KM Team Tour (5) … KM กับกรอบ Blueprint for Change ... ว่าด้วยเรื่องของเครือข่าย


ทุกคนรู้กติกา ว่า Fa ต้องทำหน้าที่อะไร Note taker ต้องทำหน้าที่อะไร สมาชิกต้องทำหน้าที่อะไร

นพ.สมศักดิ์ ... ผมอยากกลับมาชวนคุยเรื่องเป้าหมายของสำนักส่งเสริม ที่จะเน้นในปี 49 ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ... มองยังไง และคิดยังไง

นพ.ชื่น ... ตรงเครือข่ายนี้ จะทำเป็นแม่แบบ เพื่อฝึกให้แต่ละงานเข้ามามีส่วนร่วม ในลักษณะของ Facilitator / Note taker และลักษณะของการเลือกคนเข้ามา แต่ในแผนจริงๆ อยากให้ทุกกลุ่มมี issue เฉพาะ เช่น เรื่อง Brest Exam, ครอบครัวอบอุ่น และอื่นๆ
ที่กำหนดเรื่องเครือข่าย เพราะจริงๆ แล้ว มันก็เป็นเทคนิคร่วมกัน ว่า ... วิธีการที่จะเข้าไปประสบความสำเร็จในเรื่องเครือข่าย มีเทคนิค ศิลปะเฉพาะ ลักษณะการ approach การพูดจา ลักษณะการติดต่อของแต่ละกลุ่ม ย่อมมีความแตกต่าง ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจไม่ทราบว่า การ approach ของกลุ่มมีลักษณะอย่างไร กลุ่มเป้าหมายมีวิธีการที่แตกต่างอย่างไร เพราะว่าเป็นการเฉพาะของแต่ละกลุ่ม แต่ละหน่วยงาน จึงอยากมารู้ร่วมกันว่า มีกลวิธีอะไรที่เราสามารถเอาประสบการณ์ตรงนี้ จะมาช่วยเสริมยอดการทำงานของเราให้ดีขึ้น ... ก็มีการลองไปทำครั้งหนึ่ง ที่พวกเราก็รู้สึกว่า คุยกันอย่างสนุก ในลักษณะของเครือข่าย ก็ถามกันว่า ทำยังไง ทำยังไง แต่ก็นานมากแล้ว

คุณศศิวิมล … นั่นก็คือ สิ่งที่ complain ไปแล้วค่ะว่า ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไงจริงๆ เป็นความจนปัญญา เรื่อง เขียน เพราะว่าคุณหมอเพ็ญศรี เคยการันตีตัวเองไว้เลย ว่า ถ้าส่งไปประชุมงานไหนแล้ว จะ take note มาให้อย่างชนิดที่ไม่ต้องไปก็รู้เรื่อง แต่ว่า เรื่องนี้ทำไม่ได้ ยอมแพ้ เพราะว่าตอนที่ take note ตัวเองก็อยากจะพูดด้วย อยากจะฟังด้วย และอยากจะจดด้วย ทำให้สุดท้ายก็งงไปหมด และมันก็ไม่สำเร็จ ถอดเป็น paper ไม่ได้

คุณจินตนา … เรื่องเครือข่าย คิดว่า เป็นงานของเราที่ต้องไปประสานกับหน่วยงานอื่น ประสานการทำงาน ซึ่งก็คือ ... ได้ประสบการณ์จากคนที่ประสบผลสำเร็จ ว่าเขาประสานงานยังไง เขาจัดการอย่างไร ที่ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้นมา และเครือข่ายเกิดความเข้มแข็งอย่างไร มีการทำงานต่อเนื่องหรือไม่ เราจะได้สกัดตรงนั้นออกมาว่า เทคนิค ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นงานของกรมวิชาการ เพราะถ้ามองเข้าไปในบทบาทของกรมวิชาการแล้ว ก็จะมีเรื่องของเครือข่าย เรื่ององค์ความรู้ เรื่องวิชาการที่เป็นหลักๆ จึงคิดว่า สำนักควรเน้นเรื่อง Implement ทำยังไงให้เกิดเครือข่าย ให้เครือข่ายทำงานอย่างต่อเนื่อง และเข้มแข็ง เพื่อทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้

คุณนพรัตน์ ... ในงานโรงเรียน ก็มีเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ แต่ทราบว่า อย่างงานแม่และเด็ก เขามีเครือข่าย Thallassemia เครือข่ายนมแม่ ศูนย์เด็กเล็ก หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพก็ work มาก มีคนมาลงทะเบียนเรียนรู้เยอะแยะ ผู้สูงอายุก็มีชมรม เราก็อยากรู้ว่า เขามีเทคนิคในการทำอย่างไร อยากมา apply กับงานของตัวเอง จึงสนับสนุนที่จุดนี้ด้วย

นพ.สมศักดิ์ ... โดยสรุป คือ ยังงี้ใช่ไม๊ ผมจะลองพยายาม ไม่รู้ใช่หรือเปล่า

คือ ในที่สุด เมื่อถึงปลายปี ก็จะมีความรู้ชุดหนึ่ง เป็นความรู้ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายงานส่งเสริมสุขภาพ และวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย คือ จะได้ 2 คำตอบ

  • คำตอบหนึ่งคือว่า ใครหนอคือเครือข่ายเรา
  • สอง ทำยังไงให้เขามามีส่วนร่วมในเครือข่ายของเรา

ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ก็ให้คนทำงานในแต่ละงานนี่แหล่ะ มาเล่าว่าตัวเองไปสร้างเครือข่ายกับใคร สร้างยังไง สักพักก็อาจจะได้ข้อสรุปว่า ถ้าเป็นงานประเภทนี้นะ เครือข่ายส่วนใหญ่จะเป็นพวกนี้ เครือข่ายประเภทนี้ต้องใช้เทคนิคนี้ ถึงจะมาร่วม อาจจะได้มากกว่านี้อีกนะ เพราะเขาก็จะรู้ว่า พอเขามาร่วมแล้วบทบาทหลักของเขาคืออะไร อย่าไปให้เขาทำงานนี้นะ ต้องให้เขาทำงานแบบนี้ ไปให้บทบาทนี้ รับรองเจ๊งทุกที ฉันลองมาแล้ว แต่ถ้าให้ทำบทบาทนี้นะ ถึงไหนถึงกันเลย อะไรแบบนี้ คือ พูดว่า จะได้ความรู้เยอะแยะเลย ตั้งโครงคร่าวๆ ไว้ก่อนว่า ตอบ 2 คำถาม แต่พอเวลาเล่าจริงจริง ได้มากกว่านี้เยอะเลย

ทีนี้วิธี approach ก็อย่างที่ว่า คือ มานั่ง brain storm กัน เอ จะเอาเรื่องอะไรบ้าง แล้วจะเขียนหนังสือนี้จะมีกี่บท ว่าด้วยบทเรื่องอะไรบ้าง แต่อย่าไปตั้ง ให้เล่าเลย เดี๋ยวมันออกมาเองน่ะแหล่ะ

ขอนอกเรื่องเรื่องหนึ่งว่า เวลาผมมีกรอบอะไรที่แข็งๆ เวลาผมไปฟังเขา มีช่วงหนึ่งผมก็จะหงุดหงิดมาก พูดอะไรไม่เข้าเรื่อง ... ก็เรานึกเรื่องหนึ่ง แต่เขาพูดอีกเรื่อง เราก็เลยไม่รู้ว่า เขาพูดเรื่องอะไรไง เพราะว่าเรามีกรอบของเรา ก็เลยฟังไม่รู้เรื่อง ... แต่ถ้าเราบอกว่า ให้เขาเล่าเรื่องนะ เราจะฟังทุกอย่างที่เขาเล่า เพื่อจะพยายามตอบคำถามที่ว่า ว่า เครือข่ายกับการทำงานของเราเป็นยังไง เขามีประสบการณ์อะไร ซึ่งเขาคิด รู้สึกยังไง เล่ามาให้หมด ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราก็จะมาดูอีกทีว่า เราจะลงเป็นเรื่องได้หรือเปล่า

ลักษณะที่ผมฟัง ผมอาจจะฟังคนเล่าทุกคน และส่วนใหญ่จะเล่าความรู้สึกต่อเครือข่าย ผมจะได้ข้อสรุปต่อเครือข่าย ผมก็จะรู้สึกเลยว่า attitude ต่อเครือข่ายเป็นยังไง ผมไม่ได้ expect อะไร และผมก็จะมาถามว่า attitude อย่างนี้ จะทำให้เราสร้างเครือข่ายได้หรือเปล่า ทุกคนอาจจะบอกว่า เออจริงนะ ที่เราพูดมาทั้งหมดนี่ เราคิด negative กับเขาหมดเลย แล้วเราจะสร้างเครือข่ายได้ยังไง แต่ตอนเล่าก็ให้เล่า เล่าแบบเปิดเผย เล่าไปเล่ามาก็เป็นการเล่า attitude ไม่ได้เป็นการเล่า experience จริงๆ ก็อาจมี experience เยอะแยะที่ว่า support attitude เหล่านั้น ทีนี้ถ้าผมเก่งกว่านั้นนะ ผมฟังก็นึกว่า เอ มาเล่าแต่ attitude แล้ว ทำยังไง ให้มาเล่าประสบการณ์จริง ผมก็จะถามว่า แล้วเวลาทำงานจริง เจออะไรพยายาม approach กับเขายังไง เราก็จะได้ประสบการณ์ไปด้วย และเราก็จะได้ด้วยว่า ประสบการณ์การทำงานภายใต้ attitude ประเภทหนึ่งเป็นยังไง ผลเป็นยังไง เราค่อยๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ เราก็จะ shave ไปได้เรื่อยๆ

เรื่องเครือข่าย ก็ลองดู ผมคิดว่า ประเด็นคงเป็นอย่างที่ว่า

และผมขอถามต่อว่า มันเริ่มต้นจากคนในสำนักฯ ของเราก่อนใช่ไหม เราอยากจะได้ประสบการณ์การสร้างเครือข่ายของคนในสำนักส่งเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างเครือข่ายของคนในศูนย์ฯ ก็สำคัญนะ อาจจะคล้าย หรือต่างกับเราก็ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เครือข่ายของเราในสำนักส่งเสริม อาจจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ แต่เครือข่ายของศูนย์ อาจจะเป็นเขตการศึกษา อาจจะเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน อาจจะเป็นครูสอนพลศึกษา อาจจะเป็นครูห้องพยาบาล อันนี้ไม่รู้ แต่ว่า ครูห้องพยาบาลคงไม่ใช่เครือข่ายพวกเรา นี่คือตัวอย่างง่าย ทีนี้จะได้ว่า ใครเป็นเครือข่ายของเรา ก็ต้องมาเล่า เล่าว่าไปทำงานอะไรบ้าง เท่าที่ผ่านมาไปทำงานอะไรบ้าง เวลาเล่าก็ส่วนใหญ่ก็จะเล่าไปโดยอัตโนมัติว่า ส่วนใหญ่ใช้เวลา 2 อาทิตย์นี่ ยุ่งกับคนกลุ่มไหน ในงานที่รับผิดชอบ บางทีก็มีเรื่องเล่าเยอะ เช่น วันนี้ไปติดต่อเรื่อง นมแม่ พรุ่งนี้ไปติดเรื่อง พัฒนาการเด็ก มันก็อาจจะเป็นคนคนละกลุ่ม แต่ก็อยู่ในงานอนามัยแม่และเด็กทั้งคู่

คุณจินตนา ... เวลาที่เล่าไป ก็คือ มักจะนอกเรื่อง แล้วจะดึงเกมกลับมายังไง ตอนนี้เท่าที่ประเมินว่า พวกเรา ยังอ่อนในเรื่อง Facilitator ในการดึงเกม

คุณนพรัตน์ ... ถ้ามองว่า การเล่า KM ให้เขาเล่าไปเรื่อยๆ พอเล่าไปเรื่อยๆ ก็อาจไม่มีจุดจบ หรือไม่ตรงประเด็นที่บอกว่า ตั้งแข็งก็ไม่ดี แล้วสรุปจะเอาอะไรจากเขาได้ และจะตะล่อมเขาตอนไหน ก็รู้สึกว่าเป็นข้อที่เราหนักใจ เพราะว่าเราจะเป็น Fa แล้วเทคนิคของ Fa จะเป็นยังไง ต่างจาก Fa ที่เราเคยทำกันยังไง

พญ.นันทา เสนอข้อเสนอของการเป็น Fa … ที่จริงถ้าเราคุยกับคนภายใน ก็ตกลงกันก่อน คือ ทุกคนรู้กติกา ว่า Fa ต้องทำหน้าที่อะไร Note taker ต้องทำหน้าที่อะไร สมาชิกต้องทำหน้าที่อะไร มาตกลงกันก่อนให้เรียบร้อย และบอกตั้งแต่แรกเลยว่า เราต้องกำหนดเวลาด้วย ก็เหมือนกับสร้างข้อตกลงร่วมกัน ถ้าเขาเริ่มนอกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจจะปล่อยเขาไปสักพัก และอาจรอบอกว่า เวลาเรามีจำกัดนะ เพื่อนๆ อีกหลายคนยังไม่ได้เล่า ก็แล้วแต่เรื่องๆ นั้น ก็ให้ช่วยถามคำถามให้ตรงประเด็น คล้ายๆ เล่าต่อเนื่อง เพราะบางทีเขา enjoy ในการเล่า

ที่พูดว่า หลายคนเล่านอกเรื่อง ที่เรียนรู้มาจากตอนที่ไปเยี่ยมสำรวจ อาจารย์เขาก็จะบอกว่า ใช้วิธีฟังสุนทรียสนทนา ทำยังไง คือ เราถามเขาเรื่องหนึ่ง เขาไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง ก็ฟังต่อ เพราะว่า เราอาจจะได้เรื่องอื่นที่เราต้องถาม ลองฟังต่ออีกสักนิดหนึ่ง ก็เพื่อเราจะได้ไม่รู้สึกว่า รำคาญมาก ไม่รู้จักเข้าประเด็นสักที

ในกรณีที่เป็นอบรม คนที่เป็นวิทยากร ก็อาจเข้าไปช่วยให้คนพูดสงบขึ้น ให้พูดน้อยลง หรือตัดบท แต่ว่าถ้าเราตกลงกติกา ตั้งแต่แรก จะง่ายที่เขาจะรู้สึกตัว และกลับมาพูดเข้าเรื่อง ถ้าเขาออกไปนอกเรื่อง ก็อาจบอกว่า ตอนนี้เราคุยกันเรื่องนี้นะ เอาเรื่องนี้ก่อน เรื่องที่เขาจะเล่าให้เราฟังอีกเรื่องหนึ่ง เดี๋ยวเสร็จแล้วค่อยมาคุยกันอีกทีก็แล้วกัน หรือว่า ตอนหลังเรามาคุยเรื่องนี้ต่อ ก็เข้าไปในเรื่องหัวปลาที่เราคุยกันต่อ

คุณศศิวิมล … แล้วเราจะทำได้ไม๊ ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพ ว่า ในช่วงของการตกลง เราก็บอกเลยว่า วันนี้เราจะคุยกันในขอบเขตว่า ใครคือเครือข่าย วิธีการสร้างเครือข่ายทำอย่างไร ได้หรือไม่

นพ.สมศักดิ์ … อันนี้ก็แล้วแต่ ผมจะพูดอย่างนี้อยู่เรื่อย คือ มันก็แล้วแต่เราเข้าใจว่า การจัดการความรู้นี่ แปลว่าอะไร แล้วอะไร คือ วิธีที่น่าสนใจ พูดง่ายๆ ก็คือว่า ถ้าเราทำการประชุมกลุ่ม บ่อยครั้งเราทำมาหลายวิธี วิธีการตั้งหัวข้อและให้คนตอบเป็นวิธีที่เราทำกันเป็นประจำ วิธีนั้นเราเรียกว่า Brain storming หรืออะไรอื่นๆ อาจจะตั้ง public แล้วมาช่วยกันตอบ KM เขาก็จะบอกว่า อย่าไปเริ่มที่ตรงนั้น เริ่มแบบนี้ก็ได้ความรู้และข้อสรุปเหมือนกัน แต่ว่าอาจจะไม่ค่อยดีมั๊ง ถามว่า ทำไมไม่ค่อยดี เขาบอกว่า วิธีการอย่างนี้ คนที่คิดว่าตัวเองไม่มีข้อสรุปให้คนอื่น ก็จะไม่กล้าพูด แต่ทุกคนมีประสบการณ์หมด

concept KM ที่สำคัญ คือ ให้คิดว่าทุกคนมีความรู้ เพราะว่าในการทำงานจริง ความรู้ทางด้านวิชาการเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่เหลือเป็นเรื่องของการลงมือทำงาน ถ้าใครทำงานจริง คนนั้นมีความรู้หมด เขาอาจจะไม่รู้เท่านั้นว่า ทำนั้นคือทำยังไง เพราะฉะนั้นเขาจะแลกกับเราได้ยาก วิธีที่จะแลกคือ ให้เขาเล่าสิ่งที่เขาทำ และเขาก็จะเล่ากระท่อนกระแท่นด้วยนะ เราต้องช่วยซัก อันนี้คือ concept … ถ้าเราไม่ใช้วิธีการแบบนี้ เราจะไม่ได้ความรู้จากคนที่มีความรู้ สิ่งนี้ก็เป็น concept ที่ผมคิดว่าสำคัญมาก มันก็เลยนำมาสู่รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ให้เล่าเรื่อง และที่เหลือก็ช่วยกันสกัดมา เก็บมา อย่าไปบีบคั้นให้เขาตอบคำถามเรา ให้เขาเล่าในเรื่องที่เรากำลังอยากคุยกัน

การทำให้คนคนหนึ่งเล่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าเขาอาจจะเล่าไม่เป็น ถ้าเราไปเอาตำรา หรือหลักที่อาจารย์วิจารณ์ชอบพูด อาจารย์ก็จะบอกว่า คนเล่าให้ทำสิ่งต่อไปนี้ คือ

  1. ให้เล่าเรื่องความสำเร็จ อย่าไปเล่าเรื่องความล้มเหลว จะได้อยากเล่า จะได้มีใจอยากเล่า ถ้าเล่าความล้มเหลว เล่าไปสักพักก็จะเลิกเล่า เพราะยิ่งเล่ายิ่งเศร้า ถ้าเล่าเรื่องความสำเร็จ ยิ่งเล่าก็จะยิ่งมัน
  2. เวลาเล่าให้บอกก่อนว่า เรื่องที่จะเล่า เรื่องอะไร อย่าไปเล่าสะเปะสะปะว่า เมื่อวานนี้ ..... ให้เลือกไปเลยว่า จะเล่าเรื่องความสำเร็จ ว่าด้วยเรื่อง การไปส่งเสริมให้ อบต. มามีส่วนร่วมในการสอนให้ผู้หญิงในเขต มาตรวจเต้านมเป็น สมมติว่าสำเร็จในขนาดนี้นะ ให้ อบต. มาเป็น Educator ให้เราได้ด้วยนะ และก็เริ่มเล่าว่า ทำไม อบต. ล่ะ ให้เล่าว่า คิดยังไง วางแผนยังไง ทำยัง ส่วนมากก็จะมีแค่คิด กับทำ วางแผน คำนี้คนไม่ค่อยชอบเท่าไร เล่าว่าคิดยังไง และทำอะไร และเล่าไปเรื่อยๆ ไม่เข้าใจเราก็ซักสิ เอ๊ ตรงนี้คิดยังงี้ แล้วยังไง เล่ากระโดดนี่ และระหว่างนี้มันเป็นยังไง อะไรนะ คิดยังไงนะ มาทำตรงนี้ แล้วคิดอยู่ยังงี้ เอ เล่าไปอีกกลุ่มหนึ่งละ อีกกลุ่มไม่เห็นทำยังงี้เลย คิดกับกลุ่มนี้ได้ยังไง คิดถึงคนคนนี้ได้ยังไง ก็เล่าซักไปซักมา ภาพก็จะเต็มขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็จะสามารถสรุปบทเรียนได้เองว่า จริงๆ แล้ว เขาคิดผิดหรือถูก ทำแล้วดีหรือไม่ดีแค่ไหน ตรงน่าสนใจ ตรงไหนไม่น่าสนใจ

ตอนที่เรา take note ก็แล้วแต่เราแล้วละ ส่วนใหญ่เราจะ take note หมดนะ สิ่งที่เขาพูดก็ถือว่าเป็นความจริงหมด ใช่หมด แล้วเดี๋ยวก็ค่อยมาว่ากันอีกที คนหนึ่งเขาอาจบอกว่า ใช่ แต่ฉันว่า ฉันไม่ใช่ อันนี้ก็น่าลอง มันเป็นความรู้หมด ทุกคนมีสิทธิเอาไปทำต่อหรือไม่ทำต่อก็ได้ อันนี้ก็จะเป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ว่าด้วยเรื่อง การกระตุ้นให้เขาเล่า

ถามว่า ถ้าเล่านอกเรื่อง ทำยังไง ก็ใช้วิธีถาม อย่าใช้วิธี Break ใช้วิธีถามให้เข้าเรื่อง เดี๋ยว เดี๋ยว แล้วตกลงมันคิดยังไงนะนี่ เอ เมื่อกี้คิดตรงนี้นะ แล้วมันไปต่อยังไง อย่าเพิ่งกระโดด อย่าเพิ่งกระโดด ทำนองอย่างนี้ละ มันก็จะตะล่อมให้ดีขึ้น เริ่มจากจุดที่เราคิดว่าเขาเริ่มเอนเอียงออกไป แล้ววกกลับมา

คุณสุทิน … สำนักจะจัดเวที CoP ที่กำหนดไว้ เดือนละครั้ง ในเดือน กพ. – สค. เดือนละครั้ง เราเชิญผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มาคุยกัน ก็อาจได้กลุ่มซ้ำอยู่เดิม บางทีอาจจะมีคนข้างนอก แต่ผมคาดว่า คนข้างนอกก็อาจไม่สามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้สักเท่าไร เพราะฉะนั้น พอให้เล่าเรื่อง ถ้าเราไม่กำหนดประเด็น หรือว่าประเด็นย่อยให้กับผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาพูดคุยกัน ถ้าเปิดกว้างไป ผมคิดว่า คนมาเล่าคงจะเล่าไม่หมด ถ้าเราไม่ได้กำหนดประเด็นว่า แต่ละครั้งที่เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ว่าควรจะพูดเรื่องอะไร เพราะกลัวไม่ได้ข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น

พญ.นันทา … เราอาจกำหนดเฉพาะเรื่องที่มาเล่า เช่น เดือนนี้มาเล่า ก็อาจสรุปว่า เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง ถ้าเราเอาไปใช้ก็จะกลับมาเล่าได้ต่อ และได้ผลหรือไม่ได้ผลยังไง

นพ.สมศักดิ์ ... มี 2 ประเด็น

  1. เรื่อง หน้าเก่าก็มาพูดเรื่องใหม่ได้ หน้าเก่าไม่ใช่อุปสรรค
  2. เรื่องเก่าทำยังไง

ประเด็นแรกอย่างที่พี่นันทาว่า เรื่องเก่าก็ต้องมาเติม พูดง่ายๆ คือ นี่ไม่ใช่เวทีสรุปบทเรียน นี่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าจะให้ดีคือ อย่างน้อยๆ ถ้า 6 เดือนทำที สมมตินะ หรือว่าพูดใหม่ดีกว่า หรือว่าอย่างน้อยทุก 6 เดือน ไอ้เรื่องที่ควรพูดเมื่อครั้งที่แล้ว น่าจะเอาพูดใหม่ ในบริบทใหม่ พูดง่ายๆ ว่า มีคนเอาประสบการณ์ใหม่ไปลองใช้ลองทำ และกลับมาบอกว่า มัน Work หรือไม่ work บางทีก็สั้นกว่านั้น เช่น วันนี้ฟังปุ๊บ พรุ่งนี้ได้ทำเลย มะรืนอยากบอกแล้วละ เพราะว่าฉันทำแล้วไม่เหมือนเธอ ... อันนี้ถือเป็นกติกาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไง เพราะฉะนั้นคนที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องอะไรไป กรุณาอย่ารู้แล้วไปเก็บไว้ในสมอง เอาไปใช้นะ ความรู้จะได้หมุนเวียน และจะได้เพิ่มมูลค่า อันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจ

ประเด็นที่สอง คือ ประเด็นเรื่อง แหม มันก็เล่าแต่ความสำเร็จซ้ำๆ เมื่อตอนที่ผมไปศูนย์ฯ 1 ที่ผมไปนั่งฟังเขาที่ห้องคลอด มีประโยคหนึ่ง ว่า ตอนหลังๆ ชักไม่อยากเล่าแล้ว เพราะก็มีแต่เล่าเรื่องเก่าๆ คือ มีคนไข้มา Appreciate มาชม ผมก็อยากจะถามเขานะว่า พอดีไม่เวลา ที่ชมนี่ชมเรื่องเดียวกันหมดเลยเหรอ มันน่าจะเป็นการชมในหลายเรื่องที่ต่างๆ กันนะ เช่น ชมว่าทำคลอดเก่ง ชมว่าไม่ดุ ชมว่าดูแลดี ชมว่า ลูกเนี่ยะ ดีจังเลยนะ ทำคลอดปุ๊บก็มาให้อุ้มเลย ที่อื่นเขาไม่ได้เป็นอย่างนี้ ชมว่าให้เยี่ยมนอกเวลาราชการ มันคงมีคำชมต่างๆ กันไป คำชมแต่ละคำ มันน่าจะหมายถึง practice ที่แตกต่างกัน พวกอย่างนี้ อาจจะหมายถึงคนกลุ่มต่างๆ กันก็ได้ คำชมนั้นอาจหมายถึงยาม หมายถึงเวรเปล หมายถึงน้องที่เป็นผู้ช่วย ที่นี้ของอย่างนี้อาจต้องแกะกันหน่อย ให้ละเอียดไง อันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง

ที่ไปที่กองคลัง เขาเล่าให้ฟัง ว่า เขามี Trick อยู่อันหนึ่ง ก็คือว่า คนคนหนึ่งทุกวันควรจะถามว่า วันนี้ฉันภูมิในสิ่งที่ทำเรื่องอะไร วันนี้ฉันได้ทำอะไรที่ฉันภูมิใจบ้าง มันจะได้มีความสุข กลับบ้านก็นอนหลับดี แน่นอนละ ว่า หาไม่เจอก็ไม่เป็นไร เพราะว่าหาไม่เจอก็จะเป็นความทุกข์อีก เพราะว่าหาต้องเจอวันละเรื่อง นี่ยังไม่เจอสักเรื่อง สงสัยไม่ได้เรื่องแน่ๆ เลย

ประเด็นก็คือ เรื่อง reflection เมื่อเช้าเขาก็บอกว่า ไม่มีเวลา ยุ่งจนไม่มีเวลาคิดเลยว่า จะมีเรื่องภูมิใจอะไรบ้าง ก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง คนที่ทำงานยุ่งจนไม่มีเวลาคิดว่า ตัวเองมีเรื่องที่น่าภูมิใจอะไรบ้างก็น่าเป็นห่วงอยู่ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องจริง บางครั้งที่พบว่า เวลาเรา depress นี่ เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะ depress ถ้าเรา reflect สักนิดหนึ่ง เราก็จะรู้ว่าไม่น่า depress เพราะเรามีของดีตั้งเยอะแยะที่เราทำสำเร็จ เรื่อง depress ก็คือ แน่นอนก็จะมาโจมตีเรา เราก็จะแย่  ผมก็ไม่อยากไปไกลถึงเรื่องจิตวิทยา แต่ประเด็นที่อยากเล่าก็คือว่า ถ้าถามทุกคนว่า วันนี้มีเรื่องอะไรที่เป็นความภูมิใจน่าเล่าไหม มันน่าจะมีสักเรื่องหนึ่ง ผมก็บอกว่า มันไม่เป็นไร เอาสักเดือนละครั้ง น่าจะมีสักเรื่องหนึ่งที่จะมาเล่า นี่ก็เป็นเรื่องง่าย ทีนี้ topic คือ เรื่องเครือข่าย ถ้าบอกล่วงหน้านะ ว่า ทุกคนมาเล่านะ และจริงๆ มาเล่านี่ คนฟังอาจจะเป็นคนเก่า แต่คนเล่าอาจจะไม่ใช่คนเก่าก็ได้ มันก็อาจจะได้เปรียบเทียบกันว่า บุคคลคนที่ 5 มาเล่า กับสิ่งที่เราได้รู้ว่า คนที่ 1 อาจจะคล้ายกันก็ได้ อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ มันก็จะได้เปรียบอย่างนี้เสมอๆ คือ พูดง่ายๆ คือ ไม่มีเรื่องซ้ำหรอก ทุกอย่างก็จะให้ประโยชน์ทั้งนั้นแหล่ะเวลาพวกเราบอกว่า คุยกันชั่วโมงครึ่ง แล้วบอกว่าไม่ได้อะไรเลย

ใน course สุนทรียสนทนา หลักการอันหนึ่งซึ่งพวกเราจะหงุดหงิดกันทุกคน ก็คือว่า พูดอะไรก็ได้ อย่าพูดยาว และเวลาคุย อย่าไปติดกับเรื่องเก่านะ ให้คุยเรื่องใหม่เสมอ เขาใช้คำว่าความสด 2 หลักนี้นะ ทำให้ปวดหัว ปวดหัวที่ว่า นั่งฟังเขาไปชั่วโมงครึ่ง ตกลงก็ยังไม่รู้ว่า ตกลงพูดอะไรกัน เพราะคนหนึ่งก็พูดเรื่องหนึ่ง อีกคนก็พูดอีกเรื่อง ตกลง 10 คนก็พูด 10 เรื่อง แต่ถ้าไม่ใช่กติกานั้นก็ไม่น่าจะงงนะ คือว่า กติกามันมีหัวข้อ ประเด็นบ้าง มันก็ไม่น่างงหรอก มันก็ไม่ได้เป็นสถานการณ์อันเลวร้าย พูดจนฟุ้งซ่าน จับอะไรไม่ได้ เขามีหลักว่า คน 1 คน ให้พูดคนละไม่เกิน 10 นาที พูดแล้วให้เว้นไปอย่างน้อยอีก 2 คน จึงพูด ถ้าพูดมากกว่า 3 ครั้งให้พิจารณาตัวเอง คือ พูดมากไปแล้ว ฟังน้อยไปหน่อย

คุณจารุวรรณ … การทำ KM บางทีหนเดียวก็คงไม่ได้แก่นออกมา ที่คุณหมอนันทาให้ไปช่วยเป็น note taker คือ เป็นมือเลกเชอร์อย่างเดียว เพราะว่า lecture ตั้งแต่สมัยเรียน สนุกสนาน จดทุกอย่าง หนที่สองอาทิตย์ถัดมา คนเล่าคนเดิม คน note คนเดิม เลยทีนี้ทำยังไง ชักเบื่อ และก็รู้แกวละ เพราะว่าเรียนรู้เยอะแล้ว คราวที่แล้ว 10 กว่าหน้า เยอะมาก เสร็จแล้ว คราวนี้ก็รู้ละว่าจะจดยังไง แต่ปรากฏว่า มันได้ประเด็นอะไรบางอย่างที่เขาไม่ได้พูดในครั้งที่แล้ว และมันทำความกระจ่างให้เราจากสิ่งที่เราได้รู้จากหนแรก ก็เลยได้รู้ว่า อ๋อ ทนหน่อย บางทีก็ต้องทน

นพ.สมศักดิ์ … เวลาจัดกระบวนการ หรือกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรามักจะชอบเตรียมคนมาพูด มาเล่า ผมจะบอกเรื่อย ในการจัดประชุมที่ผ่านมา 3-4 ครั้ง ว่า การเตรียมคนมาเล่า ให้ระวัง 2 อย่าง อย่างที่ 1 คือ คนเล่า จะพูดไปเรื่อย คิดว่า ตัวเองเป็น Presenter หลัก ติดวิธีที่เราชอบใช้ คือ ชั่วโมงครึ่ง คนพูดคนเดียว OK ครึ่งชั่วโมง อีกชั่วโมงให้เขาคุยกัน เขาก็จะเล่าครึ่งชั่วโมงเลย คนไหนติดลมหน่อยก็เอาไปชั่วโมงเลย เก่งมากๆ ก็ เอาไปชั่วโมงครึ่ง คนอื่นก็ไม่ได้พูดเลย อันนี้ก็เป็นปัญหา อันที่สองก็คือว่า คนที่มาก็นึกว่าตัวเองมาฟังอย่างเดียว ... ควรมีกติกาคือ ทุกคนที่มาเข้ากลุ่ม ต้องพูด ไม่ให้อยู่เฉยๆ แต่ห้ามพูดยาว ต้องพูดให้สั้น Right to the point สมมติฐานก็คือ คนอื่นอาจจะพูดได้เยอะกว่าคนนี้ก็ได้ แต่ว่าเราไม่รู้จัก ... คนกลุ่มนี้เราต้องค้น คือ หลักการเตรียมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีคือ อย่างน้อยต้องหาคนจำนวนหนึ่งมาพูด ซึ่งเรารู้พอสมควรว่า มีเรื่องที่น่าพูด ถ้าเรา blank blank blank ก็ปวดหัวหน่อย เพราะทุกคนก็ไม่กล้าพูดกันเท่าไร ถ้าจะให้ดีก็ไปซ้อมก่อนนะ ให้เขามั่นใจว่า เรื่องที่เขาจะไปพูด พูดได้ แต่ว่า Fa ก็ต้องให้คนอื่นพูด

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว Note take กับ Fa คนเก่าจะไม่เบื่อเลย เพราะว่า pants เป็นคนใหม่ หน้าม้าอาจจะเป็นคนเก่า แต่ pants เป็นคนใหม่ จะโชคดีมากถ้าได้ pants ที่หลากหลาย ถ้า pants กลุ่ม 2 กลุ่มแรก พูดไม่เหมือนกัน มันก็จะ response ไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่คนพูดคนเดียวกัน เพราะว่ามีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน แต่อย่า comment คนพูด คนพูดที่สอง จะต้องเติม มีความเห็นความต่าง ก็เติม ถ้าเหมือนกับว่า อันนี้เหมือนกันเป๊ะเลย คนที่ฟังก็จะรู้ว่า สองคนนี้พูดเหมือนกันเลย ถ้าต่างก็บอกว่า ต่างกันยังไง เขาจะตัดสินในกันเอง เราไม่ต้องไปบอก ทีนี้บอกว่า ไม่รู้ว่าจะเหมือนหรือต่าง ก็บอกว่า ก็เล่าๆ ที่เธอมีน่ะ ถ้าเล่าสัก 3-4 คน เริ่มซ้ำ ก็บอกว่า เอาใครที่มีประสบการณ์ที่แตกต่างนะ คือ ยอมให้ซ้ำ

ผมจะพูดตรงนี้หลายที เพราะพวกเราจะไปติดที่ส่วนกลางทำ คือ ไปเตรียมหน้าม้าไว้ ที่จริงไม่ควรเป็นอย่างนั้นทั้งหมด ไม่ควรคิดว่า คนคนนั้นจะพูดอยู่คนเดียว ที่จะมาเตรียมได้ แต่ต้องบอกทุกคน บอก Fa ด้วย บอก Note take ด้วย บอก pants ด้วย ว่า เวลามานี่ อย่านั่งเฉยๆ นะ นั่งเฉยๆ จะผิดกติกาทันที ปรับ แปลว่า ไม่มีอะไร หรือแปลว่า เราเลือกคนผิด บ่อยครั้งที่เราเจอ และเราจะไม่ได้คนทำงานมา หรือว่าส่งหัวหน้ามา หรือส่งตัวแทนที่ไม่มีประสบการณ์มา ส่งน้องมาฟัง อะไรยังนี้

คุณนพรัตน์ ... ตอนที่สร้างเครือข่าย ประเด็นที่น่าทำ ตัวเองคิดว่า กรมเราทำเรื่องเครือข่ายที่นำเสนอใน Blueprint for Change เรื่องเครือข่ายเป็น 3 กระบวนงาน สงสัยว่า มันถูกหรือเปล่า จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า และกระบวนงานมันมีรูปแบบยังไง จึงคิดว่า การสร้างเสริมสุขภาพมันใช้กระบวนการนี้หรือเปล่า และที่คิดอย่างนี้ถูกหรือผิด

คุณศรีวิภา ... สิ่งนั้น เป็นที่มาของกรรมการ Blueprint ที่ทำขึ้นมาเพราะว่า ได้หลักการมา 3 เรื่อง ... ถ้าอยากรู้ทำงานส่งเสริมฯ แล้วใช่ไหม ก็ลองไปพิสูจน์เลยค่ะ ว่าใช่ 3 กระบวนงานไหม แต่ถ้าในส่วนของ KM เราจะเลือกแค่กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเดียวมาใช้ในการทำ KM

คุณนพรัตน์ ... อยากรู้ว่า เรื่องการสร้างเครือข่ายในงานส่งเสริมสุขภาพ มีการบริหารจัดการยังไง เราอยากเอาอันนี้มาเสนอ ถ้าเป็นการเล่าเรื่องความสำเร็จและเอามาสรุป ก็อยากเอาเรื่องนี้มาเป็นกรอบงานของที่คิดนั้น จริงหรือเปล่า ถ้าเราทำเครือข่าย เราอยากสรุปได้ตรงนั้นด้วย เพราะอาจมีกระบวนงานเพิ่มมาอีกหรือเปล่า

นพ.สมศักดิ์ ... เวลาที่ใครสักคนสรุปอะไรมาสักอย่าง ถ้าเราใช้หลักการกลางๆ ว่า อย่าเพิ่งไปปฏิเสธเขา แต่อย่าเพิ่งไปยึดหนาแน่น วิธีให้ได้ข้อสรุปที่ดี คือ อย่าไปเริ่มที่กรอบ ให้เริ่มที่การทำงาน เพราะฉะนั้นเราก็ทำถูกแล้วที่เริ่มด้วยวิธีการทำงานกับเครือข่าย เล่าไปเล่ามาก็อาจจะได้กรอบที่ดีกว่านี้ก็ได้ เราอาจจะเข้าใจ 3 หัวข้อ ดีกว่าที่เข้าใจตอนแรกก็ได้ เราอาจจะเข้าใจว่า เออ มันเก่งจริงๆ เลย เพราะว่าคุยไปคุยมา มันก็ยังอยู่ใน 3 เรื่องนี้แหล่ะ
สรุปว่า อย่าเพิ่งไปติดกรอบนั้น ลองดูจากของเราเอง ก็จะดี เพราะว่าเป็นประสบการณ์ของเรา

... เมื่อถึงสิ้นปี เราคงจะได้เรื่องของ การบริหารจัดการในเรื่องเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ เป็น output ของสำนักส่งเสริมสุขนี้อย่างแน่นอน ...

 

หมายเลขบันทึก: 14389เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมยินดีไปร่วมคุยแบบนี้สักครั้งหนึ่ง    คืดว่าผมน่าจะมีแนวปฏิบัติมา ลปรร.

วิจารณ์ พานิช

5 ปีผ่านไป กว่าจะเข้ามาอ่าน ขอบคุณที่ยังเก็บไว้ให้อ่าน

ขอยคุณค่ะ

10 ปีแล้วค่ะ .. อ่านรวดเดียวหลายเรื่อง โดยไม่เข้าระบบ สับสนเองค่ะ (ฮา)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท