After Action Review (AAR) : รวบรวมจากผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ทุกท่านครับ
1. ท่านคาดหวังอยากเห็น หรืออยากได้อะไรบ้างจากการมาเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้?
-
ได้รับความรู้ เทคนิคในการทำการประกันคุณภาพของหน่วยงานอื่น ๆ
เพื่อนำไปพัฒนางานของหน่วยงานสถานีวิทยุ
-
คาดว่าจะได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในด้าน QA และ KM
-
ได้รับความรู้จากเพื่อน ๆ ที่ทำ QA ในมหาวิทยาลัย
-
คาดหวังจะได้เกร็ดความรู้มาสะสมไว้กับตัวเองเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงาน
- สิ่งใหม่ ๆ
จากเพื่อนร่วมงานเพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติงาน
-
ได้เครือข่ายในการนำไปทำ QA ของคณะฯ
-
ความรู้จากสมาชิกในด้าน KM
-
การบริหารจัดการสำนักงานของแต่ละคณะเป็นอย่างไร
และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ อะไรมาใช้ในการทำงานในสำนักงานบ้าง
-
มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
มีโอกาสเรียนรู้จากหน่วยงานอื่นที่ประสบความสำเร็จ
-
ได้ความรู้จากการที่มาสัมมนา
เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาในการทำงานของตนเอง
- อยากได้รู้จักว่า
KM เป็นอย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
-
คาดว่าจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งนี้
-
อยากเห็นการรวมกลุ่มของสายงาน (นโยบายและแผน, ประกันคุณภาพ) ของ
ม.นเรศวร
-
อยากได้ความรู้ที่ชัดเจนของ KM
-
อยากเห็นวิธีการจัดการ KM,
อยากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-
อยากเห็นความรู้สู่ความสำเร็จของหน่วยงานสำนักงานของคณะต่าง ๆ
-
อยากได้รับทราบความรู้ด้านการบริหารและจัดการของหน่วยงานอื่น ๆ
-
การแก้ไขปัญหาในด้านการทำประกันคุณภาพการศึกษา
-
นำความรู้ที่ได้จากแก่นความรู้
ไปใช้ปฏิบัติได้จริงกับหน่วยงานของตัวเอง
และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
-
คาดหวังอยากได้รับความรู้ความเข้าใจ KM ให้มากยิ่งขึ้น
-
ความรู้และความเข้าใจเรื่องขอ KM
-
ได้รับความรู้เกี่ยวกับ Model ของ KM ให้ได้รับความรู้มากขึ้น
- อยากให้การ
Sharing ความรู้จากประสบการณ์จริงของบุคลากรที่มาในวันนี้
-
อยากได้แนวทางเพื่อกลับไปเพิ่มพูน
วิธีการแก้ปัญหางานของตนเองหรือองค์กรต่อไป
-
ได้รับรู้บทบาทของคุณกิจกับคุณอำนวย
-
ได้รับรู้การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
-
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้อื่น ที่อยู่ในสายงานเดียวกัน
-
อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานเพื่อประสบผลสำเร็จขององค์กรจากคณะต่าง
ๆ
-
คาดหวังว่าจะมีความรู้ ความเข้าใจ KM มากยิ่งขึ้น
และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
- อยากได้ความรู้
ประสบการณ์ หรือมุมมองต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา
เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์หรือปฏิบัติงาน
-
ประสบการณ์ของแต่ละหน่วยงานที่มาเล่าเรื่อง
-
ความประทับใจของหน่วยงานที่เล่าเรื่อง
สามารถนำไปประยุกต์หรือเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
-
การสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน
-
ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย
-
เพิ่มพูนความรู้นำไปพัฒนางานด้าน QA
-
มีความเข้าใจเรื่อง KM มากขึ้น
- อยากให้การทำ KM
เป็นวัฒนธรรมของทุกหน่วยงาน
-
ต้องการทราบวิธีการทำงานของหน่วยงานอื่น การแก้ปัญหา
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน
-
มีความเข้าใจในการทำ QA, KM มากขึ้น
สามารถนำไปปฏิบัติการในหน่วยงานได้ผลสำเร็จ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น
เรียนรู้ผลสำเร็จจากผู้อื่นเพื่อนำไปใช้จริง
- ความรู้เรื่อง KM
ของการปฏิบัติงาน QA
-
ความรู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน (KM)
-
สานสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานด้าน QA (เพื่อน ๆ + น้อง ๆ หรือ พี่ ๆ )
เพื่อผลทาง KM
-
สร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหาร
-
คาดหวังว่าจะได้รับความรู้ KM จากวิทยากรที่มาบรรยาย
และได้ความรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ของผู้เข้าร่วมสัมมนาตลอดจนถึงความสัมพันธ์กับบุคลากรในหน่วยงานอื่น ๆ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการประสานงาน
สะดวกต่อการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
-
คาดหวังที่จะได้แบ่งปัน
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองกับบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ๆ
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้กับบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง
-
อยากได้แนวคิดใหม่ ๆ ที่ทางหน่วยงานอื่น ๆ นำมาใช้ปฏิบัติ
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
-
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ๆ
ในมหาวิทยาลัย
- บุคลากรในองค์กร
Non-Teaching มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง KM
-
บุคลากรแชร์แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันมากขึ้น
-
มีการบันทึกความรู้มากขึ้นผ่านบล็อก
-
มีการจัดการความรู้สำหรับกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
2. สิ่งที่ท่านคาดหวังไว้บรรลุหรือไม่เพียงไร หากไม่บรรลุเป็นเพราะเหตุใดบ้าง?
-
ได้รับอย่างที่คาดหวัง
-
การทำการประเมินคุณภาพหน่วยย่อย
-
บรรลุตามที่ได้ตั้งใจไว้
-
บรรลุผลตามที่ต้องการ
-
ความคาดหวังบรรลุไปส่วนหนึ่ง
-
ได้ประสบการณ์ไปปรับปรุงาน
-
ได้มากกว่าที่คิด
-
ได้รับสาระความรู้ ได้เพื่อนมากขึ้น
- ได้ทราบการนำ IT
มาช่วย บริหารจัดการทำงานได้มากขึ้น
-
ได้รับรู้กิจกรรมของหน่วยงานอื่น
เพื่อปรับใช้ในหน่วยงานของตนเอง
-
สิ่งที่คาดหวังไว้ก็ได้แต่ยังไม่ถึงกับ 100%
เพราะว่าเรายังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้มากพอ
-
บรรลุตามสิ่งที่คาดหวังไว้ เนื่องจากได้รู้จักประโยชน์จากการทำ KM
และได้เรียนรู้จากการได้ปฏิบัติจริง
รวมทั้งได้ความรู้ในเรื่องการทำประกันคุณภาพที่ประสบความสำเร็จของหน่วยงานอื่นอีกด้วย
-
มีความเข้าใจมากขึ้น
- บรรลุ
เห็นกลุ่มและสัมพันธภาพที่ดี ได้รู้จักกันของกลุ่มงานนโยบายและแผน, QA
ม.
-
ได้รับความรู้เรื่อง KM มากยิ่งขึ้น
-
บรรลุตามสิ่งที่คาดหวังไว้
-
บรรลุตามสิ่งที่คาดหวัง
เนื่องจากได้รับทราบการบริหารและจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ
รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ
- ส่วนใหญ่บรรลุ
แต่บางประเด็นอาจไม่บรรลุ เนื่องจากบรรยากาศการทำงาน ผู้บริหาร
ผู้ปฏิบัติของแต่ละคณะฯ แตกต่างกัน
แต่เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานตัวเองได้
เพราะตัวเราเองจะรู้ดีที่สุดว่าธรรมชาติของการทำงานของคณะเป็นอย่างไร
-
ได้บรรลุผลอยู่ในระดับหนึ่ง
- ก็มีความรู้
ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
และได้ทราบประสบการณ์การทำงานของหน่วยงานอื่นที่มีประสบความสำเร็จเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเอง
-
ได้รับบรรลุวัตถุประสงค์ที่อยากรู้ KM
-
บรรลุตามที่คาดหวัง
-
บรรลุตามที่คาดหวังทุกประการ
-
บรรลุตามวัตถุประสงค์เพราะทราบถึงประโยชน์ของการทำ KM
-
สิ่งที่คาดหวังบรรลุ คือ มีความรู้ ความเข้าใจ KM
มากยิ่งขึ้นและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-
บรรลุเป็นอย่างมาก เพราะว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตลอดจนการแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่เราอาจประสบอยู่ก็มีวิธีและแนวทางที่จะนำไปแก้ไขตลอดจนพัฒนางานในสำนักงานได้
-
บรรลุเป้าหมาย
-
บรรลุตามที่ตนเองต้องการทราบ
-
บรรลุตามวัตถุประสงค์ เห็นการทำงานและการนำความรู้จากประสบการณ์
เพื่อใช้ในการทำงานของตนเองเพื่อพัฒนาองค์กร
- บรรลุ
ได้ทราบวิธีการแก้ปัญหาในการทำงานในบางเรื่อง บางประเด็น
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานตนเองต่อไป
-
มีความรู้และความเข้าใจ KM มากขึ้น
แต่เนื่องจากพื้นฐานความเข้าใจยังมีน้อย
จึงอาจทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร
-
ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ KM
-
มีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันและแลกเปลี่ยนความรู้จากการปฏิบัติงาน
(แบบกัลยาณมิตร)
-
ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเลือกผู้ประเมินเพื่อพัฒนาองค์กร
การประเมินการมีส่วนร่วม
-
บรรลุวัตถุประสงค์พอควร (ค่อนข้างดี)
- บรรลุ
และเกินความคาดหวัง เนื่องจากได้รับความรู้เพิ่มเติม
ได้มุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป
-
บรรลุตามความคาดหวังที่ตั้งไว้ เนื่องจากได้แนวคิดใหม่ ๆ
ที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในหน่วยงานได้
- บรรลุ
เนื่องจากมีจำนวนสมาชิกในกลุ่มจำนวนน้อย
จึงทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันค่อนข้างมาก
- บุคลากรในองค์
Non-Teaching มีความรู้ความเข้าใจ บรรลุแต่อาจยังไม่ทั่วถึง
มหาวิทยาลัยต้องจัดเวทีแบบนี้บ่อย ๆ
-
บุคลากรแชร์ความรู้ซึ่งกันและกันเริ่มเกิดขึ้นบ้างแล้วแต่หลายคนยังประหม่าอยู่
แต่จริง ๆ
แล้วความสำเร็จของแต่ละคนมีความสำเร็จทั้งสิ้นเป็นตัวคูณขององค์กร
เหมือนกับคำที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”
3. ท่านเห็นว่าการสัมมนาครั้งต่อไป (อีกประมาณ 3 เดือนข้างหน้า) ควรปรับปรุงเรื่องอะไรบ้าง?
-
สถานที่ควรใกล้ ๆ มน. หรืออยู่ภายในจังหวัด (ในตัวเมือง)
-
ควรจะเลือกผู้ที่ปฏิบัติงานจริงมาอบรมเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้ไปถ่ายทอดต่อไปให้คนในองค์กรทราบ
-
อยากให้ทุกคนที่เข้าร่วมสัมมนาได้มีกิจกรรมร่วมกันในทุกโปรแกรมจนเสร็จสิ้นการประชุม
-
เวลาในการสัมมนาควรมากกว่านี้
เพื่อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น
-
การจัดการเรื่องเวลา
-
ถ้าจัดที่พักค้างคืน ควรจัดที่ต่างจังหวัด
เพื่อคนที่เข้าร่วมจะได้ค้างคืนทุกคน ไม่ต้องกลับในวันเดียวกัน
-
ควรมีวิทยากรประจำกลุ่ม
เพื่อส่งประเด็นจากผู้เข้าร่วมประชุมให้ได้
-
สถานที่การจัดประชุม, หัวข้อการจัดประชุม
- อยากให้จัด work
shop ที่เกี่ยวกับงาน QA. (แก่น หรือ แนวทางการสร้างเกณฑ์
Non-Teaching) ที่เป็นรูปธรรม และนำไปใช้ได้
และอาจเพิ่มเวลาเป็น 2 วัน
-
การกำหนดภารกิจหลักองค์ประกอบที่ 10 ของสำนักงานเลขาฯ (3
เดือนข้างหน้าอาจจะไม่ทัน) การจัดสัมมนาครั้งนี้ดีอยู่แล้ว
ไม่มีอะไรต้องปรับปรุง จัดบ่อย ๆ
ดีทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สร้างความสัมพันธภาพที่ดีร่วมกันระหว่างคณะฯ และหน่วยงาน
แต่ควรมีกิจกรรมที่เป็นการคลายเครียด
และสามารถรู้จักกันได้ทุกคนมากยิ่งขึ้น
-
อยากให้กำหนดระยะเวลาให้มากกว่านี้ เช่น กำหนดเป็น 1 วันครึ่ง
-
ควรจัดสัมมนาที่มหาวิทยาลัย
-
ให้ความรู้เกี่ยวกับ KV เพื่อเป้าประสงค์ขององค์กร
- เวลา
-
ระยะเวลาในการสัมมนาฯ ควรมีเวลาให้มากกว่าเดิม
-
ทำอย่างไรก็ได้ที่ให้ทุกคนได้ร่วมนำเสนอต่อที่ประชุม
-
อยากให้หน่วยประกันฯ มน. จัดประชุมและทำ KM ของภารกิจหลัก (องค์ 10)
โดยนำเอาเลขาและผู้ปฏิบัติงาน QA.
ของแต่ละคณะมาประชุมพิจารณาร่วมกัน
-
อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบที่ 10 ของแต่ละหน่วย
-
สถานที่ควรเป็นโรงแรมในตัวเมืองก็ได้
- ดี
-
เทคนิคการใช้เครื่องมือในการเรียนรู้แลกเปลี่ยน
-
ระยะเวลาการสัมมนาควรจะกระชับกว่าครั้งนี้
และควรอบรมความรู้เพิ่มเติมโดยผู้บรรยายหรือวิทยากรที่มีประสบการณ์ตรง
- เวลา
-
กลุ่มเป้าหมายลงไปสู่หัวหน้างานด้วย
ควรแบ่งกลุ่มงานตามภารกิจกลุ่มงานของสำนักงานเลขาและจัดทำ KPI
ร่วมกัน
-
พื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมควรมีพอควร
หรือมีการปฏิบัติจริงในหน่วยงานก่อน (อาจจะไม่ประสบความสำเร็จนัก
แต่ต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น) กระชับให้พอดีกับเวลา
-
แต่ละกลุ่มควรมีที่ปรึกษากลุ่ม
(บางครั้งสมาชิกกลุ่มเข้าใจไม่ตรงกัน)
-
ในการเริ่มกิจกรรม ควรมีการละลายพฤติกรรมก่อน
จะมีประสิทธิผลของโครงการมากกว่านี้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยก่อน
(หากไม่มีความคุ้นเคยกันพอสมควร ก็ไม่กล้าที่จะซักถามสักเท่าไหร่)
(กิจกรรมกลุ่มละลายพฤติกรรมอาจจะทำช่วงกลางคืนก่อนวันจัดกิจกรรม)
-
ควรเพิ่มระยะเวลาในการอบรมเป็น 2 วัน
-
ปรับปรุงเรื่องเวลาสัมมนา
จัดกิจกรรมกลางคืนด้วยเพื่อสร้างความสัมพันธ์และจะได้ความเอื้ออาทรต่อกัน
-
เนื้อหาความรู้ค่อนข้างมาก แต่ระยะเวลาน้อยเกินไป
-
อยากให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ซึ่งอาจจะทำให้เห็นแนวคิดต่าง ๆ
จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยที่แตกต่างจากการปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย
-
อยากให้จัดอย่างน้อย 2 วัน
เพื่อให้บุคลากรแต่ละหน่วยงานมีโอกาสแลกเปลี่ยนสานสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานมากขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันง่ายขึ้น
-
ควรจัดพูดคุยในหน่วยงานระดับย่อยลงไป เช่น งานวิจัย งานพัสดุ
งานการเงิน งานธุรการ
โดยเฉพาะการจัดการความรู้ให้กับกลุ่มอาจารย์
4. ท่านได้ความคิดอะไรใหม่บ้างจากการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ และจะกลับไปทำอะไร?
-
การทำการประเมินของงานย่อย จะนำไปเสนอหัวหน้าสถานีวิทยุ
เพื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยงานต่อไป
- นำระบบ KM
ไปใช้ในการทำงานของหน่วยงาน
-
ได้ความรู้จากผู้เข้าร่วมประชุม และจะกลับไปเขียน blog
- ทีม work
ที่ดีทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
การประเมินตนเองให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินและจะกลับไปทำการประเมินเลขาฯ
-
ได้แนวคิดใหม่จากเพื่อนร่วมสัมมนา เพื่อนำไปเป็นแนวคิดใหม่ ๆ
ในหน่วยงานตนเอง
- จะนำ KM
จากสมาชิกไปใช้ในองค์กรและถ่ายทอดสู่บุคลากรในหน่วยงาน
-
จะนำเกี่ยวกับเทคนิคใหม่ ๆ ไปใช้ในสำนักงาน
-
ได้รู้จักเพื่อนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
มีโอกาสในการเรียนรู้แลกเปลี่ยนจากการประสานงาน
-
ได้ความคิดจากหลาย ๆ ท่านในการทำงานของแต่ละที่
และคิดว่าสิ่งที่ได้รับคงจะได้นำไปประยุกต์ในการทำงานของตนเองได้ไม่มากก็น้อย
-
ได้รู้จักเพื่อนร่วมงานใหม่ ๆ
ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนและได้ประโยชน์จากการพูดคุยในเรื่องงาน
-
ได้เห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประโยชน์ที่เกิดขึ้น
จะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับงานที่ปฏิบัติและพยายามถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงาน
-
จะนำข้อมูลบางอย่างที่ได้รับวันนี้ไปใช้กับคณะฯ ของตนเอง
- รู้กระบวนการของ
KM, นำไปขยายผลให้กับเพื่อนร่วมสำนักงานเลขาฯ คณะ
-
ได้ความคิดว่าอยากกลับไปทำ KM ให้กับคณะ
และการจัดรูปแบบตามที่หน่วยประกันคุณภาพจัดขึ้น
-
กลับไปพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน
-
การจัดทำขอบเขตของงานต่าง ๆ ในหน่วยงานย่อยของแต่ละงาน
-
ผลักดันการแต่งตั้งหัวหน้างาน
- การทำงานเป็นทีม,
การสื่อสาร, การคิดอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่จะกลับไปทำ
จัดประชุมถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับบุคลากรในคณะฯ ได้รับทราบ
เพื่อที่จะเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน
-
ได้รู้และเข้าใจบทบาทการเป็นผู้เล่าและผู้รับฟังโดยได้ลงมือปฏิบัติจริง
และจะนำกลับไปเผยแพร่กับหน่วยงานต่อไป
- การทำระบบ IT
เข้าไปเกี่ยวกับการทำ SAR, การทำงานร่วมกัน, การมีความรับผิดชอบ,
การประเมินหน่วยงานย่อย
-
ปรับรูปแบบการทำงานขององค์กร โดยการนำความรู้ของ KM ไปใช้
-
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังมาสรุปเป็น Key Success factor ได้
และจะกลับไปเผยแพร่ให้เพื่อนร่วมงานและองค์กรได้ปฏิบัติต่อไป
-
การพูดคุยออกจากใจ ได้อะไรดี ๆ อีกมากมายยิ่งฟังยิ่งได้
และจะกลับไปทำการปรับกลยุทธ์ในการจัดการ Blog ของตัวเองใหม่
โดยเขียนให้ผู้ช่วยในหน่วยงานได้นำลง blog
และเป็นคุณอำนวยในหน่วยงานที่จะทำให้ KM ประสบความสำเร็จ
- ได้ทราบว่าหลักการทำ KM ต้องเริ่มจากอะไร ทำอย่างไร
สรุปประเด็นเพื่อหาแก่นของความรู้อย่างไร
และจะนำกระบวนการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของสำนักงานเลขานุการคณะ
โดยการฝึกจับประเด็น
- ทราบว่า blog
คืออะไร และจะกลับไปเป็นสมาชิกของ blog
-
ให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง KM มากยิ่งขึ้น
และจะกลับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรในองค์กรต่อไป
- วิธีการแก้ปัญหา
และเทคนิคในการที่จะจัดการความรู้ให้กับผู้ร่วมงานในหน่วยงาน
และจะนำความคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ
ที่ได้จากผู้ร่วมสัมมนาไปแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานร่วมกันในองค์กร
-
การประกันคุณภาพในหน่วยงานย่อย
- ผู้รับผิดชอบด้าน
QA ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร อาจทำควบคู่กันไป
- Core Competence
ด้านประกันคุณภาพ
- พลังของการทำ
Group Dynamic
- พัฒนา model
ที่ใช้กับหน่วยงาน
-
เผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นและศึกษาระบบ KM อย่างจริงจัง
-
ควรใช้เทคโนโลยีในเรื่องการประกันคุณภาพ
-
การบริการงานในสำนักงาน (E-office)
-
ได้รู้แนวทางในการจัดทำ QA, KM
เพื่อสามารถนำไปใช้งานในหน่วยงานได้ดีขึ้น
สามารถประสานกับหน่วยงานอื่น
-
การเลือกผู้ประเมินเพื่อพัฒนางาน
-
การประเมินแบบมีส่วนร่วม
-
การประเมินจิตสำนึกในเรื่องเกี่ยวกับ QA
-
เห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ประสบการณ์การทำงาน
-
ได้รับความรู้เรื่อง KM,
รู้จักวิธีการสกัดความรู้จากเรื่องที่คนอื่นเล่า,
มีเครือข่ายประสานงานเรื่องต่าง ๆ ที่ดีขึ้น
และจะกลับไปนำความรู้ที่ได้ไปฝึกปฏิบัติ และจะสมัคร KM
blog
-
ได้ประสบการณ์การทำงาน QA ที่ประสบความสำเร็จของหน่วยงานต่าง ๆ
และสามารถนำไปพัฒนางาน QA ของหน่วยงานตนเองได้
-
ได้ความรู้เกี่ยวกับ KM และการเป็น CKO : KF เพิ่มมากขึ้น
และคิดไว้ว่าจะนำกลับไปปฏิบัติภายในฝ่าย/งานของตนเอง
และขยายต่อไปภายในองค์กรของตนเอง
- แนวคิดใหม่ ๆ
จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่นำมาปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จ
ทำให้หน่วยงานนั้น ๆ มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น
ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น
-
ได้รู้จักบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ๆ
จะกลับไปสานสัมพันธ์การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ มากขึ้น
รวมทั้งพยายามนำวิธีการดึงความรู้ไปใช้ในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
และสร้างขุมความรู้ในงาน
-
บุคลากรจากสำนักหอสมุดไปเป็นตัวคูณในการจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด
-
สำนักหอสมุดจะไปจัดคุยกันในองค์กรและฝึกการเขียนบล็อก
วิบูลย์ วัฒนาธร
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ผศ.ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร ใน นเรศวรวิจัย-QA-KM
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก