๊ะค๊ะ

นึกว่าช่วยคุณยายเผื่อจะได้หลายกิโล

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ดีหาได้ยากขึ้นทุกทีเพราะกำลังถูกประยุกต์หรือปรับเปลี่ยนไปเป็นเทคโนโลยี
  • อย่าง" อิ้ว" ที่ถ่ายภาพมาดูแล้วสะดวกในการ หิ้ว ไปใหนมาใหนน๊ะค๊ะแต่ถ้าเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ไม่แน่อาจช้อตก็ได้ เพราะส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้า
  • แหมถ้าคุณยายอยู่ใกล้ ๆ ชายแดนจะชวนมาทอดทุเรียนเพราะกิโลหนึ่งเกือบ 400 ค่ะ

สวัสดีครับคุณพี่ pepra

  • "อิ้ว" ขนาดเล็กคงใช้ได้เฉพาะการทำเกษตรในครัวเรือนซึ่งเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริมนั่นแหละครับ
  • ถ้าการปลูกฝ้ายหรือทอผ้าจากฝ้ายเป็นอาชีพหลัก คงต้องใช้เครื่องหีบฝ้ายที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้านะครับ
  • ที่ จ.ยะลา ทุเรียนคงเยอะนะครับ  ชอบเหมือนกันครับทุเรียนทอดกรอบ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท