การวิจัยเชิงทดลอง : ปัญหาการวิจัย


การวิจัยเชิงทดลองเป็เครื่องมือค้นหาความรู้ประเภทกฎเชิงสาเหตุและผล(Causal Laws)ของนักวิทยาศาสตร์

การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research) เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ประเภทกฎเชิงสาเหตุและผล(Causal Laws) จากเหตุการณ์ธรรมชาติ  ความรู้ที่ได้ เป็นองค์ความรู้(Body of Knowledge) ประเภทกฎ  ซึ่งเราเก็บไว้ในความจำระยะยาวLong-Term Memory:LTM)(โปรดดูที http://gotoknow.org/mind )

การทดลอง(Experimentation) คือ (1)การวิจัยที่นักวิจัยมีอิสระที่จะจัดกระทำกับตัวแปรอิสระ(Indipendent Variables - IV)  หรือ ตัวแปรทดลอง (Experimental Variables - EV) ได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร  และ(2)  ผู้วิจัยมีอิสระที่จะกำหนดว่า  จะวัดตัวแปรตาม(Dependent Variables - DV) ได้เมื่อไร  และที่ไหน  ได้อีกด้วย   แต่ถ้าจะให้เป็นการวิจัยที่สมบูรณ์กว่านี้  คือเป็นการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริงแล้ว จะต้องเพิ่ม (3) ผู้วิจัยมีอิสระที่จะสุ่มตัวอย่าง(Random)เข้าสู่กลุ่มทดลอง  เข้าไปอีกเงื่อนไขหนึ่งด้วย  เรื่องนี ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านได้จากตำราการวิจัยได้ทั่วไป  ครับ   ในหัวข้อนี้ ผมต้องการที่จะแสดงความคิดของผมเอง เกี่ยวกับการตั้งปัญหาการวิจัยเชิงทดลอง 

ปัญหาการวิจัยเชิงทดลอง(Statement of Research Problems) จะมีลักษณะดังนี้

เริ่มมีปัญหา  :  วิธีสอนให้คนคิดสร้างสรรค์

ปรับปรุงปัญหา  :  (1) การศึกษาผลของวิธีสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิด

                             สร้างสรรค์

                     :  (2) วิธีสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จะมีอิทธพลต่อความสามารถด้าน

                              ความคิดสร้างสรรค์ หรือไม่ ?

ในขั้นเริ่มมีปัญหา  ผู้วิจัยกล่าวปัญหาเป็นประโยคบอกเล่า  แต่มีนัยว่า อยากรู้  ยังไม่รู้ จึงเป็นปัญหา  แต่คำกล่าวของปัญหายังไม่ชัดเจน  ดูประหนึ่งว่า  เป็นชื่อบทความ หรืออะไรทำนองนั้น

ในขั้นปรับปรุง (1) กล่าวปัญหาการวิจัยในรูปของประโยคบอกเล่าเหมือนกัน  แต่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  และมีนัยว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล (Cause - Effect) อีกด้วย  คือ วิธีสอนเป็นสาเหตุ(Cause)  และความคิดด้านเหตุผลที่พัฒนาขึ้น เป็นผล (Effect)

ในขั้นปรับปรุง(2) กล่าวเป็นรูปประโยคคำถาม  จึงเป็น ปัญหาของการวิจัยที่ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม  เพราะเป็นรูปคำถาม  และเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  คือ วิธีสอน (Cause) กับความคิดสร้างสรรค์(Effect)  ซึ่งชี้ว่า  การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง จะเป็นอื่นไปไม่ได้

ปัญหาการวิจัยในข้(2) จึงดีกว่า (1) ด้วยเหตุผลที่กล่าวแล้ว

ท่านเห็นหรือยังว่า  แม้แต่แค่การเขียนปัญหาการวิจัย  ก็ยังบอกระดับของผู้วิจัยเรื่องนั้นๆ ได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 14397เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท