ปัญหาการพัฒนาบัณฑิตเพื่อป้อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย


การศึกษา ซอฟต์แวร์ การพัฒนาบัณฑิต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
หลายคนมักจะได้ยินบริษัทซอฟต์แวร์ไทยพูดเสมอว่าบัณฑิตที่จบออกมาไม่ตรงกับความต้องการ ไม่สามารถนำบัณฑิตไปใช้งานได้จริง  ต้องฝึกฝนเป็นปี เสียเงินมากมาย  นี้เป็นปัญหาที่หลายคนก็คงรับรู้ แต่ถามว่าทางออกของปัญหานี้จะเป็นอะไรได้บ้าง  ก่อนที่จะถามหาทางออกของปัญหานี้ ก็คงต้องถามว่าแล้วที่มาของปัญหานี้มันมาได้อย่างไร  นี้เป็นความคิดเห็นของคนคนหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องและอาจจะไม่ได้มองทุกแง่ ทุกมุม  แต่เป็นความคิดที่มองจากคนที่เรียนทั้งในประเทศในระดับประถมและมัธยมและที่ต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา  มีประสบการณ์เป็นอาจารย์็สอนพัฒนาโปรแกรม เป็นที่ปรึกษาด้านไอที  และรับจ้างพัฒนาซอฟต์แวร์   

ที่มาของปัญหา
1) มองในแง่ของวัฒนธรรมและการศึกษาในระดับก่อนอุดมศึกษา

วัฒนธรรมไทยมักจะบอกว่าผู้น้อยต้องเชื่อผู้ใหญ่  ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี  แต่จะดีมากถ้าหากว่าผู้ใหญ่บอกเหตุผลด้วยว่า ทำไมถึงบอกให้ทำอย่างนั้น ถ้าทำอย่างนี้ แล้วผลจะเป็นอย่างไร  ถ้าทำอย่างนั้น แล้วผลจะเป็นอย่างไร การที่ผู้ใหญ่หลายคนไม่ชอบตอบคำถามเด็ก ไม่ชอบอธิบายเหตุผล ชอบแต่สั่ง  ก็อาจจะทำให้เด็กไทยหลายคนคิดไม่เป็น  ขอให้เชื่อสิ่งที่พ่อแม่บอกก็พอ  พอมาเรียน ก็ไม่ชอบคิดเอง  ขอให้เชื่อสิ่งที่ครูและหนังสือบอกก็พอ   หากไม่ชอบคิด หรือไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้แล้ว ก็ยากที่จะชอบเรียนคณิตหรือเขียนโปรแกรม

2) มองในแง่ของเหตุผลที่เ้ข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์

เ ด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์  ก็อาจจะเป็นเพราะพ่อแม่บอกให้เรียน  หรืออาจเป็นเพราะตนเองชอบเล่นเกม  ถ้าได้เรียนคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะได้อยู่กับคอมพิวเตอร์บ่อยมากกว่าเรียนสาขาอื่น  ชอบใช้ photoshop ชอบใช้โปรแกรม   แต่ไม่รู้ว่าพอตัวเองมาเรียน ตัวเองต้องสร้างโปรแกรม  ไม่ใช่แค่ใช้โปรแกรมเท่านั้น   

3) มองในแง่ของการเรียนการสอน

ภาษิตที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่ามือทำ  นั้นดูเหมือนจะเป็นจริง  หลายวิชามีแต่สอนทฤษฎี  ไม่เคยทำให้ดูและไม่เคยสอนให้ทำ  บางวิชาก็สอนทั้งทฤษฎีและทำให้ดู  แต่ไม่ได้พาเด็กทำ เด็กก็เลยทำเองไม่เป็น  มีน้อยวิชาที่ทั้งสอนทฤษฎี  ทำให้เด็กดู และให้เด็กทำเป็น  ถ้าหากว่าเราบอกว่าเด็กไทยเขียนโปรแกรมไม่ค่อยได้  เราก็ต้องมองก่อนว่า แล้วอาจารย์ที่สอนเด็กนั้น เขียนโปรแกรมไ้ด้ไหม  แล้วถ้าอาจารย์เขียนเป็น อาจารย์ได้ถ่ายทอดทั้งความรู้และภาคปฏิบัติใ้ห้เด็กไหม เด็กหลายคนที่เขียนโปรแกรมเก่ง ก็ไม่เลือกที่จะเป็นอาจารย์ เพราะเงินเดือนน้อย และเป็นความจริงที่ว่า เด็กจบใหม่หลายคนเงินเดือนสูงมากกว่าอาจารย์ที่สอนเขาเสียอีก 

การ เรียนการสอนที่ต่างประเทศในระดับอุดมศึกษาสามารถผลิตบัณฑิตออกมาแล้วส่วนใหญ ่ใช้งานได้ เพราะเกือบทุกวิชามีการปฏิบัติจริงและคนที่เรียนเรียนเพื่อต้องการที่จะรู้ ไม่ได้เรียนเพื่อที่จะต้องการเอาใบปริญญา สมัยทีี่เรียนที่นั้นตอนปริญญาตรีที่อเมริกา  ช่วงที่ไม่ได้เข้าเรียนก็คิดแต่จะทำการบ้านให้เสร็จ  เพราะทุกวิชามีการบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ   ถ้าวิชาไหนไม่มีการบ้าน เด็กก็อาจจะบ่น เพราะทำให้ไม่รู้จริง  เขาเรียนเพื่อที่จะรู้จริง  ไม่ใช่เรียนเพื่อที่จะเอาคะแนน  ทุกวิชาไ่ม่มีการเซ็นชื่อเข้าเรียน แต่ทุกคนก็เข้าเรียน การบ้านถึงคะแนนน้อยแค่ไหน ทุกคนก็จะพยายามทำด้วยตนเองและส่ง


4) มองในแง่ของประสบการณ์และโอกาสในการฝึกไ้ด้ทำงานจริง

ถ ้าบริษัทซอฟต์แวร์ได้แต่บ่นว่าเด็กไทยเขียนโปรแกรมไม่เป็น  หรือบริษัทและหน่วยงานต่าง ๆ มีแต่จ้างให้บริษัทซอฟต์แวร์เมืองนอกผลิตซอฟต์แวร์ให้  ไม่เคยป้อนงานให้เด็กไทยให้มีโอกาสฝึกในการเขียนโปรแกรม   แล้วเด็กจะมีประสบการณ์และมีโอกาสฝึกเขียนโปรแกรมได้อย่างไร

โดยสรุปแล้ว ปัญหานี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง  ไม่ได้คาดหวังว่า ปัญหานี้จะแก้ได้  แต่อยากจะเห็นว่าปัญหานี้มีความรุนแรงน้อยลง  มีการเปลี่ยนแปลงในทางทีี่ดีขึ้น บริษัทมีบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของตนมากขึ้น บัณฑิตมีความรู้และความสามารถและได้งานที่ตนเองถนัดและมีความสุขที่จะทำมากข ึ้น 
ซึ่งก็คงต้องช่วยกันจากหลาย ๆ ฝ่าย

1) มองในแง่ของนักศึกษา

ภาษิตที่ว่า  พระเจ้าจะช่วยคนที่ช่วยตนเองเท่านั้น น่าจะเ็ป็นจริง   คงไม่มีหลักสูตรไหน มหาวิทยาลัยไหน ที่จะเสกให้เด็กที่เข้ามาที่ไม่เก่งแล้วออกไปแล้วเก่งโดยที่เด็กไม่้ต้องทำอ ะไร  ยังมองไม่เห็นเลยว่า  เด็กจะเก่งได้อย่างไร ถ้าเด็กไม่คิด ไม่อ่าน ไม่ทำการบ้าน ไม่ฝึกปฏิบัติจริง ไม่เรียนรู้ด้วยตนเอง  ถ้าหากเด็กเลือกที่จะลงแต่วิชาที่ได้เกรดง่าย ๆ งานไม่ต้องเยอะ  เด็กก็อาจจะคิดสั้นไป  เพราะไม่ได้คิดยาวมากขึ้นไปอีกนิดหนึ่งว่า ตัวเองต้องไปทำงานให้บริษัท บริษัทจะจ้างให้ตนเองทำงาน บริษัทเองก็คงไม่ได้คัดเลือกเด็กแค่ดูเกรด  บริษัทมักจะมีข้อสอบทั้งข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ว่าเด็กมีความรู้ความสามารถจ ริงไหม  ซึ่งตรงนี้บางทีเกรดสูง ๆ ที่ตนเองได้มา คงไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่

เด็กบางคนก็อาจจะมองว่า จะพยายามหลีกเลี่ยงการเขียนโปรแกรมเท่าที่จะทำได้   แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า ถ้าเด็กสนใจทางด้านเน็ตเวิร์ก เด็กก็ยังต้องเขียนโปรแกรมสคริปต์  หรือเขียนโปรแกรมต่าง ๆ แม้กระทั่งถ้าไปดูงานที่เนคเทคให้เด็กฝึกงานทางด้านเน็ตเวิร์ก ก็จะเห็นว่าแทบทุกอันจะต้องอาศัยทักษะการเขียนโปรแกรม  หรือถ้าเด็กสนใจฮาร์ดแวร์ทางด้าน embedded เด็กก็ต้องเขียนโปรแกรมได้ด้วย  ไม่ใช่ไม่มีงานไหนที่ไม่เขียนโปรแกรม เพียงแต่จำนวนงานที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมนั้นมีน้อยมาก  แล้วเด็กจะแน่ใจได้อย่างไรว่า เขาจะเป็นคนเลือกงานนั้นได้  ไม่ใช่ในทางกลับกันที่ว่า บริษัทจะเลือกคนที่ทำงาน


2)  มองในแง่ของอาจารย์

ถ้าสอนแค่ในคาบเรียน ไม่ต้องให้การบ้าน อาจารย์ก็สบาย  แค่เตรียมสอน ไม่ต้องตรวจการบ้าน  แต่เด็กอาจจะไม่สบายในอนาคต  เพราะเด็กไม่ได้รู้จริง ไม่สามารถทำจริงได้  เพราะฉะนั้น คนที่เป็นอาจารย์ก็ต้องเสียสละที่จะให้การบ้าน  เตรียมและแนะความรู้ที่เพียงพอที่จะให้เด็กทำการบ้านได้เอง  และตรวจการบ้านเด็ก   เด็กจะบ่นว่างานเยอะ  ก็ต้องได้แต่ปลอบใจตนเองว่า เราทำเพราะเราหวังดีต่อเด็ก อยากให้เด็กเก่ง

3)  มองในแง่ของผู้บริหารหลักสูตร

ผู้บริหารหลักสูตรควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกวิชามีการปฏิบัติและมีการทำจริง โดยเฉพาะวิชาที่เด็กจะต้องได้ไปใช้จริงและบ่อยเมื่อเด็กทำงาน อีกทั้งควรจะส่งเสริม       กิจกรรมการแข่งขัน และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทำงานกันเป็นทีม  และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4) มองในแง่ของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ควรจะให้โอกาสและให้งานเด็กฝึกทำในช่วงที่เด็กกำลังเรียน เพื่อเด็กจะได้มีประสบการณ์และมีโอกาสในการทำงานจริง  และพยายามแนะสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กควรจะต้องเรียนรู้

5) มองในแง่องค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

องค์กรเหล่านี้ควรจะทำให้เกิดการประสานงานและการทำงานร่วมกันง่ายขึ้นระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ อีกทั้งพยายามจัดอบรมความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ขอบคุณค่ะที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้  ที่เขียนมาเพราะเป็นห่วงเด็ก  อยากให้เขาเข้าใจอะไรต่าง ๆ มากขึ้นก่อนที่จะสายเกินไปที่จะรู้
หมายเลขบันทึก: 148454เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • อยากให้นักศึกษามาอ่านจัง
  • ขออนุญาตอาจารย์เอาไปไว้ใน learners
  • นะครับอาจารย์
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับผม

สวัสดีค่ะ อ ขจิต

ขอบคุณค่ะที่ขยันมาเยี่ยมเช่นเคย  หาก อ เห็นว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์กับใครได้บ้าง ก็ขอขอบคุณ อ ที่ช่วยเผยแพร่  ต้อมเขียนบันทึกนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่คนอ่่าน  อาจจะเป็นการบ่นถึงการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาและทางออกของปัญหา  ไม่อยากจะพูดแค่ปัญหา แล้วไม่มีการนำเสนอทางออกของปัญหา

 

 

สวัสดีครับ อ.ต้อมครับ

สบายดีนะครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่เขียนเรื่องนี้ เรามีซอฟท์แวร์ปาร์คใช่ไหมครับ แต่ผมไม่ทราบว่าเรารณรงค์กันได้อย่างไร ขนาดไหนนะครับ หรือว่าเราจะต้องเปลี่ยนเป็น ซอฟท์แวร์ฟอเรสท์ ให้มันใหญ่กว่า ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า ให้ปัญหาต่างๆ ที่ต้องการนำไปสู่การย่อยก่อนการเขียนโปรแกรมมีระบบที่ดี

การให้ตัวอย่างของครูในการสอน นำไปสู่การสร้างระบบคิดให้เด็กเป็นระบบที่ดี ในการวางแผน แนวทางเดินไปสู่คำตอบอย่างมีคุณค่าและมั่นคง

คนสอนอาจจะต้องเป็นคนกลางในการประสานแนวทางสร้างแบบจำลองในการบ้าน ให้นำไปสู่การใช้จริงได้

การจะสอนให้เด็กจบไปแล้วใช้ได้จริง ควรจะมี Individual Senior Project  โครงงานรายบุคคล ในชั้นปีที่สี่ ให้เวลาหนึ่งภาคการศึกษาในการศึกษาและทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้จริงจากระบบจริง ผมเชื่อว่านี่คืือจุดหลักแน่นอนครับ

นศ. ป. ตรี นั้น หากได้ฝึกและสอน หรือเรียนรู้ร่วมอย่างถูกหลักการแล้ว ก็ไม่ต่างจาก นศ. ป.โท หรือ เอก เลยครับ อยู่ที่ว่าเราได้ใจเด็กมาร่วมทำงานหรือเปล่า

การเชื่อมโยงของจริงนอกห้องเรียนเข้าสู่ระบบโมเดลก่อนการวิ่งไปสู่การเขียนโปรแกรมนั้น เราต้องมีระบบพื้นฐานทางแนวคิด ทางตรรกที่สำคัญ นั่นคือ จะเขียนโปรแกรมได้นั้น ต้องเข้าใจหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะภาษาที่จะเขียนเพื่อสั่งงานเครื่อง ลอจิกที่อยู่ภายในเพื่อจะนำไปสู่คำตอบ ดังนั้นคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวแน่นอนครับ

ตอนนี้ผมชักไม่แน่ใจครับ ว่า คนเรียนคณิตศาสตร์ กับ คนเรียน คอมพิวเตอร์ รู้จักกันหรือเปล่า คุยกันรู้เรื่องไหม.... หากจะให้ชัด มองไปที่ครูสอนคอมพ์ กับครูสอนคณิตฯ ก็ได้ครับ

เมื่อก่อนนะครับ ตอนคอมพ์มาใหม่ๆ คนสอนคอมพ์ คือจะเป็น ครูสอนไฟฟ้า  ครูสอนอังกฤษ ครูสอนคณิตฯ  เพราะคิดว่าเกี่ยวกับคอมพ์

แต่โลกแห่งการบูรณาการมันคือองค์รวม ไม่มีใครจะปฏิเสธในอีกสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องได้  หรือว่าปฏิเสธได้แต่ระบบแหว่งครับ

สิ่งที่น่าสนใจคือ การรับตัวอย่างสิ่งที่ยังขาดในองค์กร ให้นำเป็นตัวอย่างสอนเด็ก ผมว่าได้อะไรเยอะครับ เด็กจะเข้าใจว่า ตอนออกจบไปนั้น ตัวเองมีศักยภาพหรือไม่ โดยเด็กจะทราบเอง แล้วประเมินผลย้อนกลับสู่ภาควิชา หรือสาขาวิชาในฐานะบัณฑิตมองสู่หลักสูตร  และหลักสูตรก็มองเด็กตัวเองด้วย ว่าจบแล้วไปไหน ไม่ใช่จบแล้วก็จบ(เห่) กันไป ดังนั้น เด็กที่จบไป ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการโคงานร่วมกันกับ อ.ที่สอนไป ในการนำปัญหาตัวอย่างบางอย่าง ให้กับ อ. และส่งต่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียน  เด็กต้องเรียนทั้งแนวคิด ปฏิบัติ ทฤษฏีไปพร้อมๆ กัน พร้อมกับการต่อยอดใหม่ได้ มิฉะนั้น ก็อย่างๆ ที่เห็นนะครับ

ปัจจุบัน ผมเลยมีคำถามว่า คนเีรียนจบ Comp.Sci. นี่เขียนโปรแกรมเป็นกี่ % ครับ หมายถึง ระดับ ป.ตรี แล้วโปรแกรมที่จะนำไปใช้ได้จริง มีกี่ %

หากเราลืมมองไป ให้ไปมองประเทศอินเดียก็ได้ครับ ไปดูงานที่อินเดียก็ได้ครับ ว่าเค้าเรียนสอนกันอย่างไร ที่เราจะเอามาต่อยอดได้ เครื่องเค้าเร็วแรงจริงหรือเปล่า ถึงสร้างคนเก่งให้ไปทำงานให้กับ M$ ได้ ทำไมบิลเกตท์ถึงต้องสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่นั่น เพราะอะไร

และอีกๆ หลายๆ อย่างครับ น่าสนใจครับ

หากไทยจะเอาเรื่องนี้จริงๆ ผมว่าคนไทยทำได้ ผมจึงเริ่ม โครงการ ไทยคิด ไทยทำ ไทยใช้ ..... จากตัวผมเองเป็นหลัก หากเราทำได้ และเด็กอยากจะทำร่วม เราจะได้เกิดทีมนำไปสู่การพัฒนาได้ครับ

สร้างบ้านทั้งที จะออกแบบเองทุกอย่าง หรือว่า ยกบ้านที่สร้างแล้วมาวางตั้งบนดินเรา อันนี้ก็แล้วแต่ครับ

พูดมายาวแล้วครับ อิๆๆ เดี๋ยวจะเบื่อเสียก่อนครับผม

ขอบคุณมากครับผม และสนุกในการสอนน้องๆ นะครับ

ขอบคุณมากครับ 

บันทึกนี้ผมชอบมากเลยครับ ผมคิดว่าเป็นบันทึกที่อาจารย์และนักศึกษาสายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ควรได้อ่านทุกคนครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่เขียนบันทึกนี้ครับ 

อ.ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง

ขอบคุณครับอาจารย์กานดา สำหรับบทความดีๆ และคงต้องขออนุญาต copy ไปให้นักศึกษาอ่านกันบ้าง นะครับ   และสุดท้ายขอแสดงความยินดีกับข่าวดีด้วย ให้สุขภาพแข็งแรงทั้งคู่นะครับ  

สวัสดีครับทุกท่าน

เอามาฝากเพิ่มเติมนะครับ คิดว่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านๆ อ่านกันนะครับ

ตอบสัมภาษณ์ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ แห่ง GotoKnow

น่าสนใจมากเลยทีเดียวครับผม

ขอบคุณมากครับ 

สวัสดีค่ะคุณเม้ง P

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมและเสนอข้อคิดเห็นดี ๆ หลายประเด็น

การจะสอนให้เด็กจบไปแล้วใช้ได้จริง ควรจะมี Individual Senior Project  โครงงานรายบุคคล ในชั้นปีที่สี่ ให้เวลาหนึ่งภาคการศึกษาในการศึกษาและทำวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้จริงจากระบบ จริง ผมเชื่อว่านี่คืือจุดหลักแน่นอนครับ

อันนี้ยากในทางปฏิบัติค่ะ เพราะจากแ่ต่ก่อนที่มีนักศึกษาประมาณ 45 คนตอนนี้เพิ่มประมาณ 1 เท่าตัวกลายเป็น 90 คน  จึงมีกลุ่มโปรเจคแทน แต่กลุ่มโปรเจคก็ทำให้เฉพาะคนที่ทำเท่านั้นที่ได้ความรู้

นศ. ป. ตรี นั้น หากได้ฝึกและสอน หรือเรียนรู้ร่วมอย่างถูกหลักการแล้ว ก็ไม่ต่างจาก นศ. ป.โท หรือ เอก เลยครับ อยู่ที่ว่าเราได้ใจเด็กมาร่วมทำงานหรือเปล่า

เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ  แต่ตั้งแต่สอนมา 4 ปีมี นศ. ป ตรีเพื่อแค่คนเดียวที่มีใจมาช่วยอาจารย์มาร่วมฝึกและสอนรุ่นน้อง   เข้าใจเ็ด็กโดยทั่วไปอยู่ค่ะว่า เขาชอบความสนุกสนานมากกว่า แทนที่จะเอาเวลามาสอนน้อง ๆ เอาไปเล่นเกม ดูหนัง น่าสนุกกว่าเยอะค่ะ

ปัจจุบัน ผมเลยมีคำถามว่า คนเีรียนจบ Comp.Sci. นี่เขียนโปรแกรมเป็นกี่ % ครับ หมายถึง ระดับ ป.ตรี แล้วโปรแกรมที่จะนำไปใช้ได้จริง มีกี่ %

นี้เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเหมือนกันค่ะ  แต่ทราบแต่ว่าหลายมหาวิทยาลัย เด็กหลายคนที่เรียนวิทยาการคอมหรือวิศวคอม  ไม่ชอบเขียนโปรแกรม อยากทำงานที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม

หากเราลืมมองไป ให้ไปมองประเทศอินเดียก็ได้ครับ ไปดูงานที่อินเดียก็ได้ครับ ว่าเค้าเรียนสอนกันอย่างไร ที่เราจะเอามาต่อยอดได้ เครื่องเค้าเร็วแรงจริงหรือเปล่า ถึงสร้างคนเก่งให้ไปทำงานให้กับ M$ ได้ ทำไมบิลเกตท์ถึงต้องสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่นั่น เพราะอะไร

ไปดูงานอินเดียมาแล้วค่ะ แต่จริง ๆ ก่อนไปดูงานที่อินเดีย รับนักศึกษาอินเดียมาฝึกงานด้วยค่ะ เพราะเขาสมัครมาฝึกงานด้วยตั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกปฏิเสธแล้ว  ปีต่อมา เขาก็สมัครมาอีก  ปรากฎว่าจริง ๆ แล้วเด็กอินเดียคนนั้นเขาก็ไม่ได้มีความรู้ความสามารถมากไปกว่าเด็กไทยเลยค่ะ  ทั้ง ๆ ที่ดูจากประวัติเขา  เขาก็อยู่ในอันดับดีของประเทศเขาเลย

แต่เข้าใจว่าิิอินเดียเจริญมากทางด้านซอฟต์แวร์เพราะคนเขาเยอะ  (1,200 ล้านคน)  แล้วโดยวัฒนธรรมเขา เขาเป็นนักคิด ชอบคิด  และเก่งภาษาอังกฤษ  จึงเข้าใจได้ว่าเขาน่าจะมีคนพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มาก  

ขอบคุณมากค่ะสำรหับข้อคิดเห็นและประเด็นต่าง ๆ และขอบคุณที่เอาลิงค์ ตอบสัมภาษณ์ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์มาให้อ่าน  อ่านแล้วมีประโยชน์และสนุกค่ะ

สวัสดีค่ะ ดร ธวัชชัย P

ขอบคุณค่ะที่เ้ข้ามาเยี่ยมและเข้ามาให้กำลังใจในการเขียนบันทึกนี้   อ่านสัมภาษณ์ของ ดร. แล้วรู้สึกสนุกค่ะ และรู้สึกชื่นชมในความสามารถและทัศนคติของ ดร. ค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. ไววิทย์

ขอบคุณค่ะที่เข้ามเยี่ยมและเข้ามาให้กำลังใจในการเขียนบันทึกนี้ และขอบคุณค่ะสำหรับการแสดงความยินดี  ขอให้สุขภาพของอาจารย์และคนที่อาจารย์รักแข็งแรงเช่นกันค่ะ

 

ก่อนอื่นต้องกล่าว สวัสดีครับอาจารย์กานดา

ตัวผมเองเป็นนักศึกษา วิศวะ - คอม ขอนแก่น ผมแวะมาอ่านบอร์ดของอาจารย์ประจำครับ  แต่บทความนี้ซึ้งมาก ผมเพิ่งจามาโพสนี้เป็นครั้งแรก

ตัวผมเองก็มีปัญหาด้านการเขียนโปรแกรมอ่านแล้วโดนใจมากตอนนี้ผมพยายามศึกษาเพิ่มเติมอยู่ (ตอนนี้พยายามอ่านภาษา C อยู่ครับ) ผมอ่อนด้านเขียน GUI มากๆเลยครับ  ในความคิดผมสาเหตุหลักที่อ่อนด้านเขียนโปรแกรมมาจากรายวิชาที่ทำการสอนนะครับ เนื่องจากภาควิชามีวิชาทีเขียนโปรแกรมจริงๆจังมีไม่กี่ตัวเอง  2-3ตัวมั้งครับ และใน 2-3 ตัวนั้นไม่ได้เน้นการเขียนลงลึก อย่างพวก GUI เลย  เขียนเป็นแค่แก้ปัญหานิดๆหน่อยๆ  เองครับ

c++ สมัยเรียนปี 1 ก็ไม่เน้น  ลงรายละเอียดเลย

สัวสดีค่ะ

หนูเรียนคณะวิศวกรรมซอฟต์แวร์ค่ะ จะไปสหกิจ

แต่ไม่รู้จะไปบริษัทไหนดีค่ะ

ไม่รู้ว่าที่ไหนดี ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท