ว่าด้วยความเข้าใจในตรรกวิทยา


ถามว่า...เหตุผลอยู่ที่ไหน..?

ว่าด้วยความเข้าใจในตรรกวิทยา...ทุกสิ่งจะง่ายเมื่อเราสนใจ..

 

เมื่อวานช่วงสายเตรียมตัวเพื่อบรรยายวิชาที่เป็นกุญแจเพื่อไขประตูไปสู่โลกกว้างทางปรัชญานั้นคือวิชาตรรกศาสตร์หรือตรรกวิทยา  บรรยายเวลา 13.00 น.ไปจนถึงเย็น  ให้กับพระนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  สงขลา  มีรายชื่อทั้งหมด 22 ท่าน 

 ผมได้แนะนำเบื้องต้นไว้ว่า...คำว่า ตรรกวิทยา  รากศัพท์มาจากสันสกฤตว่า...ตรฺก + วิทยา  ตรงกับบาลีว่า  ตกฺก + วิชชา แปลว่า  วิชาว่าด้วยการตรึกตรอง

 

                คำว่า Logic รากศัพท์มาจากกรีกว่า  Logos  แปลว่า  วิชาว่าด้วยคำพูด   

 ราชบัณฑิต  สาขาวิชาตรรกศาสตร์  คือ อาจารย์จำนงค์  ทองประเสริฐได้สอนในห้องที่ยูมิเรียนในครั้งนั้นท่าน กล่าวว่า...เป็นวิชาพื้นฐานที่สอนให้คนรู้จักใช้เหตุผลให้สมกับคำว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล

 

                ศาสตราจารย์กีรติ  บุญเจือว่า...ตรรกวิทยาคือวิชาว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล

                 ถามว่า...เหตุผลอยู่ที่ไหน..?ตอบ...อยู่ในดวงจิตของคนที่ใช้ความคิด.

                ถามว่า...จะรู้ได้อย่างไร..?

 

ตอบ...คนนั้นต้องแสดงออกมา.

 

                ถามว่า...แสดงออกมาโดยวิธีใดเล่า..?

ตอบ...โดยการใช้เครื่องหมาย ( sign ) เช่น  ภาษาสื่อสาร ในโลกนี้มีประมาณ 4000 กว่าระบบภาษา

 

                ถาม...แสดงออกมาอย่างไร..?

 

ตอบ...ภาษาแสดงออกมา 3 อย่างคือ เหตุผล ( reason ) บอกเล่า ( information ) และอารมณ์ ( emotion ) แต่สิ่งที่แสดงออกมาต้องมี 2 ข้อความ คือ มีข้อความหนึ่งต้องสนับสนุนอีกข้อความหนึ่งจึงเรียกว่า  ข้ออ้าง ( premise ) และมีข้อความที่ถูกสนับสนุนเรียกว่า  ข้อสรุป ( conclusion ) จึงเป็นตรรกะได้ เช่น  

                                                สีขาวสะท้อนแสง                             หิมะมีสีขาว

                                                 เพราะฉะนั้น  หิมะสะท้อนแสง

 

อธิบายว่า...หิมะมีสีขาวเป็นข้อความที่ต้องไปสนับสนุนสีขาวสะท้อนแสง เรียกว่า ข้ออ้างและมีข้อสรุปดังที่เห็นแล้ว.

 

                ถาม...เมื่อใช้ 2 ข้อความอย่างนี้เรียกว่าทำการอะไร..?

 ตอบ...ทำการพิสูจน์ ( proof ) คือเราใช้เหตุผลเพื่อทำการพิสูจน์นั้นเอง  การพิสูจน์ คือ  การอ้างสิ่งที่แน่ใจได้ก่อนไปสนับสนุนยืนยันสิ่งที่แน่ใจได้ที่หลัง  มี 2 วิธีคือ  นิรนัย ( deduction ) และอุปนัย ( induction ) นั้นเองครับ..ฮา ๆ เอิก ๆ.                   
หมายเลขบันทึก: 144929เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

ตอนแรก(ก่อนอ่าน)คิดว่าต้อง เครียดแน่

แต่พอได้อ่าน ผมกลับรู้สึกสนุก

อาจารย์ นำเสนอเรื่องที่ผมคิดว่าต้องเครียด ให้กลายเป็นสนุกไปเลย ครับผม ....จะคอยติดตามอีกครับ

สวัสดีครับ  คุณ

P

1. กะทกรกบ้าน
เก่งนะอ่านแล้วเข้าใจได้
ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

อาจารย์จำนงค์  ทองประเสริฐ ไม่ได้สอนแล้วหรือครับ?

สวัสดีครับ คุณ เอกชน

อยู่ถึงเมืองสงขลา ผมจึงไม่รู้ว่าท่านยังสอนอยู่รึเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท