ใช้ชื่อโดเมนดอทอะไรในยุคเว็บ 2.0


dot th เป็นความภาคภูมิใจของเราคนไทย ที่ได้รับการดูแลรักษาไว้ ให้จดทะเบียนใช้ได้เฉพาะแต่ชาวไทย

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม เป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำเลข IP Address เรามักจะเห็นชื่อโดเมนจากส่วนหนึ่งของชื่อเว็บไซต์หรือบางทีก็เป็นส่วนหนึ่งของอีเมล์ เช่น www.gotoknow.org มีชื่อโดเมนคือ gotoknow.org และก็อาจจะมีอีเมล์ที่ใช้ในการติดต่อเช่น webmaster @ gotoknow.org เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับการตั้งชื่ออีเมล์โดยเจ้าของชื่อโดเมนนั้นๆ)

ถ้าจะแบ่งประเภทของชื่อโดเมนออกเป็นกลุ่ม ก็อาจจะแบ่งได้ด้วยกลุ่มก้อนสุดท้ายหลังเครื่องหมายจุด ที่มักเรียกกันว่า "ดอท" บ้างก็บอกว่าจดชื่อโดเมนต้องจดดอทคอมเพราะมันอินเทอร์ จดดอททีเอชเพราะมันน่าเชื่อถือ จดดอททีวีเพราะจะเอาไปใช้ทำรายการโทรทัศน์ แต่จริงๆ แล้วชื่อโดเมนได้ถูกกำหนดไว้หลักๆ 3 ประเภทตามลักษณะการใช้งานโดยหน่วยงานอินเทอร์เน็ตสากลซึ่งรู้จักกันในนาม ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ได้แก่

gTLDs (generic Top Level Domains) สำหรับการใช้งานทั่วไปเช่น dot com, dot net, dot org เป็นต้น

ccTLDs (country code Top Level Domains) เป็นการจัดสรรชื่อโดเมนตามรหัสประเทศซึ่งจะให้ดูแลโดยประเทศนั้นๆ สังเกตง่ายๆ ว่า จะเป็นตัวอักษร 2 ตัวเสมอ เช่น th แทน Thailand, jp แทน Japan, us แทน USA เป็นต้น

sTLDs (sponsor Top Level Domains) เป็นกลุ่มที่กลายๆ จะเป็น gTLDs อีกประเภท ซึ่งถูกนำเสนอโดยการรวมตัวของ เชื้อชาติ ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น dot aero สำหรับกลุ่มสายการบิน และ dot asia ที่เพิ่งได้เปิดให้เริ่มจองกันไปเมื่อไม่นานมานี้สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของชาวเอเชีย และจะเปิดให้จดทะเบียนใช้งานจริงช่วงต้นปี 2551

 

 <p> </p><p> สำหรับคนไทยคน ผมมักจะเห็นชื่อโดเมน thaisomethingsomething.com บ้างหละ thaisomethingsomething.net บ้างหละ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทั้งๆ ที่เรามี dot th ให้ใช้โดยเฉพาะอยู่แล้ว ด้วยสาเหตุหลักที่ทราบมาก็คือ เรื่องนโยบายการจดทะเบียนของ dot th ที่เคร่งครัดและรัดกุม ทำให้ชื่อโดเมน dot th ที่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบยืนยันความเป็นเจ้าของก่อนจะได้มาถือครองนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยม อินเทอร์เน็ตประเทศไทยผ่านมาสิบกว่าปี เราเพิ่งจะมีจำนวนชื่อโดเมน .th อยู่เพียง 26,000 กว่าชื่อโดเมนเท่านั้น (dot jp มีประมาณ 800,000 ชื่อโดเมนเมื่อต้นปี 2007) </p> <p> สำหรับผมแล้ว dot th เป็นความภาคภูมิใจของเราคนไทย ที่ได้รับการดูแลรักษาไว้ ให้จดทะเบียนใช้ได้เฉพาะแต่ชาวไทย หรือผู้ที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้น หากจะมองไปชื่อโดเมน ccTLDs อื่นๆ บ้างก็ไม่สามารถดูแลเองได้ บ้างก็ต้องขายออกให้คนต่างชาติมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น dot fm ไม่ใช่เพื่อคลื่นวิทยุ แต่จริงๆ เป็นของ Federated states of Micronesia
dot la ก็ไม่ใช่มาจาก Los Angeles แต่เป็นของลาวประเทศเพื่อนบ้านเราเอง
dot tv ก็จากหมู่เกาะ Tuvalu ที่มีประชากรอยู่แค่หลักหมื่นเท่านั้น
</p> <p> ถึงแม้ในปัจจุบัน dot th จะมีการนำเสนอกลุ่มชื่อโดเมนใหม่อย่าง .in.th ที่โปรโมตออกมาว่า “dot in Thai” ซึ่งมีกฏระเบียบน้อยกว่า .co.th แต่ก็อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันดี และก็ไม่รู้ว่าแคมเปญ “Blog ไทยโดเมน.in.th” จะเป็นที่นิยมสักแค่ไหน? </p> <p> มองกลับไปยังสถานการณ์โลกที่ชื่อโดเมนสวยๆ สั้นๆ อ่านง่ายๆ เริ่มจะถูกจดหมดไป การเข้ามาของยุคเว็บ 2.0 ทำให้เราเริ่มเห็นชื่อโดเมนแปลกๆ กันเต็มไปหมด อ่านออกบ้าง อ่านไม่ออกบ้าง บางคนก็บอกว่าชื่อโดเมนไม่จำเป็นต้องจำง่ายสะกดได้อีกต่อไป เพราะศักยภาพของเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ทำให้เราไม่ต้องจำตัวสะกดชื่อเว็บไซต์แล้ว นึกอะไรไม่ออก ขอให้นึกคีย์เวิร์ดแล้วค้นหาเอา จนมีเว็บไซต์แปลกๆ สำหรับการช่วยตั้งชื่อโดเมนอย่าง http://www.dotomator.com ที่มีหน้า web 2.0 name generator ให้เล่นกัน ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไร แต่ชื่อโดเมนดังๆ ตัวแรกๆ ที่ผมรู้จักและสงสัยมากก็คือ flickr.com </p> <p> fickr.com เป็นเว็บ 2.0 ที่นำเสนอเรื่องการแชร์รูปภาพ โดยพจนานุกรม
flick เป็นคำแสลงแปลว่า ภาพเคลื่อนไหว
flicker ก็เช่นเดียวกัน
แต่อาจจะเพราะ ชื่อโดเมนทั้งสองโดนจดไปแล้ว หรืออาจจะเป็นเพราะต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเว็บไซต์ er จึงถูกบั่นทอนลงเหลือแค่ r ตัวเดียว แต่ก็ยังออกเสียง เออร์ อยู่เช่นเดิม
</p> <p> กรณีถัดมา คือ digg.com ที่น่าจะมาจากคำว่า “dig” ที่แปลว่า ขุด ตามโลโก้ไอคอนของเว็บไซต์ที่เป็นพลั่ว
ถ้าจะ dig.com ก็คงจะไม่เท่ห์ ต้องใส่ g เพิ่มตามหลังไปอีกตัว </p> <p> หรืออย่าง http://slashdot.org ที่มาจากมุขฝรั่งให้อ่านว่า เอช ที ที พี โคลอน สแลช สแลช ดอท ดอท อ๊อค </p> <p> del.icio.us ที่แปลว่าอร่อย ก็มาจากการจดชื่อโดเมน icio ด้วย dot us และก็มีชื่อโดเมนอีกหลายเว็บที่ใช้มุขประเภทนี้เช่น script.aculo.us ที่เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับ JavaScript library ที่สร้างบน Prototype JavaScript Framework </p> <p> wayn.com จากตัวอักษรย่อ “Where Are You Now?” </p> <p> wishlistr.com ที่มาจาก wishlist รายการสิ่งปรารถนาแล้วเติม r ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นต้นแบบเว็บไซต์หนึ่งของ wish.in.th </p> <p> และเว็บไทยๆ ยกตัวอย่างเช่น </p> <p> zickr.com ที่เจ้าของเว็บเค้าบอกว่ามาจากคำว่า sick ที่แปลว่า ป่วย แต่ใช้ z แทน s และใส่ r ตามท้ายให้มีเสียง เออร์ </p> <p> web2.0thai.info ก็เป็นอีกไอเดียเก๋ไก๋ที่ใช้ชื่อโดเมน 0thai แล้วไปจดเป็น dot info จากนั้นก็ใช้ subdomain ว่า web2 ทั้งอ่านรู้เรื่อง และง่ายต่อการจดจำ </p> <p> แต่ไม่ว่าเราจะจดโดเมนดอทอะไร ก็ไม่สำคัญเท่าเราจะจดชื่อโดเมนไปทำไม เว็บไซต์ซึ่งเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารชั้นเยี่ยมในยุคนี้จะถูกนำไปใช้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน เกมซึ่งถูกริเริ่มโดยนวัตกรอินเทอร์เน็ตอย่าง “ชื่อโดเมน” ได้ถูกยอมรับและใช้งานกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก สังคมออนไลน์ที่เราอยู่จะเป็นไปในทิศทางไหน กฏหมู่ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นจะถูกปรับเปลี่ยนไปเช่นไร คนจำนวนมากจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีหรือถูกเทคโนโลยีใช้ ธุรกิจผลักดันให้เกิดชื่อโดเมนจำนวนมากหรือชื่อโดเมนก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ ใครจะเป็นเหยื่อของใครกันแน่ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think? </p>

หมายเลขบันทึก: 150088เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2007 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
ลองดูข้อมูลจาก http://www.iana.org/gtld/gtld.htm แล้ว คิดว่า .asia น่าเป็น unsponsored gTLD นะค่ะ

ขอบคุณมากครับ เท่าที่ดู รู้สึก .aero .cat .coop .jobs .mobi .museum .tel .travel มีชนิดเป็น sponsor แต่ .asia เป็นแค่ generic ธรรมดา น่าสนใจครับ

โครงการ "Blog ไทยโดเมน.in.th" น่าสนใจมากครับ

แต่น่าเสียดายฟรีแค่ปีเดียวเอง

แคมเปญ .in.th คงไม่สำเร็จหรอกครับ

เพราะหลังจากปีนึงก็ต้องเสียเงินโขอยู่ รวมแล้ว 3 ปีแรกต้องจ่ายถึง สองพันห้าร้อยบาท

(ในขณะที่ .com เวลา 3 ปีจ่ายแค่พันนิดๆ เอง )

แล้วใครหนอ จะอดทนเขียนบล็อก หรือไดอารี่ด้วยรายจ่ายขนาดนั้นได้  

แต่ละเว็บ ชื่อเก๋ๆทั้งนั้นเลย

ขอบคุณ คุณชัยวิทย์ และคุณ sata ครับ

แสดงว่าโดเมนฟรีน่าสนใจ แต่คนจะไม่อยากจ่ายปีถัดๆ ไปถ้าราคามันยังปีละ 800 กว่าบาทอยู่ แสดงว่าราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจสำหรับเรา

ขอกลับไปที่ตัวอย่าง .jp นะครับ ถ้าผมจำไม่ผิดราคาโดเมนญี่ปุ่นแพงกว่า gTLD เป็นเท่าเลย แต่คนญี่ปุ่นก็ยังจด .jp กันอยู่ บางทีราคาอาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด แล้วอะไรคือสาเหตุในการตัดสินใจจดชื่อโดเมนดอทอะไรสักอย่าง ความน่าเชื่อถือ หรือชาตินิยม หรือการบริการ น่าคิดครับ

ส่วน Mike ถ้าสนใจอยากเห็นชื่อ web 2.0 เพิ่ม ลองไปดูที่ http://www.go2web20.net  นะครับ รับรองเพียบ

 

อีกมุมที่อาจจะน่าสนใจ นอกจากราคาแล้ว ผมมองว่าหลายคนไม่ต้องการหลายจุด อย่าง .in.th ถึงจะคล้ายๆ กับ .co.th แต่ความหมายเป็นคนละอย่าง

จริงๆ สนใจจะจดโดเมนไทย แต่อยากได้ .th ตรงๆ มากกว่า ไม่อยากได้ส่วนขยาย in เพราะแค่ th ก็บอกว่า นี่ "ไทย" นะจ๊ะ

n-blue

http://n-blue.nblogz.net/

ขอบคุณครับ คุณ n-blue
คุยไปคุยมาเริ่มวนกลับมาเรื่องจดดอทอะไรอีกแล้ว ^_^
ยังไงผมก็เห็นว่าจดชื่อโดเมนดอทอะไร ก็ไม่สำคัญเท่าจดไปทำไมครับ
โดเมนเป็นโครงสร้างพื้นฐานแต่การนำมันไปใช้ให้ได้ประโยชน์นี่สิ สำคัญกว่ามากครับ
จะชื่อนาย ก นาย ข หรือ นาย ค ถ้าเป็นคนดี ก็น่าคบจริงไหมครับ

แล้วอย่างเว็บไซต์  http://www.ijook.com หล่ะครับ เข้าข่ายกับเค้าหรือเปล่าครับ

ijook  =  internet, join our online knowledge

ijook  = ทับศัพท์ไทย "ไอ้จุก"

 

อีกอย่างนะครับ  ทำไม ราคา .in.th, .co.th  ถึงแพงจัง ไม่ถูกเหมือน .com เลย 

เพราะราคาไม่ถูก ผมจึงเลือก .com  ถ้า .in.th เหลือซัก 399 บาท /ปี ก็น่าจะดีนะ.. 

ไอ้จุก
http://www.ijook.com

สวัสดีครับ คุณ ijook
:) เหมือนๆ จะมาโปรโมตเว็บใน blog ผมเลยนะเนี่ย

สำหรับคำถามแรก เข้าข่ายไหม คิดว่าได้นะครับ
ส่วนคำถามที่สอง ทำไมแพง มันคงเหมือนราคาสัญญามือถือที่แต่ละข่ายขายไม่เท่ากันมั้งครับ
อย่าง dot jp ที่ขายอยู่ราว 20,000 เยน คนญี่ปุ่นก็ยังใช้กันอยู่
สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อหละครับ
ถามอีกครั้งครับ... ตกลง .in.th มาจากคำว่าอะไรครับ... internet thailand หรืออย่างอื่นครับ

in.th (in เป็นชื่อย่อมาจาก in Thailand)

http://www.thnic.co.th/index.php?page=in-policy

แต่ถ้าถามผมนะครับ มันจะย่อจากอะไร ไม่น่าสนใจเท่าเรารับรู้ว่ามันคืออะไร และ THNIC สามารถสร้างการรับรู้ให้กับผู้คนทั่วไปได้อย่างไรครับ

 

.th ดูน้อยจริง ๆ ด้วยเมื่อเทียบกับ .jp แต่ไม่เป็นไรครับ น้อย ๆ เน้นคุณภาพเอา อิๆ

แล้ว http://www.namozaa.com ล่ะครับ

พอจะเข้าข่ายตั้งชื่อตามยุด 2.0 ได้เปล่า อิ ๆ เห็น za มันแหม่ง ๆ ไม่เท่เท่า zaa อ่ะ

.in.th เป็นโดเมนที่น่าสนใจมากครับ

ส่วนใหญ่ตอนนี้ผมก็ จดโดเมน อยู่ที่ dotsiam.com อย่างเดียวอ่ะ

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการให้บริการจดโดเมนอยู่เยอะครับ

ถ้าสนใจ .th ไม่จดกับ THNIC ก็น่าจะเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น Authorized Reseller ตอนนี้ .in.th แค่ 199 บาทเองครับ ลองดู http://identity.thnic.co.th

ดีมากครับ เป็นไทยดี ผมก็จดเหมือนกัน

www.thaiagarwood.in.th

ก็ดีครับ

ตอนนี้ฉันทำงานเกี่ยวกับการจดโดเมน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท