เรื่องของการจัดการความรู้นั้น เรียนสั้นๆว่า ผมได้นำหลักการขององค์การแห่งการเรียนรู้มาผสมผสานกับการจัดการความรู้ สร้างเป็น LKASA Model ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการหลายท่านและผมกำลังจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษเพื่อทำการเผยแพร่ในวงกว้าง โดยหลักการก็คือการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ การจัดการให้เกิดองค์ความรู้ การจัดการให้เกิดการใช้ความรู้ การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการให้เกิดคลังความรู้ ทั้งหมด 5 ขั้นตอน
กระตุ้นให้เราเรียนรู้ อบรม ฝึกฝนพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นพนักงานที่มีความรู้ (Knowledge workers) ทำให้เราสร้างความรู้มาใช้พัฒนางานต่างๆของเราได้เอง พอทำได้ดีก็ให้คนทำงานมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ที่ผมเน้นคือให้ผู้ปฏิบัติในแต่ละกลุ่มได้คุยกันในสิ่งที่ทำได้ดี เพื่อเอามาปรับวิธีการทำงานหรือคู่มือการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องจัดเวทีใหญ่โต เป็นทางการ อาจนั่งคุยกันก่อนกลับบ้าน ตอนเช้าที่เริ่มมาทำงานหรือตอนจะส่งเวรกัน
อย่างนี้ก็เป็นการทำKMแล้ว ไม่จำเป็นต้องจัดเวทีขึ้นใหม่ ไม่จำเป็นต้องออกไปพูดข้างนอกโรงพยาบาลก็ได้เพราะคนทำส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดหรือพูดไม่เก่ง การพูดคุยกันแบบสบายๆจะได้ประโยชน์และกล้าพูดมากกว่า ซึ่งในหลายงานก็ทำอย่างนี้อยู่แล้ว พอเขียนเป็นวิธีทำงานที่ดีขึ้นมา อันนั้นแหละคือความรู้ พอเก็บไว้รวมๆกันให้สามารถเอามาดู มาอ่าน มาปรับใช้ มาทบทวนได้ง่ายก็กลายเป็นคลังความรู้หรือขุมทรัพย์ความรู้ นั่นเอง
ที่เล่าสรุปนี่ก็เพื่อให้พวกเรารู้สึกสบายใจว่าการจัดการความรู้ของเราเป็นอย่างไร เพราะเราทำโดยที่เราไม่รู้และไม่ได้บอกให้รู้ว่านี่เป็นการจัดการความรู้หรือเป็นการมุ่งไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้นะ
นี่เป้นส่วนที่ผมนำมาจากวาระแจ้งให้ทราบที่ใช้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อซักซ้อมความเข้าใจครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Dr. Phichet Banyati ใน PracticalKM
คำสำคัญ (Tags)#kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 14468, เขียน: 05 Feb 2006 @ 19:10 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 14:23 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 4, อ่าน: คลิก
ผมขอสนับสนุนให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ครับ เอามาขึ้นเว็บ สคส. ไว้ด้วยก็ได้ครับ
วิจารณ์ พานิช