มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

เก็บตกจากเวทีประชุมเกษตรอำเภอสัญจร


หลากหลายลีลา และบรรยากาศการประชุมของผู้บริหาร

       เมื่อวานนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเกษตรอำเภอสัญจร ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนายสุรศักดิ์  สุทธิเวทย์ เกษตรจังหวัด เสนอแนวคิดให้มีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพการประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือนสัญจร เพื่อได้ศึกษาดูงานการพัฒนาสำนักงาน ตลอดจนได้เยี่ยมชมผลงานส่งเสริมการเกษตรเด่นของอำเภอ ซึ่งทำให้เกษตรอำเภอต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานแก่กันและกัน พร้อมนำแนวทางดีๆ ไปพัฒนางานและสำนักงานต่อไป

        สำหรับครั้งนี้ ได้สัญจรมาที่สำนักงานเกษตรอำเภอหัวหิน ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนายชัด  หนูเหมือน เกษตรอำเภอ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอหัวหินทุกคน ซึ่งการมาเยือนอำเภอหัวหินครั้งนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหนึ่งอย่าง คือมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสำนักงาน ทำให้รู้สึกสดชื่นกับสวนหย่อมน่ารักๆ ที่เจ้าหน้าที่ทุกคนได้ร่วมแรงใจกันปรับปรุง

        จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ผู้เขียนได้พบเห็นบรรยากาศการประชุม ที่ขอบอกว่ามีรสชาติมาก ถ้าเปรียบเทียบกับการดูหนังก็เหมือนดูหนังสนุกที่มีการแก้เกมกันตลอดเรื่อง มีทั้งวิธีการพูดตัดบท การใช้อารมย์ขันเพื่อลดความตึงเครียด การใช้คำขอโทษของผู้บริหาร และอื่นๆ อีกมากมาย จากการสังเกตุและผู้เขียนนำมาวิเคราะห์ ตามมุมมองของผู้เขียนนั้น พบว่า บรรยากาศในการประชุมไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งก็รวมถึงผู้บริหารในระดับต่างๆ ด้วยนั้น สิ่งที่ช่วยให้บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี มีสาระ และมีความสุข นอกจากสภาพแวดล้อมของสถานที่ประชุมแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนควรจะ

  • รู้บทบาทตัวเอง ลดการแทรกแซงผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
  • เตรียมตัว และทำการบ้านมาดี เนื้อหาสาระต้องแม่น
  • รักษาเวลา
  • ลดความตึงเครียดด้วยอารมย์ขัน ในบางครั้งคราว
  • ใช้คำขอบคุณ และขอโทษได้ตามสถานการณ์ และสามารถใช้ได้บ่อยกว่า คำติติง คาดโทษ (สองคำหลังนี้ควรหลีกเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น)

      ส่วนสำคัญ ที่ผู้เขียนได้จากการประชุมครั้งนี้ และอยากนำมาฝากทุกท่าน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ก็คือมุมมองของเกษตรอำเภอในการทำงานศูนย์บริการฯ ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีเกษตรอำเภอ 3 ท่านได้ให้มุมมองที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

  • นายอาคม  เด็ดรักษ์ทิพย์  เกษตรอำเภอปราณบุรี กล่าวว่าได้ใช้เทคนิคการสร้างความคุ้นเคยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานศูนย์บริการฯ โดยเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนการทำงานร่วมกับนักการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะ อปท. นั้นให้วางตัวเป็นกลาง
  • นายวัชระ  วชิรศิริ  เกษตรอำเภอบางสะพาน กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ต้องลดอัตตาลง แล้วบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนการพูดคุยกับชาวบ้านให้ใช้ภาษาง่ายๆ ที่เข้าใจง่าย
  • นายชนะไพรินทร์  ภัคดีเสมอ  เกษตรอำเภอบางสะพานน้อย กล่าวว่าการดำเนินงานศูนย์บริการฯ จะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับ ศักยภาพและความสนใจของเจ้าหน้าที่ เกิน 50%  ความร่วมมือของคณะกรรมการศูนย์ฯ 25% และส่วนที่เหลืออีกประมาณ  25% คือการติดตามและให้กำลังใจของเกษตรอำเภอ

        และนี่ก็คือสิ่งดีๆ ที่ผู้เขียนเก็บมาฝากจากเวทีการประชุมเกษตรอำเภอสัญจร

หมายเลขบันทึก: 150747เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2007 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวัดดีครับ

  • เห็นด้วยกับท่านเกษตรอำเภอทั้ง 3 ท่าน ครับ
  • แล้วจะนำสู่การปฏิบัติอย่างไร ???
  • สวัสดีค่ะ หนุ่มร้อยเกาะ
  • ท่าน กษอ. ทั้งสาม ได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้กล่าวไว้มาแล้ว ซึ่งผลจากการปฏิบัติทำให้ศูนย์บริการฯ ต.ทรายทอง อ. บางสะพานน้อย ได้รับรางวัลศูนย์บริการฯ ดีเด่นของจังหวัด ปี 2549 และศูนย์บริการฯ ต.หนองตาแต้ม อ. ปราณบุรี ได้รับรางวัล ปี 2550 และทั้ง 2 ศูนย์ฯ นี้ก็ยังคงมีการดำเนินการที่ดีอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันค่ะ
  • แต่ที่ประจวบฯ เอง ก็ยังมีศูนย์บริการฯ อีกส่วนมากที่ยังต้องปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการให้ได้ตามศูนย์ฯ ดีเด่น ทั้ง 2 .....  ซึ่งก็ยากสำหรับการจัดการ เพราะมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ไม่เอื้ออำนวยในบางพื้นที่   เหนื่อยค่ะ......
  • ศูนย์บริการฯ ที่สุราษฎร์ฯ เป็นอย่างไรบ้างค่ะ มีข้อมูลดีๆ มาแลกเปลี่ยนกันบ้าง

ความสำเร้จกับความล้มเหลวมีจุดเริ่มต้นจากที่เดียวกันคือใจ เป็นปัจจัยปฐมเหตุ ขอให้พยายามต่อไป เป็นกำลังใจให้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท