ธรรมะกับการศึกษา >> 1) หลักสิกขา: ความจริงแห่งธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ฝึกได้


ธรรมะ การศึกษา พระพรหมคุณาภรณ์

ด้วยความที่อยากจะเข้าใจการศึกษา และ ธรรมะ มากขึ้น และมีโอกาสได้เจอไฟล์ี MP3  ของพระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ. ปยุตฺโต) ในหัวข้อ ธรรมะกับการศึกษา จึง   เปิดฟัง  พอฟังแล้ว ก็ทำให้เข้าใจมนุษย์มากยิ่งขึ้น และทำให้เข้าใจที่มาของปัญหาการศึกษาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น   และคิดว่าหากสรุปเป็นข้อความให้ผู้อื่นได้อ่าน ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นนั้นได้บ้างไม่มากก็น้อย  หากสรุปผิด ก็ขอน้อมรับผิดและจะปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

1) หลักสิกขา: ความจริงแห่งธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์ฝึกได้    
http://www.watnyanaves.net/sounds/education/edu01.mp3
   
ม นุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก และสามารถฝึกได้  พอฝึกแล้ว มนุษย์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐและเก่ง  แต่ถ้าเป็นสัตว์โดยทั่วไป จะอยู่ได้ด้วยสัญชาติญาณ   อาจจะมีการฝึกได้  แต่ต้องอาศัยคนอื่นในการฝึก เช่น  ช้างก็ต้องอาศัยมนุษย์ในการฝึก  มนุษย์ที่จะประเสริฐและดีงาม จะต้องผ่านการฝึก การเรียนรู้ และการพัฒนาเอง   สรุปแล้ว มนุษย์มีความประเสริฐอยู่ที่ฝึกได้   หรือ ฝึกแล้วจึงประเสริฐ   ถ้ามนุษย์ไม่ฝึก ไม่พัฒนาตนเองแล้ว ก็จะด้อยกว่าสัตว์อื่นซึ่งอยู่ได้ด้วยสัญชาติญาณ   พระพุทธเจ้าได้พูดว่า มนุษย์ที่ฝึกตนแล้ว  ประเสริฐยิ่งกว่าเทวดาและพรหม   ดังนั้น มนุษย์จะต้องฝึกฝนและพัฒนาตนเอง   เพื่อทำให้ชีวิตของตนเองดีงามและประเสริฐ   ซึ่งก็จะเปลี่ยนจาก ปุุถุชน ซึ่งแปลว่า บุคคลผู้มีกิเลสหนา  เป็น อริยชน ซึ่งแปลว่า ผู้ประเสริฐ   ชีวิตที่ดีงาม คือ ชีวิตที่เรียนรู้เรื่อยไป ถ้าหากใครไม่ศึกษาเรื่อยไป  ก็ถือว่าเป็นคนที่มีความประมาท


อ้างอิงจาก http://www.papayutto.org/

หมายเลขบันทึก: 150901เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีจ้ะน้องต้อม

ชีวิตที่ดีงามต้องศึกษาเรื่อยไป..และเราเป็นสัตว์ประเสริฐเพราะเราสามารถ " ฝึกตน " ได้ เป็นเรื่องจริงที่หลายๆครั้งการถ่ายทอดมีการตกหล่นไ่ม่นำมาขยายความทั้งหมดทำหใ้เราอหังการ์เพียงเพราะเราคิดว่าเกิดเป็นมนุษย์นั้นถือว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์อื่นแล้ว

พี่เพิ่งอ่านเรื่อง " คำขอที่ยิ่งใหญ่ " ของพระไพาล วิสาโลจบ  พี่ขอคัดลอกเอาคำที่พี่ประทับใจมาฝากนะจ๊ะ

การขอโทษมิใช่เครื่องหมายแสดงถึงความอ่อนแอ  มีแต่ในอาณาจักรสัตว์เท่านั้นที่ตัวอ่อนแอเป็นฝ่ายคืนดีก่อน แต่สำหรับมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรมแล้ว  ผู้ที่เอ่ยปากขอโทษก่อนต่างหากคือผู้ที่เข้มแข็งกว่า  เข้มแข็งเพราะเขากล้าขัดขืนคำบัญชาของอัตตาที่ต้องการประกาศศักดาเหนือผู้อื่น..

อย่าโยนหน้าที่ให้ศาลเป็นผู้ตัดสินความถูก - ผิดไม่ว่าจะทำอะไรไปก็ตามควรให้มโนธรมสำนึกในใจของเราเป็นเครื่องตัดสิน ..

อ่านแล้วพี่นึกถึงคนบางคนที่อยู่ไกลแผ่นดินเกิดเหลือเกินจ้ะ..ต้อมมีเรื่องเกี่ยวกับธรรม 5 ข้อมั้ยจ๊ะพี่ลืมเลือนไปแล้ว เพราะพี่เห็นว่าเราจะเน้นแต่ศีล 5 ที่เป็นข้อห้าม แต่พี่จำได้ว่ามีธรรม 5 เหมือนกันที่เป็นข้อควรปฏิบัติและเป็นสิ่งคู่กันคือศีล 5 และธรรม 5 แต่พี่เลือนๆไม่ชัดเจนน่ะจ้ะ

 

ขอบคุณค่ะพี่เบิร์ดที่เข้ามาเยี่ยมและแสดงความคิดเห็น

เห็นด้วยค่ะว่าเราต้องศึกษาเรื่อยไป  โดยเฉพาะศึกษามนุษย์นี้ก็คงต้องศึกษาเรื่อยไป เพราะเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ และสลับซับซ้อน

ขอบคุณมากค่ะที่เอาคำของพระไพศาลมาฝากค่ะ  เห็นด้วยค่ะว่า การขอโทษไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอ ต้อมก็ขอโทษนักศึกษาทุกครั้งที่ต้อมรู้สึกว่าต้อมทำอะไรผิด  ต้อมไม่แน่ใจเรื่อง ธรรม 5 ที่พี่พูด แต่วันนี้เพิ่งพูดให้เด็กนักศึกษาฟังเรื่อง ศีล 5 เพราะเขาทั้งคัดลอกงานคนอื่นมาส่ง และโกหกต้อม  ก็เลยอบรมเขาเรื่องศีล 5  

ค่อยคุยกันใหม่นะค่ะพี่เบิร์ด คิดถึงค่ะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท