สรุปการทำโฟกัสกรุฟเรื่อง "ปัญหาทรัพยากรน้ำ" ที่เมืองปาย


จากการประเมินเชิงทรัพยากรน้ำ ตอนนี้ก็เริ่มเกิดการแก่งแย่งขาดแคลน และปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

 ในช่วง ๒๑ ถึง ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปจัด โฟกัสกรุฟ

ระดมความเห็นด้านการจัดทำกฎหมายลูกประกอบ พรบ น้ำแห่งชาติ ทางภาคเหนือ

ที่

  • อุตรดิตถ์
  • ลำปาง
  • เชียงใหม่
  • แม่ฮ่องสอน
  • พะเยา
  • น่าน และ
  • แพร่ 

ได้อาศัยสมาชิกเครือข่ายพันธมิตรสายภาคเหนือ gotoknow เป็นแกนในการประสานงานจัดกลุ่ม focus group

และเชิญผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก  

โดยมีเจ้าถิ่น คุณเอก (จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร) คุณหมอสุพัฒน์ ใจงามและครอบครัว เป็นเจ้าภาพใหญ่ หมอรอนและครอบครัว

และมีสมาชิก gotoknow ที่มาร่วมสนับสนุนการทำงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกหลายท่าน  

ชุมชนที่ผมได้เก็บข้อมูลเฉพาะ 

·        ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๒- ๑๕ น. ที่บ้านสันติชล ม ๕ ต. เวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (มี ๑๙๖ ครัวเรือน แต่ยังไม่เป็นหมู่บ้านอิสระ เพราะปัญหาการไร้สัญชาติของชนเผ่าในพื้นที่)

  • มี นายบุญลอ หล่ออริยวัฒน์  มีท่านผู้นำชุมชนเผ่าจีนยูนนาน เป็นผู้ให้การต้อนรับ
    •  ข้อมูลทั้งทางสังคมก็คือ พื้นที่ภาคเหนือ เคยเป็นพื้นที่ปัญหายาเสพติด เป็นแหล่งการค้าและเส้นทางลำเลียงมาแต่เดิม ทำให้ระบบการพัฒนาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติเป็นเรื่องรอง และให้ความสนใจกันน้อย
    •  จนเมื่อมีการพัฒนาชุมชนเพื่อต่อต้านยาเสพติด จึงพยายามพัฒนามาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ และเชิงเกษตร ที่พยายามใช้จุดแข็งที่เหลือของชุมชน
    •   และหันกลับมาพัฒนาระบบทรัพยากรแหล่งน้ำ ป่าไม้ เกษตร  วิถีชีวิตของชาวบ้าน และชุมชน เพื่อสนับสนุนระบบการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนห่างไกล
    • มีการทำฝายชะลอความชื้น ประปาภูเขา ดูแลริมฝั่งแม่น้ำปายโดยการปลูกต้นไม้และหญ้าแฝก
    • มีการพัฒนาตัวเองและพื้นที่ ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ฝ่ายบริหาร เพื่อประกอบการขอสัญชาติไทย  

·        ในเย็นวันที่ ๒๓ ตุลาคม ได้จัดประชุม Focus group เวลา ๑๙- ๒๒ น. ที่ บ้านแม่ปิง ต. แม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านชนเผ่ากะเหรี่ยง นับถือศาสนาคริสต์ ที่อยู่ใกล้ๆกับกลุ่ม วัดจันทร์ที่นับถือศาสนาพุทธ

เป็นการประชุมในบ้านผู้นำ นายอำพัน ปรีชญาวิชัยกุล และคณะกรรมการหมู่บ้านอีก ๙ คน

เป็นการประชุมในบ้านผู้นำ มีการเลือกระดับผู้นำด้านต่างๆ เลือกเวลาที่ชาวบ้านสะดวก และสถานที่ เหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ  

ทำให้ได้รับรู้สภาพทรัพยากร การจัดการ ขีดจำกัด ปัญหา และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำของพื้นที่ภาคเหนือ ที่สามารถใช้ข้อมูลเป็นตัวแทนของการจัดการพื้นที่ต้นน้ำของภาคเหนือได้เป็นอย่างดี โดยพบว่า

1.     การจัดการน้ำของชุมชนของพื้นที่แถบนี้เป็นประปาภูเขา ทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน

2.     มีการแบ่งปันน้ำกันจากแหล่งน้ำเดียวกัน ข้ามพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา แบบเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

3.     ใช้ท่อ ๓-๔ นิ้ว ส่งมายังชุมชน เพื่อมาทำน้ำประปาชุมชน

4.     ในฤดูฝน (มิถุนายน ถึง สิงหาคม) ได้แบ่งน้ำดังกล่าวไปทำนาด้วย

5.     มี แก่น้ำ เป็นผู้จัดการ เก็บค่าน้ำ หักค่าซ่อมแซม และเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนให้ แก่น้ำ

6.     ฤดูฝนน้ำจะขุ่น ต้องกรอง และใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม

7.     มีการปล่อยน้ำเป็นช่วงๆ ทุกคนต้องคอยเก็บน้ำไว้ใช้เอง

8.     ในฤดูแล้งเหลือเฉพาะน้ำกินน้ำใช้ ต้องช่วยกันประหยัดมากๆ 

9.     กำลังจะไปขอปันน้ำจากลุ่มน้ำอื่นที่เหลือใช้ 

ชุมชนมองเห็นความสำคัญที่ต้อง

1.     ดูแลเรื่องขยะ แหล่งท่องเที่ยว น้ำเสียจากชุมชน ในเมือง

2.     ป้องกันการดูดทรายที่ทำลายแหล่งน้ำ

3.     ดูแลรักษาป่าต้นน้ำ

4.     มีกรรมการตรวจดูแลพื้นที่ต้นน้ำ เป็นรายปี และคนที่เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ จะเป็นสายสืบให้กับชุมชน

5.     ระบบประปาชุมชนจะช่วยลดความขัดแย้ง เกิดความเป็นธรรม และปัญหาแหล่งน้ำขาดแคลน

6.     การเก็บค่าน้ำ เสนอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรหนุนช่วย กก ลุ่มน้ำ  จากการประเมินเชิงทรัพยากรน้ำ

ตอนนี้ก็เริ่มเกิดการแก่งแย่งขาดแคลน และปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

ที่อาจเป็นชนวนจำกัดความร่วมมือของผู้เสียเปรียบในสังคม

แต่ก็ยังมีข้อเสนอในการจัดระบบประปาชุมชน แทนระบบประปาภูเขา โดยภาพรวมก็จะทำให้ลดโอกาสของการเกิดปัญหาได้   

หมายเลขบันทึก: 144908เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
สวัสดีค่ะ อ. แสวง ชอบที่บอกว่า มีการแบ่งปันน้ำจากแหล่งที่เดียวกันค่ะ

อยากให้คุณครูทำการเรียนการสอนแบบนี้อีกนะคับเพราะมันจะเป็นการเพิ่มพัฒนาการและศักยภาพของเด็กในการใช้ Computer และ Internet

                                                                

เป็นเรียนการสอนที่มีความตื่นเต้นมากครับทำให้นักศึกษามีความกระตืรือร้นในการเรียน

ช่วยบอกเพื่อนๆด้วยซิครับ

เวลเรียนในห้องจะได้สนุก

และต่อไปนี้ใครจะส่งรายงานต้องบอกหมายเลขที่เข้ามาอ่านด้วยด๊ไหม จะได้ลักไก่ไม่ได้

คนไม่อ่านก็ได้ ๐๐๐๐๐๐๐ คะแนน ดีไหม

ผู้รักบ้านเกิด (รุ่น43)
สวัสดีครับ อ.แสวง ผมยิ่งอ่านและทํางานเกี่ยวกับเรื่องนี้(เมื่องปาย) ทําให้ผมชอบและอยากจะให้อาจารย์ไปพัฒนาพื้นที่บ้านผมมาก(ไม่อยากบอกครับว่าจังหวัดไหน เพราะว่ากลัวอาจารย์ถามในห้องเรียน)แต่ใจอยากให้อาจารย์ไปจริงจริงครับ

แล้วผมจะไปถูกไหมเนี่ย

แหมแค่ถามว่าอยู่จังหวัดไหนก็กลัวแล้ว

อะไรจะขนาดน้าน คุณหนูหนู........

อาจารย์น่าจะมีโครงการให้นักษาไปดูงานหรือทัศนศึกษาที่เมืองปายนะคับไม่ใช่ว่าได้อ่านได้รู้แค่เรื่องราวของเมืองปายต้องให้เห็นภาพด้วยและสถานที่จริงด้วยสิคับจะเป็นผลดีมากเลยคับกับนักศึกษาขอบคุณคับ

สวัสดีคะอาจารย์

แล้วจะหาโอกาสครับ

ตอนนี้ไปแบบเสมือนก่อน ก็แล้วกันนะครับ

วันนี้จะได้ทำงานส่ง เป็นชิ้นที่ 2 สำหรับ วิชานี้

จากข้อมูลที่ได้อ่าน ได้ทราบถึง อดีต จนถึงปัจจุบันของเมืองปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่ในอดีต ประสบกับภัยธรรมชาติ รวมทั้ง ภัยจากมนุษย์ ซึ่ง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เมืองปายนั้นได้รับความเดือดร้อน  จน ส่งผลให้เกิดความเสียหายมากมาย เช่น น้ำท่วม ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ เกิดจากการทำลายป่า แต่ในปัจจุบันได้มีการเข้าไปพัฒนา ทำให้ เมืองปายน่าอยู่และ เป็นสวรรค์อีกแห่งหนึ่งของพวกเรา   นี้เป็นความรู้สึกและความคิดเห็นเมื่อได้อ่าน เรื่อง เมืองปาย ครับ

สวัสดีค่ะ.....อาจารย์

  วันนี้เป็นครั้งแรกที่หนูได้รวบรวมความกล้าเข้ามาแสดงความคิดเห็นค่ะ  เคยเข้ามาอ่านบ่อยแต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น(เพราะกลัวอาจารย์ถามในห้องเรียน) แต่หนูทราบจุดประสงค์อาจารย์ดีนะคะว่า.....อาจารย์ต้องการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน รับฟังปัญหา และกล้าถาม-ตอบ แสดงความคิดเห็น แต่ไม่รู้เป็นไรเด็กไทยขี้ขลาดซึ่งหนูก็เป็น 1 ในนั้น หนูเชื่อว่าถ้ามีการเรียนการสอนแบบอาจารย์ต่อไปเด็กไทยต้องกล้าแสดงออกมากกว่านี้ค่ะ(หนูเชื่ออย่างนั้น)ถ้ามีอารย์ที่คอยผลักดันแบบนี้ พยายามเข้านะคะหนูเป็นกำลังใจให้ค่ะ

   

การที่เมืองปายนั้นกำลังจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นั้นจะทำให้เกิดปัญหาการขัดผลประโยชน์ระหว่างนายทุนผู้ลงทุนหรือไม่ก็ผู้นำชุมชนเกิดการขัดผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แล้วพอถึงเวลานั้นแล้วไม่ทราบว่าผู้ที่เป็นแกนนำหลักในการพัฒนาเมืองปายนี้จะทำอย่างไร เพราะเมื่อมีรายได้เกิดขึ้นที่ใดย่อมต้องมีความโลภ มันเป็นนิสัยที่อยู่ในตัวของทุกคนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะแสดงออกมาเมื่อใด เมื่อเกิดความเสียหายต่าง ๆ ความรู้สึกที่เป็นแนวร่วมก่อตั้งอย่างอาจารย์ คิดว่าจะมีมาตรการรองรับเกี่ยวกับปัญหาประเภทนี้อย่างไร ในเมื่อผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร ดังเช่นปัจจุบัน

ขอให้ส่งคำถามไปที่ทีมเมืองปาย โดยเฉพาะคุณเอกครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท