109 ปี ของ “การจัดการน้ำ” ในเมืองไทย


ตั้งแต่ปี 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการจากจำนวน 20 หน่วยงาน 8 กระทรวง เหลือ 7 กรม 4 กระทรวงและยังมีความพยายามที่จะให้หน่วยงานเหล่านี้มีน้อยลงไปอีก เช่น เหลือเพียง 4 กรม

 เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว มีการจัดตั้งกรมคลองเพื่อการสร้างเส้นทางคมนาคม

และเป็นผลให้มีการพัฒนาพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ มีสภาพน้ำขังเป็นประจำทุกปี รกร้างว่างเปล่า ไม่สามารถเดินทางเข้าออกได้โดยสะดวก

จนเป็นสภาพที่สามารถเดินทางเข้าออกได้ทุกฤดู และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เกษตร ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางได้อย่างกว้างขวาง 

ในระยะต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทของกรมคลองเป็นกรมชลประทานมีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และขาดแคลนน้ำ

Img_4140

ที่เริ่มตั้งแต่เขื่อนภูมิพลเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน กว่า 2 แสนโครงการ

071013+021

ทำให้สามารถเก็บน้ำได้ตามศักยภาพสูงสุดถึง 70,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่สามารถจัดสรรให้พื้นที่เกษตรกรรมได้ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

แต่ในสภาพความเป็นจริงจะเก็บได้ประมาณ 40,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีแผนและความพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 เปอร์เซ็นต์เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และฝนแล้งไปในขณะเดียวกัน แต่ก็ยังทำได้ไม่สมบูรณ์ 

ในช่วงตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2542 สถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทย ได้ศึกษาและพบว่ามีหน่วยที่ทำงานในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอยู่ถึง 20 หน่วยงานใน 8 กระทรวงที่ดูแลโครงการทั้งสิ้นกว่า 2 แสนโครงการดังกล่าวข้างต้น

แต่ ก็มีโครงการที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์  

หลังปี 2545 ได้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้มีการพัฒนาชนบทด้านต่างๆจากกิจกรรมขององค์กรเหล่านี้ขึ้นไปอีก 

ที่มักเริ่มจาก

  • การพัฒนาสำนักงาน
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า ประปา
  • แต่ในระยะหลังๆ นี้ เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของ อบต. ได้มุ่งเน้นมาพัฒนาแหล่งน้ำและอาชีพ
  • และเริ่มมีบางส่วนเข้ามาดูแลด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา   ที่แปดริ้ว ได้ขุดลอก คูคลอง 80 คลอง

  • มีองค์กรพัฒนาแหล่งน้ำที่จังหวัดน่าน และที่จังหวัดบุรีรัมย์  

ในปัจจุบันมีเริ่มมีบาง อบต. ที่ถูกชุมชน ได้เข้ามาพัฒนาแหล่งน้ำอย่างจริงจังเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีกระแสบีบบังคับจากชุมชนในความจำเป็นที่ต้องการพัฒนาแหล่งน้ำ

ทางด้านการพัฒนาหน่วยงานของรัฐ

ตั้งแต่ปี 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการจากจำนวน 20 หน่วยงาน 8 กระทรวง เหลือ 7 กรม 4 กระทรวงและยังมีความพยายามที่จะให้หน่วยงานเหล่านี้มีน้อยลงไปอีก เช่น เหลือเพียง 4 กรม เป็นต้น

เพื่อการเปิดโอกาสให้มีการทำงานเชิงบูรณาการได้ชัดเจนและง่ายขึ้น  

แต่ในสถานะปัจจุบันหลังจากรวมกันแล้วก็ยังไม่บูรณาการการทำงานเท่าที่ควร แต่ยังอยู่ในสภาพทำงานร่วมกัน แต่ต่างคนต่างทำ จึงยังไม่เกิดแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 

ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ที่จะต้องมีการพัฒนาจิตสำนึก

ที่จะเริ่มที่ระบบการศึกษาในเด็กชั้นประถม ให้รู้จักการดูแลแหล่งน้ำและเหมืองฝาย  

ภายใต้การดูแลท้องถิ่นมีการพัฒนาให้เห็นรูปธรรมดังเช่น  ในกรณีพระราชดำริทฤษฏีใหม่ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีการผันน้ำจากห้วยไผ่ โดยทำอุโมงค์ลอดภูเขา 9 กิโลเมตรเข้ามาสนับสนุนโครงการทฤษฏีใหม่ที่ อำเภอเขาวง ซึ่งถือเป็นพื้นทีขาดแคลนน้ำ

 เปรียบเทียบกับพื้นที่กลางน้ำเขาหินซ้อน

และพื้นที่ท้ายน้ำที่คุ้งกระเบน ที่แสดงถึงการใช้น้ำที่แตกต่างกัน แต่มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำเพื่อการยังชีพ  

ในปัจจุบันเริ่มมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับการใช้น้ำเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม ที่อาจจะต้องมีการเก็บเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและนำเงินรายได้เข้ากองทุนทรัพยากรน้ำและใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการทำงานขององค์กรการใช้น้ำ 

ในด้านความเป็นธรรมได้เน้นการมีส่วนร่วมการปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กร การแต่งตั้งองค์กรพัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มสัดส่วนของผู้ใช้น้ำ ลดสัดส่วนของราชการลง และให้มีนักวิชาการและองค์กรใช้น้ำในอัตราส่วน 15 : 15 : 5 หรือ16 : 16 : 8 สำหรับในพื้นที่ที่ขนาดใหญ่มากได้มีแยกคณะกันให้สามารถดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น 

ในกรณีของการสร้างความเป็นธรรมในภาคเกษตรนั้น ได้มีตัวอย่างการเก็บค่าน้ำในกลุ่มเกษตรกรในภาคเหนือในอัตรา 20 บาท/ไร่/ปี แต่ถ้าเป็นนาเช่า เพื่อการทำนาปรังเจ้าของนาจ่าย 30 บาทและผู้เช่า จ่าย 50 บาท/ปี สำหรับสมาชิกใหม่ต้องจ่าย 1,000 บาท เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งเป็นกรณีการเก็บค่าน้ำในภาคเหนือ

 สำหรับทางภาคใต้ที่พรุสำเภา ซึ่งสามารถเก็บน้ำได้ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถเพาะปลูกข้าวได้ 2,500 ไร่ มีรายได้จากการขายข้าว 7 ล้านบาท สำหรับหน้าแล้งใช้ปลูกพริก 1,000 ไร่ มีรายได้ถึง 10 ล้านบาท มีการพัฒนาต้นทุน โดย อบต. รวมเป็นค่าใช้จ่ายต่อไร่ 300 บาท แต่เก็บจากชาวบ้าน เพียง 100 บาท  

สำหรับกรณีที่ภาคตะวันออก ที่จันทบุรี กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำต้องสูบน้ำ มาจากแหล่งน้ำ ๒ กม. ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ จึงต้องมาหารแบ่งกันในกลุ่มผู้ใช้น้ำ 

สำหรับการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืนนั้น ได้มีพัฒนาบริหารร่วมกับทรัพยากรอื่น เช่น ที่ดิน ป่าไม้ ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาการบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำ  

ตัวอย่างของการบริหารจัดการลุ่มน้ำนั้น ที่สำเร็จอย่างดีคือ ประเทศ ออสเตรเลีย ซึ่งมีการเก็บค่าน้ำกับทุกคนที่มีการขึ้นทะเบียนผู้ใช้น้ำเพื่อการดังกล่าว 

สำหรับประเทศไทยเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว ได้เคยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ 29 คณะ จำนวน 729 คน และมีสมาชิกเครือข่าย ถึง 3 แสนคน ดำเนินงานบูรณาการวางแผน 3 ปี ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากไม่มีงบประมาณมีแต่เจ้าภาพดำเนินงาน แต่ไม่มีเจ้ามือที่จะให้งบประมาณในการดำเนินงาน 

ในปัจจุบัน จึงได้มีการกำหนดแผนพัฒนาแบบใหม่ด้วยการจัดการลุ่มน้ำ และจัดการระบบนิเวศน์ มีการวางแผนออกใบอนุญาต อนุมัติให้มีการใช้น้ำ และจัดการเงินรายได้ จัดการองค์กรผู้ใช้น้ำ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่กำลังอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะผ่านในสภาฯ เร็วๆ นี้ 

Img_2558

ดังนั้น ในขณะนี้ ได้มีการเตรียมร่างกฎกระทรวงหรืออนุบัญญัติหรือกฎหมายลูกที่จะใช้ในการสนับสนุนการทำงานของ

1.    คณะกรรมการลุ่มน้ำ

2.    คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ

3.    องค์กรผู้ใช้น้ำในระดับต่างๆ  

 071016+027

เพื่อทำให้เกิด

  • การพัฒนาแบบกระจายอำนาจ
  • สร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
  • สร้างความเป็นธรรม
  • และความยั่งยืนในการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ซึ่งช่วงเดือนนี้ ได้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น ร่างกฎกระทรวง และนำเสนอเพื่อออกเป็นกฎหมายในระดับต่างๆ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์ต่อไป 

หมายเลขบันทึก: 144621เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมคิดว่านั่นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ควรทำคือการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ป่าไม้และแหล่งน้ำธรรมชาติ ร่วมกับการจัดการเรื่องการใช้น้ำอย่างมีปประสิทธิภาพ สิ่งที่ถ้าสามารถทำได้ คือการกระจายตัวของคนในชุมชนออกสู่ไร่นา เพื่อที่จะทำให้เกิดการที่ดินและน้ำให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกัน  ตลอดจนมีการบูรณาการ การใช้ทรัพยากรในไร่นาให้หมุนเวียนและยั่งยืน อีกทั้งยังทำเกิดความพอเพียงขึ้นในชุมชน ก่อให้เกิดรายได้และอาหารอย่างพอเพียง แก้ปัญหาการว่างงาน การย้ายถิ่น และการบุกรุกป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัญหาสังคม เนื่องจากเกิดกิจกรรมในไร่นาตลอดปี  แต่ข้อแม้จะมีอยู่ว่า  1 ต้องมีการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งธรรมชาติ และ สร้างใหม่   2 ไฟฟ้าต้องไปถึง ไม่ว่าจะสายส่งหรือสร้างเอง  3 สร้างกลุมเกษตรกรที่มั่นคง

ก็ไม่ผิดครับ เป็นการแก้ปัยหาที่ปลายเหตุ

แต่เป็นลักษณะการคลำจากปลายไปหาต้นเหตุ

เพราะหาจุดเริ่มจากต้นเหตุได้ยากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท