การจัดการความไม่รู้ ระดับหน่วยงาน


รู้เขา รู้เรา ในองค์การเปี่ยมสุข

How to Improvement

 รู้เขา รู้เรา ในองค์กรเปี่ยมสุข เช้านี้มาทำงานที่หน่วยรังสีวินิจฉัย ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เรียกว่ามาตามงานแหละครับ หน่วยของเรามีบุคลากรประมาณ ๕๐ ท่าน บางท่านทำงานด้วยกันมากว่า ๒๘ ปี บางท่านก็มาใหม่ๆ

 ช่วงนี้เราเตรียมการ ที่เรียกว่า "การจัดการความไม่รู้ระดับหน่วยงาน"

 โดยทีมงานพยาบาล พี่อึ่ง ออกแบบสอบถาม "ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภายใน และ ภายนอก อันประกอบไปด้วย ผู้มารับบริการ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานการแพทย์ และที่ขาดไม่ได้ คือ เจ้าหน้าที่ของเราเอง"

 เรียกว่า เป็นงานวิจัยสถาบัน ในหน่วยของเราเล็กๆ ครับ

 เที่ยงนี้เราจะ Small Talk วิเคราะห์ข้อมุล เพื่อนำมาวางแผน "พัฒนา ตน ฅน และ งาน" ในหน่วยของเราครับ

 เรียกว่า วางแผน How To Improvement โดยอาศัยเสียงสะท้อน เพื่อให้เกิด การ "รู้เขา รู้เรา ในองค์การเปี่ยมสุข" ครับ 

JJ2007

เรื่องเดิม อ่านได้ที่นี่ ครับ http://gotoknow.org/blog/uackku/139714



ความเห็น (2)

 P

สวัสดีค่ะอาจารย์

ได้อ่านบันทึกนี้ ดิฉันนึกถึงตอนที่ทำงานด้านอุตสาหกรรม มีคนเป็นจำนวนมาก

เราใช้วิธีการประชุมทุกเช้า เรียกว่า Morning Talk กับพนักงานระดับหัวหน้าแผนกขึ้นมาจนถึงผู้ช่วยผู้จัดการ เพื่อรับรู้ปัญหาเมื่อวาน แก้ไขกันวันนี้ และหาทางไม่ให้เกิดขึ้นอีก ปรับปรุงงาน และเสนอแนวคิดใหม่ๆกันขึ้นมา เมื่อสรุปแล้ว พวกหัวหน้า ก้จะถ่ายทอดต่อไปยังพนักงานทุกคน

เป็นวิธีการที่ได้ผลมากค่ะ เป็นการจัดการความรู้กันทุกวัน

 ดิฉันคิดว่า.....

การที่จะเรียนรู้ร่วมกันต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน เปิดเผยต่อกัน มีความจริงใจต่อกัน และมีความไว้วางใจกันได้ ซึ่งจะมีความสุขอย่างมาก

การเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติถือเป็นหัวใจของการจัดการความรู้ทีเดียวค่ะ

แต่ก่อนไม่มีศัพท์ การจัดการความรู้อย่างนี้ แต่คือเรื่องเดียวกัน มีมานานแล้ว แต่อาจจะไม่แพร่หลายเท่านี้ค่ะ 

 เรียน ท่านอาจารย์ sasinanda P

  • เสื้อสีสดใส
  • ใจร่วมสร้างสรรค์
  • การเรียนรู้
  • ว่าไม่รู้อะไร
  • แล้วนำมาพัฒนา
  • เป็นเรื่องที่ ยาก มาก มาก
  • เพราะ ต้องทำใจ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท