ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ – ตอนที่ 9


                     บทความก่อนหน้านี้   ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3, ตอนที่ 4, ตอนที่ 5, ตอนที่ 6, ตอนที่ 7, ตอนที่ 8

                                                     **********************************
ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ

ตอนที่ 9

                ในปี 2540 ก็เป็นปีที่ให้รางวัลละ 2 คน  รางวัลแรกมี 2 คน  คนแรกได้แก่ Satoshi Omura เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ส่งเชื้อ Streptomyces Avermititis ไปให้นักวิชาการที่บริษัทเมอร์ก    แยกออกมาซึ่งทำให้ได้สาร Avermectin และ  Ivermectin

                 Avermectin เป็นยาที่ใช้ในสุนัข และบริษัทยาก็ร่ำรวยมากา    Ivermectin เป็นยาที่ใช้รักษาคนและบริษัทรู้สึกว่าจะไม่ได้ร่ำรวย  อีกผู้หนึ่งที่ได้รางวัลนี้คือ  Dr. Roy Vagelos ชาวอเมริกันอยู่บริษัทเมอร์ก  ซึ่งเป็นผู้บริจาคยา Ivermectin เพื่อรักษาโรคตาบอดในคนอาฟริกันประมาณ 20 ล้านคน ให้หายจากการเป็นโรคตาบอดจากพยาธิ    รางวัลที่ 2 ซึ่งได้สองคนคือ Dr. Alfred Sommer เป็นชาวอเมริกัน  ซึ่งเป็นผู้นำในการให้ Vitamin A เพื่อช่วยลดอัตราการตายและแก้ปัญหาเรื่องตาบอด  อีกท่านหนึ่งซึ่งได้รางวัลร่วมกันคือ Dr. Guilloermo Arroyave เป็นชาวกัวเตมาลา  ซึ่งทำงานคล้าย ๆ กับ Dr. Sommer แต่ทำในกัวเตมาลาและประเทศอเมริกาอื่นๆ

                ปีต่อไปก็เป็นปีที่ให้รางวัลละ 2 คน เหมือนกัน คู่แรกคือ Dr. Rene G. Favaloro ซึ่งเป็นชาวอาเจนตินาที่เริ่มต้นทำ coronary bypass surgery เป็นคนแรก ซึ่งได้ร่วมกับ Dr. Harvey D. White ชาวนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้การรักษาโดย Non-invasive thrombolytic ของโรค coronary artery disease รางวัลที่สองได้แก่ Dr. Kennedy F. Shortridge ชาวออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้พบเชื้อฮินฟลูเจ็นซ่าในนกชนิด H5N1 และกำลังระบาดในคนในฮ่องกง  ผู้ที่ได้รางวัลร่วมกับท่านคือ Dr. Margaret Chan จาก ฮ่องกง ผู้เป็นอธิบดีกรมอนามัย และตัดสินใจให้ฆ่าไก่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นมาตรการที่ควบคุมโรคนี้สำเร็จ  ปีต่อไปมี Dr. R. Palmer Beasley เป็นชาวอเมริกันซึ่งได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ pathogenesis ของ HBV infection อีก 1 รางวัลได้แก่ Dr. Adetokunbo O. Lucas เป็นชาวไนจีเรีย และ Dr. Tore Godal   ชาวนอร์เวย์ทั้งสองท่านนี้เป็น  Director ของโครงการ Tropical Disease Research โดยผลัดกันเป็นผู้อำนวยการ TRD เป็นโครงการของ WHO

                                                                                                                    (โปรดติดตามต่อไป)
                                         **********************************
ที่มา : บทความพิเศษ  ปาฐกถาเรื่อง “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”  โดย ณัฐ ภมรประวัติ พ.บ. จาก สารศิริราช  ปีที่ 54 ฉบับที่ 9 กันยายน  2545
หมายเลขบันทึก: 14395เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 07:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท