HPH


HPH = Health Promoting Hospital

                เมื่อถามคนทั่วๆไปว่า โรงพยาบาลมีไว้ทำไม มักจะได้รับคำตอบว่า เป็นสถานที่เอาไว้รักษาโรคเมื่อเกิดความเจ็บป่วย ถ้าไม่ป่วยคนก็จะไม่อยากไปโรงพยาบาล ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลจึงเป็นที่รวมของผู้เจ็บป่วย ซึ่งทำให้มองดูแล้วน่าหดหู่ใจ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆใครก็ไม่อยากไปโรงพยาบาล
               เมื่อถามแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็มักจะได้คำตอบว่ามีหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย ยกเว้นกลุ่มที่ทำหน้าที่ด้านส่งเสริม ป้องกันโรคเท่านั้น ที่อาจตอบแตกต่างออกไป แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยของโรงพยาบาลเท่านั้น ที่มีภารกิจอย่างนี้
               สภาพที่เราพบเห็นในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐบาลก็คือความแออัดยัดเยียดของผู้ป่วยที่ต่างรีบเร่งเพื่อไปรับการรักษาพยาบาล  โดยที่หลายๆคนต่างเห็นภาพเหล่านี้จนชินตาโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ทุกคนเหนื่อย เครียด เร่งรีบเพื่อจะตอบสนองให้ทันกับความเร่งด่วนของโรคและความต้องการของผู้ป่วย แต่ในหลายๆแห่ง ให้รีบรักษามากเท่าไหร่ ให้บริการดีขึ้นมากเท่าไหร่ คนไข้ก็ยิ่งเชื่อมั่น 
               หากเรายังจำนโยบายในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจได้ นั่นคือGood Health at Low cost   ทำอย่างไรให้เกิดสุขภาพได้ในต้นทุนที่ต่ำ  หากมองในเชิงการบริหารจะพบว่าองค์การจะอยู่รอดได้ต้องมีคุณภาพ   ประสิทธิภาพและประหยัด  ในการประหยัดที่ดีที่สุดก็คือการทำให้คนมีสุขภาพดี โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ นั่นเอง
               การสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่แค่การส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) แต่เป็นการบริการแบบผสมผสานและองค์รวมโดยดูที่สถานะสุขภาพของประชาชน ถ้ากลุ่มปกติก็ส่งเสริมสุขภาพ ถ้ากลุ่มเสี่ยงก็ให้การป้องกันโรค(Prevention) ถ้ากลุ่มเจ็บป่วยก็ให้การรักษา(Curation)หรือฟื้นฟู ถ้าเป็นกลุ่มพิการก็ให้การฟื้นฟูสภาพ(Rehabilitation) 
              ในการทำให้เจ้าหน้าที่ทำเรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ก็ไม่ยากโดยให้ทุกคนสามารถบอกได้ว่าตนเองได้ทำอะไรบ้างที่ทำให้เกิดสุขภาพดี ไม่ว่าจะต่อผู้ป่วย ญาติ ตัวเอง ญาติๆ อาคารสถานที่หรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ รวมไปถึงในชุมชน ถ้าทำตามที่ตอบและตอบตามที่ทำก็น่าจะสามารถสร้างเสริมสุขภาพได้แล้ว ไม่ต้องไปท่องเกณฑ์ ตัวชี้วัดหรือคำศัพท์ยากๆ เป็นการทำง่ายๆให้สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันได้
              ที่สำคัญ ต้องทำให้สอดคล้องกับความเป็นจริงขององค์การ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักดิบ และอย่าทำแบบดัดจริต เพราะมันจะไม่ยั่งยืน อย่าอยู่ในโลกของความฝันเกินไป แต่เอาความฝันเป็นเป้าหมายที่ท้าทายแล้วเดินไปตามความจริงที่มีอยู่ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะถึงที่หมายอย่างไม่รู้ตัวว่า เราได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หากพิจารณาตามเกณฑ์ของHPHก็ไม่ยาก ประกอบไปด้วย 7 เกณฑ์ ดังนี้
1.        การนำและการบริหาร
2.        การบริหารทรัพยากรและพัฒนาบุคคล
3.        สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ
4.        ส่งเสริมสุขภาพบุคลากร ร.พ
5.        ส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการและญาติ
6.        ส่งเสริมสุขภาพชุมชน

7.        ผลลัพธ์

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 14467เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2006 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบคำว่าอย่าทำแบบดัดจริตจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท