ธนาคารโรงเรียน ออมสินกับภาระหน้าที่ของการเป็นธนาคารเพื่อสังคม


การเป็นธนาคารเพื่อสังคมของธนาคารออมสิน   หมายถึง การมุ่งเน้นกิจการให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั้งมวล โดยเฉพาะชุมชนฐานรากของสังคม โดยให้ผลประโยชน์สุดท้ายเกิดแก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างให้สังคมมีความเข้มแข็ง มั่นคงสามารถพึ่งตนเอง และปรับตัวตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมตลอดจนสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

การดำเนินกิจการของธนาคารออมสินในฐานะอีกหนึ่งบทบาทของการเป็นธนาคารเพื่อสังคมอย่างแท้จริง  ด้วยการร่วมแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนว่างงาน แก้ปัญหาความยากจน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้เกิดการจ้างงาน เสริมรายได้ สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ตลอดจนเป็นการให้บริการสวัสดิการทางสังคมเพื่อส่งเสริม ปลูกฝังให้ประชาชนและเยาวชนได้รู้จักการประหยัด อดออม   รวมทั้งนักเรียน และผู้มีรายได้น้อย โดยมีสถานที่เก็บออม และให้บริการทางการเงินเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ และเอื้อต่อการทำนุบำรุงชาติ ศาสนา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็นโครงการต่างๆ เยอะแยะมากมายครับ  ทุกกิจกรรมได้กระทำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน 

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการออมอีกหนึ่งอย่างที่ธนาคารออมสินได้ทำและสานต่อมาอย่างต่อเนื่อง  หลายท่านคงจะเคยเห็น โครงการธนาคารโรงเรียนกันมาบ้างแล้วนะครับ


ธนาคารโรงเรียน เป็นธนาคารจำลอง ที่ดำเนินการโดยนักเรียนในโรงเรียน มีครู- อาจารย์ และพนักงานธนาคารออมสิน เป็นที่ปรึกษา

นักเรียนผู้ปฏิบัติงานในธนาคารโรงเรียน มีทั้งนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาที่มีความประพฤติดี มีความรับผิดชอบ มีความละเอียดถี่ถ้วน มีมนุษยสัมพันธ์ดี ได้รับการสนับสนุน จากผู้ปกครองและอาจารย์ที่ปรึกษา

ความเป็นมาของธนาคารโรงเรียน
ธนาคารออมสินในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการส่งเสริมการออมมาเป็นเวลายาวนาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าของสังคมในอนาคต
ธนาคารจึงมุ่งส่งเสริมวินัยการออมและค่านิยมอันดีให้กับเยาวชน โดยการจัดตั้งธนาคารโรงเรียนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา เป็นการจำลองสาขาธนาคารไว้ในโรงเรียน มีนักเรียนและนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง ซึ่งได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจกรรมธนาคารโรงเรียนมีหลักการง่าย ๆ คือ
         - เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการออมทรัพย์ อย่างสม่ำเสมอ 
         - เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนรู้หลักการบริหารและการบริการที่ถูกต้อง
         - เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น
         - เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัย ด้านความรับผิดชอบให้กับนักเรียน
         - เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลา ในการทำกิจกรรมที่ก่อให้
           เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

ทีนี้เรามาดูกันนะครับว่าทำยังไงโรงเรียนของคุณครูทุกท่านใน G2K ถึงจะได้เข้าร่วมโครงการดีดีแบบนี้ครับ  อันดับแรกคือ
         - โรงเรียนจะต้องเห็นความสำคัญของอนาคตของชาติและที่สำคัญผู้บริหารเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการดีดีแบบนี้ด้วยครับ ( อิอิ )
         - โรงเรียนและผู้บริหารรวมทั้งครูอาจารย์เห็นความสำคัญในการฝึกเด็กให้มีทักษะในภาคปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์  แค่นี้ครับง่าย ๆ เน้นที่โรงเรียน เน้นที่เยาวชน ครับ ส่วนเรื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางธนาคารจะจัดหาให้ครับ

ลักษณะและวิธีการดำเนินงานของโครงการธนาคารโรงเรียน ก็ง่ายเหมือนกันครับ  เป็นลักษณะของการฝากเงิน   การฝากเงินของโครงการธนาคารโรงเรียนนั้นเป็นประเภทฝากเผื่อเรียกหรือที่เราจะเข้าใจว่าฝากออมทรัพย์นั่นแหละครับ   ซึ่งนักเรียนสามารถฝากเงินได้อย่างสม่ำเสมอในวันเปิดทำการโรงเรียน( เอาธนาคารไปตั้งในโรงเรียนเลยครับ )   ซึ่งการฝากเงินก็สามารถฝาก - ถอนได้ ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป และจะฝาก - ถอนวันละกี่ครั้งก็ได้ โดยแต่ละโรงเรียนจะเปิดบัญชีกับธนาคารออมสินสาขาพี่เลี้ยงเพียงบัญชีเดียว ส่วนบัญชีย่อยของนักเรียนแต่ละรายธนาคารโครงเรียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ดอกเบี้ยอัตราเดียวกับประกาศธนาคารออมสินเงินฝากเผื่อเรียก (อัตราดอกเบี้ยนี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉพาะโครงการธนาคารโรงเรียนครับ)


การให้การสนับสนุนจากทางธนาคารออมสินนั้น ทางธนาคารฯ จะเข้าไปช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมนักเรียนผู้ปฏิบัติงานถึงวิธีการปฏิบัติงานของธนาคาร การจัดเตรียมสถานที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน แบบพิมพ์ต่างๆ โดยจัดทำแบบพิมพ์และสมุดเงินฝากซึ่งออกแบบเป็นการเฉพาะสำหรับโครงการธนาคารโรงเรียน ตลอดจนจัดกิจกรรมเสริมทักษะให้กับนักเรียนในธนาคารโรงเรียนได้มีส่วนร่วม อาทิ ค่ายผู้นำเยาวชน ทัศนศึกษานอกสถานที่และสนับสนุนในเรื่องทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโรงเรียน อีกด้วยครับ

โครงการธนาคารโรงเรียนนี้  ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมของสมาชิกที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้การร่วมกัน  ร่วมกันคิดแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผ่านกิจกรรมต่างๆเสริมสร้าง และปลูกฝังนิสัยการประหยัดรักการออม  รู้จักรับผิดชอบและเสียสละต่อตนเอง ต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม สร้างสรรค์ในสิ่งที่ดี อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ


        

 

หมายเลขบันทึก: 145098เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

 เพิ่งจะเคยได้ยิน ดีมากๆเลยค่ะ แล้วธนาคารมาเก็บเงินทุกวันหรือเปล่า เวลาถอน เอาเงินสำรองตรงไหนจ่าย คือไม่ค่อยรู้เรื่อง ขอทราบหน่อยนะ

  • อิอิ
  • อันนี้เพื่อความปลอดภัยของทางโรงเรียนและทางธนาคารครับ
  • บออุบไว้เป็นความลับครับ ไว้คุยกันที่งานเฮฮาศาสตร์ครับพี่ อยากรู้อาไรถามได้เลยที่นั่นครับ
  • อิอิ

เติบโตอย่างยิ่งใหญ่

...แต่อย่าลืมรากเง้าของเจ้าจากลูกค้าตัวเล็กๆ

อย่าลืม...อย่าลืม

ขอปรึกษาคุณสายลม เรื่องการจัดกิจกรรมธนาคารโรงเรียน ว่า ถ้าโรงเรียนสนใจจัดทำกิจกรรมดังกล่าวต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง จัดกิจกรรมภายในโรงเรียนก่อนผลเป็นอย่างไร จึงนำโครงการไปเสนอทางธนาคารหรือค่ะ ขอแนวทางการทำกิจกรรมจากคุณได้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้าคะ

อยากถามว่าดอกเบี้ยเท่าไรค่ะ ทางนักเรียนอยากถาม++........ย้ำอย่าลืมตอบ...

นายคำพูล วิเชียรศรี

อยากให้ธนาคารออมสิน ขึ้นข่าวการแข่งขันกีฬาธนาคารโรงเรียน ธนาคารออมสิน ตั้งแต่ระดับภาค จนถึงระดับประเทศ แจ้งผลการแข่งขันของแต่ละภาคให้ทราบด้วย และกำหนดการแข่งขันระดับสาย ระดับประเทศ จะแข่งเมื่อไหร่ ที่ไหน

เพราะค้นหาข่าวมีแต่อยู่ข่าวเว็บอื่น

ขอบคุณ

ต้องการดูโครงการธนาคารโรงเรียน

ตอนนี้เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ค่ะแล้วต้องการจะถอนเงินออกจากบัญชี แต่ธนาคารบอกว่าถ้าถอนจะต้องทำบัตรเครดิต อยากถามว่าถ้าจะถอนจำเป็นต้องทำบัตรเครดิตด้วยเหรอค่ะ หรือถ้าไม่ทำบัตรเตรดิตธนาคารบอกว่าถอนได้ครั้งละ 300 แถมถอนแต่ละครั้งก็ปาเข้าไป 2-3 วันหรือเป็นอาทิตย์แล้วจะให้ทำยังไงค่ะ

ธนาคารโรงเรียน มีเฉพาะระดับอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาเหรอคะ ถ้าอยากทำโครงการธนาคารโรงเรียนแต่มาจัดตั้งที่มหาลัยได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท